วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เปิด 10 นโยบายเร่งด่วน ที่ประชาชนอยากได้จากรัฐบาลชุดใหม่

 เปิด 10 นโยบายเร่งด่วน ที่ประชาชนอยากได้จากรัฐบาลชุดใหม่

 

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยในงานสัมมนา โค้งสุดท้าย เลือกตั้ง 66 ดีเบตนโยบายเศรษฐกิจ กับ 9 พรรคการเมือง จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ว่าจากการสำรวจความคิดเห็น ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส.ปี 2566 โดยจากการสุ่มตัวอย่าง 2,000 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่ามี 10 นโยบายเร่งด่วนที่ประชาชนอยากได้จากรัฐบาลชุดใหม่ ได้แก่


1. ลดค่าครองชีพของประชาชนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม


2. เพิ่มสวัสดิการในด้านต่างๆ ให้กับประชาชน โดยเฉพาะสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลและเบี้ยผู้สูงอายุ


3. เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน


4. แก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้สิน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย


5. สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยว


6. ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน


7. พัฒนาภาคเกษตรกรรมและแก้ไขปัญหาที่ดิน


8. เร่งฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติผ่านนโยบายต่างๆ ของภาครัฐ


9. ลดข้อจำกัดและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนของผู้ประกอบการ SME


10. ปรับปรุงระบบการศึกษาให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสอดคล้องเหมาะสมกับโลกยุคใหม่


นอกจากนี้ยังได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง ความคาดหวังเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมือง โดยเป็นการสำรวจนโยบายที่ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุดในแต่ละด้าน แบ่งเป็น 8 นโยบาย ได้แก่


นโยบายที่ 1 นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย 3 นโยบายแรก ที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1.เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 2.ขึ้นอัตราเงินเดือน 3.เพิ่มเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุ สำหรับนโยบายที่ประชาชนมองว่ามีความสำคัญน้อยที่สุดคือ โครงการธนาคารหมู่บ้าน


นโยบายที่ 2 นโยบายแรงงาน/การจ้างงาน โดย 3 นโยบายแรก ที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1.สร้างตำแหน่งงานใหม่สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ 2.นำผู้ประกอบอาชีพอิสระ เข้าระบบประกันสังคม 3.เบิกเงินผู้ประกันตน 30% มาใช้ก่อนได้ สำหรับนโยบายที่ประชาชนให้ความสำคัญน้อยที่สุดคือ ขยายเกณฑ์อายุของผู้เกษียณออกไปเป็น 63-65 ปี


นโยบายที่ 3 นโยบายลดค่าครองชีพ โดย 3 นโยบายแรก ที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1.ลดค่าไฟฟ้า 2.ลดราคาน้ำมัน และ 3.ลดราคาแก๊สหุงต้ม ส่วนนโยบายที่ประชาชนให้ความสำคัญน้อยที่สุดคือลดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าเหลือ 20 บาทตลอดสาย


นโยบายที่ 4 นโยบายแก้ปัญหาหนี้สิน โดย 3 นโยบายแรกที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1.พักหนี้ 3 ปี หยุดต้น ปลอดดอก คนละไม่เกิน 1 ล้านบาท 2.ปลดล็อคให้สมาชิก กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)และสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำเงินสมทบส่วนหนึ่ง เช่น ไม่เกิน 30% ออกมาซื้อบ้าน/ลดหนี้บ้านได้ 3.ยกเลิกหนี้ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)


นโยบายที่ 5 นโยบายสวัสดิการ โดย 3 นโยบายแรก ที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1.ตรวจสุขภาพฟรี 2.รักษาฟรีทุกโรค บัตรทอง 30 บาทพลัส 3.ให้เงินอุดหนุนค่าปรับปรุงบ้านผู้สูงอายุ ส่วนนโยบายที่ให้ความสำคัญน้อยที่สุดคือ ให้เงินรับขวัญเด็กแรกเกิด


นโยบายที่ 6 นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ โดย 3 นโยบายแรก ที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1.จัดสรรเงินสนับสนุนการปรับปรุง/พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 2.จัดสรรเงินสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว 3.พัฒนาแพลตฟอร์มท่องเที่ยวสัญชาติไทย ส่วนนโยบายที่ให้ความสำคัญน้อยที่สุดคือพัฒนาแพลตฟอร์มขายของออนไลน์สัญชาติไทย


นโยบายที่ 7 นโยบายเกษตร โดยพบว่า 3 นโยบายแรก ที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1.สร้างเกษตรรุ่นใหม่ 2.ประกันรายได้ จ่ายเงินส่วนต่าง 3.ให้เงินอุดหนุนกลุ่มเกษตรกร ส่วนนโยบายที่ให้ความสำคัญน้อยที่สุด เกษตรกรขายคาร์บอนเครดิตได้


นโยบายที่ 8 นโยบายช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี โดย 3 นโยบายแรก ที่ประชาชนให้ความสำคัญ คือ 1.SME เข้าถึงทุน 2.ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 1% ต่อเดือน (ชำระดอกเบี้ยภายใน 6 เดือนถึง 3 ปี) 3.หวย SME (ซื้อสินค้า SME แถมหวย) ส่วนนโยบายที่ประชาชนให้ความสำคัญน้อยที่สุดคือปลดล็อกเครดิตบูโร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...