วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566

เปิดนโยบายเด่น "พรรคภูมิใจไทย"

พรรคภูมิใจไทย โดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค มาพร้อมคติพรรค "พูดแล้วทำ" ที่ประกาศลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาพรรคภูมิใจไทย นำโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เลขาธิการพรรค ตัดสินใจส่งผู้สมัครครบทุกเขตเลือกตั้ง (350 เขต) และแบบบัญชีรายชื่อ (150 คน) รวมส่งผู้สมัครทั้งสิ้น 500 คน ผลการเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 39 คน และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 51 คน ซึ่งเลือกตั้งครั้งนี้พรรคภูมิใจไทย เป็นอีกหนึ่งพรรคตัวเต็ง

โดยนโยบายเด่นของพรรคภูมิใจไทย มีดังนี้

พักหนี้ 3 ปี

เพื่อลดปัญหาหนี้สินให้ประชาชน โดยไม่ต้องจ่ายทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 3ปี และดอกเบี้ยจะไม่มาต้นทบดอก หนี้ที่พักได้ ได้แก่ หนี้ในระบบที่มีการทำสัญญาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย กับ เจ้าหนี้ที่รัฐบาลรับรองให้ปล่อยเงินกู้ได้ ได้แก่ ธนาคาร สถาบันการเงิน สหกรณ์ กยศ. กองทุนหมู่บ้าน บัตรเครดิต ไฟแนนซ์ ลีซซิ่ง

นโยบายพลังงานสะอาด

1. ฟรี โซล่าเซลล์ หลังคาบ้าน ลดค่าไฟฟ้า หลังคาเรือนละ 450 บาทต่อเดือน และส่งกระแสไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตได้ ขายให้แก่รัฐบาลผ่านระบบของการไฟฟ้า ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะได้รับส่วนลดค่ากระแสไฟฟ้า และ เครดิตพลังงาน เป็นเวลา 25 ปี ตามอายุโครงการความร่วมมือผลิตกระแสไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ระหว่างรัฐบาลกับประชาชน

2. รับสิทธิซื้อ รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าประชาชน ทุกคนที่นำบ้าน ที่พักอาศัย เข้าร่วมโครงการติดตั้งโซล่าเซลล์ จะได้รับสิทธิซื้อมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าบ้านละ 1คัน ในราคา 6,000 บาท ด้วยระบบผ่อนชำระ เดือนละ 100 บาท เป็นเวลา 60 เดือน

นโยบายสาธารณสุข

1. ติดตั้งเครื่องฉายรังสีรักษามะเร็ง ให้โรงพยาบาลทุกจังหวัด จังหวัดละ 1 เครื่อง เป็นอย่างน้อย จากปัจจุบันที่มีอยู่ 22 จังหวัด ต้องมีให้ครบทุกจังหวัด ภายใน 4 ปี และต้องรักษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว

2. ฟอกไตฟรีทุกอำเภอ โดยจัดตั้งศูนย์ฟอกไตฟรีทุกอำเภอ ภายใน 4 ปีเพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตทุกคน เข้าถึงการรักษาได้เร็วและทั่วถึง

นโยบายเกษตรร่ำรวย

นโยบาย เกษตรร่ำรวย ด้วย Contract Farming จะนำมาใช้กับ 4 ชนิด ที่มีการกำหนดราคารับซื้อล่วงหน้าในตลาดโลก ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และ ปาล์มน้ำมัน และจะขยายไปสู่พืชหรือ ผลผลิตการเกษตรชนิดอื่นต่อไป เช่น ข้าวโพด มะพร้าว ลำไย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ ของประเทศไทย เพื่อให้เกษตรกรทุกราย มีสัญญาซื้อขายผลผลิตล่วงหน้าเป็นหลักประกัน

นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

1. เพิ่มจํานวนนักท่องเที่ยวสู่ 80 ล้านคน เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว สู่ 6 ล้านล้านบาท ภายในปี 2570พร้อมสร้างงาน 10 ล้านตําแหน่ง เพิ่มอัตราการจ้างงาน สร้างแรงจูงใจ พัฒนาศักยภาพแรงงานกองทุนท่องเที่ยว ชุมชนดี แหล่งท่องเที่ยวดี และผู้ประกอบการดี ด้วยกองทุนท่องเที่ยว

(1) เงินทุนสนับสนุนการปรับปรุง - พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถ ดึงดูด และรองรับนักท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม ตลอดจนการวางระบบ บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน สร้างรายได้สู่ประชาชนเจ้าของแหล่งในระยะยาว

(2) เงินทุนสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยวสู่มาตรฐานระดับ สากล เพิ่มขีดความสามารถในการกระตุ้นจํานวนวันพัก และการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นตามอัตลักษณ์ของชุมชน สร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

(3) เงินทุนสําหรับผู้ประกอบการในการยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน สร้างความมั่นคงในช่วงเกิดวิกฤตการณ์ ตลอดจนการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรที่มีแนวปฏิบัติอย่างยั่งยืนเพื่อลดต้นทุน เพิ่มกําไร และสร้างการยอมรับในระดับโลก

2. เพิ่มรายได้ในภาคการท่องเที่ยว โดยการเพิ่มระยะเวลาการพํานัก จํานวนการใช้จ่ายต่อคน และ เพิ่มจํานวนนักท่องเที่ยวกลุ่มใช้จ่ายสูง โดยการ

(1) กระตุ้นการท่องเที่ยวตลาดใหม่ เน้นนักท่องเที่ยวกําลังใช้จ่ายสูง เช่น การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กลุ่มท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ กลุ่มทํางานจากประเทศไทย กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงกีฬา

(2) เพิ่มและขยายศักยภาพการข้ามแดนทั้งทางบก น้ำ อากาศ โดยการ ขยายสนามบิน การท่องเที่ยวเรือสําราญ การจัดทําจุดผ่านแดน อัจฉริยะ

(3) สร้างเศรษฐกิจด้วยงานเทศกาล ผ่านงาน Event การประชุมนิทรรศกาล การแข่งขันกีฬารายการระดับโลก งานเทศกาลระดับโลก

(4) ปั้น Soft Power ไทยสู่การสร้างมูลค่าสูง เพื่อมุ่งสู่เป้าการเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวคุณภาพสูง พร้อมรองรับการมาเยือนของนักท่องเที่ยว

3. 365 วัน เที่ยวทุกที่ เที่ยวทั้งปี รายได้ดี ไม่มีวันหยุด โดยกําจัด Low Season แก้ปัญหาการกระจุกตัวของ นักท่องเที่ยว ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย โดยใช้ Event รูปแบบต่าง ๆ ทั้งระดับชาติ และระดับนานาชาติ ดึงดูดการเดินทางท่องเที่ยวให้กระจายตัวไปยังเมืองต่าง ๆโดยเฉพาะในช่วง Low Season จํานวนไม่น้อยกว่า 300 กิจกรรม

4. Wellness Resort of the World รักษา เมืองหลัก พักฟื้น เมืองรอง จุดหมายแห่งการรักษา พักผ่อน และ ฟื้นฟู ร่างกายและจิตใจ ของประชากรโลก

5. Low Carbon Destination มุ่งสู่การท่องเที่ยวสมัยใหม่ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

22 เมษา วันคุ้มครองโลก วัดพระธรรมกายถวายสังฆทานคณะสงฆ์ 10,000 วัดทั่วประเทศ และถวายสังฆทานสงฆ์ 4 จ.ชายแดนใต้

วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 เป็นวันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day เกิดขึ้นโดยวุฒิสภาชาวอเมริกันชื่อ Gaylord Nelson ที่ได้รณรงค์ให้ชาวอเมริกันร่วม...