วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2564

ถอดบทเรียนวิจัย 40 ปีข้างหน้า ยกพระพุทธเจ้านักอนาคตศาสตร์ ชูวิปัสสนาคุม AI ขับเคลื่อนโลกให้สันติได้ แนะมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวมิเช่นนั้นกลายเป็นฆาตกร  

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564 พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รุ่น 5 สถาบันพระปกเกล้า  เปิดเผยว่า ภาคเช้าเรียนรู้"หลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี" รุ่น 5  โดย สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กลุ่มวิชาที่ 4   โดยในภาคเช้ารับฟังการบรรยาย หัวข้อ #เทคโนโลยีกับการเปลี่ยนแปลงสังคม" โดย อาจารย์ ผศ.ดร. การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์  คอร์ปอเรชั่น จำกัด       

โดยมีสาระประเด็นสำคัญว่า เราต้องมองอนาคตศาสตร์ เพราะอนาคตมีความสำคัญ จึงมีการวิเคราะห์อนาคต จาก 40-100  ปี จึงใช้อนาคตศาสตร์ในการมองผ่านงานวิจัย จึงมีการแชร์ให้กับสังคม รวมถึงอนาคตของภัยพิบัติ เราจึงต้องวิเคราะห์อนาคตอย่างเป็นระบบ เราเชื่อว่าอนาคตมีรูปแบบที่เปลี่ยนไป สถานการณ์ที่เราอยากให้เป็นและอนาคตไม่อยากให้เป็น ถ้าเราไม่สามารถจินตนาการอนาคตได้ องค์กรเหล่านั้นจะอยู่ไม่รอด เราได้ยินว่าคำว่าพยากรณ์ โดยนำข้อมูลอดีตมาสนับสนุนเพื่อนำไปสู่อนาคต ทำให้เราพยายามบอกว่าสิ่งเหล่านั้นจะเกิดเพื่อการตัดสินใจ  อนาคตยิ่งไกลความเที่ยงตรงจะน้อยลง การมองอนาคตอาจจะเดาไม่ถูก อนาคตเป็นไปได้และอนาคตที่เป็นไปไม่ได้ มองอนาคตใกล้ๆ อาจจะถูกต้อง วิธีการมองต้องใช้เลนส์การมอง เช่น การเงิน  จึงมีการรีวิวเหมือนงานวิจัยในบทที่ 2  จะต้องมีการรีวิวตลอดให้ทันยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย Horizon Scanning Foresight Insight Action  เราจึงทำวิจัยแบบการปฏิบัติ      

Drivers จึงเป็นตัวขับเคลื่อน AI : ปัญญาประดิษฐ์เป็นตัวขับเคลื่อนไม่ใช่ตัวสัญญาณ นักข่าวที่ใช้ AI : จึงเป็นสัญญาณ อาจจะเป็นการสื่อสารออกมาเป็นระบบ ซึ่งเด็กที่เกิดมาในยุคปัจจุบันเติบโตมากับเทคโนโลยี เด็กจึงเป็นตัวขับเคลื่อน เด็กเกิดมาใหม่จึงขับเคลื่อน การทำวิจัยเราจึงมองไปถึง 40  ปีข้างหน้า เรายังอยู่ในโลกใบนี้แต่วิถีชีวิตมีความเปลี่ยนไป ต่อไปกรุงเทพฯเป็นเมืองที่ลอยน้ำ การสร้างพลังงานลอยน้ำ เราไม่หนีน้ำแต่เราจะปรับตัวอยู่กับน้ำ มีการปรับตัวของประชากร PM.2.5 จะมากขึ้นเรื่อยๆ คนกรุงเทพจะได้รับผลกระทบจึงมีการทำเป็นโดม ปัจจุบันเรายังไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำแบบสุดๆ เพราะจะมีการซื้ออากาศที่บริสุทธิ์ จึงสะท้อนใจว่า อนาคตคนรุ่นต่อไปจะอยู่อย่างไร อนาคตเราได้ซื้ออากาศอย่างแน่นอน เราจะต้องอยู่ในโลกแต่วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป อนาคตเราจะมีการย้ายถิ่นฐาน ชีวิตที่ดีอยู่นอกโลก และรักษาโลกนี้ให้อยู่แบบยาวนาน จึงมีคำว่า การสูญพันธุ์ขนาดใหญ่  ซึ่ง 10  ปีนี้เรามีความผันผวนอย่างมาก จึงมีคำว่า  S T E E P V ประกอบด้วย      

1) S :  Social  สังคม เราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในองค์กรมีหลากหลาย Gen ทำให้เกิดความหลากหลายใน Mindset 74% พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ 85% ต้องเรียนรู้งานใหม่ๆ Gen อาวุโสไม่ยอมเกษียณ อยากจะทำงานไปเรื่อยๆ เกษียณจึงเป็นทางเลือก ส่วน Degrees ทางการศึกษา แม้จะจบระดับ ดร.มา มีการตั้งคำถามว่า เราเรียนอะไรใหม่เพิ่มมาบ้าง ยุคนี้เป็นยุคแห่งปริญญาไม่มีคุณค่า แต่มีคำถามใหม่ว่าเราสนใจเรียนรู้ใหม่อะไรบ้าง ? เราควรเรียนรู้อะไรใหม่บ้าง เพราะฆาตกรของลูกหลานเราคือมหาวิทยาลัยไม่ปรับตัว ที่ยังใช้วิธีการเดิมๆ ไม่ยอมปรับตัว ไม่ยอมเกษียณหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ เพราะยังใช้วิธีเดิมๆ  คำถามคือ อะไรคือสิ่งที่หายากที่สุดในปี 2070  คือ ความเป็นมนุษย์             

2) T : Technology เทคโนโลยี ซึ่งอดีตในบางคำจะหมดไป เช่น เทป เพจเจอร์ ฟิล์ม เป็นต้น เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ยุคนี้จึงเป็นการล่าอาณานิคมรูปแบบใหม่ หนังฝรั่งมักจะสร้างหนังอนาคตโดยนำเทคโนโลยีมามีบทบาทสูงมาก รวมถึงการรักษาโรคต่างๆ ทำให้มนุษย์มีอายุยืนยาวมากขึ้น นำไปใช้ในมิติของสุขภาพ สอดรับกับการทำงานในโรงงานใหญ่ๆ จะมีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ต่อไปเทคโนโลยี Robot จะเข้ามามีบทบาทสูงขึ้นแทนที่มนุษย์อย่างแน่นอน เช่น ถ้าเราอยากเปลี่ยนตั๋วเครื่องบิน อดีตเราโทรไปหาคอเซ็นเตอร์หรือไปสถานที่ขายตั๋ว แต่ปัจจุบันเราเข้าเว็บทันทีใช้เทคโนโลยีเข้ามาบทบาท องค์กรจะไม่ใช้คนเยอะ             

3) E : Environment สิ่งแวดล้อม  จะนำไปสู่การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของโลกครั้งที่ 6 จึงมีการย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่  สิ่งแวดล้อมจึงน่ากลัวมากในภาวะปัจจุบัน  ปัจจุบันเครื่องฟอกอากาศขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร จึงต้องปลูกต้นไม้จำนวนมาก    

4) E : Economics เศรษฐกิจ ทุกคนมองว่าจีนคือมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีการโอนเงินที่รวดเร็ว ข้อมูลของเราอยู่ในฐานข้อมูลในโลกแห่งออนไลน์   

5) P : Politics การเมือง เราโฟกัสประเทศใกล้เคียงเราเห็นการเมืองที่หลากหลาย เราหวั่นจะเกิดสงครามในยุค 2021 แต่ละประเทศมีการสะสมอาวุธ วัตถุประสงค์ของการทำสงครามในยุคปัจจุบันเพื่อต้องการมีอำนาจในมิติต่างๆ จึงมีการล่าอาณานิคมระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา           

6) V : Values  คุณค่า ในเฟซบุ๊กมีเพศให้เลือก 48 เพศ เด็กรุ่นใหม่มองว่าเพศเป็นเรื่องปกติ ความรักสามารถรักได้แบบเสรีภาพ Gen Y เงินก้อนแรกของเงินเดือนอยากซื้อรถ ส่วน Gen ปัจจุบันบอกว่าไม่จำเป็นต้องซื้อรถ เพราะเดินทางไปไหนสะดวกสบายในยุคปัจจุบัน จึงมีการเรียนรู้ใหม่ค้นพบศักยภาพของตนเอง  เด็กในปัจจุบันมีการอาหารเสริมดวง เบอร์เสริมดวง การแต่งกายเสริมดวง จะคบใครต้องตรวจดวงคนนั้นก่อน โลกเทคโนโลยีจะรู้ล่วงหน้าก่อนเช่น แผนที่รู้ว่าจะถึงเวลาใด 

เราต้อง Act Now อะไรคือสิ่งจะต้องรีบทำ ศึกษาข้อมูล เฝ้าระวังในสิ่งที่จะเกิด เราจึงมีศูนย์แห่งการวิจัย เราต้องเกิด 5 C คือ  1) Change การเปลี่ยนแปลง  2) Choices  ทางเลือกสะท้อนถึงความหวัง อย่าทางเลือกสะท้อนถึงความกลัว 3) Creativity & Critical Thinking คิดสร้างสรรค์  4) Communication  การสื่อสาร  5) Collaboration  ความร่วมมือ ในปัจจุบันมีการแตกหักทาง Gen เพราะช่วงเวลาที่ต่างกัน จึงมองไปถึงคำสอนทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงทำนายอนาคตไว้หลายเหตุการณ์ เป็นการทำนายระดับอาจจะเป็นจริงที่สุด แต่คำสอนของพระองค์พยายามให้เราอยู่กับปัจจุบัน อดีตผ่านมาแล้วกลับไปแก้ไขไม่ได้ อนาคตคือสิ่งที่ยังไม่มีถึง จงทำปัจจุบันให้ดีที่สุด แต่ในมิติเชิงสังคมถ้าเราสามารถคาดการณ์อนาคตได้จะทำให้ได้เปรียบคนอื่นอย่างดียิ่ง   

แต่สุดยอดนวัตกรรมคือการฝึกวิปัสสนากรรมฐานสามารถควบคุม AI ได้ โดยปัญญาประดิษฐ์ AI เป็นหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรจะมาทำงานแทนมนุษย์ในอนาคตจะมีความฉลาดกว่ามนุษย์ แต่ AI ไม่ใช่มนุษย์ แต่จะฉลาดกว่ามนุษย์ วิธีเดียวที่มนุษย์จะฉลาดได้คือ กลับมาดูตนเองจะสามารถสู้กับปัญญาประดิษฐ์ได้ หุ่นยนต์ไม่มีมโนทัศน์ ฉลาดได้โดยอาศัยข้อมูลที่มนุษย์ป้อนเข้าไป มนุษย์เป็นผู้ควบคุม แต่การป้อนข้อมูลจะบอกเชิงบวกหรือเชิงลบ เป็นเรื่องที่น่ากลัว ทำให้วิปัสสนากรรมฐานจะช่วยควบคุมทัศนคติให้เป็นสัมมาทิฐิตลอดเวลา ฉลาดแต่สร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์สังคมโลก กรรมฐานจะมีประโยชน์มาก หรืออาจจะมีคนใส่ข้อมูลเชิงทำลายล้างเข้าไป คนที่มีสัมมาทิฐิมีวิธีการในการบริหารควบคุมทิศทางด้วยอาศัยวิปัสสนากรรมฐาน จึงต้องหมั่นเจริญสติจะได้เป็นสัมมาทิฐิป้องกันการเกิดมิจฉาทิฐิ    

Future : ปัญญาอนาคต ซึ่งเขียนโดย อาจารย์ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ตอนหนึ่งกล่าวว่า" รู้จักผู้อื่นคือความชาญฉลาด รู้จักตนเองคือปัญญาที่แท้  จัดการผู้อื่นคือความเข้มแข็ง จัดการตนเองคืออำนาจที่แท้" ซึ่งการศึกษาที่แท้คือ การศึกษาที่สอนให้ผู้เรียนเป็นอิสระและใช้จุดแข็งของตัวเองในการสร้างสรรค์ผลงานให้โดดเด่น แตกต่างจากผู้อื่น เพื่อให้ทุกคนยืนอยู่ได้อย่างสง่างามในสังคม อยู่ได้บนที่มั่นอันหลากหลาย อยู่ได้โดยมิต้องก้มหัวให้ใคร ไม่มีปัจจัยภายนอกใดที่ช่วยให้เราดีขึ้น แข็งแกร่งขึ้น มั่งคงขึ้น รวดเร็วขึ้น เฉลียวฉลาดขึ้น สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนอยู่ภายใน จงอย่าได้แสวงหาสิ่งใดจากภายนอก เพราะคนผู้ประสบความสำเร็จในการงานแทบจะไม่เคยนิ่งรอให้สรรพสิ่งเกิดขึ้น หากแต่เป็นผู้ออกเดินทางเพื่อสรรค์สร้างสรรพสิ่ง พอลเคยบอกหลักในการทำงานว่า 1) จงเริ่มต้นอะไรใหม่  2) ใส่ใจกับความรื่นร่มย์ 3) การทำงานไม่ใช่เรื่องชั่วโมงสั้นหรือยาวแต่งานต้องทำทุกชั่วโมง 4) เราไม่สามารถทำงาน โดยไม่ลงมือทำได้  5) จงมองหาลู่ทางใหม่ๆ ที่จะแหกกฎเสมอ  เป็นหนังสือที่สุดยอด จงออกแบบงานและชีวิตที่ดีที่สุดตามสูตรของเรา สร้างตัวตนขึ้นมาใหม่ในโลกความวุ่นวายนี้  เพราะการเรียนรู้ (Learning ) คือ กระบวนการของการแสวงหาความรู้และทักษะใหม่ๆ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดมาเพื่อเรียนรู้ เต็มเปี่ยมไปด้วยความสงสัยใคร่รู้ ผู้คนในยุคเทคโนโลยีจึงต้องตระหนัก 4 ประการ 

คือ   

1)รู้ทันเทคโนโลยี 2)บริโภคเทคโยโลยีอย่างเป็นนาย 3)ลงทุนในตัวเอง 4)มีความรับผิดต่อสังคมและเพื่อนมนุษย์ 

ดังนั้น Futures จึงเป็นการมองอนาคตศาสตร์ เพราะการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้น เราจึงมองเห็นความแตกหักระหว่างเจเนอเรชั่น จึงมีคำถามว่าอะไรคือสิ่งที่หายากที่สุดในปี 2070 จึงมีการถอดบทเรียนวิจัย 40 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เรามีฆาตกรของลูกหลานเรานั่นคือ สถาบันที่เรียกว่า มหาวิทยาลัย ถ้าไม่มีการปรับตัว ยิ่งทำให้อนาคตเกิดความเหลื่อมล้ำที่สุดเพราะต้องซื้ออากาศที่บริสุทธิ์ใช้ เราคาดการณ์ว่าเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ยุคปัจจุบันจึงเป็นยุคแห่งปริญญาไม่มีคุณค่าแต่มีคำถามใหม่ว่าเราสนใจเรียนรู้ใหม่อะไรบ้าง แม้จะจบการศึกษามามาก จงเรียนรู้ทักษะใหม่อยู่ตลอดเวลา 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...