จากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบกับชาวพุทธที่มีศรัทธาแบบอนิจจังอยู่ไม่น้อย พร้อมกับมีกระแสกดดันให้คณะสงฆ์วางมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่น นี้อีก อย่างเช่นล่าสุดสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) ได้เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง "บทบาทของพระสงฆ์ต่อสังคมและประเทศชาติ" ซึ่งก็สอดคล้องกับสถานการณ์ของสถาบันพระสงฆ์ที่มีปัญหาอย่างต่อเนื่อง ต่อที่ประชุม ครม. ในวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา รม.ซึ่งก็มีมติเพียงรับทราบเท่านั้น
โดยข้อเสนอที่น่าสนคือข้อเสนอที่ สป. เสนอในเรื่องของการทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเพื่อให้การส่งเสริมบทบาท ของพระสงฆ์ต่อสังคมและประเทศชาติบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งรัฐบาลควรดำเนินการทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาควบคู่กันไปด้วย คือ
1. สนับสนุนให้มีการบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" 2. ให้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ซึ่งใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง 3. จัดทำแผนทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาคู่กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคง มีบทบาทในการพัฒนาคนสังคมและประเทศชาติ
4. มอบให้ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัดร่วมกับเจ้าคณะจังหวัด จัดทำทำเนียบเครือข่ายพระสงฆ์เพื่อสังคมของแต่ละจังหวัด โดยคัดเลือกพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีผลงานในการเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชน ในการทำประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ เป็นสมาชิกเครือข่ายพระสงฆ์เพื่อสังคมโดยให้มีงบประมาณที่เหมาะสมเพียงพอ
5. ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของสมัชชาชาวพุทธแห่งชาติและสมัชชาชาวพุทธ ประจำจังหวัด โดยมีกฎหมายรองรับสถานภาพเพื่อให้มีความเข้มแข็ง จัดให้มีงบประมาณและบุคลากรอย่างเหมาะสมเพียงพอ
อย่างไรก็ตามก็ยังมีเสียงจากนักวิชาการและประชาชนทั่วไปได้เสนอให้มีการทำ สังคยานาทั้งหลักธรรมคำสอนหรือที่เรียกว่าชำระพระไตรปิฎกและบุคลากรในพระ พุทธศาสนาเป็นการเร่งด่วน
ที่ผ่านมามหาเถรสมาคมซึ่งเป็นหน่วยงานสูงในการปกครองคณะสงฆ์ไม่ได้ดำเนินการ อะไรที่เป็นรูปธรรมมากนัก แต่ได้เห็นภาพของนักวิชาการพุทธศาสนาทั้งพระและฆราวาสได้ออกมาแสดงความเห็น และจัดกิจกรรมเพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ดำเนินการตาม หน้าที่แก้วิกฤติดังกล่าว
อย่างเช่นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2556 บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ร่วมกับโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธศาสนศึกษา(นานาชาติ) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย(มมร.) จัดประชุมวิชาการทางพระพุทธศาสนาเรื่อง "วิธีตรวจชำระคัมภีร์ใบลานให้ได้มาตรฐานสากล" ณ โรงแรม เอส.ดี.อเวนิว ปิ่นเกล้า ได้มีคณาจารย์และนิสิตบัณฑิตวิทยาลัยทั้ง 3 สถาบันและประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมประมาณ 100 รูป/คน
ภายในงานได้มีนักวิชาการเสนอผลงานและวิจัยด้านนี้ได้อย่างเช่นนายปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธนันท์ ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธศาสนศึกษา(นานาชาติ) คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการได้บรรยายเรื่อง"กำเนิดและวิวัฒนาการของทฤษฎีการ ตรวจชำระแบบสากลในยุโรป" แม่ชีวิมุตติยา (รศ.ดร.สุภาพรรณ ณ บางช้าง) โครงการหอพระไตรปิฎกศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายเรื่อง "การจัดเตรียมต้นฉบับพระไตรปิฎกฉบับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
ดร.อเลกซานเดอร์ วิน ที่ปรึกษาโครงการชำระพระไตรปิฏกวัดธรรมกาย บรรยายเรื่อง"การตรวจชำระพระไตรปิฏกของวัดธรรมกาย" นายจี.เอ.โสมรัตเน บรรยายเรื่อง"การตรวจชำระคัมภีร์สังยุตตนิกายของสมาคมบาลีปกรณ์" นายศานติ ภักดีคำ อาจารย์ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตรบรรยายเรื่อง"การตรวจชำระคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย" และนายชานป์วิชช์ ทัดแก้ว อาจารย์ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยาเรื่อง"ในการตรวจชำระคัมภีร์ใบลานฝ่ายสันสกฤต"
ทั้งนี้นายปฐมพงษ์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีคัมภีร์ใบลานซึ่งเก็บรักษาไว้แต่โบราณเป็นจำนวนมาก มีกระจัดกระจายอยู่ในหอสมุดใหญ่ๆ เช่น หอสมุดแห่งชาติและวัดต่างๆ คัมภีร์ใบลานเหล่านี้คือที่มาของพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ปกรณ์วิเสสต่าง ๆ ที่ชาวไทยตรวจชำระก่อนจัดพิมพ์ ในปัจจุบันแม้จะมีหลายๆองค์องค์กรที่รับผิดชอบในการตรวจชำระคัมภีร์ใบลาน แล้วจัดพิมพ์ แต่ขั้นตอนการตรวจชำระยังไม่ได้มาตรฐานสากล ทำให้ขาดการยอมรับในระดับนานาชาติ ดังนั้น แม่จะจัดพิมพ์มามากมายเพียงใดความเชื่อถือในสายตานักวิชาการสากลก็ยังต่ำ อยู่
"ในฐานะที่เป็นหน่วยงานทางวิชาการที่สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมุ่งใช้ความรู้ในการขับเคลื่อนสังคม ในฐานะเป็นปัญญาของแผ่นดิน หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาพุทธศาสนศึกษา(นานาชาติ) มหาวิทยาลัยมหิดล ประสงค์จะให้ความรู้แก่ประชาชนในวงกว้างถึงประวัติความเป็นมาของทฤษฎีตรวจ ชำระแบบสากลตลอดจนขั้นตอนของการตรวจชำระให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ เพื่อให้ผู้ร่วมประชุมได้รับทราบ ซึ่งจะได้ใช้เป็นแนวทางในการนำไปตรวจชำระต่อไป
ทางด้านพระสุธีธรรมานุวัตร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร ได้กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยก็มีการตรวจชำระประไตรปิฎกและคัมภีร์ต่างๆเรื่อยมา ซึ่งก็ทำแบบไทยๆและต่างคนต่างทำ ซึ่งไม่ได้ทำเป็นแบบสากลจึงขาดการยอมรับ มาครั้งนี้ทั้ง 3 หน่วยงานได้มาจับมือร่วมกันแบบเป็นเจ้าภาพร่วมกัไม่มีหน่วยงานใดหน่วยงาน หนึ่งเป็นพระเอกแต่เพียงผู้เดียวแต่เป็นพระเอกด้วยกันทั้งหมด จึงถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดี
"อาตมาคิดว่างานวิชาการบริสุทธิ์มีแต่มิตรภาพเท่านั้น ไม่ควรมีอคติต่อกัน และไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะผิดไปจากหลักการทางพระพุทธศาสนา เพราะว่ามีหลักฐานอ้างอิงอยู่แล้ว" คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร กล่าว
ขณะเดียวกันบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย ยังได้จัดโครงการพระไตรปิฎกสัญจร นำโดย ผศ.รังษี สุทนต์ อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย และผู้อำนวยการโครงการพระไตรปิฎกศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต และนิสิตระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาพระไตรปิฎกศึกษา และระดับปริญญาโททั้งพระภิกษุและคฤหัสถ์สาขาพระพุทธศาสนาสัญจรไปตามพื้นที่ ต่างๆเพื่อให้ความรู้กับประชาชน
จึงถือได้ว่าภาคนักวิชาการพุทธศาสนาได้เริ่มก้าวแรกแล้ว ที่จะทำให้ผ่านกระแสวิกฤติเณรคำไปให้ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของอนัตตาไม่ใช่อัตตา หรือไม่ใช่เป็นเพียงผู้ถือใบลานเปล่าเท่านั้น แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงในเหตุการณ์ปัจจุบันได้ด้วย
......................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น