วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พุทธสันติวิธีแก้โรคซึมเศร้าป้องเหตุฆ่าตัวตาย

ทุกครั้งที่มีข่าวบุคคลฆ่าตัวตายไม่ว่าสาเหตุใดๆ ก็ตาม ย่อมสร้างความสะเทือนขวัญกับผู้ที่รับข่าวสารนั้น ยิ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงด้วยแล้ว และเย็นวันที่ 28 ส.ค.2559 นี้ก็เกิดเหตุสาวนิรนามกระโดดคอนโดย่านถนนพระราม 3 เสียชีวิต อย่างเช่นกรณีล่าสุดทราบสาเหตุเกิดจากโรคซึมเศร้า โดยเกิดจากฐานจิตว่าหากร่างกายไม่มีอยู่ในโลกนี้แล้วจะหมดทุกข์ แต่ความจริงแล้วเป็นเช่นนั้นหรือไม่ แล้วจะมีทางแก้ไขอย่างด้วยวิธีการใด วิธีการทางวิทยาศาสตร์ได้ผลมากน้อยเพียงใด

ล่าสุดมีการแชร์ข้อมูลของ ร. ลิ่วเฉลิมวงศ์ สำนักสื่อธรรมะ (http://dhamma-media.blogspot.com/2016/08/blog-post_96.html?m=1)  ที่กล่าวถึงเรื่องราวของแพทย์หญิงพจนีย์ พงษ์ประภาพันธ์ ชีวิตของเธอก็เจริญรุ่งเรื่องในหน้าที่การงาน แล้วอยู่ๆ ความเจ็บป่วยก็มาเยือนเธอด้วยโรคหมอนรองกระดูกแตกโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง หมดทางรักษาทางวิทยาศาสตร์ เธอได้หันมารักษาทางธรรมศาสตร์จากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ในที่สุดเธอก็หายกลับมาทำงานเหมือนเดิม

นั่นก็แสดงให้เหตุว่า ธรรมศาสตร์ สามารถรักษาโรคได้ สูตรยาที่ใช้ในการรักษาคือโพชฌงค์ 7 แต่หัวใจของสูตรยานี้อยู่ที่ "สติ" นั้นก็คือหลักสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง

แล้วโรคซึมเศร้าจะใช้ยาเม็ดไหนในสติสติปัฏฐาน ๔ พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ได้ยกกรณีนี้เป็นตัวอย่างศึกษาแก่นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา หลังจากได้ทำวัตรปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานตามหลักสติปัฏฐาน ๔ แล้วว่า กรณีนี้ต้องใช้จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานคือการตามรู้ความคิด เมื่อคิดก็ให้กำหนดว่า "คิดหนอ" แล้วความคิดความฟุ้งซ้านก็จะค่อยๆหายไป แล้วกลับมากำหนดพอง ยุบ หรืออารมณ์ที่ปรากฏชัด ปฏิบัติเช่นนี้ไปเลื่อยๆ โรคซึมเศร้าก็จะหายไป

เกี่ยวกับการรักษาโรคซึมเศร้าตามหลักโพชฌงค์ 7 มีงานวิจัยจาก มจร รองรับชัดเจน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...