‘ต้นกล้ามัคคานุคา’ปลุกกระแสป้องวัยโจ๋ฝ่ามรสุมดิจิตอล
‘โครงการต้นกล้ามัคคานุคา’ ปลุกกระแสสังคมไทยกับ สร้างเกราะป้องกันให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ใช้ชีวิตให้เป็นในโลกยุคดิจิตอล
ทุกวันนี้เด็กและเยาวชนไทยตกอยู่ในความเสี่ยงหลายด้าน เนื่องจากการเรียนรู้ของเด็กในเรื่องต่างๆ มาจากเครื่องรู้และสิ่งที่รับรู้ เรียกว่าอายตนะ ทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่ามกลางอันตรายจากโลกของการสื่อสาร หมายถึงจิตที่หลงไปกับสื่อต่างๆ ทั้งสื่อทีวี สื่อออนไลน์ เกม ที่อยู่รอบตัวและเข้าถึงได้ไม่ยากในยุคสมัยนี้
ส่งผลให้เด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยตกอยู่ในความเสี่ยงเหล่านี้ จนเกิดปัญหาในการเรียนรู้ในยุคของการสื่อสารไร้พรหมแดน อาทิ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร กาทำแท้ง ความรุนแรง ติดเกมส์ ก่ออาชญากรรม และยาเสพติด จนกลายเป็นปัญหาครอบครัวและปัญหาสังคม แต่
ในอีกมุมหนึ่งครอบครัว พระธรรม โรงเรียน มีส่วนสำคัญที่จะสามารถสร้างเกราะป้องกันให้กับปัญหาเหล่านี้ได้โดยอาศัยความร่วมมือ
“โครงการต้นกล้ามัคคานุคา” เป็นอีกโครงการหนึ่งที่จะช่วยสร้างเกราะป้องกันให้เด็กและเยาวชนในยุคสมัยนี้
โดยใช้รูปแบบของการบูรณาการการเรียนการสอน กับการฝึกสติสัมปชัญญะ ควบคู่ไปกับเกราะป้องกันที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือครอบครัว เป็นการผสานความร่วมมือซึ่งกันและกันระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน หรือ บวร ในยุคสมัยก่อนที่บ้าน วัด และโรงเรียน ต่างเชื่อมโยงเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการนี้เพื่ออบรมคุณธรรมให้เกิดขึ้นในจิตใจของเด็กและเยาวชน เป็นการสร้างเกราะป้องกันที่ติดตัวไปจนเติบใหญ่ โดยบูรณาการการเรียนการสอนกับการฝึกสติสัมปชัญญะ
พร้อมกับสร้างครอบครัวและนักเรียนแกนนำ “ต้นกล้ามัคคานุคา” รวมทั้งปลูกจิตสำนึกให้เยาวชคนรุ่นใหม่มีจิตสาธารณะ รู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวม มีน้ำใจแห่งคุณธรรม (จาคะ) และเป็นพลเมืองอันพึงประสงค์ให้กับสังคม
สำหรับเป้าหมายสำคัญของโครงการ “ต้นกล้ามัคคานุคา” เพื่อให้โรงเรียนเห็นความสำคัญของการนำพระธรรมเข้ามาบูรณาการ การเรียนการสอนโดยใช้การฝึกสติสัมปชัญญะ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 รวมถึงครอบครัวที่มีเด็กนักเรียนในระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 3-6 จำนวน 30 ครอบครัว (เฉพาะในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล หรือจังหวัดที่มีความพร้อมในการจัดการอบรม)
โดยเปิดรับสมัครจากโรงเรียนทั่วไปที่สนใจ ตั้งแต่วันที่ 1-30กันยายน 2559 ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่19-28 กุมภาพันธ์ 2560 ประกาศผลในวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 และมอบรางวัลเดือนมิถุนายน 2560
ทั้งนี้โรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมจะต้องมีการจัดรูปแบบของกิจกรรม ดังนี้ ครูผู้สอนเข้าคอร์ส ปฎิบัติธรรมการฝึกสติสัมปชัญญะกับ
โครงการ การจัดอบรมนักเรียนให้รู้จักการฝึกสติสัมปชัญญะ และประโยชน์ที่ได้รับ จัดให้เมีการท่องพระสูตร คำสอนจากพุทธโอษฐ์ หน้าเสาธงหรือในชั้นเรียน จัดให้นักเรียนเจริญสติสัมปชัญญะก่อนการเรียนทุกครั้ง ให้นักเรียนทำความเข้าใจจากการฝึกสติสัมปชัญญะ มาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงของนักเรียน ทั้งในห้องเรียน ในโรงเรียนและที่บ้าน (โดยให้นักเรียนบันทึกผลที่ได้นำไปใช้)
เชิญผู้ปกครอง เพื่อรับทราบรายละเอียดของโครงการ จัดกิจกรรมคัดเลือก “ต้นแบบต้นกล้ามัคคานุคา” ของโรงเรียน สนับสนุนนักเรียนเข้าร่วมโครงการ “ครอบครัวต้นกล้ามัคคานุคา”
อย่างไรก็ตามโรงเรียนที่ผ่านการพิจารณาการบูรณาการการเรียนการสอนกับการฝึกสติสัมปชัญญะในชั้นเรียนจะได้รับรางวัล 10,000 บาท
พร้อมโล่และใบประกาศเกียรติคุณ ส่วนคุณครูที่ดำเนินกิจกรรมในห้องเรียนที่รับผิดชอบ เหรียญทอง ได้รับรางวัลห้องเรียนละ 15,000 บาท เหรียญเงินห้องเรียนละ 10,000 บาท และเหรียญทองแดงห้องเรียนละ 8,000 บาท พร้อมโล่และใบประกาศเกียรติคุณ ส่วนครอบครัวต้นกล้ามัคคานุคา นักเรียน ครู และโรงเรียนจะได้รับรางวัลสูงสุด 10,000 บาท
เปิดรับสมัครในเดือนกันยายนนี้ ท่านที่สนใจสามารถติดตามข่าวการรับสมัครได้จากเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/buddhawaybuddhawords/?ref=page_internal เฟสบุ๊ก ต้นกล้ามัคคานุคา
วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น