ชาวพุทธทั้งพระและฆราวาสที่เรียนนักธรรมและบาลีจะมีการสอบวัดผลปีละหนึ่งครั้ง สอบได้ก็จะได้เลื่อนชั้นไปเรื่อยๆ หากสอบไม่ได้ก็จะซ้ำชั้นอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะหมดความเพียรล้มเลิกไปเอง จึงทำให้เมื่อสอบเสร็จจะมีการลุ้นกันว่าผลสอบจะออกมาอย่างไร
ระหว่างสอบหากมีการทุจริตทราบไปถึงหูนักข่าวก็จะเป็นข่าวใหญ่ในวันรุ่งขึ้น หากไม่มีก็จะเงียบฉี่ก็จะรู้เฉพาะวงการผู้สอบเท่านั้น และก็จะเป็นข่าวอีกครั้งก็คราวประกาศผลสอบโดยเฉพาะประโยค 9 ก็ดูว่ามีสามเณรสอบได้กี่รูปสำนักเรียนวัดไหนสอบได้มากที่สุด เสร็จแล้วก็จบกันโดยไม่ได้เข้าไปดูว่าเนื้อหาของการสอบนั้นเป็นอย่างใดบ้าง มีหลักธรรมใดพอที่จะนำมาแก้ปัญหาสังคม ณ ปัจจุบันได้บ้าง พระเองก็ไม่บอกโยมเองก็ไม่อยากรู้
ในยุคสังคมข่าวสารข้อมูลสื่อสารกันด้วยอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ทำให้ได้มีโอกาสได้รับรู้ข้อสอบโดยเฉพาะภาษาบาลีซึ่งมีการสอบเสร็จแล้วตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าจะประกาศผลสอบเร็วๆนี้
เป็นที่ทราบกันดีว่าสังคมไทยตลอด 10 ปีที่ผ่านมามีความแตกแยกทางความคิดเห็นทางการเมืองที่ไม่ตรงกันถึงขั้นทำร้ายกันด้วยกำลังและอาวุธ แบ่งสีแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจนเกือบทุกวงการถือหางกันอย่างชัดเจนไม่เว้นแม้นแต่วงการพระสงฆ์ ขณะนี้ก็ยังไม่เห็นแนวทางว่าจะยุติความขัดแย้งอย่างไร เสียเวลาเสียโอกาสที่จะพัฒนาก้าวไปข้างหน้าอย่างมาก ก็ได้แต่กินยา "ทำใจ" ทุกวัน
ทีนี้ลองมาดูว่ามีหลักธรรมหรือวิธีการใดบ้างที่เป็นพุทธวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งได้บ้างจากข้อสอบนั้น
จากการตรวจสอบข้อสอบตั้งแต่ประโยค 1-2 ถึงประโยค 9 พบข้อสอบแปลไทยเป็นมคธ(บาลี)ประโยค 4 ที่มีเนื้อหาคัดมาจากธรรมบทโดยเกี่ยวกับพระชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะกันด้วยสาเหตุเพียงเหลือน้ำในถังในห้องน้ำและมีการปรับอาบัติกัน การทะเลาะกันกันลุกลามใหญ่โตแบ่งออกเป็นฝ่ายอย่างชัดเจน ในเนื้อหาบอกว่าลามไปจนถึงขั้นพรหมเลยทีเดียว เหมือนกับประเทศไทยคราวนี้ไม่มีผิด ฝ่ายหนึ่งก็บอกว่าฝ่ายตัวเองถูกและกล่าวหาอีกฝ่ายผิด
ร้อนถึงพระพุทธเจ้าว่ากล่าวตักเตือนให้ประนีประนอมกันแต่ไม่เป็นผล พระองค์จึงได้ปลีวิเวกไปจำพรรษาแต่พระองค์เดียวโดยมีช้างและลิงรับใช้ที่ป่าเลไลยก์ เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ชาวเมืองโกสัมพีเสียประโยชน์ที่ไม่ได้เฝ้าพระพุทธเจ้าจึงแก้เผ็ดหรือทำลายทิฐิพระด้วยการไม่ใส่บาตรไม่คบค้าสมาคมด้วย ส่งผลให้พระสำนึกผิดแล้วหันมาคือดีกันปัญหาก็ยุติ ที่เมืองสาวัตถีที่พระพุทธเจ้าจำพรรษานานที่สุดนี้เองทำให้ได้ทราบพุทธวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งหลายประการ
การทะเลาะกันของพระชาวเมืองโกสัมพีและวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งของพระพุทธเจ้านี้ มักถูกนำไปอ้างอิงในบทความและผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นประจำ และถือว่าเป็นบทเรียนหนึ่งในหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ที่เปิดการเรียนการสอนรุ่นที่หนึ่งและกำลังเปิดรับสมัครเป็นรุ่นที่สองอยู่ขณะนี้
พบหลักธรรมในข้อสอบแปลไทยเป็นมคธ(บาลี)ประโยค 7 ที่มีเนื้อหาในมงคลสูตรที่พระจะสวดเป็นประจำที่เริ่มต้นด้วย "อเสวนา จ พาลานัง ปัณฑิตานัญจ เสวนา" เป็นต้น ซึ่งก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสมงคล 38 ประการนั้น ชาวเมืองสาวัตถีก็มีการโจทย์กันถึงเรื่องความดีกับความชั่วสิ่งไหนเป็นมงคลสิ่งไหนไม่เป็นมงคล จนเป็นสาเหตุให้มีการแบ่งฝ่ายเช่นเดียวกับประเทศไทยอีก ก็ลองนำมงคล 38 ประการเข้าไปจับในเหตุการณ์ในสังคมและการเมืองไทยปัจจุบันนี้ดูอาจจะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งก็เป็นได้
มาที่ข้อสอบประโยค 8 วิชาแต่งฉันท์ภาษามคธ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการคบเพื่อนและหน้าที่ของเพื่อนที่ดีเป็นอย่างไร ซึ่งก็เนื้อหาสอดคล้องกับข้อสอบแปลไทยเป็นมคธ(บาลี)ประโยค 7 เป็นแต่เพียงยกมาเฉพาะเกี่ยวกับการคบเพื่อนหรือคบคนเท่านั้น คราวประกาศผลสอบแม่กองบาลีสนามหลวงน่าจะนำการตอบข้อสอบของนักเรียนที่สอบได้มาเปิดเผยด้วยก็จะเป็นการดีอย่างยิ่งเพราะเป็นการแต่งฉันท์หรือกลอน
สุดท้ายเป็นข้อสอบการแต่งภาษาไทยเป็นภาษามคธประโยค 9 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับศีลข้อที่สี่โดยเฉพาะข้อผรุสวาจาคือว่าร้ายบุคคลอื่น พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ไม่เป็นสมณะ" ก็คือไม่เป็นคนดีนั้นเอง จะเห็นได้ว่าสังคมไทยปัจจุบันนี้ละเมิดศีลข้อนี้กันเป็นว่าเล่นโดยเฉพาะวงการการเมืองจนกระทั้งมีการกล่าวขานกันว่า "โกหกสีขาว" ก็มี เมื่อสังคมไทยมีสภาพเช่นนี้แล้วจะถือว่าเป็นชาวพุทธที่ดีได้อย่างใด
จากการประมวลข้อสอบภาษาบาลีมาดังกล่าวพอจะเป็นแนวทางของการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยได้อย่างแน่นอน โดยเริ่มจากเว้นจากการว่าร้ายกัน หันมาเป็นมุ่งสรรเสริญความดีของกันและกัน หลังจากนั้นปรับหรือปฏิรูปพฤติกรรมและแนวความคิดกันให้ตกผลึกว่าแนวทางใดถูกต้องไม่ถูกต้องอย่างใด หรือแนวทางใดเป็นมงคลแนวทางใดไม่เป็นมงคล เริ่มจากตัวเองเป็นอันดับแรก แล้วเข้าสู่กระบวนการของการสานเสวนาแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างที่พระพุทธเจ้าใช้กับชาวเมืองโกสัมพี
ลดอัตตาความเป็นตัวตนประโยชน์ตนลงบ้าง เชื่อแน่ว่าความขัดแย้งจะยุติอย่างแน่นอน อีกไม่นานก็พากันตายไปจากโลกนี้แล้วหรือใครจะอยู่ค้ำฟ้า
............................
ส่องข้อสอบบาลีปี57พบธรรมแก้ปัญหาขัดแย้ง : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FB-samran sompong)
วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557
ประมุขสงฆ์ลาวเอื้ออาทร'สมเด็จเกี่ยว'จนวินาทีสุดท้าย
ในวาระพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในการพระราชทานเพลิงศพ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ไปในการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 มีนาคม 2557 เวลา 17.00 น.นี้
พุทธศาสนิกชนศิษยานุศิษย์ของเจ้าเจ้าประคุณสมเด็จหลั่งไหลเดินทางไปที่วัดเทพศิรินทราวาสเพื่อร่วมไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้ายเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนั้นมีหลวงปู่พระมหาผ่อง สมาเลิก อายุ 99 ปี มหาสังฆนายก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เจ้าอาวาสวัดพระเจ้าองค์ตื้อรวมอยู่ด้วย ทุกครั้งที่หลวงปู่เดินทางมาประเทศไทยด้วยศาสนกิจจะเดินทางไปคารวะศพเจ้าประคุณสมเด็จเสมอมิได้ขาด แม้นว่าอายุสังขารท่านจะมากแล้ว
หลวงปู่พระมหาผ่องกับเจ้าประคุณสมเด็จนั้นถือว่าเป็นสหายธรรมกันมามีอายุสมัยร่วมกัน สืบเนื่องจากหลวงปู่พระมหาผ่องนั้นเป็นคนไทยเกิดที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี อายุ 20 ปี ข้ามโขงไปบวชที่ฝั่งลาว แล้วก็ได้มาจำพรรษาศึกษาบาลีอยู่วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ นาน 16 ปี สามารถสอบเปรียญธรรมได้จึงมีคำว่า"มหา"นำหน้า หลังจากนั้นได้เดินทางกลับไปประเทศลาวจนกระทั้งได้ดำรงตำแหน่งประมุขสงฆ์ลาว
เว็บไซต์alittlebuddhaได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างหลวงปู่พระมหาผ่องกับเจ้าประคุณสมเด็จไว้ว่า "วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2552 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ของไทย ได้นำคณะสงฆ์เดินทางข้ามโขง ไปยังพระนครหลวงเวียงจันทร์ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการเปิดประวัติศาสตร์สานสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเป็นครั้งแรก และได้รับการต้อนรับจากสมเด็จพระสังฆราชลาว รวมทั้งพระมหาสังฆนายก (พระมหาผ่อง) อย่างซื่นมื่นอีกด้วย"
นับจากนั้นเป็นต้นมีคณะสงฆ์ทั้งไทยและลาวมีความสัมพันธ์ทางด้านการปกครองการศึกษาการเผยแพร่ด้วยดีเสมอมา มีการส่งพระภิกษุสามเณรเข้ามาศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทยทั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก จบการศึกษาแล้วกลับไปพัฒนาบุคลากรชาวลาวต่อไป
และในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานครกำหนดการประชุมสัมมนาพระธรรมทูตไทยทั่วโลกเพื่อเป็นการบูชาคุณเจ้าประคุณสมเด็จ ที่ มจร อ.วังน้อยเมื่อวันที่ 8 มีนาคมนั้น หลวงปู่มหาผ่องก็ได้เดินทางไปร่วมงานด้วย โดยการประสานของพระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดี มจร ฝ่ายกิจการต่างประเทศ
ภาพหลวงปู่พระมหาผ่องกับเจ้าประคุณสมเด็จนั้นไม่ได้สื่อความสัมพันธ์เฉพาะด้านศาสนาเท่านั้น ยังสื่อถึงความสัมพันธ์ฉันพี่น้องให้แนบแน่นยื่นยาวต่อไป
การเดินทางมาประเทศไทยครั้งนี้ของหลวงปู่พระมหาผ่องจึงได้เห็นภาพคนไทยเข้าไปกราบหลวงปู่เป็นจำนวนมากอย่างเช่น"สรพงษ์ ชาตรี" ดารานักแสดงรุ่นใหญ่
นับได้ว่าหลวงปู่พระมหาผ่องมีความเอื้ออาทรต่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) จนวินาทีสุดท้าย ได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อสหายธรรมอย่างสมบูรณ์
.............................
'พระมหาผ่อง'ประมุขสงฆ์ลาวเอื้ออาทร'สมเด็จเกี่ยว'จนวินาทีสุดท้าย : สำราญ สมพงษ์รายงาน
พุทธศาสนิกชนศิษยานุศิษย์ของเจ้าเจ้าประคุณสมเด็จหลั่งไหลเดินทางไปที่วัดเทพศิรินทราวาสเพื่อร่วมไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้ายเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนั้นมีหลวงปู่พระมหาผ่อง สมาเลิก อายุ 99 ปี มหาสังฆนายก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เจ้าอาวาสวัดพระเจ้าองค์ตื้อรวมอยู่ด้วย ทุกครั้งที่หลวงปู่เดินทางมาประเทศไทยด้วยศาสนกิจจะเดินทางไปคารวะศพเจ้าประคุณสมเด็จเสมอมิได้ขาด แม้นว่าอายุสังขารท่านจะมากแล้ว
หลวงปู่พระมหาผ่องกับเจ้าประคุณสมเด็จนั้นถือว่าเป็นสหายธรรมกันมามีอายุสมัยร่วมกัน สืบเนื่องจากหลวงปู่พระมหาผ่องนั้นเป็นคนไทยเกิดที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี อายุ 20 ปี ข้ามโขงไปบวชที่ฝั่งลาว แล้วก็ได้มาจำพรรษาศึกษาบาลีอยู่วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ นาน 16 ปี สามารถสอบเปรียญธรรมได้จึงมีคำว่า"มหา"นำหน้า หลังจากนั้นได้เดินทางกลับไปประเทศลาวจนกระทั้งได้ดำรงตำแหน่งประมุขสงฆ์ลาว
เว็บไซต์alittlebuddhaได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างหลวงปู่พระมหาผ่องกับเจ้าประคุณสมเด็จไว้ว่า "วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.2552 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ของไทย ได้นำคณะสงฆ์เดินทางข้ามโขง ไปยังพระนครหลวงเวียงจันทร์ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการเปิดประวัติศาสตร์สานสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเป็นครั้งแรก และได้รับการต้อนรับจากสมเด็จพระสังฆราชลาว รวมทั้งพระมหาสังฆนายก (พระมหาผ่อง) อย่างซื่นมื่นอีกด้วย"
นับจากนั้นเป็นต้นมีคณะสงฆ์ทั้งไทยและลาวมีความสัมพันธ์ทางด้านการปกครองการศึกษาการเผยแพร่ด้วยดีเสมอมา มีการส่งพระภิกษุสามเณรเข้ามาศึกษาที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทยทั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก จบการศึกษาแล้วกลับไปพัฒนาบุคลากรชาวลาวต่อไป
และในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานครกำหนดการประชุมสัมมนาพระธรรมทูตไทยทั่วโลกเพื่อเป็นการบูชาคุณเจ้าประคุณสมเด็จ ที่ มจร อ.วังน้อยเมื่อวันที่ 8 มีนาคมนั้น หลวงปู่มหาผ่องก็ได้เดินทางไปร่วมงานด้วย โดยการประสานของพระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดี มจร ฝ่ายกิจการต่างประเทศ
ภาพหลวงปู่พระมหาผ่องกับเจ้าประคุณสมเด็จนั้นไม่ได้สื่อความสัมพันธ์เฉพาะด้านศาสนาเท่านั้น ยังสื่อถึงความสัมพันธ์ฉันพี่น้องให้แนบแน่นยื่นยาวต่อไป
การเดินทางมาประเทศไทยครั้งนี้ของหลวงปู่พระมหาผ่องจึงได้เห็นภาพคนไทยเข้าไปกราบหลวงปู่เป็นจำนวนมากอย่างเช่น"สรพงษ์ ชาตรี" ดารานักแสดงรุ่นใหญ่
นับได้ว่าหลวงปู่พระมหาผ่องมีความเอื้ออาทรต่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) จนวินาทีสุดท้าย ได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อสหายธรรมอย่างสมบูรณ์
.............................
'พระมหาผ่อง'ประมุขสงฆ์ลาวเอื้ออาทร'สมเด็จเกี่ยว'จนวินาทีสุดท้าย : สำราญ สมพงษ์รายงาน
'ปิตุฆาต มาตุฆาต'บทสะท้อนวิกฤติครอบครัวไทย
"ผมโกรธที่ถูกด่าเรื่องผลการเรียน ที่ผ่านมาโดนพ่อและแม่ดุด่าเรื่องนี้มาโดยตลอด ต่อมาเขาสัญญาว่าจะซื้อรถยนต์ให้หากผมสามารถสอบเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยได้ แต่พอผมสอบได้เขาก็ไม่ทำตามสัญญา โดยเปลี่ยนไปซื้อคอนโดมิเนียมใกล้มหาวิทยาลัยให้แทน วันเกิดเหตุแม่ด่าเรื่องผลการเรียนอีกเลยไม่พอใจซึ่งได้เล่าให้แฟนฟัง"
นี้เป็นคำสารภาพต่อตำรวจที่จำนนด้วยหลักฐานของชายหนุ่มอายุ 18 ปี ที่ก่อเหตุทำปิตุฆาต มาตุฆาตและอนุชาฆาต ฆ่าพ่อแม่และน้องชายเสียชีวิตรวม 3 ศพ ภายในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง ย่านถนนเสมา-ฟ้าคราม ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญและเป็นบทสะท้อนถึงสถาบันครอบครัวและสังคมไทยวิกฤติเช่นไร เพราะส่วนใหญ่แล้วจะได้ทราบเหตุการณ์เช่นนี้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ และเชื่อว่าเหตุการณ์นี้ผ่านไประยะหนึ่งก็เงียบหายไปเพราะผู้ก่อเหตุถูกจับแล้ว พอมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกก็โพนทนากันอีกอยู่เช่นนี้เรื่อยๆไป
ความจริงแล้วผู้ที่มีหน้าที่และต้องการทำหน้าที่ควรที่จะมาตรวจสอบตัวเองว่าบกพร่องตรงไหนแล้วหาทางป้องกัน
หากพูดตามหลักพระพุทธศาสนาแล้วถือได้ว่าเป็นกรรมหนักหรืออนันตริยกรรม 5 อย่าง คือ มาตุฆาต - ฆ่ามารดา ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์ โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ขึ้นไป เช่น พระเทวทัตได้ทำร้ายพระพุทธองค์ ในสมัยพุทธกาล และสังฆเภท - ยังสงฆ์ให้แตกกัน (ทำสังคมแตกแยก) ทำลายสงฆ์ อนันตริยกรรมทั้ง 5 ประการนี้จัดเป็นกรรมหนักหรือครุกรรม ผู้ใดทำกรรมอนันตริยกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้นั้นจะได้รับโทษทั้งทางโลกและทางธรรม โทษของทางโลกคือจะถูกผู้คนประณามและสาปแช่ง ไม่คบค้าสมาคมใดเลย และยังถูกกฎหมายบ้านเมืองลงโทษอีก
ขณะเดียวกันเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นเฟซบุ๊ก"Denla Rama 5" ได้โพสต์ข้อความเตือนสติโดยอ้างอิงจากข้อมูลจากห้องเรียนพ่อแม่ความว่า "พ่อแม่รังแกฉัน (บาป 14 ประการของมารดาบิดา)
1. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการรักเขามากเกินไป ผลก็คือเกิดภาวะรักจนหลง ลูกของตนถูกทุกอย่าง ลูกของตนดีกว่าคนอื่นเสมอ อันส่งผลให้ลูกกลายเป็นคนมีอัตตาสูง เชื่อมั่นตนเองในทางที่ผิด ชอบดูถูกคน เป็นตัวปัญหา แต่ไม่ยอมรับว่าตนเป็นคนสร้างปัญหา
2. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการตามใจเขามากเกินไป ผลก็คือพ่อแม่กลายเป็นข้าช่วงใช้ของลูก ส่วนลูกกลายเป็น “ลูกบังเกิดเกล้า” ที่พ่อแม่ต้องยอมให้เขาทุกอย่าง ที่หนักกว่านั้นก็คือ ถ้าพ่อแม่ไม่ยอมตามที่ลูกต้องการลูกบางคนก็ถึงขั้นทุบตีทำร้ายพ่อแม่
3. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่กล้าห้ามปรามสั่งสอนเมื่อลูกทำผิด ทำเลว ทำบาป ผลก็คือ ลูกสูญเสียสามัญสำนึก แยกแยะถูกผิดดีชั่วไม่เป็น มองไม่เห็นเส้นแบ่งทางจริยธรรมว่า ดีเป็นอย่างไร ชั่วเป็นอย่างไร จึงกลายเป็นนักเลงอันธพาล ระรานคนเขาไปทั่ว
4. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการให้เงินลูกเพียงอย่างเดียว ผลก็คือ ลูกไม่รู้จักคุณค่าของเงิน ไม่เห็นคุณค่าของผู้ที่หา และให้เงิน ยิ่งได้เงินมาก ยิ่งผลาญเงินเก่ง มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอใช้ และทั้งๆที่ใช้จ่ายเงินสูง แต่กลับมีคุณภาพชีวิตต่ำ
5. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่ยอมให้ลูกเรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง เกรงว่าหากให้ลูกทำอะไรด้วยตนเองแล้วเขาจะลำบาก ผลก็คือเมื่อโตขึ้นลูกกลายเป็นลูกแหง่ที่พึ่งตนเองไม่ได้ ทำอะไรด้วยตนเองไม่เป็น ยิ่งเติบโตยิ่งเป็นตัวปัญหาของสถาบันครอบครัว
6. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่ยอมส่งเสริมให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดี มัวแต่สนใจลงทุนในการทำธุรกิจเป็นร้อยเป็นพันล้าน แต่ไม่รู้จักลงทุนในการสร้างลูกให้เป็นปัญญาชน ผลก็คือลูกเติบโตแต่ตัว แต่ทว่ามีสติปัญญาที่ต่ำต้อย ขาดทักษะการคิด การใช้เหตุผล การทำงาน การเข้าสังคม เขาไม่เพียงแต่ไม่สามารถร่วมเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมเท่านั้นแต่ยังสร้าง ปัญหาให้สังคมอีกต่างหาก
7. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการทำแต่งานสังคมสงเคราะห์นอกบ้าน โดยลืมไปว่าคนที่ตนต้องสงเคราะห์ก่อนดูแลก่อนต้องให้ความรักก่อนก็คือลูก ผลก็คือแม้จะกลายเป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ประสบความสำเร็จนอกบ้าน สังคมสรรเสริญ แต่กลับเป็นพ่อแม่ที่ล้มเหลวในบ้าน และลูกกลายเป็นเด็กที่ขาดความรัก ความอบอุ่น ไม่พร้อมจะแบ่งปันความรัก และความอบอุ่นให้ใคร
8. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่รู้จักยกย่องชมเชยลูกเมื่อเขาประสบความสำเร็จในการเรียน ในการทำงาน หรือในการทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ผลก็คือลูกกลายเป็นคนใจคอคับแคบ ยกย่องชมเชยใครไม่เป็น เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีมีความสำเร็จ เขาจึงเป็นนักอิจฉาริษยาตัวฉกาจ ที่จ้องแต่จะหาทางทำลายคุณงามความดีของคนอื่น
9. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่รู้จักสอนเขาให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ผลก็คือ เมื่อโตขึ้น เขาจึงพร้อมผละหนีพ่อแม่ไปอย่างไม่รู้สึกผิด ไม่เห็นความจำเป็นว่า การเป็นลูกที่ดีนั้น จะต้องกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ของตนอย่างไร
10. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่สอนลูกให้รู้จักการบำเพ็ญตนเป็นผู้ให้ ผลก็คือเมื่อโตขึ้นเขาจึงกลายเป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ คิดแต่จะกอบโกย คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวจนมองไม่เห็นหัวคนอื่น แทนที่จะถือหลัก “ยิ่งรวยยิ่งให้ ยิ่งได้ยิ่งแบ่ง”กลับถือหลัก “ยิ่งรวยยิ่งคอร์รัปชั่น ยิ่งแบ่งปันยิ่งสูญเสียเปล่า”
11. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่ยอมให้ลูกรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง ผลก็คือ ลูกกลายเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าคิด ไม่กล้าพูด ไม่กล้าทำอะไร ส่งผลให้ไร้ภาวะผู้นำ ต้องเดินตามคนอื่นโดยดุษฎี
12. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่สอนให้ลูกรู้จักสมบัติของผู้ดี ผลก็คือเขากลายเป็นคนหยาบกระด้างทั้งทางกาย ทางใจ ใจคอโหดหินทมิฬชาติ ขาดความสุภาพอ่อนน้อม ขาดสัมมาคาราวะ ไม่รู้จักกาลเทศะ ไม่รู้จักประมาณตน ครองตน ครองงานไม่เป็น ไม่เห็นคุณค่าของระเบียบประเพณี กฎหมาย จรรยาจารีตของสังคม ไม่เคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนดีของเพื่อนมนุษย์
13. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่แนะนำให้ลูกรู้จักคบเพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร (เพื่อนแท้) ผลก็คือรอบกายของเขาจึงมีแต่บาปมิตร (เพื่อนเทียม) คอยประจบสอพลอ คอยหลอกล่อให้ทำความเลวทรามต่ำช้า ติดสุรา ยาเสพติด นำพาชีวิตไปในทางเสียหาย ตกอยู่ใต้วังวนของอบายมุข สนุกสนาน ไม่สนใจหาแก่นสารให้กับชีวิต
14. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่รู้จักสร้างสภาพแวดล้อมให้ลูกเป็นคนรักการอ่าน รักการเขียน รักการเรียนรู้ รักการเดินทาง ปล่อยให้เขาศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเองไปตามยถากรรม ผลก็คือเขากลายเป็นคนหูตาคับแคบ ขาดความรู้พื้นฐาน ขาดความรู้รอบตัว ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การคิด พูด ทำ ไม่เฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง ขาดความแหลมคม ตามไม่ทันโลก ตกข่าว เป็นคนว่างเปล่าทางความรู้ (รอบตัว) ความคิด จิตใจ และไม่มีรสนิยมอย่างอารยชน
จากคำสารภาพจะเห็นได้ว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างลูกกับพ่อแม่เพราะผลการเรียน เมื่อทราบว่าเป็นความขัดแย้งแล้วจะมีวิธีการแก้ไขความขัดแย้งนั้นอย่างไร สังคมไทยรู้วิธีการนี้มากน้อยเพียงใด ใครหรือหน่วยงานใดจะมีหน้าที่ค่อยช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำ และมีบุคลากรด้านนี้เพียงพอหรือยังหรือจะปล่อยให้เลยตามเลย ดังนั้น วิชาการในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจึงมีความสำคัญยิ่งในภาวะสังคมไทยปัจจุบัน
หรือว่าสังคมไทยไม่ให้ความสำคัญกับหลักอนันตริยกรรม 5 ประการนี้แล้ว
.........................................
'ปิตุฆาต มาตุฆาต'บทสะท้อนวิกฤติครอบครัวไทย : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FB-samran sompong)
นี้เป็นคำสารภาพต่อตำรวจที่จำนนด้วยหลักฐานของชายหนุ่มอายุ 18 ปี ที่ก่อเหตุทำปิตุฆาต มาตุฆาตและอนุชาฆาต ฆ่าพ่อแม่และน้องชายเสียชีวิตรวม 3 ศพ ภายในหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง ย่านถนนเสมา-ฟ้าคราม ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญและเป็นบทสะท้อนถึงสถาบันครอบครัวและสังคมไทยวิกฤติเช่นไร เพราะส่วนใหญ่แล้วจะได้ทราบเหตุการณ์เช่นนี้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ และเชื่อว่าเหตุการณ์นี้ผ่านไประยะหนึ่งก็เงียบหายไปเพราะผู้ก่อเหตุถูกจับแล้ว พอมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกก็โพนทนากันอีกอยู่เช่นนี้เรื่อยๆไป
ความจริงแล้วผู้ที่มีหน้าที่และต้องการทำหน้าที่ควรที่จะมาตรวจสอบตัวเองว่าบกพร่องตรงไหนแล้วหาทางป้องกัน
หากพูดตามหลักพระพุทธศาสนาแล้วถือได้ว่าเป็นกรรมหนักหรืออนันตริยกรรม 5 อย่าง คือ มาตุฆาต - ฆ่ามารดา ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์ โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อ ขึ้นไป เช่น พระเทวทัตได้ทำร้ายพระพุทธองค์ ในสมัยพุทธกาล และสังฆเภท - ยังสงฆ์ให้แตกกัน (ทำสังคมแตกแยก) ทำลายสงฆ์ อนันตริยกรรมทั้ง 5 ประการนี้จัดเป็นกรรมหนักหรือครุกรรม ผู้ใดทำกรรมอนันตริยกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้นั้นจะได้รับโทษทั้งทางโลกและทางธรรม โทษของทางโลกคือจะถูกผู้คนประณามและสาปแช่ง ไม่คบค้าสมาคมใดเลย และยังถูกกฎหมายบ้านเมืองลงโทษอีก
ขณะเดียวกันเมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นเฟซบุ๊ก"Denla Rama 5" ได้โพสต์ข้อความเตือนสติโดยอ้างอิงจากข้อมูลจากห้องเรียนพ่อแม่ความว่า "พ่อแม่รังแกฉัน (บาป 14 ประการของมารดาบิดา)
1. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการรักเขามากเกินไป ผลก็คือเกิดภาวะรักจนหลง ลูกของตนถูกทุกอย่าง ลูกของตนดีกว่าคนอื่นเสมอ อันส่งผลให้ลูกกลายเป็นคนมีอัตตาสูง เชื่อมั่นตนเองในทางที่ผิด ชอบดูถูกคน เป็นตัวปัญหา แต่ไม่ยอมรับว่าตนเป็นคนสร้างปัญหา
2. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการตามใจเขามากเกินไป ผลก็คือพ่อแม่กลายเป็นข้าช่วงใช้ของลูก ส่วนลูกกลายเป็น “ลูกบังเกิดเกล้า” ที่พ่อแม่ต้องยอมให้เขาทุกอย่าง ที่หนักกว่านั้นก็คือ ถ้าพ่อแม่ไม่ยอมตามที่ลูกต้องการลูกบางคนก็ถึงขั้นทุบตีทำร้ายพ่อแม่
3. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่กล้าห้ามปรามสั่งสอนเมื่อลูกทำผิด ทำเลว ทำบาป ผลก็คือ ลูกสูญเสียสามัญสำนึก แยกแยะถูกผิดดีชั่วไม่เป็น มองไม่เห็นเส้นแบ่งทางจริยธรรมว่า ดีเป็นอย่างไร ชั่วเป็นอย่างไร จึงกลายเป็นนักเลงอันธพาล ระรานคนเขาไปทั่ว
4. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการให้เงินลูกเพียงอย่างเดียว ผลก็คือ ลูกไม่รู้จักคุณค่าของเงิน ไม่เห็นคุณค่าของผู้ที่หา และให้เงิน ยิ่งได้เงินมาก ยิ่งผลาญเงินเก่ง มีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอใช้ และทั้งๆที่ใช้จ่ายเงินสูง แต่กลับมีคุณภาพชีวิตต่ำ
5. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่ยอมให้ลูกเรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง เกรงว่าหากให้ลูกทำอะไรด้วยตนเองแล้วเขาจะลำบาก ผลก็คือเมื่อโตขึ้นลูกกลายเป็นลูกแหง่ที่พึ่งตนเองไม่ได้ ทำอะไรด้วยตนเองไม่เป็น ยิ่งเติบโตยิ่งเป็นตัวปัญหาของสถาบันครอบครัว
6. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่ยอมส่งเสริมให้ลูกได้รับการศึกษาที่ดี มัวแต่สนใจลงทุนในการทำธุรกิจเป็นร้อยเป็นพันล้าน แต่ไม่รู้จักลงทุนในการสร้างลูกให้เป็นปัญญาชน ผลก็คือลูกเติบโตแต่ตัว แต่ทว่ามีสติปัญญาที่ต่ำต้อย ขาดทักษะการคิด การใช้เหตุผล การทำงาน การเข้าสังคม เขาไม่เพียงแต่ไม่สามารถร่วมเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมเท่านั้นแต่ยังสร้าง ปัญหาให้สังคมอีกต่างหาก
7. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการทำแต่งานสังคมสงเคราะห์นอกบ้าน โดยลืมไปว่าคนที่ตนต้องสงเคราะห์ก่อนดูแลก่อนต้องให้ความรักก่อนก็คือลูก ผลก็คือแม้จะกลายเป็นนักสังคมสงเคราะห์ที่ประสบความสำเร็จนอกบ้าน สังคมสรรเสริญ แต่กลับเป็นพ่อแม่ที่ล้มเหลวในบ้าน และลูกกลายเป็นเด็กที่ขาดความรัก ความอบอุ่น ไม่พร้อมจะแบ่งปันความรัก และความอบอุ่นให้ใคร
8. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่รู้จักยกย่องชมเชยลูกเมื่อเขาประสบความสำเร็จในการเรียน ในการทำงาน หรือในการทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ผลก็คือลูกกลายเป็นคนใจคอคับแคบ ยกย่องชมเชยใครไม่เป็น เมื่อเห็นคนอื่นได้ดีมีความสำเร็จ เขาจึงเป็นนักอิจฉาริษยาตัวฉกาจ ที่จ้องแต่จะหาทางทำลายคุณงามความดีของคนอื่น
9. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่รู้จักสอนเขาให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ผลก็คือ เมื่อโตขึ้น เขาจึงพร้อมผละหนีพ่อแม่ไปอย่างไม่รู้สึกผิด ไม่เห็นความจำเป็นว่า การเป็นลูกที่ดีนั้น จะต้องกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ของตนอย่างไร
10. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่สอนลูกให้รู้จักการบำเพ็ญตนเป็นผู้ให้ ผลก็คือเมื่อโตขึ้นเขาจึงกลายเป็นคนเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ คิดแต่จะกอบโกย คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัวจนมองไม่เห็นหัวคนอื่น แทนที่จะถือหลัก “ยิ่งรวยยิ่งให้ ยิ่งได้ยิ่งแบ่ง”กลับถือหลัก “ยิ่งรวยยิ่งคอร์รัปชั่น ยิ่งแบ่งปันยิ่งสูญเสียเปล่า”
11. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่ยอมให้ลูกรู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง ผลก็คือ ลูกกลายเป็นคนขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าคิด ไม่กล้าพูด ไม่กล้าทำอะไร ส่งผลให้ไร้ภาวะผู้นำ ต้องเดินตามคนอื่นโดยดุษฎี
12. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่สอนให้ลูกรู้จักสมบัติของผู้ดี ผลก็คือเขากลายเป็นคนหยาบกระด้างทั้งทางกาย ทางใจ ใจคอโหดหินทมิฬชาติ ขาดความสุภาพอ่อนน้อม ขาดสัมมาคาราวะ ไม่รู้จักกาลเทศะ ไม่รู้จักประมาณตน ครองตน ครองงานไม่เป็น ไม่เห็นคุณค่าของระเบียบประเพณี กฎหมาย จรรยาจารีตของสังคม ไม่เคารพในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคนดีของเพื่อนมนุษย์
13. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่แนะนำให้ลูกรู้จักคบเพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร (เพื่อนแท้) ผลก็คือรอบกายของเขาจึงมีแต่บาปมิตร (เพื่อนเทียม) คอยประจบสอพลอ คอยหลอกล่อให้ทำความเลวทรามต่ำช้า ติดสุรา ยาเสพติด นำพาชีวิตไปในทางเสียหาย ตกอยู่ใต้วังวนของอบายมุข สนุกสนาน ไม่สนใจหาแก่นสารให้กับชีวิต
14. พ่อแม่บางคนทำร้ายลูกด้วยการไม่รู้จักสร้างสภาพแวดล้อมให้ลูกเป็นคนรักการอ่าน รักการเขียน รักการเรียนรู้ รักการเดินทาง ปล่อยให้เขาศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเองไปตามยถากรรม ผลก็คือเขากลายเป็นคนหูตาคับแคบ ขาดความรู้พื้นฐาน ขาดความรู้รอบตัว ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การคิด พูด ทำ ไม่เฉลียวฉลาดปราดเปรื่อง ขาดความแหลมคม ตามไม่ทันโลก ตกข่าว เป็นคนว่างเปล่าทางความรู้ (รอบตัว) ความคิด จิตใจ และไม่มีรสนิยมอย่างอารยชน
จากคำสารภาพจะเห็นได้ว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างลูกกับพ่อแม่เพราะผลการเรียน เมื่อทราบว่าเป็นความขัดแย้งแล้วจะมีวิธีการแก้ไขความขัดแย้งนั้นอย่างไร สังคมไทยรู้วิธีการนี้มากน้อยเพียงใด ใครหรือหน่วยงานใดจะมีหน้าที่ค่อยช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำ และมีบุคลากรด้านนี้เพียงพอหรือยังหรือจะปล่อยให้เลยตามเลย ดังนั้น วิชาการในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจึงมีความสำคัญยิ่งในภาวะสังคมไทยปัจจุบัน
หรือว่าสังคมไทยไม่ให้ความสำคัญกับหลักอนันตริยกรรม 5 ประการนี้แล้ว
.........................................
'ปิตุฆาต มาตุฆาต'บทสะท้อนวิกฤติครอบครัวไทย : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FB-samran sompong)
เมื่อ'รถไฟเร็วสูงขนผัก'ไร้ราง 'ปู'สวมจี้สัญลักษณ์ถามหาสันติภาพ
ในที่สุดคนไทยก็ได้ทราบว่า ร่าง
พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม
ขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท "ไม่ได้ไปต่อ"
เนื่องจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 วินิจฉัยว่า
"ขัดรัฐธรรมนูญ" ทั้งในส่วนของเนื้อหาและกระบวนการตรากฎหมาย
โดยเฉพาะมีการใช้บัตรแทนกันลงคะแนนในชั้นของการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร
ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนี้ มีแผนโครงการที่สำคัญที่กล่าวขานกันมากคือสร้างรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อ หัวเมืองใหญ่ไปบรรจบกับประเทศเพื่อนบ้าน และคงจำกันได้ดีก็คือว่าในระหว่างการเสนอร่างต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร นั้นน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พรรณาถึงความจำเป็นของรถไฟความเร็วสูง และที่ฮือฮามากสุดก็คือ "สามารถขนสินค้าทางการเกษตร" เป็นการส่งเสริมรายได้อีกทางหนึ่ง
ทันทีที่ทราบผล น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ระบายความรู้สึกด้วยน้ำตาคลอเบ้าถามหาความยุติธรรม พร้อมกับบอกว่า "มีหลักเมตตาธรรมทำเพื่อประเทศ"
และขณะที่ผู้สื่อข่าวถามคำต่างๆอยู่นั้นคงเห็นว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์สวมจี้ เครื่องหมายสันติภาพที่คอ จึงได้ถามว่า ต้องการจะสื่อถึงอะไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวด้วยน้ำตาคลอเบ้าว่า จริงๆอันนี้ก็อยากจะสื่อถึงสันติภาพ เราอยากเห็นสัญลักษณ์ของสันติภาพนี้เกิดขึ้น
"คำว่าสันติภาพในความหมายของดิฉันไม่ได้มองความหมายแค่ว่าสันติภาพนั้นคือ การที่เราอยู่กันอย่างสงบโดยไม่ใช้กำลังรุนแรง แต่สันติภาพนี้อยากให้สื่อไปถึงความที่เราต้องให้ความยุติธรรมอย่างเสมอภาค การดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมกันให้หลักการดูแล หลักเมตตาธรรมเอื้ออาทรนั้นเป็นจุดโยงในการยึดใยความสันติความสงบในใจของคน ไทยทุกคน ขอบคุณค่ะ" น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวด้วยเสียงสั่นและน้ำตาคลอ
หลังจากนั้นก็มีการเผยแพร่คำกล่าวถึงคำว่า "สันติภาพ" นี้ผ่านทั้งเฟซบุ๊ก "Yingluck Shinawatra" และลงในแอพพลิเคชั่น "อินสตาแกรม(IG)"ที่ใช้ชื่อว่า "pouyingluck_shin" พร้อมกันนี้ยังให้คณะรัฐมนตรีและคณะได้สวมเครื่องหมายสัญลักษณ์นี้ด้วย
แน่นอนหากพิจารณาตามคำกล่าวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ "ดูสวย" ทั้งคำว่า "สันติภาพ" "ความสันติความสงบในใจ" และ "เมตตาธรรม" แต่เมื่อดูบริบทของคนรอบข้างน.ส.ยิ่งลักษณ์ ทั้งคนในรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดงแล้ว มีเมตตาธรรมและมีสันติความสงบในใจหรือไม่
ดังนั้น หากน.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องการสันติภาพจริง ฝ่ายของน.ส.ยิ่งลักษณ์จะต้องหยุดปัจจัยสร้างบรรยากาศไม่ให้เกิด "สันติภาพ" หลังจากนั้นเข้าสู่กระบวนการของการสร้าง "สันติภาพ" เชื่อแน่ว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์คงจะทราบกระบวนการนี้ดี เพราะสำนักสันติภาพต่างๆ ก็ได้เสนอแนวคิดออกมาอย่างต่อเนื่อง
และหากต้องการที่จะสร้าง "ความสันติความสงบในใจ" และมี "เมตตาธรรมในใจ" เกิดขึ้นจริงแล้ว สำนักที่สร้างกระบวนการนี้คือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) และเชื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์คงจะรู้จักเพราะว่าคนพรรคเพื่อไทยเดินเข้าออกอยู่ เสมอ
เพราะสำนักสันติภาพแห่งนี้ได้สร้างกระบวนการของการสร้าง "สันติภาพภายในใจ"วิธีพุทธ โดยร่วมมือกับศาลยุติธรรมและสถาบันพระปกเกล้า เปิดหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโทเปิดการเรียนการสอนรุ่นที่หนึ่งแล้วและ กำลังเปิดรับสมัครรุ่นที่สองอยู่ ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายสร้าง "วิศวกรสันติภาพ" ที่มีคุณภาพขึ้นมาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งวิถีพุทธ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ลองส่งสมาชิกพรรคเพื่อไทยมาสมัครเรียนดูจะได้รู้จริงของการ กระบวนการสร้าง "ความสันติความสงบในใจ" และมีเมตตาธรรมที่แท้จริงตามที่กล่าว เพราะว่า "สันติภาพ" ทั้งภายในและภายนอกนั้นไม่ได้เกิดด้วยคำพูดแต่ต้องลงมือกระทำ และ "เมตตาธรรม" จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้ายังเห็นแก่ตัวอยู่
.................
ร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทนี้ มีแผนโครงการที่สำคัญที่กล่าวขานกันมากคือสร้างรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อ หัวเมืองใหญ่ไปบรรจบกับประเทศเพื่อนบ้าน และคงจำกันได้ดีก็คือว่าในระหว่างการเสนอร่างต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร นั้นน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พรรณาถึงความจำเป็นของรถไฟความเร็วสูง และที่ฮือฮามากสุดก็คือ "สามารถขนสินค้าทางการเกษตร" เป็นการส่งเสริมรายได้อีกทางหนึ่ง
ทันทีที่ทราบผล น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ระบายความรู้สึกด้วยน้ำตาคลอเบ้าถามหาความยุติธรรม พร้อมกับบอกว่า "มีหลักเมตตาธรรมทำเพื่อประเทศ"
และขณะที่ผู้สื่อข่าวถามคำต่างๆอยู่นั้นคงเห็นว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์สวมจี้ เครื่องหมายสันติภาพที่คอ จึงได้ถามว่า ต้องการจะสื่อถึงอะไร น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวด้วยน้ำตาคลอเบ้าว่า จริงๆอันนี้ก็อยากจะสื่อถึงสันติภาพ เราอยากเห็นสัญลักษณ์ของสันติภาพนี้เกิดขึ้น
"คำว่าสันติภาพในความหมายของดิฉันไม่ได้มองความหมายแค่ว่าสันติภาพนั้นคือ การที่เราอยู่กันอย่างสงบโดยไม่ใช้กำลังรุนแรง แต่สันติภาพนี้อยากให้สื่อไปถึงความที่เราต้องให้ความยุติธรรมอย่างเสมอภาค การดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมกันให้หลักการดูแล หลักเมตตาธรรมเอื้ออาทรนั้นเป็นจุดโยงในการยึดใยความสันติความสงบในใจของคน ไทยทุกคน ขอบคุณค่ะ" น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวด้วยเสียงสั่นและน้ำตาคลอ
หลังจากนั้นก็มีการเผยแพร่คำกล่าวถึงคำว่า "สันติภาพ" นี้ผ่านทั้งเฟซบุ๊ก "Yingluck Shinawatra" และลงในแอพพลิเคชั่น "อินสตาแกรม(IG)"ที่ใช้ชื่อว่า "pouyingluck_shin" พร้อมกันนี้ยังให้คณะรัฐมนตรีและคณะได้สวมเครื่องหมายสัญลักษณ์นี้ด้วย
แน่นอนหากพิจารณาตามคำกล่าวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ "ดูสวย" ทั้งคำว่า "สันติภาพ" "ความสันติความสงบในใจ" และ "เมตตาธรรม" แต่เมื่อดูบริบทของคนรอบข้างน.ส.ยิ่งลักษณ์ ทั้งคนในรัฐบาล พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดงแล้ว มีเมตตาธรรมและมีสันติความสงบในใจหรือไม่
ดังนั้น หากน.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องการสันติภาพจริง ฝ่ายของน.ส.ยิ่งลักษณ์จะต้องหยุดปัจจัยสร้างบรรยากาศไม่ให้เกิด "สันติภาพ" หลังจากนั้นเข้าสู่กระบวนการของการสร้าง "สันติภาพ" เชื่อแน่ว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์คงจะทราบกระบวนการนี้ดี เพราะสำนักสันติภาพต่างๆ ก็ได้เสนอแนวคิดออกมาอย่างต่อเนื่อง
และหากต้องการที่จะสร้าง "ความสันติความสงบในใจ" และมี "เมตตาธรรมในใจ" เกิดขึ้นจริงแล้ว สำนักที่สร้างกระบวนการนี้คือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) และเชื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์คงจะรู้จักเพราะว่าคนพรรคเพื่อไทยเดินเข้าออกอยู่ เสมอ
เพราะสำนักสันติภาพแห่งนี้ได้สร้างกระบวนการของการสร้าง "สันติภาพภายในใจ"วิธีพุทธ โดยร่วมมือกับศาลยุติธรรมและสถาบันพระปกเกล้า เปิดหลักสูตรสันติศึกษาระดับปริญญาโทเปิดการเรียนการสอนรุ่นที่หนึ่งแล้วและ กำลังเปิดรับสมัครรุ่นที่สองอยู่ ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายสร้าง "วิศวกรสันติภาพ" ที่มีคุณภาพขึ้นมาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งวิถีพุทธ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ลองส่งสมาชิกพรรคเพื่อไทยมาสมัครเรียนดูจะได้รู้จริงของการ กระบวนการสร้าง "ความสันติความสงบในใจ" และมีเมตตาธรรมที่แท้จริงตามที่กล่าว เพราะว่า "สันติภาพ" ทั้งภายในและภายนอกนั้นไม่ได้เกิดด้วยคำพูดแต่ต้องลงมือกระทำ และ "เมตตาธรรม" จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้ายังเห็นแก่ตัวอยู่
.................
เมื่อ'รถไฟเร็วสูงขนผัก'ไร้ราง 'ปู'สวมจี้สัญลักษณ์ถามหาสันติภาพ : กระดานความคิด โดยสำราญ สมพงษ์(FBsamran sompong)
'มองลิง3ตัวที่ญี่ปุ่น'เห็นวิธีสร้างสันติภาพสังคมไทย
เมื่อวันที่ 23 มี.ค.นี้ เว็บไซต์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้เผยแพร่รายงานเรื่อง "สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์เก็บข้อมูลวิจัยด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมในประเทศญี่ปุ่น" โดยพระมหาเสรีชน นริสฺสโร ความว่า เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์- 3 มีนาคม 2557 สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์นำโดยพระมหาสุทิตย์ อาภากโร,ดร. ผู้อำนวยการ พระมหาเสรีชน นริสฺสโร นักวิจัย ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง คณะสังคมศาสตร์ ดร.อธิเทพ ผาทา คณะพุทธศาสตร์ ดร.สมศักดิ์ สายหยุด รองผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์พุทธโสธร และคณะ จำนวน 13 รูป/คน เดินทางไปศึกษาวิจัยด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ณ กรุงโตเกียว-โยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ดังนี้
วันพฤหัสบดีที่ 27 ก.พ. 2557 เดินทางถึงสนามบินนาริตะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยสายการบินเดลด้าแอร์ไลน์ (Delta Air Lines) เที่ยวบินที่ DL 284 เข้าที่พัก จากนั้นเดินทางไปวัดเซ็นโซจิ (Senso-ji) หรือวัดวัดเจ้าแม่กวนอิมแห่งอะซะกุซะ (Asakusa Kannon Temple) ซึ่งเป็นวัดทางศาสนาพุทธมหายานอันเก่าแก่ที่สุดในโตเกียวที่คนไทยและคนญี่ปุ่นนับถือมาก เจ้าแม่กวนอิมเป็นเทพีแห่งความเมตตาปราณี ซึ่งชื่อกวนอิมนี้เป็นชื่อเรียกสั้น ๆ มาจากคำว่า กวนซื่อยิน (Guanshi Yin) อันหมายถึง ผู้สดับเสียงของโลก สำหรับในประเทศญี่ปุ่นนั้นจะเรียกเจ้าแม่กวนอิมว่า คันนง (Kannon)
วันศุกร์ที่ 28 ก.พ. 2557 เดินทางไปยังวัดโคโตะกุอิน (Kotoku-in) ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปใหญ่แห่งคะมะกุระหรือไดบุตสึ (Daibutsu) พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สูง 13.35 เมตร หนัก 122 ตัน รวมฐาน ชาวญี่ปุ่นนิยมมาสักการะเพื่อขอบุตร มีรองเท้าฟางของพระใหญ่ไดบุตสึ มีร้านขายของที่ระลึก ที่นี่ยังมีต้นสนที่ราชวงศ์จักรีของไทยทรงปลูกไว้ครั้งเสด็จพระราชดำเนิน ณ วัดโคโตะกุอิน โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปลูกในปี ค.ศ. 1902 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงปลูกในปี ค.ศ. 1931 และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงปลูกในปี ค.ศ. 1987
วันเสาร์ที่ 1 มี.ค. 2557 เดินทางไปยังเมืองนิกโก (Nikko) โดยใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในทิวเขาในจังหวัดโทะจิงิ ประเทศญี่ปุ่น อยู่ห่างจากกรุงโตเกียวไปทางทิศเหนือ ประมาณ 140 กิโลเมตร เที่ยวชมวัดรินโนจิ (Rinnoji) ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 766 ใช้เป็นชื่อเรียกรวมๆ ของวัดเล็กน้อยทั้ง 15 วัดที่อยู่ใกล้ๆ พื้นที่ด้านซ้ายมือเป็นที่ประดิษฐานดวงวิญญาณอิเอะมัตสึ (หลาน) โชกุนในตระกูลโทะกุงะวะรุ่นที่ 3 ชมศาลเจ้าโทโชงุ (Toshogu Shrine) อายุกว่า 1,200 ปี ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นสุสานของท่านอิเอะยะชุ โชกุนผู้สร้างเมืองเอะโดะต่อ ตัวศาลเจ้ามีสถาปัตยกรรมที่สวยงามและมีงานประติมากรรมมากมายที่แฝงไว้ด้วยความนัย เช่น ประตูหินโทะริอิ (หนึ่งในสามประตูหินทีดีที่สุดในญี่ปุ่น), เจดีย์ 5 ชั้น, มีงานแกะสลักรูปลิง 3 ตัว ตัวหนึ่งปิดหู ตัวหนึ่งปิดปากและอีกตัวหนึ่งปิดตา อันมีความหมายตามหลักคำสอนของนิกายเทนไดว่า หากเราไม่มอง ไม่ฟังและไม่พูดในสิ่งที่เลวร้ายเภทภัยก็จะไม่ย่างกรายมาสู่ตัวเรา
วันอาทิตย์ที่ 2 มี.ค. 2557 เดินทางไปยังพระราชวังอิมพิเรียล (Imperial Palace) ที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ซึ่งงดงามและประกอบด้วยจุดสำคัญๆ หลายจุด เช่น ซันโนะมะรุโซโซกัน (Sannomaru Shozokan) พิพิธภัณฑ์ของพระราชวังอิมพีเรียลที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1992 เพื่อเก็บผลงานศิลปะของราชวงศ์ที่บริจาคให้กับรัฐบาล เท็นชุกะกุอะโตะ (Tenshukaku Ato) ซากฐานปราสาทเอะโดะขนาด 5 ชั้นที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1607 ด้วยความสูง 58 เมตร และมีปลาทองคำขนาดใหญ่สุดในญี่ปุ่นอยู่บนหลังคา โชเรียวบุโชชะ (Shoryobu Chosha) หอจดหมายเหตุของพระราชวังที่รับผิดชอบในการบริหารและรักษาเอกสารสำคัญ ตลอดจนดูแลหลุมฝังศพของราชวงศ์ที่ตั้งอยู่ในสถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น บะอิริงซะกะ (Bairin-zaka) แนวต้นซากุระที่ปลูกในสมัยเอะโดะโดยมีมากถึง 100 ต้น (สีแดง 50 ต้น และสีขาว 50 ต้น) เป็นต้น
วันจันทร์ที่ 3 มี.ค. 2557 เดินทางไปยังย่านชินจูกุ (Shinjuku) เยี่ยมชมศาลเจ้าเมจิ (Meiji Shrine) ซึ่งถูกสร้างอุทิศให้กับจักรพรรดิเมจิและจักรพรรดินีโชเก็งที่สวรรคตในปี ค.ศ.1912 และ 1914 ตามลำดับ ปัจจุบันที่นี่มักถูกใช้จัดพิธีกรรม พิธีแต่งงานแบบญี่ปุ่นแท้ๆ และงานเทศกาลทางศาสนาต่างๆ ตลอดทั้งปี เช่น งานพิธี 753 (ชิจิโกะซัง) ที่เด็กญี่ปุ่นเมื่ออายุครบ 3,5 และ 7 ขวบ ต้องทำพิธีทางศาสนาเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง ส่วนภายในนอกจากจะมีศาลเจ้าให้สักการะ ก็ยังมีเครื่องใช้ต่างๆ ของจักรพรรดิเมจิและจักรพรรดินีโชเก็ง และสวนสวยที่เต็มไปด้วยพันธุ์ไม้และดอกไม้ให้ชม และเดินทางกลับประเทศไทยโดยสายการบินเดลต้าแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ DL 283
จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าบทบาทของพระพุทธศาสนาที่ส่งผลต่อประชาชนที่เห็นได้ชัด คือ วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามที่ทำให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นมีแบบแผนการดำเนินชีวิตที่สงบสุข ซื่อสัตย์ ขยัน ตรงต่อเวลา มีวินัยรับผิดชอบ กตัญญู มีน้ำใจ มีภาษา มีศิลปะที่สวยสดงดงาม ศาสนสถานที่บรรพบุรุษสร้างสรรค์กันขึ้นมา มีอิทธิพลต่อระบบความคิดและพฤติกรรมของชาวญี่ปุ่น การจัดสภาพวัดและศาสนสถานให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อมได้ดี บางแห่งได้ดูแลรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร ดูแลสภาพผืนป่าให้คงมีความอุดมสมบูรณ์ เชิญชวนนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลกันเข้าไปในประเทศญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี และตลอดการเดินทางของคณะครั้งนี้โดยส่วนใหญ่อาศัยรถไฟความเร็วสูงที่มีความสะดวกและรวดเร็ว ได้รับการต้อนรับนำทางโดยคุณเกษร สตรีไทยซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมากกว่า 20 ปี
จากรายงานนี้มีจุดที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือภาพงานแกะสลักรูปลิง 3 ตัว ตัวหนึ่งปิดหู ตัวหนึ่งปิดปากและอีกตัวหนึ่งปิดตา อันมีความหมายตามหลักคำสอนของนิกายเทนไดว่า หากเราไม่มอง ไม่ฟังและไม่พูดในสิ่งที่เลวร้ายเภทภัยก็จะไม่ย่างกรายมาสู่ตัวเรา เพราะว่าเคยเห็นภาพนี้ที่พิพิธภัณฑ์มหาตมะ คานธีที่ประเทศอินเดียว และที่สวนโมขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี
นับได้ว่าเป็นคติธรรมร่วมสมัยและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมไทยที่มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองสังคมไทยยามปัจจุบันได้เป็นอย่างดียิ่ง และเชื่อว่าจะเป็นแนวทางที่สามารถสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นได้
.....................
'มองลิง3ตัวที่ญี่ปุ่น'เห็นวิธีสร้างสันติภาพสังคมไทย : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FBsamran sompong)
แกะรอย'พุทธิศักดิ์คลินิก'พบหลวงพ่อคูณดังไกลถึงมาเลย์
จากกรณีเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โพสต์ภาพในโซเชียลมีเดีย แฉพฤติกรรมคนกลุ่มหนึ่งที่แต่งกายคล้ายพระสงฆ์นั่งทำพิธีกรรมปิดแผ่นทองคำลงบนหน้าหญิงสาววัยกลางคนและบุคคลแต่งกายคล้ายแม่ชี โดยท้ายภาพระบุชื่อ “พุทธิศักดิ์คลินิก” แสดงให้เห็นถึงการประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสมหากชายดังกล่าวเป็นพระภิกษุจริง
ต่อมาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้ตรวจสอบพบว่าพิธีดังกล่าวทำในวัดซับอุดมมงคลธรรม ต.หนองย่างทอย อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ พระครูไพบูลย์พัชรโสภณ เป็นเจ้าอาวาส ส่งผลให้ทั้งตำรวจและเจ้าหน้าที่ พศ.ลงพื้นที่แต่ไม่พบตัวเจ้าอาวาสทราบว่าเดินทางไปประเทศมาเลเซีย
นายรวีโรจน์ พุทธัง อายุ 52 ปี ลูกศิษย์ของเจ้าอาวาสหรือหลวงพ่อเณรให้การกับตำรวจว่า หลวงพ่อเณรได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งขณะนี้เดินทางต่อไปประเทศจีน อีก 2-3 วัน จะเดินทางกลับมาประเทศไทยและจะเดินทางกลับมาที่วัด
ขณะทีพ.ต.อ. ฐิติภัทร อินทรรักษ์ .ผกก.สภ.ศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า จากการให้การของนายรวีโรจน์ทราบว่า พระที่ปรากฏในรูปที่เป็นข่าวนั้นเป็นพระจากต่างจังหวัดไม่รู้มาจากที่ไหน ขณะที่หญิงสาวและแม่ชีที่มาให้ประกอบพิธีนั้น เป็นชาวมาเลเซียและชาวจีน
นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) ขู่ว่า พศ.แจ้งให้เจ้าคณะปกครองทั่วประเทศ ดูแลและกำชับพระสงฆ์ในปกครองให้ระมัดระวังเรื่องพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่อง การตั้งตนเป็นหมอทำเสน่ห์ยาแฝด เพราะจะทำให้เสื่อมเกียรติคุณคณะสงฆ์ โดยให้ยึดประกาศมส. เรื่องห้ามไม่ให้ภิกษุเป็นหมอทำเสนห์ยาแฝด อาถรรพณ์ ทั้งนี้ หากมีการฝ่าฝืน หรือมีผู้ร้องเรียนแจ้งเป็นหลักฐานมายังพศ. หรือเจ้าคณะปกครอง และพิสูจน์ได้ว่า ภิกษุเป็นหมอทำเสน่ห์ยาแฝดจริง ต้องถูกพิจารณาลงโทษให้สึกภิกษุนั้นทันที
แต่ก็สังสัยเหมือนกันว่ากรณีหลวงเณรคำตอนนี้เรื่องไปถึงไหนแล้วหรือว่าหมดหน้าที่ของพศ.และดีเอสไอไปแล้ว
จากคำให้การของนายวีโรจน์ที่ระบุมีประเทศมาเลเซีย ชาวมาเลย์และชาวจีนเข้ามาเดี่ยวข้องนั้น ทำให้สงสัยว่า ชาวมาเลย์และชาวจีนมีความสนใจในเรืองไสยศาสตร์มากน้อยเพียงใด ทำให้ได้พบเฟซบุ๊กนาม "ThaiAmuletMalaysia" ซึ่งเป็นภาษาจีน ได้เห็นภาพชาวจีนสนใจทำพิธีกรรม ขณะเดียวกันก็มีการโพสต์วัตถุมงคลต่างๆอย่างเช่นพระพรหม พระปิดตา พระพิฆเนศวร นางกวัก เหรียญผีเสื้อ
นอกจากนี้ยังได้พบว่ามีโพสต์เหรียญและคลิปที่เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมาอีกด้วย พร้อมกันนี้ยังได้ทราบว่าหลวงพ่อคูณดังไกลไปถึงประเทศสิงคโปร์อีกด้วย
ก็ต้องยอมรับว่าการใช้คำ "พุทธิศักดิ์คลินิก" น่าสนใจ หากนำมาพัฒนาเป็น "คลินิกเชิงพุทธ" รักษาจิตใจ โดยใช้แพทย์ศาสตร์เข้ามาประยุกต์มีการระบบเก็บข้อมูลผู้เข้ามารักษาเป็นระบบเหมือนโรงพยาบาล แล้วใช้หลักธรรมที่ตรงจุดก็จะทำให้การเผยแพร่ธรรมมีผลมากขึ้น ไม่ใช่ทำลักษณ์เหวี่ยงแหต่างคนต่างทำมีเป้าหมายไม่ชัดเจนอย่างเช่นทุกวันนี้
คงเป็นหน้าที่ของชาวพุทธหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องและพศ.จะต้องหูตายาวไกลฉับไวระงับเหตุได้ทันที ไม่ใช่ทำแบบไฟไหม้ฟางเท่านั้น
.......................
แกะรอย'พุทธิศักดิ์คลินิก' พบหลวงพ่อคูณดังไกลถึงมาเลย์ : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FB-samran sompong)
'กรรมการมส.'ขึ้นดอยก่อไฟวางแผนพัฒนาชาวเขา
พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) กรรมการมหาเถรสมาคม พร้อมคณะเยี่ยมวัดห้วยบง ต.บ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ โดยมีชาวบ้าน ราชการ ถวายการต้อนรับเป็นจำนวนมากมาย โดยพระพรหมบัณฑิตได้นำการสัมมนาพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาบนดอยกลางป่า ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นต้องมีการก่อไฟคลายหนาว ช่วงกลางคืนวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา
ก่อนที่พระพรหมบัณฑิตจะเดินทางไปที่วัดห้วยบง ช่วงเช้าได้ไปตรวจเยี่ยม มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ พร้อมกับเปิดเผยว่า มจร วิทยาเขตเชียงใหม่มีโครงการในการขยายวิทยาเขตเพิ่มเติมจากเดิมที่ตั้งอยู่ที่วัดสวนดอก เนื่องจากได้รับมอบที่ดินจากกรมป่าไม้จำนวนกว่า 1,000 ไร่ บริเวณดอยสะเก็ด ห่างจากที่เดิมเพียงกว่า 20 กิโลเมตรเท่านั้น โดยเริ่มโครงการก่อสร้างตั้งแต่ ปี 2558-2571 ใช้งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการก่อสร้างจะแบ่งเป็นการสร้างวิทยาเขตเชียงใหม่กว่า 900 ไร่ และจัดพื้นที่ประมาณ100 ไร่เพื่อจัดสร้างพุทธมณฑลด้วย
คงจะไม่ใช่เป็นภาพที่เห็นกันบ่อยนักที่พระเถระระดับกรรมการมหาเถรสมาคมที่ลงพื้นที่ในถิ่นธุรกันดาร ต้องนั่งรถจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปยัง อ.กัลยาณิวัฒนาหลายกิโลเมตร ที่มีสภาพเป็นดอยหนทางขรุขระ แถมอากาศช่วงกลางคืนก็หนาวเย็น ทั้งนี้ก็ด้วยมีวัตถุประสงค์เป็นการให้กำลังใจพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา
ในโอกาสนี้พระพรหมบัณฑิตเป็นประธานในพิธีกลุ่มชาติพันธุ์แสดงตนเป็นพุทธมามกะ จำนวน 300 หลังคาเรือน ทอดผ้าป่าสามัคคีระดมทุนเพื่อสร้างวัดห้วยบง ซึ่งเป็นวัดสังกัดมหาวิทยาลัย โดยมีการวางผังแม่บทสร้างวัดห้วยบง ประกอบด้วย: เขตพื้นที่สร้างถาวรวัตถุ อุทยานการศึกษา ศึกษาเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและประเพณีชนเผ่า ป่าอนุรักษ์ทรัพยากรณ์และสิ่งแวดล้อมชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง (ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน) และเขตพื้นที่ส่งเสริมพัฒนาอาชีพของชนเผ่า
ทั้งนี้เนื่องจากคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่มีนโยบายให้ดำเนินการสร้างวัดเพิ่มให้ครบ 9 วัด ในเขตอำเภอกัลยาณิวัฒนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ กำลังดำเนินการเสนอขอจดทะเบียนวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ต่อมหาเถรสมาคมพิจาณาอนุมัติแล้ว เพื่อให้มีวัดในเขตปกครองของคณะสงฆ์ในอำเภอกัลยาณิวัฒนาในอนาคต
จึงได้ประชาสัมพันธ์ให้ทั้งคณะสงฆ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาวัดเขตอำเภอดังกล่าว และ มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา ผลิตบุคลากรและการพัฒนาสังคมทั้งพื้นราบและบนพื้นที่สูง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนาด้านจิตใจให้กับชุมชนทั้งเด็กเยาวชน เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ในด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชนเผ่า เพื่อเป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นศูนย์พัฒนาศักยภาพให้กับพระบัณฑิตอาสาและพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูงสืบไป
สำหรับโคงการพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขานี้เป็นโครงการภายใต้การดำเนินการของพระบัณฑิตที่จบการศึกษาจาก มจร แล้ว แต่อยู่ในช่วงของการปฏิบัติศาสนกิจก่อนรับปริญญา ซึ่งได้ดำเนินการมา 10 ปีกว่าแล้ว ทั้งนี้พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ (ธีรพงษ์) สิรินฺธโร ยะอุตม์ รองอธิการบดี มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ บอกว่า การเข้าไปอยู่ของพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงก็เปรียบเหมือนนักวิจัยคนหนึ่งที่เข้าไปมีบทบาทมีส่วนร่วมในชุมชน คอยเก็บข้อมูลศึกษาสภาพทางด้านต่างๆ ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม หรือสภาพทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาไปในที่ถูกที่ควรและเหมาะสม นับว่าพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงหรือพระบัณฑิตอาสาก็มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง
เมื่อเข้าไปอยู่ชุมชนแล้วจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทางด้านวัตถุบ้าง มิใช่เน้นไปในด้านใดด้านหนึ่ง เพราะการพัฒนาทางด้านวัตถุนั้นจะโดดเด่น และสามารถเห็นภาพได้จริง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปกระทำ แต่ควรที่จะเป็นไปโดยพอดีพองาม ไม่เบียดเบียนกำลังศรัทธามากจนเกินไป เราต่างรู้กันดีว่าสภาพของคนในชุมชนบนพื้นที่สูงนั้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากยากจนอยู่แล้ว การดำเนินชีวิตของคนในชุมชนบนพื้นที่สูงนั้นควรจะเน้นให้ใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสไว้ ซึ่งจะทำให้ชุมชนพัฒนาไปอย่างมั่นคงยั่งยืน
พระบัณฑิตอาสาจะทำงาน 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน คือ 1.ด้านจิตใจ โดยใช้ธรรมะชะล้างความสกปรกของจิตใจ เป็นภูมิคุ้มกันจากสิ่งยั่วยุไปในทางที่เสื่อมทั้งหลาย พระบัณฑิตอาสาเองก็เล็งเห็นปัญหานี้ จึงได้มีการทำงานในเชิงรุกโดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยใช้ธรรมะเป็นตัวหล่อหลอมให้เด็กเยาวชน คนในชุมชนเป็นคนดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ เกิดจิตสำนึก ละอายต่อการทำชั่ว เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็กเยาวชนซึ่งจะเป็นขุมกำลังอนาคตของชาติ
2.รักษาประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ของแต่ละชาติพันธุ์ ถือเป็นสิ่งมีค่าและสำคัญ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละชาติพันธ์ เป็นการสื่อถึงอารยธรรม สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณสู่รุ่นลูกจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้มีคุณค่ายากที่จะประเมินค่า อีกทั้งยังแฝงไปด้วยความรู้ภูมิปัญญาของคนในอดีต เช่น การมัดมือของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งจะทำกันปีละ 2 ครั้ง โดยความเชื่อของชาติพันธุกะเหรี่ยง คือ เป็นการเรียกขวัญให้ลูกหลานในครอบครัว ทั้งนี้หากมองลึกๆ ลงไปจะเห็นได้ว่าพิธีกรรมเหล่านี้แฝงไปด้วยภูมิปัญญา นั่นก็คือทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันในหมู่เครือญาติ ครอบครัว ทำให้เครือญาติได้มาพบปะกัน
และ 3.ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าไม่ธรรมชาติ เช่นเดียวกับการทำงานของพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงที่เองที่นำเอาพิธีกรรมทางศาสนามาเป็นส่วนในการอนุรักษ์ป่าไม้ เช่น การบวชป่า การปลูกป่าในวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ป่าไม่ให้อยู่คู่กับชุมชน
"ปัจจุบันเองพระสงฆ์ก็ยังเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและจิตใจ ก็เหมือนพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงที่ไปเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและใจแก่คนในถิ่นทุรกันดาร แต่การเข้าไปอยู่ในอาศรมต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสา ขึ้นชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงนั้นมิใช่เพียงแค่การเข้าไปอยู่เฝ้าอาศรม หรือสร้างศาสนะวัตถุจนใหญ่โตมโหฬาร โดยมิได้ใส่ใจเรื่องอื่นๆ ไม่เหลียวแลสภาพทางสังคมความเป็นอยู่ของคนในชุมชน แต่ได้ทำหน้าที่เป็นพระนักเผยแผ่โดยมิได้มีวันหยุดนิ่ง" พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ กล่าว
พระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มจร กล่าวว่า บอกว่า แม้บทบาทของพระธรรมจาริกและพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา จะไม่เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาผู้คนทั่วไปมากนัก แต่สิ่งที่ท่านเหล่านั้นได้เสียสละเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่น่ายกย่อง ชมเชยและสาธุการเป็นอย่างยิ่ง จึงขอสะท้อนภาพแห่งความยิ่งใหญ่ของผู้นำแห่งขุนเขาอันกว้างใหญ่ไพศาล ให้ผู้คนได้รับทราบเพื่อร่วมให้กำลังใจในการปฏิบัติงานของท่านตามที่ได้รับมอบหมายความไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นผู้สนับสนุนให้ท่านได้มีโอกาสทำงานที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ต่อไป" พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าว
.............................
'กรรมการมส.'ขึ้นดอยก่อไฟวางแผนพัฒนาชาวเขา : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FB-samran sompong)
ก่อนที่พระพรหมบัณฑิตจะเดินทางไปที่วัดห้วยบง ช่วงเช้าได้ไปตรวจเยี่ยม มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ พร้อมกับเปิดเผยว่า มจร วิทยาเขตเชียงใหม่มีโครงการในการขยายวิทยาเขตเพิ่มเติมจากเดิมที่ตั้งอยู่ที่วัดสวนดอก เนื่องจากได้รับมอบที่ดินจากกรมป่าไม้จำนวนกว่า 1,000 ไร่ บริเวณดอยสะเก็ด ห่างจากที่เดิมเพียงกว่า 20 กิโลเมตรเท่านั้น โดยเริ่มโครงการก่อสร้างตั้งแต่ ปี 2558-2571 ใช้งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการก่อสร้างจะแบ่งเป็นการสร้างวิทยาเขตเชียงใหม่กว่า 900 ไร่ และจัดพื้นที่ประมาณ100 ไร่เพื่อจัดสร้างพุทธมณฑลด้วย
คงจะไม่ใช่เป็นภาพที่เห็นกันบ่อยนักที่พระเถระระดับกรรมการมหาเถรสมาคมที่ลงพื้นที่ในถิ่นธุรกันดาร ต้องนั่งรถจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปยัง อ.กัลยาณิวัฒนาหลายกิโลเมตร ที่มีสภาพเป็นดอยหนทางขรุขระ แถมอากาศช่วงกลางคืนก็หนาวเย็น ทั้งนี้ก็ด้วยมีวัตถุประสงค์เป็นการให้กำลังใจพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา
ในโอกาสนี้พระพรหมบัณฑิตเป็นประธานในพิธีกลุ่มชาติพันธุ์แสดงตนเป็นพุทธมามกะ จำนวน 300 หลังคาเรือน ทอดผ้าป่าสามัคคีระดมทุนเพื่อสร้างวัดห้วยบง ซึ่งเป็นวัดสังกัดมหาวิทยาลัย โดยมีการวางผังแม่บทสร้างวัดห้วยบง ประกอบด้วย: เขตพื้นที่สร้างถาวรวัตถุ อุทยานการศึกษา ศึกษาเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและประเพณีชนเผ่า ป่าอนุรักษ์ทรัพยากรณ์และสิ่งแวดล้อมชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง (ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน) และเขตพื้นที่ส่งเสริมพัฒนาอาชีพของชนเผ่า
ทั้งนี้เนื่องจากคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่มีนโยบายให้ดำเนินการสร้างวัดเพิ่มให้ครบ 9 วัด ในเขตอำเภอกัลยาณิวัฒนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ กำลังดำเนินการเสนอขอจดทะเบียนวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ต่อมหาเถรสมาคมพิจาณาอนุมัติแล้ว เพื่อให้มีวัดในเขตปกครองของคณะสงฆ์ในอำเภอกัลยาณิวัฒนาในอนาคต
จึงได้ประชาสัมพันธ์ให้ทั้งคณะสงฆ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาวัดเขตอำเภอดังกล่าว และ มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา ผลิตบุคลากรและการพัฒนาสังคมทั้งพื้นราบและบนพื้นที่สูง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนาด้านจิตใจให้กับชุมชนทั้งเด็กเยาวชน เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ในด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชนเผ่า เพื่อเป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นศูนย์พัฒนาศักยภาพให้กับพระบัณฑิตอาสาและพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูงสืบไป
สำหรับโคงการพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขานี้เป็นโครงการภายใต้การดำเนินการของพระบัณฑิตที่จบการศึกษาจาก มจร แล้ว แต่อยู่ในช่วงของการปฏิบัติศาสนกิจก่อนรับปริญญา ซึ่งได้ดำเนินการมา 10 ปีกว่าแล้ว ทั้งนี้พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ (ธีรพงษ์) สิรินฺธโร ยะอุตม์ รองอธิการบดี มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ บอกว่า การเข้าไปอยู่ของพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงก็เปรียบเหมือนนักวิจัยคนหนึ่งที่เข้าไปมีบทบาทมีส่วนร่วมในชุมชน คอยเก็บข้อมูลศึกษาสภาพทางด้านต่างๆ ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม หรือสภาพทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาไปในที่ถูกที่ควรและเหมาะสม นับว่าพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงหรือพระบัณฑิตอาสาก็มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง
เมื่อเข้าไปอยู่ชุมชนแล้วจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทางด้านวัตถุบ้าง มิใช่เน้นไปในด้านใดด้านหนึ่ง เพราะการพัฒนาทางด้านวัตถุนั้นจะโดดเด่น และสามารถเห็นภาพได้จริง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปกระทำ แต่ควรที่จะเป็นไปโดยพอดีพองาม ไม่เบียดเบียนกำลังศรัทธามากจนเกินไป เราต่างรู้กันดีว่าสภาพของคนในชุมชนบนพื้นที่สูงนั้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากยากจนอยู่แล้ว การดำเนินชีวิตของคนในชุมชนบนพื้นที่สูงนั้นควรจะเน้นให้ใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสไว้ ซึ่งจะทำให้ชุมชนพัฒนาไปอย่างมั่นคงยั่งยืน
พระบัณฑิตอาสาจะทำงาน 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน คือ 1.ด้านจิตใจ โดยใช้ธรรมะชะล้างความสกปรกของจิตใจ เป็นภูมิคุ้มกันจากสิ่งยั่วยุไปในทางที่เสื่อมทั้งหลาย พระบัณฑิตอาสาเองก็เล็งเห็นปัญหานี้ จึงได้มีการทำงานในเชิงรุกโดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยใช้ธรรมะเป็นตัวหล่อหลอมให้เด็กเยาวชน คนในชุมชนเป็นคนดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ เกิดจิตสำนึก ละอายต่อการทำชั่ว เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็กเยาวชนซึ่งจะเป็นขุมกำลังอนาคตของชาติ
2.รักษาประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ของแต่ละชาติพันธุ์ ถือเป็นสิ่งมีค่าและสำคัญ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละชาติพันธ์ เป็นการสื่อถึงอารยธรรม สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณสู่รุ่นลูกจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้มีคุณค่ายากที่จะประเมินค่า อีกทั้งยังแฝงไปด้วยความรู้ภูมิปัญญาของคนในอดีต เช่น การมัดมือของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งจะทำกันปีละ 2 ครั้ง โดยความเชื่อของชาติพันธุกะเหรี่ยง คือ เป็นการเรียกขวัญให้ลูกหลานในครอบครัว ทั้งนี้หากมองลึกๆ ลงไปจะเห็นได้ว่าพิธีกรรมเหล่านี้แฝงไปด้วยภูมิปัญญา นั่นก็คือทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันในหมู่เครือญาติ ครอบครัว ทำให้เครือญาติได้มาพบปะกัน
และ 3.ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าไม่ธรรมชาติ เช่นเดียวกับการทำงานของพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงที่เองที่นำเอาพิธีกรรมทางศาสนามาเป็นส่วนในการอนุรักษ์ป่าไม้ เช่น การบวชป่า การปลูกป่าในวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ป่าไม่ให้อยู่คู่กับชุมชน
"ปัจจุบันเองพระสงฆ์ก็ยังเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและจิตใจ ก็เหมือนพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงที่ไปเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและใจแก่คนในถิ่นทุรกันดาร แต่การเข้าไปอยู่ในอาศรมต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสา ขึ้นชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงนั้นมิใช่เพียงแค่การเข้าไปอยู่เฝ้าอาศรม หรือสร้างศาสนะวัตถุจนใหญ่โตมโหฬาร โดยมิได้ใส่ใจเรื่องอื่นๆ ไม่เหลียวแลสภาพทางสังคมความเป็นอยู่ของคนในชุมชน แต่ได้ทำหน้าที่เป็นพระนักเผยแผ่โดยมิได้มีวันหยุดนิ่ง" พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ กล่าว
พระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มจร กล่าวว่า บอกว่า แม้บทบาทของพระธรรมจาริกและพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา จะไม่เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาผู้คนทั่วไปมากนัก แต่สิ่งที่ท่านเหล่านั้นได้เสียสละเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่น่ายกย่อง ชมเชยและสาธุการเป็นอย่างยิ่ง จึงขอสะท้อนภาพแห่งความยิ่งใหญ่ของผู้นำแห่งขุนเขาอันกว้างใหญ่ไพศาล ให้ผู้คนได้รับทราบเพื่อร่วมให้กำลังใจในการปฏิบัติงานของท่านตามที่ได้รับมอบหมายความไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นผู้สนับสนุนให้ท่านได้มีโอกาสทำงานที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ต่อไป" พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าว
.............................
'กรรมการมส.'ขึ้นดอยก่อไฟวางแผนพัฒนาชาวเขา : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FB-samran sompong)
เตือนโพสต์'คำด่า'โผล่ตอนสมัครงาน
ความขัดแย้งในสังคมไทย เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งอาจมีสาเหตุพื้นฐานมาจากความแตกต่างทางด้านความคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรม ความขัดแย้งมีทั้งนำไปสู่ความสร้างสรรค์และความรุนแรง โดยสภาพทางสังคมปัจจุบันการใช้คำพูดที่ให้เกิดความเกลียดชัง (Hate Speech) ในสังคมออนไลน์ และนิยมใช้ Social Media ในการใส่ข้อความที่สร้างความเกลียดชัง เช่นใน Facebook เป็นต้น ส่งผลให้ เกิด ความขัดแย้งในสังคม ซึ่งอาจขยายผลนำไปสู่ความรุนแรงและความเสียหายตามมา
ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการป้องกันและจัดการความขัดแย้ง ในสังคมให้เหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพ เพื่อให้อาจารย์ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปทราบถึงผลเสียของการใช้คำพูดที่ให้เกิดความเกลียดชัง (Hate Speech) ในสังคมออนไลน์ เพื่อลดความความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ ส่งผลให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษาจึงกำหนดจัดโครงการปรองดองเพื่อพ่อ เรื่อง “Hate Speech ไวรัสทางสังคมไทย”ขึ้นเมื้่อวันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ.2557 เวลา 09.00 – 12.00 น. โดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้ด้านนี้มาให้ความรู้ และมีนักศึกษานิเทศศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง สโมสรนักศึกษา และแกนนำนักศึกษาจากเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลางตอนบน ผู้บริหาร และคณาจารย์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่สนใจ ผู้ประกอบการและชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เข้าร่วมรับฟังประมาณ 100 คน
หลังจากดร.วันวร จะนู ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นประธานเปิดโครงการแล้ว พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการและผู้อำนวยการหลักสูตร พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) บรรยายพิเศษ เรื่อง “เมื่อติดไวรัส Hate speeeh จะทำอย่างไร” ความว่า ท่ามกลางสังคมไทยซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับกระแสการใช้คำพูดกระตุ้นให้เกิดการ "แปลกแยก แบ่งแยก และแตกแยก" ระหว่างกลุ่มคนในชาติ สังคมไทยดั่งเดิมเป็นสังคม "นินทา" หรือ "สังคม Gossip" เพื่อให้เกิดการปรับปรุงพฤติกรรมของตัวเองให้เป็นไปในเชิงบวก มิได้มีจุดมุ่งหมายในการใช้ Gossip เพื่อให้เกิดการดูถูก เหยียดหยาม และเกลียดชังซึ่งกันและกัน แต่กระบวนการในปัจจุบัน เป็นมากกว่าการ Gossip หรือนินทา เพราะมุ่งเพื่อให้เกิดการเกลียดชังและแบ่งฝ่าย รวมไปถึงการดูถูกเหยียดหยามกลุ่มคนที่มีความเชื่อและอุดมการณ์ที่แตกต่าง
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้ หากมิได้มีการแสวงหาแนวทางในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม แนวโน้มที่จะเกิดตามมาคือ สังคมไทยกำลังพาตัวเองไปสู่วงเวียนที่คล้ายคลึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา คือ เหตุการณ์ที่ชนพื้นเมืองชาวตุดซี (Tutsi) และชนพื้นเมืองชาวฮูตู (Hutu) ถูกสังหารหมู่ไปประมาณ 800,000-1,071,000 คนในช่วงเวลา 100 วันตั้งแต่วันที่ 6 เมษายนไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคมในปี พ.ศ. 2537 (1994) ในประเทศรวันดา โดยกลุ่มผู้กระทำการสังหารหมู่คือ กลุ่มทหารบ้านหัวรุนแรงชาวฮูตู ได้แก่กลุ่มอินเตราฮัมเว (Interahamwe เป็นภาษากินยาร์วันดาแปลว่า "ผู้ที่สู้ด้วยกัน") และกลุ่มอิมปูซูมูกัมบิ (Impuzamugambi แปลว่า "ผู้ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน")
ต่อจากนั้นเป็นการสนทนา เรื่อง “Hate Speech ไวรัสทางสังคมไทย” โดยมีผู้ร่วมการสนทนาประกอบด้วยนางพิจิตรา สึคาโมโต้ อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวพรทิพย์ โม่งใหญ่ อดีตผู้สื่อข่าว Thai PBS ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ดำเนินการสนทนาโดยอาจารย์ฐิติ ลาภอนันต์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการนักศึกษาและรักษาการหัวหน้าศูนย์สันติวิธี และธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
นางพิจิตรา กล่าวว่า ความจริงแล้วสังคมไทยมีความคุ้นเคยกับถ้อยคำที่นำไปสู่ความเกลียดชังหรือ Hate Speech มานานแล้ว อย่างเช่นคำว่า เจ๊ก แขก เกย์ ตุ๊ด กะเทย แต่ช่วงวิกฤติการเมืองเกิดขึ้นทำให้คำเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการปลุกเร้ามากขึ้นอย่างมีเจตนาแล้วสื่อไปตามสื่อต่างๆทั้งสื่อเสรี วิทยุ และดาวเทียม รวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์ แต่สิ่งที่นักวิจัยเป็นห่วงก็คือว่าคำเหล่านี้จะพัฒนาไปถึงขั้นสร้างความรุนแรงโดยเมื่อเห็นฝ่ายตรงข้ามสามารถใช้ความรุนแรงได้ทันที
"ทั้งนี้สื่อควรที่จะฝึกให้รู้เท่าทันแหล่งข่าว แม้นว่าสื่อกระแสหลักพยายามจะกลั่นกรอง แต่สื่อนอกนี้ที่มีอยู่มากยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด" อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯให้ความเห็น
ด้านนางสาวพรทิพย์ กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานการชุมนุมทั้งสองฝ่ายได้รับความกดดัน ถูกคุกคาม และกำจัดสิทธิ อย่างกรณีกระชับพื้นที่ที่สะพานผ่านฟ้าหรือที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปลุกเร้าต่างๆ แต่สื่อที่อยู่ในหน้างานไม่ทราบเลยว่าเบื้องหลังจริงๆแล้วฝ่ายใดทำอะไรบ้าง และมีการนำเสนอทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วยที่มุ่งความเร็วเป็นสำคัญจึงยากที่จะมีการตรวจสอบ บวกกับสื่อปัจจุบันนี้เป็นเด็กรุ่นใหม่วุฒิภาวะในการนำเสนอนั้นอาจจะน้อยอาจจะผิดพลาดได้ และความรับผิดชอบตามมาก็มีน้อยเช่นกัน ดังนั้น สื่อต้องมีจริยธรรมในตัวเอง อ่านข้อมูลมากๆ เพื่อให้รู้เท่าทันอย่าเชื่อทั้งหมด
ส่วนดร.ทัณฑกานต์ กล่าวว่า ตนเป็นนายกสมาคมนิเทศศาสตร์ก็มีการพูดกันมากในเรื่องนี้และถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับของประเทศไทย และไม่มั่นใจว่าจะหาทางออกอย่างไร ปัจจุบันนี้คำเกลียดชังมีมากขึ้น แต่คนรุนใหม่แม้นรู้เทคโนโลยีตามข้อมูลไม่ทันและไม่รู้เท่าทันยิ่งสิ่งที่สื่อนั้นยิ่งสื่อออนไลน์ด้วยแล้วยากมาก
"โลกในสังคมออนไลน์ปัจจุบันนี้พัฒนาไปถึงขึ้นกระตุ้นให้คิดฆ่าตัวตายอย่างกรณีลูกฆ่าพ่อแม่ก็ได้แรงกระตุ้นจากสื่อ ก็คุยกับกสทช.เกี่ยวกับเรื่องการกำกับดูแลกันเอง แต่เรื่องเหนือเมฆสองเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าสื่อเองก็กำกับดูแลกันเองไม่ได้ ก็มาถึงจุดคือมีองค์กรรัฐเข้ามากำกับก็ถูกสื่อออกมาร้องว่าคุกคามสื่อ ดังนั้น กสทช.ก็ทำอะไรมากไม่ได้ ก็ต้องมาอีกจุดหนึ่งก็คือกำกับดูแลร่วมกัน แต่ก็ติดปัญหาก็คือสื่อมีการประกาศตัวชัดเจนไม่พอใจก็ลาออกจากองค์กรสื่อนั้นก็ไม่สามารถทำอะไรได้อีก" ดร.ทัณฑกานต์ กล่าวและว่า
นอกจากนี้สิ่งที่สื่อหรือโพสต์ออกไปทางออนไลน์ระบบต่างๆรวมถึงระบบไลน์ด้วยนั้นเสียงต่อการถูกฟ้องได้ และมีระบบการเก็บข้อมูลแม้นว่าจะลบไปแล้วก็สามารถกู้กลับขึ้นมาดูได้ พร้อมกันนี้ยังมีการนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบในการพิจารณาคนเข้าทำงานด้วย ตั้งแต่ที่ตนเป็นที่ปรึกษาของบริษัทประเทศญี่ปุ่นมา 4 ปีกว่าทำให้ทราบว่าเขานำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการพิจารณามีคนเข้าทำงาน เมื่อเข้ามาตั้งบริษัทในประเทศก็ยังใช้วิธีการเช่นนี้อยู่ รวมถึงบริษัทของคนไทยเองก็เริ่มใช้วิธีการเช่นนี้โดยเฉพาะบุคลากรที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร แต่หน่วยงานภาครัฐยังไม่มีแนวความคิดเช่นนี้
ดร.ทัณฑกานต์ กล่าวด้วยว่า ดังนั้นผู้บริโภคก็ต้องรู้เท่าทัน และสื่อเองก็จะต้องปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้มีจิตสำนึกในดีเอ็นเอ และก่อนจะโพสต์อะไรควรมีสติและนึกถึงผลดีผลเสียที่จะตามมาให้มาก
หากสังคมไทยเต็มไปด้วยคำที่สร้างความเกลียดชังหรือ Hate Speech แล้ว ก็คงจะเป็นไปตามที่วิทยากรหลายคนปรารภก็คือสังคมไทยอยู่ยากขึ้นทุกวัน พระพุทธเจ้าได้ตรัสหลักของการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขคือสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน คือ การให้ การเสียสละ 2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน 3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงแนะนำให้ใช้ Hate Speech เลย
................
(หมายเหตุ : เตือนโพสต์'คำด่า'โผล่ตอนสมัครงาน ม.ธุรกิจบัณฑิตย์สร้างภูมิคุ้มกันให้นศ. : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FB-samran sompong))
ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการป้องกันและจัดการความขัดแย้ง ในสังคมให้เหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพ เพื่อให้อาจารย์ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปทราบถึงผลเสียของการใช้คำพูดที่ให้เกิดความเกลียดชัง (Hate Speech) ในสังคมออนไลน์ เพื่อลดความความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ ส่งผลให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาลนักศึกษาจึงกำหนดจัดโครงการปรองดองเพื่อพ่อ เรื่อง “Hate Speech ไวรัสทางสังคมไทย”ขึ้นเมื้่อวันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ.2557 เวลา 09.00 – 12.00 น. โดยเชิญวิทยากรที่มีความรู้ด้านนี้มาให้ความรู้ และมีนักศึกษานิเทศศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง สโมสรนักศึกษา และแกนนำนักศึกษาจากเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลางตอนบน ผู้บริหาร และคณาจารย์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่สนใจ ผู้ประกอบการและชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เข้าร่วมรับฟังประมาณ 100 คน
หลังจากดร.วันวร จะนู ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นประธานเปิดโครงการแล้ว พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการและผู้อำนวยการหลักสูตร พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) บรรยายพิเศษ เรื่อง “เมื่อติดไวรัส Hate speeeh จะทำอย่างไร” ความว่า ท่ามกลางสังคมไทยซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับกระแสการใช้คำพูดกระตุ้นให้เกิดการ "แปลกแยก แบ่งแยก และแตกแยก" ระหว่างกลุ่มคนในชาติ สังคมไทยดั่งเดิมเป็นสังคม "นินทา" หรือ "สังคม Gossip" เพื่อให้เกิดการปรับปรุงพฤติกรรมของตัวเองให้เป็นไปในเชิงบวก มิได้มีจุดมุ่งหมายในการใช้ Gossip เพื่อให้เกิดการดูถูก เหยียดหยาม และเกลียดชังซึ่งกันและกัน แต่กระบวนการในปัจจุบัน เป็นมากกว่าการ Gossip หรือนินทา เพราะมุ่งเพื่อให้เกิดการเกลียดชังและแบ่งฝ่าย รวมไปถึงการดูถูกเหยียดหยามกลุ่มคนที่มีความเชื่อและอุดมการณ์ที่แตกต่าง
สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้ หากมิได้มีการแสวงหาแนวทางในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม แนวโน้มที่จะเกิดตามมาคือ สังคมไทยกำลังพาตัวเองไปสู่วงเวียนที่คล้ายคลึงเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา คือ เหตุการณ์ที่ชนพื้นเมืองชาวตุดซี (Tutsi) และชนพื้นเมืองชาวฮูตู (Hutu) ถูกสังหารหมู่ไปประมาณ 800,000-1,071,000 คนในช่วงเวลา 100 วันตั้งแต่วันที่ 6 เมษายนไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคมในปี พ.ศ. 2537 (1994) ในประเทศรวันดา โดยกลุ่มผู้กระทำการสังหารหมู่คือ กลุ่มทหารบ้านหัวรุนแรงชาวฮูตู ได้แก่กลุ่มอินเตราฮัมเว (Interahamwe เป็นภาษากินยาร์วันดาแปลว่า "ผู้ที่สู้ด้วยกัน") และกลุ่มอิมปูซูมูกัมบิ (Impuzamugambi แปลว่า "ผู้ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน")
ต่อจากนั้นเป็นการสนทนา เรื่อง “Hate Speech ไวรัสทางสังคมไทย” โดยมีผู้ร่วมการสนทนาประกอบด้วยนางพิจิตรา สึคาโมโต้ อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นางสาวพรทิพย์ โม่งใหญ่ อดีตผู้สื่อข่าว Thai PBS ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ดำเนินการสนทนาโดยอาจารย์ฐิติ ลาภอนันต์ ผู้อำนวยการสำนักกิจการนักศึกษาและรักษาการหัวหน้าศูนย์สันติวิธี และธรรมาภิบาล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
นางพิจิตรา กล่าวว่า ความจริงแล้วสังคมไทยมีความคุ้นเคยกับถ้อยคำที่นำไปสู่ความเกลียดชังหรือ Hate Speech มานานแล้ว อย่างเช่นคำว่า เจ๊ก แขก เกย์ ตุ๊ด กะเทย แต่ช่วงวิกฤติการเมืองเกิดขึ้นทำให้คำเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการปลุกเร้ามากขึ้นอย่างมีเจตนาแล้วสื่อไปตามสื่อต่างๆทั้งสื่อเสรี วิทยุ และดาวเทียม รวมไปถึงสื่อสังคมออนไลน์ แต่สิ่งที่นักวิจัยเป็นห่วงก็คือว่าคำเหล่านี้จะพัฒนาไปถึงขั้นสร้างความรุนแรงโดยเมื่อเห็นฝ่ายตรงข้ามสามารถใช้ความรุนแรงได้ทันที
"ทั้งนี้สื่อควรที่จะฝึกให้รู้เท่าทันแหล่งข่าว แม้นว่าสื่อกระแสหลักพยายามจะกลั่นกรอง แต่สื่อนอกนี้ที่มีอยู่มากยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด" อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯให้ความเห็น
ด้านนางสาวพรทิพย์ กล่าวว่า จากประสบการณ์การทำงานการชุมนุมทั้งสองฝ่ายได้รับความกดดัน ถูกคุกคาม และกำจัดสิทธิ อย่างกรณีกระชับพื้นที่ที่สะพานผ่านฟ้าหรือที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีการปลุกเร้าต่างๆ แต่สื่อที่อยู่ในหน้างานไม่ทราบเลยว่าเบื้องหลังจริงๆแล้วฝ่ายใดทำอะไรบ้าง และมีการนำเสนอทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วยที่มุ่งความเร็วเป็นสำคัญจึงยากที่จะมีการตรวจสอบ บวกกับสื่อปัจจุบันนี้เป็นเด็กรุ่นใหม่วุฒิภาวะในการนำเสนอนั้นอาจจะน้อยอาจจะผิดพลาดได้ และความรับผิดชอบตามมาก็มีน้อยเช่นกัน ดังนั้น สื่อต้องมีจริยธรรมในตัวเอง อ่านข้อมูลมากๆ เพื่อให้รู้เท่าทันอย่าเชื่อทั้งหมด
ส่วนดร.ทัณฑกานต์ กล่าวว่า ตนเป็นนายกสมาคมนิเทศศาสตร์ก็มีการพูดกันมากในเรื่องนี้และถือเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับของประเทศไทย และไม่มั่นใจว่าจะหาทางออกอย่างไร ปัจจุบันนี้คำเกลียดชังมีมากขึ้น แต่คนรุนใหม่แม้นรู้เทคโนโลยีตามข้อมูลไม่ทันและไม่รู้เท่าทันยิ่งสิ่งที่สื่อนั้นยิ่งสื่อออนไลน์ด้วยแล้วยากมาก
"โลกในสังคมออนไลน์ปัจจุบันนี้พัฒนาไปถึงขึ้นกระตุ้นให้คิดฆ่าตัวตายอย่างกรณีลูกฆ่าพ่อแม่ก็ได้แรงกระตุ้นจากสื่อ ก็คุยกับกสทช.เกี่ยวกับเรื่องการกำกับดูแลกันเอง แต่เรื่องเหนือเมฆสองเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่าสื่อเองก็กำกับดูแลกันเองไม่ได้ ก็มาถึงจุดคือมีองค์กรรัฐเข้ามากำกับก็ถูกสื่อออกมาร้องว่าคุกคามสื่อ ดังนั้น กสทช.ก็ทำอะไรมากไม่ได้ ก็ต้องมาอีกจุดหนึ่งก็คือกำกับดูแลร่วมกัน แต่ก็ติดปัญหาก็คือสื่อมีการประกาศตัวชัดเจนไม่พอใจก็ลาออกจากองค์กรสื่อนั้นก็ไม่สามารถทำอะไรได้อีก" ดร.ทัณฑกานต์ กล่าวและว่า
นอกจากนี้สิ่งที่สื่อหรือโพสต์ออกไปทางออนไลน์ระบบต่างๆรวมถึงระบบไลน์ด้วยนั้นเสียงต่อการถูกฟ้องได้ และมีระบบการเก็บข้อมูลแม้นว่าจะลบไปแล้วก็สามารถกู้กลับขึ้นมาดูได้ พร้อมกันนี้ยังมีการนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบในการพิจารณาคนเข้าทำงานด้วย ตั้งแต่ที่ตนเป็นที่ปรึกษาของบริษัทประเทศญี่ปุ่นมา 4 ปีกว่าทำให้ทราบว่าเขานำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการพิจารณามีคนเข้าทำงาน เมื่อเข้ามาตั้งบริษัทในประเทศก็ยังใช้วิธีการเช่นนี้อยู่ รวมถึงบริษัทของคนไทยเองก็เริ่มใช้วิธีการเช่นนี้โดยเฉพาะบุคลากรที่ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร แต่หน่วยงานภาครัฐยังไม่มีแนวความคิดเช่นนี้
ดร.ทัณฑกานต์ กล่าวด้วยว่า ดังนั้นผู้บริโภคก็ต้องรู้เท่าทัน และสื่อเองก็จะต้องปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้มีจิตสำนึกในดีเอ็นเอ และก่อนจะโพสต์อะไรควรมีสติและนึกถึงผลดีผลเสียที่จะตามมาให้มาก
หากสังคมไทยเต็มไปด้วยคำที่สร้างความเกลียดชังหรือ Hate Speech แล้ว ก็คงจะเป็นไปตามที่วิทยากรหลายคนปรารภก็คือสังคมไทยอยู่ยากขึ้นทุกวัน พระพุทธเจ้าได้ตรัสหลักของการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขคือสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน คือ การให้ การเสียสละ 2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน 3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น 4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงแนะนำให้ใช้ Hate Speech เลย
................
(หมายเหตุ : เตือนโพสต์'คำด่า'โผล่ตอนสมัครงาน ม.ธุรกิจบัณฑิตย์สร้างภูมิคุ้มกันให้นศ. : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FB-samran sompong))
วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557
ฝึก'พระธรรมทูต'เทียบชั้น'มิชชันนารีวาติกัน'
การท่องแดนพุทธภูมิประเทศอินเดียของคนไทยพุทธส่วนใหญ่แล้ว ต้องการที่จะสัมผัสพื้นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้ปฏิบัติธรรมทวีคูณขึ้นไป
หลังจากร่วมคณะนิสิตปริญญาโทสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร ) รุ่นที่ 1 (และกำลังรับสมัครรุ่นที่ 2 ถึงวันที่ 30 มี.ค.นี้) ได้จัดโครงการ "จาริกสันติธรรม สู่ดินแดนแห่งพุทธภูมิ" ประเทศอินเดีย-เนปาล จำนวน 40 รูป/คน ระหว่างวันที่ 16-26 มกราคมที่ผ่านมา ภายใต้การนำของพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตร จึงทำให้ได้ติดตามการเคลื่อนไหวของพุทธศาสนิกชนที่เดินทางไปแสวงบุญคณะต่างๆผ่านทางเฟซบุ๊กวัดไทยในประเทศอินเดีย
ได้เห็นกิจกรรมต่างๆ ที่น่าอนุโมทนายิ่งอย่างเช่น กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้การนำของนายกฤษศญพงษ์ ศิริ อธิบดี ได้จัดโครงการส่งพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนประกอบศาสนกิจ ณ สังเวชนียสถาน 4 ตำบล ประเทศอินเดีย-เนปาล เป็นรุ่นที่ 2 แล้วประกอบด้วย พระสังฆาธิการ พระธรรมวิทยากร จำนวน 100 รูป และฆราวาสผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา จำนวน 35 คน หรือโครงการเดินธุดงค์ตามรอยบาทพระศาสดา จำนวน 56 รูป ฤาษี 1 ตน ระยะทาง 1,000 กิโลเมตรกว่า
รวมถึงกิจกรรมล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา พระเทพโพธิวิเทศ เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ประธานพระธรรมทูตไทยอินเดีย – เนปาล เป็นประธานเ ปิดงานและบรรยายพิเศษโครงการอบรมพระธรรมทูตไทยสายต่างประเทศ รุ่นที่ 20 ถวายเป็นพระราชกุศล ศึกษาดูงานอินเดีย – เนปาล ณ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย วัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ภายใต้การนำของพระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มจร ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน ในการนี้มีผู้บริหาร มจร พระธรรมทูต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และ แขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงาน 120 รูป/คน
ในโอกาสนี้พระเทพโพธิวิเทศได้ให้คำแนะนำความว่า เจ้าชายสิทธัตถะมหาบุรุษทิ้งถาดทองคำเปรียบด้วยลาภสักการะที่คอยบังตา มาคว้าภาชนะทองธรรม การต่อสู้ครั้งนี้เดิมพันด้วยชีวิต "ตายเป็นตาย" ไม่ตรัสรู้ไม่ลุกหนี สุดท้ายชัยชนะที่ได้คือ "โพทธิปัญญ"
"งานพระธรรมทูตเป็นงานที่ทำด้วย "ฉันทะ" ไม่ใช่งานที่อยากได้อยากเป็นด้วย "ตัณหา" มองอะไรให้เข้าถึงพระพุทธเจ้าแม้นถนนจะขรุขระเห็นข้างนอกดูวุ่นวายแล้วปฏิบัติธรรมภายในใจ ให้สติสงบปัญญาสว่างให้รู้ทันนี้แหละ "แสวงบุญ" ศรัทธาอ่อนแต่ปัญญาไม่อ่อนพระพุทธศาสนาอยู่รอด หากปัญญาอ่อนศรัทธาไม่เข้มแข็งพระพุทธศาสนาไปไม่รอดแน่" ประธานพระธรรมทูตไทยอินเดีย – เนปาลให้คำแนะนำ
อย่างไรก็ตามคณะผู้แสวงบุญที่เดินทางไปที่วัดไทยพุทธคยาคงจะได้เห็นอาคารวิปัสสนาวิรภุชงค์กำลังก่อสร้างอยู่ที่พระเทพโพธิวิเทศได้ตั้งความหวังไว้ว่า จะพัฒนาวัดไทยพุทธคยาให้เป็นศูนย์ฝึกพระธรรมทูตมีความรู้ความสามารถเทียบชั้นสำนักวาติกัน
พระธรรมทูตไทยสายต่างประเทศรุ่นที่ 20 ที่เดินทางไปศึกษาดูงานที่ประเทศอินเดียภายใต้การดำเนินการของ มจร ครั้งนี้ หลังจากที่สมัครและเปิดการอบรมตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค.ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยได้รับความรู้ในแง่มุมต่างๆจากวิทยากรที่ทำหน้าที่บรรยาอย่างเช่น เรื่อง "ภาษาอังกฤษกับการพัฒนาศักยภาพพระธรรมทูต" "พระธรรมทูต ทูตแห่งสันติภาพ" โดยพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผอ.หลักสูตรปริญญาโท สันติศึกษา มจร
"ประสบการณ์การเผยแผ่ พระพุทธศาสนาในต่างแดน" โดยพระครูวิเทศปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย แคลลีฟฟอเนีย สหรัฐอเมริกา "เทคโนโลยีทางอาคารและความรู้ในด้านวัสดุ ก่อสร้าง" โดยผศ.สมศักดิ์ ธรรมเวชวิถี อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เจ้าคุณทหารลาดกระบัง "ประสบการณ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา" โดยพระราชปริยัติเวที เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม รองเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร "พระไตรปิฏกวิเคราะห์" โดยพระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม รวมถึงเรื่อง "พระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน" โดยพระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายรองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มจร
ขณะเดียวกันเคยแสดงความเห็นไว้ว่า ควรจะมีเรื่อง "เทศน์หรือโพสต์เฟซบุ๊กอย่างไรให้เป็นข่าว" ด้วย โดยเอาหลักนิเทศศาสตร์เข้าไปจับบวกด้วยหลักสัปปริสธรรม 7 ประการ เพราะธรรมชาติของข่าวอันดับแรกคือประเด็นต้องใหม่น่าสนใจและผลประโยชน์ตามมา เข้าหลัก "ธัมมัญญุตา" เป็นผู้รู้จักเหตุ "อัตถัญญุตา" เป็นผู้รู้จักผล และที่สำคัญคือกาลัญญุตาต้องทันกาล เกิดเหตุวันนี้วินาทีนี้แล้วไปโต้อีกวันแบบนี้ถือว่าไม่ทันกาล ธรรมชาติของข่าวต้องปัจจุบันขณะ และ"ปุคคลปโรปรัญญุตา" ก็สำคัญเมื่อบุคคลสำคัญคนดังไปที่วัดก็เป็นข่าวแล้ว
หลังจากนั้นนำหลักการทำ SEO เข้ามาประกอบ "คีย์เวิร์ด" จะต้องฮิตเพื่อให้กูเกิ้ลจับเพื่อจะได้อยู่อันดับแรกของการค้นหา ต่อจากนั้นนำหลักโซเชียลเน็ตเวิร์คเข้ามาช่วยสร้างยอดคนอ่าน ดังนั้น ข่าวหนึ่งชิ้นจะต้องแชร์ไปที่ระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ กูเกิ้ลพลัต หรือแท้งโก้ ก็จะช่วยในการเผยแผ่ธรรมได้เป็นอย่างดี
"มจร"อนุมัติตั้งวิทยาลัยพระธรรมทูต
ด้านพระโสภณวชิราภรณ์ กล่าวว่า มจร ได้อนุมัติตั้งวิทยาลัยพระธรรมทูตขึ้นมาเพื่อสร้างพระธรรมทูตให้มีคุณภาพและสานความร่วมมือกับคณะสงฆ์พุทธศาสนาประเทศต่างๆด้วย ซึ่งต่อไปนี้ไม่ใช่เฉพาะการเปิดการอบรมเท่านั้น ซึ่งจะทำให้งานมีระบบมากขึ้นและถือเป็นงานของมหาเถรสมาคม พร้อมกันนี้ให้มีสมณศักดิ์สายต่างประเทศด้วยเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ผลงานเหล่านี้สืบเนื่องมาจากงานของสมเด็จพระพุฒาจารย์ที่ได้สร้างมา
รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มจร กล่าวต่อว่า วิทยาลัยพระธรรมทูตนี้จะเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยจะเริ่มปีการศึกษา 2557 นี้ ซึ่งจะรับทั้งพระและฆราวาส แต่รุ่นแรกนี้คงจะรับเฉพาะพระก่อน ส่วนหลักสูตรนั้นก็จะเกี่ยวกับวิธีการเผยแพร่ ภาษา ศาสนาพิธี และประเทศที่จะเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ
"จะแบ่งเป็นช่วงๆ สลับกันคือปีแรกเรียนวิชาการ ปีที่สองจะต้องเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศต่างๆ โดยจะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ในการเผยแพร่ด้านต่างๆ รวมถึงการเขียนบทความ รายงาน เผยแพร่ผ่านสื่อประเทศนั้นๆ ปีที่สามกลับมาเรียนที่ประเทศไทยและปีที่สี่ก็กลับไปปฏิบัติที่ประเทศนั้นๆอีก ดังนั้น พระธรรมทูตจะต้องเรียนรู้ภาษาของประเทศที่จะไปปฏิบัติศาสนกิจถือเป็นภาคบังคับ" พระโสภณวชิราภรณ์ กล่าว
.....................................
ฝึก'พระธรรมทูต'เทียบชั้น'มิช
ชันนารีวาติกัน' 'มจร'ตั้งวิทยาลัยสอนป.โท-เอกรองรับงานคณะสงฆ์ : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FBsamran sompong)
วันเสาร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2557
'มจร'สานงาน'สมเด็จเกี่ยว'พัฒนาชาวเขา
"ขอให้ทุกคนภูมิใจว่า เราเกิดบนแผ่นดินไทย มีพระพุทธศาสนาเป็นหลักใจ จะเป็นชาวเขาหรือชาวเรา ทุกคนก็เป็นคนเสมอกัน คือ เราเป็นคนไทย ขอให้พวกเราอาศรัยแผ่นดินแห่งนี้สร้างชีวิต สร้างความดีงาม ให้สมกับที่เกิดมาเป็นคนไทย"
นี้เป็นโอวาทของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ที่ระบุในหนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก ที่อยู่ในถุงที่พุทธศาสนิกชนที่ได้รับในวาระพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 มีนาคม 2557 เวลา 17.00 น.ที่ผ่านมา
หนังสือเล่มนี้รัฐบาลจัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการดังกล่าว ที่ได้รวบรวมภาพเหตุการณ์ตั้งแต่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์มรณภาพจนกระทั้งพิธีพระราชทานเพลิงศพ พร้อมทั้งประวัติและผลงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านบริการสังคมและเผยแพร่ ซึ่งอยู่ช่วงท้ายเล่มบทที่ 19 สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จิตวิญญาณความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา เริ่มตั้งแต่เปิดสำนักงานที่มีกิจกรรมเช่นจริยธรรมแชนแนลสื่ออาสานำธรรมดี ธรรมทูตอาสา 5 จังหวัดชายแดนใต้ พระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา โรงเรียนวิถีพุทธและอาชีววิถีพุทธ จัดตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์พระพุทธศาสนา ตั้งศูนย์ช่วยเหลือวัดและผู้ประสบภัยน้ำท่วม ริเริ่มให้มีพิธีสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งแต่ละกิจกรรมก็จะมีภาพและโอวาทของเจ้าประคุณสมเด็จประกอบ
สำหรับงานพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขานอกจากจะเป็นกิจกรรมหรือโครงการภายในวัดสระเกศแล้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ที่เจ้าประคุณสมเด็จเคยดำรงแหน่งอธิการบดี ก็ได้สนองงานด้านนี้ โดยเริ่มนำพระสงฆ์ที่สำเร็จการศึกษาแล้วแต่อยู่ในช่วงการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักสูตร จาริกไปเพื่อพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงหรือชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากความเจริญ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังมีภารกิจรองอีกมากมายเพื่อให้ชุมชนเกิดการพัฒนาในทางที่ดี เช่น ทำให้คนในชุมชนบนพื้นที่สูงมีความสำนึกในคุณแผ่นดิน สำนึกรักในประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้งป่าไม้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เป็นต้น โดยได้ดำเนินการมา 10 ปีกว่าแล้ว
พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ (ธีรพงษ์) สิรินฺธโร ยะอุตม์ รองอธิการบดี มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ บอกว่า การเข้าไปอยู่ของพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงก็เปรียบเหมือนนักวิจัยคนหนึ่งที่เข้าไปมีบทบาทมีส่วนร่วมในชุมชน คอยเก็บข้อมูลศึกษาสภาพทางด้านต่างๆ ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม หรือสภาพทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาไปในที่ถูกที่ควรและเหมาะสม นับว่าพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงหรือพระบัณฑิตอาสาก็มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง
เมื่อเข้าไปอยู่ชุมชนแล้วจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทางด้านวัตถุบ้าง มิใช่เน้นไปในด้านใดด้านหนึ่ง เพราะการพัฒนาทางด้านวัตถุนั้นจะโดดเด่น และสามารถเห็นภาพได้จริง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปกระทำ แต่ควรที่จะเป็นไปโดยพอดีพองาม ไม่เบียดเบียนกำลังศรัทธามากจนเกินไป เราต่างรู้กันดีว่าสภาพของคนในชุมชนบนพื้นที่สูงนั้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากยากจนอยู่แล้ว การดำเนินชีวิตของคนในชุมชนบนพื้นที่สูงนั้นควรจะเน้นให้ใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสไว้ ซึ่งจะทำให้ชุมชนพัฒนาไปอย่างมั่นคงยั่งยืน
พระบัณฑิตอาสาจะทำงาน 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน คือ 1.ด้านจิตใจ โดยใช้ธรรมะชะล้างความสกปรกของจิตใจ เป็นภูมิคุ้มกันจากสิ่งยั่วยุไปในทางที่เสื่อมทั้งหลาย พระบัณฑิตอาสาเองก็เล็งเห็นปัญหานี้ จึงได้มีการทำงานในเชิงรุกโดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยใช้ธรรมะเป็นตัวหล่อหลอมให้เด็กเยาวชน คนในชุมชนเป็นคนดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ เกิดจิตสำนึก ละอายต่อการทำชั่ว เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็กเยาวชนซึ่งจะเป็นขุมกำลังอนาคตของชาติ
2.รักษาประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ของแต่ละชาติพันธุ์ ถือเป็นสิ่งมีค่าและสำคัญ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละชาติพันธ์ เป็นการสื่อถึงอารยธรรม สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณสู่รุ่นลูกจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้มีคุณค่ายากที่จะประเมินค่า อีกทั้งยังแฝงไปด้วยความรู้ภูมิปัญญาของคนในอดีต เช่น การมัดมือของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งจะทำกันปีละ 2 ครั้ง โดยความเชื่อของชาติพันธุกะเหรี่ยง คือ เป็นการเรียกขวัญให้ลูกหลานในครอบครัว ทั้งนี้หากมองลึกๆ ลงไปจะเห็นได้ว่าพิธีกรรมเหล่านี้แฝงไปด้วยภูมิปัญญา นั่นก็คือทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันในหมู่เครือญาติ ครอบครัว ทำให้เครือญาติได้มาพบปะกัน
และ 3.ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าไม่ธรรมชาติ เช่นเดียวกับการทำงานของพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงที่เองที่นำเอาพิธีกรรมทางศาสนามาเป็นส่วนในการอนุรักษ์ป่าไม้ เช่น การบวชป่า การปลูกป่าในวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ป่าไม่ให้อยู่คู่กับชุมชน
"ปัจจุบันเองพระสงฆ์ก็ยังเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและจิตใจ ก็เหมือนพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงที่ไปเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและใจแก่คนในถิ่นทุรกันดาร แต่การเข้าไปอยู่ในอาศรมต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสา ขึ้นชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงนั้นมิใช่เพียงแค่การเข้าไปอยู่เฝ้าอาศรม หรือสร้างศาสนะวัตถุจนใหญ่โตมโหฬาร โดยมิได้ใส่ใจเรื่องอื่นๆ ไม่เหลียวแลสภาพทางสังคมความเป็นอยู่ของคนในชุมชน แต่ได้ทำหน้าที่เป็นพระนักเผยแผ่โดยมิได้มีวันหยุดนิ่ง" พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ กล่าว
พระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มจร กล่าวว่า บอกว่า แม้บทบาทของพระธรรมจาริกและพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา จะไม่เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาผู้คนทั่วไปมากนัก แต่สิ่งที่ท่านเหล่านั้นได้เสียสละเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่น่ายกย่อง ชมเชยและสาธุการเป็นอย่างยิ่ง จึงขอสะท้อนภาพแห่งความยิ่งใหญ่ของผู้นำแห่งขุนเขาอันกว้างใหญ่ไพศาล ให้ผู้คนได้รับทราบเพื่อร่วมให้กำลังใจในการปฏิบัติงานของท่านตามที่ได้รับมอบหมายความไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นผู้สนับสนุนให้ท่านได้มีโอกาสทำงานที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ต่อไป" พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าว
ระหว่างวันที่ 27 – 30 มีนาคมนี้ พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร พร้อมคณะจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมอาศรมพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา วัดบ้านห้วยบง ต.บ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้ตามที่คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่มีนโยบายให้ดำเนินการสร้างวัดเพิ่มให้ครบ 9 วัด ในเขตอำเภอกัลยาณิวัฒนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ กำลังดำเนินการเสนอขอจดทะเบียนวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ต่อมหาเถรสมาคมพิจาณาอนุมัติแล้ว เพื่อให้มีวัดในเขตปกครองของคณะสงฆ์ในอำเภอกัลยาณิวัฒนาในอนาคต
ได้ประชาสัมพันธ์ให้ทั้งคณะสงฆ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาวัดเขตอำเภอดังกล่าว และ มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา ผลิตบุคลากรและการพัฒนาสังคมทั้งพื้นราบและบนพื้นที่สูง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนาด้านจิตใจให้กับชุมชนทั้งเด็กเยาวชน เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ในด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชนเผ่า เพื่อเป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นศูนย์พัฒนาศักยภาพให้กับพระบัณฑิตอาสาและพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูงสืบไป
ในโอกาสนี้พระพรหมบัณฑิตจะเป็นประธานในพิธีกลุ่มชาติพันธุ์แสดงตนเป็นพุทธมามกะ จำนวน 300 หลังคาเรือน ทอดผ้าป่าสามัคคีระดมทุนเพื่อสร้างวัดห้วยบง ซึ่งเป็นวัดสังกัดมหาวิทยาลัย โดยมีการวางผังแม่บทสร้างวัดห้วยบง ประกอบด้วย: เขตพื้นที่สร้างถาวรวัตถุ อุทยานการศึกษา ศึกษาเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและประเพณีชนเผ่า ป่าอนุรักษ์ทรัพยากรณ์และสิ่งแวดล้อมชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง (ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน) และเขตพื้นที่ส่งเสริมพัฒนาอาชีพของชนเผ่า
ผลงานดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีแนวความคิดริเริ่มบริการสังคมของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) ซึ่งสามารถติดตามกิจกรรมของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาได้ที่เฟซบุ๊ก "พระอาสา พัฒนาชาวเขา" หรือที่ "โครงการพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา มจร วิทยาเขตเชียงใหม่"
.............................
'มจร'สานงาน'สมเด็จเกี่ยว'พัฒนาชาวเขา อธิการบดีเยี่ยมวัดห้วยบงเชียงใหม่ให้กำลังใจ : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FBsamran sompong)
นี้เป็นโอวาทของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ที่ระบุในหนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก ที่อยู่ในถุงที่พุทธศาสนิกชนที่ได้รับในวาระพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 9 มีนาคม 2557 เวลา 17.00 น.ที่ผ่านมา
หนังสือเล่มนี้รัฐบาลจัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการดังกล่าว ที่ได้รวบรวมภาพเหตุการณ์ตั้งแต่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์มรณภาพจนกระทั้งพิธีพระราชทานเพลิงศพ พร้อมทั้งประวัติและผลงานด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านบริการสังคมและเผยแพร่ ซึ่งอยู่ช่วงท้ายเล่มบทที่ 19 สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม จิตวิญญาณความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา เริ่มตั้งแต่เปิดสำนักงานที่มีกิจกรรมเช่นจริยธรรมแชนแนลสื่ออาสานำธรรมดี ธรรมทูตอาสา 5 จังหวัดชายแดนใต้ พระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา โรงเรียนวิถีพุทธและอาชีววิถีพุทธ จัดตั้งสถานีวิทยุและโทรทัศน์พระพุทธศาสนา ตั้งศูนย์ช่วยเหลือวัดและผู้ประสบภัยน้ำท่วม ริเริ่มให้มีพิธีสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งแต่ละกิจกรรมก็จะมีภาพและโอวาทของเจ้าประคุณสมเด็จประกอบ
สำหรับงานพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขานอกจากจะเป็นกิจกรรมหรือโครงการภายในวัดสระเกศแล้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ที่เจ้าประคุณสมเด็จเคยดำรงแหน่งอธิการบดี ก็ได้สนองงานด้านนี้ โดยเริ่มนำพระสงฆ์ที่สำเร็จการศึกษาแล้วแต่อยู่ในช่วงการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักสูตร จาริกไปเพื่อพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูงหรือชุมชนที่อยู่ห่างไกลจากความเจริญ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อีกทั้งยังมีภารกิจรองอีกมากมายเพื่อให้ชุมชนเกิดการพัฒนาในทางที่ดี เช่น ทำให้คนในชุมชนบนพื้นที่สูงมีความสำนึกในคุณแผ่นดิน สำนึกรักในประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้งป่าไม้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เป็นต้น โดยได้ดำเนินการมา 10 ปีกว่าแล้ว
พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ (ธีรพงษ์) สิรินฺธโร ยะอุตม์ รองอธิการบดี มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ บอกว่า การเข้าไปอยู่ของพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงก็เปรียบเหมือนนักวิจัยคนหนึ่งที่เข้าไปมีบทบาทมีส่วนร่วมในชุมชน คอยเก็บข้อมูลศึกษาสภาพทางด้านต่างๆ ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม หรือสภาพทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาไปในที่ถูกที่ควรและเหมาะสม นับว่าพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงหรือพระบัณฑิตอาสาก็มีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่สูง
เมื่อเข้าไปอยู่ชุมชนแล้วจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทางด้านวัตถุบ้าง มิใช่เน้นไปในด้านใดด้านหนึ่ง เพราะการพัฒนาทางด้านวัตถุนั้นจะโดดเด่น และสามารถเห็นภาพได้จริง เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปกระทำ แต่ควรที่จะเป็นไปโดยพอดีพองาม ไม่เบียดเบียนกำลังศรัทธามากจนเกินไป เราต่างรู้กันดีว่าสภาพของคนในชุมชนบนพื้นที่สูงนั้น มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบากยากจนอยู่แล้ว การดำเนินชีวิตของคนในชุมชนบนพื้นที่สูงนั้นควรจะเน้นให้ใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสไว้ ซึ่งจะทำให้ชุมชนพัฒนาไปอย่างมั่นคงยั่งยืน
พระบัณฑิตอาสาจะทำงาน 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน คือ 1.ด้านจิตใจ โดยใช้ธรรมะชะล้างความสกปรกของจิตใจ เป็นภูมิคุ้มกันจากสิ่งยั่วยุไปในทางที่เสื่อมทั้งหลาย พระบัณฑิตอาสาเองก็เล็งเห็นปัญหานี้ จึงได้มีการทำงานในเชิงรุกโดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยใช้ธรรมะเป็นตัวหล่อหลอมให้เด็กเยาวชน คนในชุมชนเป็นคนดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ เกิดจิตสำนึก ละอายต่อการทำชั่ว เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็กเยาวชนซึ่งจะเป็นขุมกำลังอนาคตของชาติ
2.รักษาประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ของแต่ละชาติพันธุ์ ถือเป็นสิ่งมีค่าและสำคัญ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละชาติพันธ์ เป็นการสื่อถึงอารยธรรม สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณสู่รุ่นลูกจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้มีคุณค่ายากที่จะประเมินค่า อีกทั้งยังแฝงไปด้วยความรู้ภูมิปัญญาของคนในอดีต เช่น การมัดมือของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งจะทำกันปีละ 2 ครั้ง โดยความเชื่อของชาติพันธุกะเหรี่ยง คือ เป็นการเรียกขวัญให้ลูกหลานในครอบครัว ทั้งนี้หากมองลึกๆ ลงไปจะเห็นได้ว่าพิธีกรรมเหล่านี้แฝงไปด้วยภูมิปัญญา นั่นก็คือทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันในหมู่เครือญาติ ครอบครัว ทำให้เครือญาติได้มาพบปะกัน
และ 3.ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต้องมีการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าไม่ธรรมชาติ เช่นเดียวกับการทำงานของพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงที่เองที่นำเอาพิธีกรรมทางศาสนามาเป็นส่วนในการอนุรักษ์ป่าไม้ เช่น การบวชป่า การปลูกป่าในวันสำคัญต่างๆ เป็นต้น ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์ป่าไม่ให้อยู่คู่กับชุมชน
"ปัจจุบันเองพระสงฆ์ก็ยังเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและจิตใจ ก็เหมือนพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงที่ไปเป็นที่พึ่งทั้งทางกายและใจแก่คนในถิ่นทุรกันดาร แต่การเข้าไปอยู่ในอาศรมต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ของพระบัณฑิตอาสา ขึ้นชื่อว่าเป็นพระนักพัฒนาบนพื้นที่สูงนั้นมิใช่เพียงแค่การเข้าไปอยู่เฝ้าอาศรม หรือสร้างศาสนะวัตถุจนใหญ่โตมโหฬาร โดยมิได้ใส่ใจเรื่องอื่นๆ ไม่เหลียวแลสภาพทางสังคมความเป็นอยู่ของคนในชุมชน แต่ได้ทำหน้าที่เป็นพระนักเผยแผ่โดยมิได้มีวันหยุดนิ่ง" พระครูโฆษิตปริยัตยาภรณ์ กล่าว
พระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มจร กล่าวว่า บอกว่า แม้บทบาทของพระธรรมจาริกและพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา จะไม่เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาผู้คนทั่วไปมากนัก แต่สิ่งที่ท่านเหล่านั้นได้เสียสละเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่น่ายกย่อง ชมเชยและสาธุการเป็นอย่างยิ่ง จึงขอสะท้อนภาพแห่งความยิ่งใหญ่ของผู้นำแห่งขุนเขาอันกว้างใหญ่ไพศาล ให้ผู้คนได้รับทราบเพื่อร่วมให้กำลังใจในการปฏิบัติงานของท่านตามที่ได้รับมอบหมายความไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่เป็นผู้สนับสนุนให้ท่านได้มีโอกาสทำงานที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ต่อไป" พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าว
ระหว่างวันที่ 27 – 30 มีนาคมนี้ พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร พร้อมคณะจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมอาศรมพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา วัดบ้านห้วยบง ต.บ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้ตามที่คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่มีนโยบายให้ดำเนินการสร้างวัดเพิ่มให้ครบ 9 วัด ในเขตอำเภอกัลยาณิวัฒนา และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ กำลังดำเนินการเสนอขอจดทะเบียนวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์ต่อมหาเถรสมาคมพิจาณาอนุมัติแล้ว เพื่อให้มีวัดในเขตปกครองของคณะสงฆ์ในอำเภอกัลยาณิวัฒนาในอนาคต
ได้ประชาสัมพันธ์ให้ทั้งคณะสงฆ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาวัดเขตอำเภอดังกล่าว และ มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ตระหนักถึงบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา ผลิตบุคลากรและการพัฒนาสังคมทั้งพื้นราบและบนพื้นที่สูง ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และพัฒนาด้านจิตใจให้กับชุมชนทั้งเด็กเยาวชน เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ในด้านพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม วิถีชีวิตของชนเผ่า เพื่อเป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นศูนย์พัฒนาศักยภาพให้กับพระบัณฑิตอาสาและพระนักเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูงสืบไป
ในโอกาสนี้พระพรหมบัณฑิตจะเป็นประธานในพิธีกลุ่มชาติพันธุ์แสดงตนเป็นพุทธมามกะ จำนวน 300 หลังคาเรือน ทอดผ้าป่าสามัคคีระดมทุนเพื่อสร้างวัดห้วยบง ซึ่งเป็นวัดสังกัดมหาวิทยาลัย โดยมีการวางผังแม่บทสร้างวัดห้วยบง ประกอบด้วย: เขตพื้นที่สร้างถาวรวัตถุ อุทยานการศึกษา ศึกษาเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและประเพณีชนเผ่า ป่าอนุรักษ์ทรัพยากรณ์และสิ่งแวดล้อมชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง (ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน) และเขตพื้นที่ส่งเสริมพัฒนาอาชีพของชนเผ่า
ผลงานดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีแนวความคิดริเริ่มบริการสังคมของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) ซึ่งสามารถติดตามกิจกรรมของพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขาได้ที่เฟซบุ๊ก "พระอาสา พัฒนาชาวเขา" หรือที่ "โครงการพระบัณฑิตอาสาพัฒนาชาวเขา มจร วิทยาเขตเชียงใหม่"
.............................
'มจร'สานงาน'สมเด็จเกี่ยว'พัฒนาชาวเขา อธิการบดีเยี่ยมวัดห้วยบงเชียงใหม่ให้กำลังใจ : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FBsamran sompong)
วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557
'จ้วง'ญาติที่คนไทยลืมสายสัมพันธ์ที่จางหาย
คำว่า "จ้วง" คนไทยส่วนใหญ่แล้วมักจะคุ้นเคยกับคำกิริยาที่ว่า "จ้วงแทง" หรือ "จาบจ้วง" แต่ถ้าเป็นคำนามแล้วไม่ค่อยรู้จักว่าหมายถึงอะไร หรือจะรู้บ้างก็เพียงว่าชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งในมณฑลกวางสี จากข่าวที่ผู้บริหารเขตปกครองตนเองกวางสีและชนกลุ่มน้อยชาวจ้วง สาธารณรัฐประชาชนจีน เดินทางมาเยือนประเทศไทยเพื่อกระซับความสัมพันธ์จบเพียงแค่นั้น
ความจริงแล้วชาวจ้วงที่มณฑลกวางสีทางใต้ของจีนนี้นับได้ว่าเป็นเครือญาติของคนไทยผู้ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุด ที่รวมกลุ่มกันอยู่ก่อนยุคสามก๊ก (ราว 2,000 ปีมาแล้ว) กว่า 10 ล้านคน พูดจาสื่อสารกันเองในชุมชนหมู่บ้านและในครอบครัวที่อยู่ห่างไกลจากเมือง ก็พูดภาษาตระกูลไทย-ลาว หรือลาว-ไทย ฉันทลักษณ์ในบทร้อยกรองของจ้วงกับของไทยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีพื้นฐานจากคำคล้องจองเช่นเดียวกัน กลองหรือฆ้องมโหระทึกนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ชาวจ้วงสื่อกับเครื่อญาติไทย ทุกวันนี้ชาวจ้วงทุกวันนี้ยังมีกลองมโหระทึกประจำตระกูลกับประจำหมู่บ้านใช้งานในพิธีกรรมที่ทำสืบเนื่องมาแต่ดึกดำบรรพ์อีกรวมนับพันๆ ใบ ชาวจ้วงกับคนไทยก็มีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง
ด้วยความสัมพันธ์ดังกล่าวผู้บริหารไทยบางยุคจึงเห็นความสำคัญเป็นตัวเชื่อมในความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกันในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การศึกษา และการพัฒนาในด้านต่างๆ และเชื่อแน่ว่าคนไทยปัจจุบันนี้อาจจะเป็นคนจ้วงที่อพยพมาจากมณฑลกวางสีก็เป็นได้อย่างเช่นกลุ่มบริษัทซีโน-ไท ที่ได้การสนับสนุนตั้งโรงเรียนวัฒนธรรมและการศึกษาซีโน-ไท อ.เมือง จ.ขอนแก่น ที่มีนายชาญ เนียมประดิษฐ์ ประธานบริหาร
"เพราะชาติพันธุ์หรือรากเหง้าต้นกำเนิดเผ่าพันธุ์ของชนชาติไทย ยังเป็นที่กังขาของนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ของไทย มีหลายหลักฐานทางภาษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สนับสนุนและทำให้เชื่อว่า คนไทยเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ ณ ดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้มาตั้งแต่ต้น เนื่องจากคนไทยมีลักษณะคล้ายกับชนชาติจ้วงแห่งมณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ปัจจุบันทางการจีนได้รวมข้อมูลเกี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ มากกว่า 30 กลุ่มที่ใช้ภาษาจ้วงเข้าด้วยกัน" นายชาญ เคยกล่าวไว้และว่า
น่าสังเกตว่า ภาษาจ้วงเป็นตระกูลเดียวกับภาษาไทย มีคำศัพท์ร่วมกันหลายคำที่คนไทยสามารถสื่อสารเป็นคำๆ กับชาวจ้วงได้ แต่ไม่อาจเข้าใจเป็นประโยคได้เพราะชาวจ้วงรับเอาภาษาจีนมาใช้กันมาก แต่เมื่อเทียบกับภาษาลาวคนไทยสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องมีล่ามแม้ว่าศัพท์บางคำจะไม่เหมือนกันก็ตาม แต่เมื่อประวัติศาสตร์ภาษาไทยไปรับเอาบาลี - สันสกฤตเข้ามามาก ชาวจ้วงจึงไม่เข้าใจภาษาไทยทุกวันนี้ นักภาษาศาสตร์จึงใช้หลักการด้านการพัฒนากำเนิดภาษาสรุปว่า ภาษาจ้วงเป็นต้นกำเนิดของชนชาติและตระกูลไทย
ดังนั้นในช่วงสงกรานต์ระหว่าง 10-16 เมษายนนี้ หากสนใจร่วมทัศนศึกษาดูงานวัฒนธรรมชนชาติจ้วง - กวางสี ฟื้นความสัมพันธ์ในอดีต "มูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล" อาสาพาชมสถานที่ต่างๆ เช่น ถิ่นต้นตอของชนเผ่าจ้วง – ดอยก่านจ้วงซานถิ่น กำเนิดของผู้หลวกทั่ว(ปู้ลัวทัว) ปู้ลัวทัวเป็นบรรพชนของชนเผ่าพื้นเมืองแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง ดอยก่านจ้วงซานเป็นสถานที่รำลึกถึงปู้ลัวทัวบรรพชนของชนพื้น เมืองแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง เป็นแหล่งศูนย์กลางของต้นเค้าวัฒนธรรมจ้วงอันมีเรื่องราวของปู้ลัวทัวเป็นแก่นแกน เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง
เดินทางเลียบแม่น้ำผานหยางเหอ-แม่น้ำอายุยืนท่องเที่ยวอุทยานถ้ำไป่หวงต้ง นั่งเรือท่องเที่ยว”เทียนคังฉวิน”(บ่อฟ้า)อุทยานภุมิศาสตร์โลก-ซานเหมินไหจิ่งชฺวี ไม่ย้อนกลับทางเก่า ลงจากเรือที่บ่อฟ้าสุดท้าย แล้วเข้าถ้ำจั่งหลงต้ง(ถ้ำซ่อนมังกร) ถ้ำอัศจรรย์ หมู่บ้านปาผานตุน-หมู่บ้านคนจ้วงอายุร้อยกว่าปี สนทนากับผู้เฒ่ารับรู้เคล็ดลับอายุยืน
ประเพณี”จ้วงชุดดำ” ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “ฟอสซิลมีชีวิต” ฟังเพลงพื้นบ้าน”ข้ามเขา”-กั้วซานเชียง มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เยี่ยมชม”เรือนจ้วง” (กานหล่าน)สัมผัสวิถีชีวิตชาวจ้วง ร่วมสังสรรสุรา”เหล้าข้าว” ลิ้มลองอาหารตำรับชาวจ้วง เนื้อเค็ม ขาหมูเค็ม (แฮม) แหนม(เนื้อส้ม) ข้าวสาลีสามเหลี่ยมไก่บ้านชนบท ซุปข้าวโพดดอยสูง เป็นต้น
ชมการแสดงพื้นบ้าน สัมผัสการทอผ้า ย้อมผ้า ตีผ้า ผลักโม่หิน หมักเหล้า ทำเต้าหู้ สัมผัสวิถีชีวิตดึกดำบรรพ์ของชาวจ้วงชุดดำ เปิดเผยความลับเรื่องสีดำ
พิพิธภัณฑ์ชนชาติแห่งกวางสีชม มิวเซียมที่ออกแบบเป็นรูปกลองมโหระลึก นำชมนิทรรศการจัดแสดงวัฒนธรรมสัมฤทธิ์ หรือ กลองมโหระทึก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ ซึ่งเป็นรากร่วมวัฒนธรรมอาเซียน ชมนิทรรศการจำลองหมู่บ้านชนชาติต่างๆ ในมณฑลกวางสี
หากสนใจติดต่อสอบถาม นายชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต (มหา) รองเลขาธิการมูลนิธิฯ โทร. 0851666473 mahashin19@gmail.com ได้เลยจนถึงสิ้นเดือนนี้
.....................................
(หมายเหตุ : 'จ้วง'ญาติที่คนไทยลืม สายสัมพันธ์ที่จางหาย : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FBsamran sompong))
ความจริงแล้วชาวจ้วงที่มณฑลกวางสีทางใต้ของจีนนี้นับได้ว่าเป็นเครือญาติของคนไทยผู้ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุด ที่รวมกลุ่มกันอยู่ก่อนยุคสามก๊ก (ราว 2,000 ปีมาแล้ว) กว่า 10 ล้านคน พูดจาสื่อสารกันเองในชุมชนหมู่บ้านและในครอบครัวที่อยู่ห่างไกลจากเมือง ก็พูดภาษาตระกูลไทย-ลาว หรือลาว-ไทย ฉันทลักษณ์ในบทร้อยกรองของจ้วงกับของไทยมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีพื้นฐานจากคำคล้องจองเช่นเดียวกัน กลองหรือฆ้องมโหระทึกนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ชาวจ้วงสื่อกับเครื่อญาติไทย ทุกวันนี้ชาวจ้วงทุกวันนี้ยังมีกลองมโหระทึกประจำตระกูลกับประจำหมู่บ้านใช้งานในพิธีกรรมที่ทำสืบเนื่องมาแต่ดึกดำบรรพ์อีกรวมนับพันๆ ใบ ชาวจ้วงกับคนไทยก็มีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง
ด้วยความสัมพันธ์ดังกล่าวผู้บริหารไทยบางยุคจึงเห็นความสำคัญเป็นตัวเชื่อมในความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกันในหลายด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การศึกษา และการพัฒนาในด้านต่างๆ และเชื่อแน่ว่าคนไทยปัจจุบันนี้อาจจะเป็นคนจ้วงที่อพยพมาจากมณฑลกวางสีก็เป็นได้อย่างเช่นกลุ่มบริษัทซีโน-ไท ที่ได้การสนับสนุนตั้งโรงเรียนวัฒนธรรมและการศึกษาซีโน-ไท อ.เมือง จ.ขอนแก่น ที่มีนายชาญ เนียมประดิษฐ์ ประธานบริหาร
"เพราะชาติพันธุ์หรือรากเหง้าต้นกำเนิดเผ่าพันธุ์ของชนชาติไทย ยังเป็นที่กังขาของนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ของไทย มีหลายหลักฐานทางภาษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สนับสนุนและทำให้เชื่อว่า คนไทยเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ ณ ดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้มาตั้งแต่ต้น เนื่องจากคนไทยมีลักษณะคล้ายกับชนชาติจ้วงแห่งมณฑลกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ปัจจุบันทางการจีนได้รวมข้อมูลเกี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ มากกว่า 30 กลุ่มที่ใช้ภาษาจ้วงเข้าด้วยกัน" นายชาญ เคยกล่าวไว้และว่า
น่าสังเกตว่า ภาษาจ้วงเป็นตระกูลเดียวกับภาษาไทย มีคำศัพท์ร่วมกันหลายคำที่คนไทยสามารถสื่อสารเป็นคำๆ กับชาวจ้วงได้ แต่ไม่อาจเข้าใจเป็นประโยคได้เพราะชาวจ้วงรับเอาภาษาจีนมาใช้กันมาก แต่เมื่อเทียบกับภาษาลาวคนไทยสามารถเข้าใจได้โดยไม่ต้องมีล่ามแม้ว่าศัพท์บางคำจะไม่เหมือนกันก็ตาม แต่เมื่อประวัติศาสตร์ภาษาไทยไปรับเอาบาลี - สันสกฤตเข้ามามาก ชาวจ้วงจึงไม่เข้าใจภาษาไทยทุกวันนี้ นักภาษาศาสตร์จึงใช้หลักการด้านการพัฒนากำเนิดภาษาสรุปว่า ภาษาจ้วงเป็นต้นกำเนิดของชนชาติและตระกูลไทย
ดังนั้นในช่วงสงกรานต์ระหว่าง 10-16 เมษายนนี้ หากสนใจร่วมทัศนศึกษาดูงานวัฒนธรรมชนชาติจ้วง - กวางสี ฟื้นความสัมพันธ์ในอดีต "มูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล" อาสาพาชมสถานที่ต่างๆ เช่น ถิ่นต้นตอของชนเผ่าจ้วง – ดอยก่านจ้วงซานถิ่น กำเนิดของผู้หลวกทั่ว(ปู้ลัวทัว) ปู้ลัวทัวเป็นบรรพชนของชนเผ่าพื้นเมืองแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง ดอยก่านจ้วงซานเป็นสถานที่รำลึกถึงปู้ลัวทัวบรรพชนของชนพื้น เมืองแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง เป็นแหล่งศูนย์กลางของต้นเค้าวัฒนธรรมจ้วงอันมีเรื่องราวของปู้ลัวทัวเป็นแก่นแกน เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมแถบลุ่มแม่น้ำจูเจียง
เดินทางเลียบแม่น้ำผานหยางเหอ-แม่น้ำอายุยืนท่องเที่ยวอุทยานถ้ำไป่หวงต้ง นั่งเรือท่องเที่ยว”เทียนคังฉวิน”(บ่อฟ้า)อุทยานภุมิศาสตร์โลก-ซานเหมินไหจิ่งชฺวี ไม่ย้อนกลับทางเก่า ลงจากเรือที่บ่อฟ้าสุดท้าย แล้วเข้าถ้ำจั่งหลงต้ง(ถ้ำซ่อนมังกร) ถ้ำอัศจรรย์ หมู่บ้านปาผานตุน-หมู่บ้านคนจ้วงอายุร้อยกว่าปี สนทนากับผู้เฒ่ารับรู้เคล็ดลับอายุยืน
ประเพณี”จ้วงชุดดำ” ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “ฟอสซิลมีชีวิต” ฟังเพลงพื้นบ้าน”ข้ามเขา”-กั้วซานเชียง มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เยี่ยมชม”เรือนจ้วง” (กานหล่าน)สัมผัสวิถีชีวิตชาวจ้วง ร่วมสังสรรสุรา”เหล้าข้าว” ลิ้มลองอาหารตำรับชาวจ้วง เนื้อเค็ม ขาหมูเค็ม (แฮม) แหนม(เนื้อส้ม) ข้าวสาลีสามเหลี่ยมไก่บ้านชนบท ซุปข้าวโพดดอยสูง เป็นต้น
ชมการแสดงพื้นบ้าน สัมผัสการทอผ้า ย้อมผ้า ตีผ้า ผลักโม่หิน หมักเหล้า ทำเต้าหู้ สัมผัสวิถีชีวิตดึกดำบรรพ์ของชาวจ้วงชุดดำ เปิดเผยความลับเรื่องสีดำ
พิพิธภัณฑ์ชนชาติแห่งกวางสีชม มิวเซียมที่ออกแบบเป็นรูปกลองมโหระลึก นำชมนิทรรศการจัดแสดงวัฒนธรรมสัมฤทธิ์ หรือ กลองมโหระทึก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ ซึ่งเป็นรากร่วมวัฒนธรรมอาเซียน ชมนิทรรศการจำลองหมู่บ้านชนชาติต่างๆ ในมณฑลกวางสี
หากสนใจติดต่อสอบถาม นายชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต (มหา) รองเลขาธิการมูลนิธิฯ โทร. 0851666473 mahashin19@gmail.com ได้เลยจนถึงสิ้นเดือนนี้
.....................................
(หมายเหตุ : 'จ้วง'ญาติที่คนไทยลืม สายสัมพันธ์ที่จางหาย : สำราญ สมพงษ์รายงาน(FBsamran sompong))
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก"
โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่องธรรม...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...