วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559



ถกวาง5กรอบคุ้มครองและปกป้องศาสนา 

 ที่ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 14.00 น. วันพุธที่ 31 สิงหาคม2559 นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนคุ้มครองศาสนาต่างๆในประเทศไทยตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 49/2559 เพื่อหารือกรอบการทำงานร่วมกันของทุกศาสนาให้สอดคล้องกับคำสั่งหัวหน้าคสช.ดังกล่าวใน 5 แนวทางคือ

1.ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา 2. ส่งเสริมสนับสนุนการเผยแผ่หลักธรรมที่ถูกต้อง 3.อุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนา 4.สร้างการรับรู้และเข้าใจระหว่างศาสนาต่างๆ และ 5.การประชาสัมพันธ์ในสังคมได้เข้าใจในกิจการศาสนาอย่างถูกต้อง

 และจากนี้ทุกองค์การศาสนาจะไปคิดวิธีการปฏิบัติและกลไกแนวทางต่อไป โดยหน่วยงานด้านศาสนาจะประชุมร่วมอีก 2 ครั้ง ให้แล้วเสร็จภายในที่ 31 ต.ค.นี้ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีรับทราบ และรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบก่อนวันที่ 22 พ.ย.นี้



โดยมีผู้แทนจากทุกศาสนาเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ผู้แทนฝ่ายพุทธศาสนาประกอบด้วยพระพรหมมุนี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม พระพรหมโมลี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ และพระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส ผู้แทนฝ่ายคริสต์ศาสนาคือมุขนายกยอห์น บอสโก ปัญญา กฤษเจริญ เหรัญญิกสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย มงซินญอร์ ดร. วิษณุ ธัญญอนันต์ รองเลขาธิการสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ที่ปรึกษาคณะกรรมการการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ กล่าวในการเสวนาว่า "กระบวนการการปลูกฝังคุณธรรมในทางพระพุทธศาสนา นั้น เรียกว่า ไตรสิกขา  สรุปแล้วการปลูกฝังคุณธรรมจะใช้ ๓ คำ คือการสอนให้รู้ ทำให้ดู และอยู่ให้เห็น เบญจศีล หรือศีล ๕ กับเบญจธรรมคือธรรมะ ๕ ประการแรกคือ เมตตา กรุณา  ข้อที่ ๒ คือทานหรือการให้ หรือมีจิตอาสา   ส่วนเรื่องกามสังวร คือการควบคุมตนเองไม่ให้ผิดลูกผิดเมีย   และเรื่องของสัจจะ ความซื่อสัตย์สุจริตที่จะมาเป็นฐานรองรับของศีลมุสาวาท สุดท้ายให้มีสติสัมปชัญญะ สติคือความรู้ตัว สัมปชัญญะคือปัญญา

 ................................

(หมายเหตุ - ที่มาของรูปจากเฟซบุ๊ก Varintorn Hema)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...