วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พระตื่นประชาคมอาเซียนบุกม.สงฆ์ตั้งรับ

ทันทีที่รัฐบาลมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558 (ASEAN Economic Community : AEC) ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2555 แล้วมอบหมายให้แต่ละกระทรวงนำแนวทางไปปฏิบัติการทำเวิร์คช็อปเพื่อบูรณาการ 3 เสาหลักของอาเซียน คือ ด้านประชาคมเศรษฐกิจ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม แต่ก็มีคำถามว่าไทยพร้อมมากน้อยเพียงใด

ไม่ใช่แต่เฉพาะญาติโยมเท่านั้นที่จะต้องเตรียมความพร้อม แม้นแต่พระสงฆ์เองก็ต้องเตรียมความพร้อมเช่นเดียวกัน โดยวันที่ 27 ก.ค.2555 ได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์ประชุมสัมมนาโครงการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยทางพระพุทธศาสนานานาชาติ ครั้งที่ 1 เรื่อง การเตรียมความพร้อมสังคมไทยสู่ประชาคมอาเซียนในมิติทางพระพุทธศาสนา จัดโดยสถำบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติสำนักงานคณะกรรมกรการอุดมศึกษา และสถาบันพัฒนานักวิจัยแห่งประเทศไทย ที่โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร ก็ได้รับคำตอบว่าไทยมีความพร้อมน้อยกล่าวลาวและเวียดนามจะดีกว่าพม่าเท่านั้น ส่วนประเทศทางใต้ไม่ต้องพูดถึง

เสาแรกเศรษฐกิจไม่ต้องพูดถึงตอนนี้การส่งข้าวออกก็แพ้เวียดนามไปแล้ว เสาที่สองการเมืองความมั่นคงก็มีการแบ่งสีแบ่งฝ่ายทะเลาะกันทุกวัน ลามเข้าไปในวัดโรงเรียนสถานการศึกษา และเสาสุดท้ายวัฒนธรรมก็ยังมองไม่ออกว่าจะยึดหลักอะไรเพราะเขมรจ่องประกาศอ้างเป็นสมบัติตัวทุกเมื่อ ภาษาอังกฤษหรือก็งูๆปลาๆ ภาษาเพื่อนบ้านภาษาท้องถิ่นหรือก็ไม่เคยเข้าหู ไม่รู้ว่าเขาพูดอย่างไรกัน ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของสถานการศึกษาที่ต้องให้ความรู้กับบุคลากรของประเทศเป็นการเร่งด่วน รวมถึงมหาวิทยาลัยสงฆ์สองแห่งด้วย

ไม่ใช่แต่เฉพาะมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยเท่านั้นที่มีการเตรียมความพร้อมมหาวิทยาลัยสงห์อีกแห่งหนึ่งคือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็มีการเตรียมความพร้อมบ้างแล้วเช่นกันโดยได้มีการตั้งสถาบันการศึกษาศึกษาขึ้นร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดโครงการอบรมร่วมกัน พร้อมกันนี้ได้ร่วมกับสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน จัดปาฐกถาราชบัณฑิตสัญจร เรื่อง “บทบาทของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประชาคมอาเซียน” ในวันพฤหัสบดี ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2555 เวลา 09.00น. ณ ห้องประชุมอาคารเรียนรวมโซน C มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยการปาฐกถาพิเศษโดย พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ

เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจของประชาคมอาเซียนและร่วมมือกับองค์กรทางศาสนาและทางการศึกษา ปลูกฝังความรู้ความเข้าใจทางศาสนาและปรัชญาแก่ประชาคมอาเซียน เกิดความรักความสามัคคีอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพื่อให้ราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และกรรมการวิชาการประเภทวิชาปรัชญาของราชบัณฑิตยสถานร่วมกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ องค์กรทางศาสนาและองค์กรทางการศึกษาในประชาคมอาเซียนทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายในการแก้ปัญหาของประชาคมนี้

เมื่อมหาวิทยาลัยสงฆ์มีความพร้อมแล้วก็สามารถเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปในประเทศในประชาคมอาเซียนได้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เพราะประเทศเหล่านี้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาอยู่ ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างความเข้าใจ ขจัดความขัดแย้งในทุกมิติลงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...