เปิดแล้วเวทีสภาปฏิรูปการเมืองที่ทำเนียบรัฐบาลตามคำเชิญของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่บอกว่า "ต้องการให้ทุกฝ่ายได้หารือกัน อยากเห็นประเทศเดินไปข้างหน้าในฐานะผู้มีประสบการณ์ รัฐบาลเหมือนผู้ที่อยู่ปลายน้ำไม่สามรถทำอะไรคนเดียวได้"
จากนั้นได้เปิดโอกาสให้ผู้ถูกเชิญเข้าร่วมแสดงความเห็น ก็ถูกสวนกลางเวทีจากนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา แบบไม่ต้องเกรงหน้าใครว่า หากมานั่งในวงใหญ่อย่างนี้ก็สิ้นเปลืองงบประมาณและเวลา ควรจะมีการแบ่งกลุ่มให้ผู้เชี่ยวชาญไปศึกษา
แต่น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็แก้เกี้ยวว่า รัฐบาลไม่มีเจตนาให้ทุกคนไม่เสียเวลาเปล่าแน่
ขณะที่นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เสนอว่า ต้องสร้างความเข้าใจให้เข้าใจกันว่าเป็นเรื่องของทุกฝ่ายที่ต้องทำร่วมกันก็จะสำเร็จ
สอดคล้องกับความเห็นของนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรมว่า กระบวนการวันนี้จะเกิดขึ้นได้ ถ้าให้ทุกฝ่ายเข้าร่วม ส่วนนายลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต ก็เสอให้มีการลงประชามติเพราะจะได้ยึดโยงกับประชาชน ด้านพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีอ้างว่าประชาชนร้องหาประชาธิปไตยอย่างเดียว
ขณะที่คำกล่าวของนายโอกาส เตพละกุล ประธานที่สภาปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ว่า "ประชาชนไม่รู้ว่าจะเชื่อใคร เพราะไม่มีเวทีที่ให้ประชานเชื่อถือง" ก็เป็นสิ่งที่น่ารับฟังเช่นกัน
เมื่อพูดกันมาหลายคนก็ยังไม่รู้ว่ารูปแบบของเวทีปฏิรูปจะเป็นอย่างไร นายพิชัย รัตตกุล อดีตประธานรัฐสภา ก็ได้เสนอว่า "เห็นด้วยกับแนวคิดของนายอุทัย จึงเสนอการวางแผนโรดแมปในระยะยาว 20 ปี และระยะสั้นตามลำดับ เพราะจะทำให้มองเห็นการแก้ไขปัญหาในเรื่องต่างๆได้ง่ายขึ้น เพื่อดูว่าเดินหน้าของประเทศไทยได้" ก็ได้รับการเสียงสนับสนุนจากนายกระมล ทองธรรมชาติ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนนายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ย้อนแย้งว่า ทุกส่วนต้องช่วยกัน และอยู่บนพื้นฐานการเข้าใจ ให้อภัยกัน โดยต้องหาวิธีที่เร็วที่สุด ส่วนการวางโรดแม็ปประเทศไทยนั้นวางได้ แต่ต้องดูว่าวางต่อเนื่องหรือไม่ ทั้งนี้ทุกประเด็นปัญหาจบลงได้ถ้าไว้วางใจกัน
นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เห็นว่า ตนอยู่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมา 30 ปี ไม่เคยมีรัฐบาลไหนมองนโยบายของประเทศข้ามปีต่อปี
ด้านผู้นำท้องถิ่นอย่างนายนพดล แก้วสุพัฒน์ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย เห็นว่า เรามีแผนศึกษามากมายแต่อยู่ที่รัฐบาลจะหยิบไปใช้หรือไม่
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ยืนยันอยู่ข้างนอกว่า ที่จะไม่เปลี่ยนใจเข้าร่วมเวทีสภาปฏิรูปการเมืองในขณะที่ยังมีการผลักดันร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมอยู่
จากที่ประมวลความเห็นบนเวทีปฏิรูปการเมืองมานี้ก็ยังมองไม่ออกว่า จะเดินหน้ากันอย่างไร แต่สิ่งที่นายอุทัยได้พูดไว้ที่ว่า "คิดว่าสิ่งดีที่สุดในการตัดสินใจปัญหาของประเทศ คือ เวลาที่คิดว่าจะทำอะไรให้คิดว่าทำเพื่อทั้งประเทศแล้วงานก็จะออกมาได้เป็นผลสำเร็จ ดังนั้นงานนี้ฐานะของพวกเราอยู่ตรงไหนและสิ่งที่นายกฯ บอกว่ามาหาทางออกของประเทศ พวกเราต้องหลับตาคิดถึงประชาชนก่อน แล้วรัฐบาลหวังอะไรกับ ถ้าทำเพื่ออนาคตจริงๆ ก็ต้องยอมรับเคารพความคิดเห็นของที่ประชุมบ้านเมืองก็มีโอกาส"
เพราะคำว่าของนายอุทัยนี้คือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดเพราะจะทำให้เข้าสู่กระบวนการของการแก้ไขปัญหาเริ่มปฏิรูปการเมืองได้ เพราะหากยังหลับตาปฏิรูปการเมืองแล้วคิดถึงแต่คนๆเดียว คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวแล้วก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จ
ทำให้นึกถึงมรรควิธี 8 ประการที่จะพ้นจากทุกข์จุดเริ่มต้นอยู่ที่สัมมาทิฐิคือความเห็นที่ถูกต้องแล้วสัมมาสังกัปปะแนวคิดแก้ปัญหาก็จะเกิดตามมา สัมมาเวจาก็จะตามติดแทนที่จะชี้หน้าด่ากันก็หันมาให้กำลังใจกันซึ่งก็มีแนวทางอยู่แล้วเพราะว่าน.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเคยทำวิจัยช่วงที่ศึกษาปริญญาโทที่ มจร เอาออกมาใช้ก็น่าจะได้ผล หลังจากนั้น สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ก็จะเกิดตามมาและเชื่อว่าปฏิรูปการเมืองจะประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน แต่หากยังมีมิจฉาทิฐิอยู่แล้วก็ยากอยู่
ก็คงจะเอามะพร้าวมาขายสวนเพียงเท่านี้ เพราะว่าผู้ที่เข้าร่วมเวทีครั้งนี้ก็มีอาจารย์ใหญ่คอยแนะนำอยู่หลายรูป จะกล่าวมากไปก็จะเข้าลักษณะเณรน้อยสอนสังฆราชไป ก็ได้แต่หวังปฏิรูปการเมืองจะประสบผลสำเร็จเท่านั้นเพราะประเทศไทยตกหลุดดำมานานแล้ว
........................
(หมายเหตุ : เปิดมรรควิธีแนว'ปฏิรูปการเมืองสำเร็จ' : กระดานความคิด โดยสำราญ สมพงษ์)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"ดร.มหานิยม" ร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่วัดอาวุธ "สมเด็จธงชัย" ประธาน เข้ากราบ "หลวงปู่ศิลา" เพื่อความเป็นสิริมงคล
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ดร.นิยม เวชกามา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (รศ.ชูศักดิ์ ศิรินิล) ออกปฏิบัติหน้าที่ด้านพระพุทธศาสน...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น