วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ฝึกสื่อสารกับตนเองจนถึงจิตเดิมแท้ถึงจะมีพลังในการไกล่เกลี่ย

ผู้ที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาษอันดับแรกจะต้องรู้จักสื่อสารกับตัวเองก่อนถึงจะสามารถทำหน้าที่ได้ดี สื่อสารให้รู้จักตัวตนของเราเป็นอย่างไร สื่อสารให้ถึงจิตเดิมแท้(ภวังคจิต)ของเราเป็นอย่างไร ถึงจะทำให้เรารู้จักฟังผู้อื่น  จะสามารถเข้าจิตใจของคนอื่นอย่างแท้จริง เอาภาพของเราใส่กล่องเอาไว้หรือเรียกว่าเป็นการล้างสมองให้สะอาดก่อนที่จะทำหน้าที่ และจะต้องเป็นผู้มีวินัยเพราะจะแสดงถึงความเป็นมืออาชีพและต้องศึกษาหาความรู้อยู่เสมอโดยเฉพาะภาษาของผู้ที่เราเข้าไปไกล่เกลี่ยและที่สำคัญคือภาษาใจของเขา
วันที่ ๒๔ ส.ค.                     
Dr.Roland  B.Wilson กล่าวว่า..พื้นฐานของมนุษย์มีความต้องการเหมือนกันซึ่งมาร์สโลแบ่งออกเป็น ๕ ขั้น หากไม่ตรงกันย่อมเกิดความขัดแย้งทั้งเชิงเดียวเชิงซ้อนเชิงโครงสร้างและพัฒนาไปสู่ความรุนแรงทางตรง โครงสร้างและวัฒนธรรม วิธีการที่จะระงับความขัดแย้งไม่ใช้พัฒนาเป็นความรุนแรงเชิงลบจะต้องใช้มาตรการด้วยการประนอมไกล่เกลี่ยเชิงป้องกัน และจะต้องพัฒนาให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับโลก 

                             Nino Kukhianidze กล่าวว่า ความขัดแย้งระหว่างจอเจียกับรัสเซียใช้วิธีการเจรจาการพูดคุยสันติภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งเพิ่ม   วิธีที่จะเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งคือ ระบบการศึกษา ปฏิรูปการศึกษาเพื่อนำไปสู่สันติภาพ  ต้องมีแนวทางใหม่ๆ มาแก้ไขปัญหา จอเจียมีความเชื่อใจสหรัฐอเมริกามากกว่าประเทศอื่นๆ 

                          ผู้แทนจากออสเตรเลีย   เยอรมัน  สิงคโปร์    ไทย     นิวซีแลนด์  สหรัฐอเมริกา  ไทย   สันติศึกษา และแคนนาดา แบ่งปัน ประนอมเป็นทักษะที่ต้องฝึกอยู่บ่อยครั้ง มิใช่ฝึกมาแล้วจะเป็นเลย  ทักษะการฟังจึงมีความสำคัญมาก  เราต้องฝึกทักษะการประนอมกับคนในครอบครัว หลักสูตรการฝึกอบรมให้ยาวขึ้น อย่างน้อย ๒๐๐  ชั่วโมง   เพื่อหาตกลงร่วมกัน   เรานำคนทั่วสหรัฐมาพัฒนาฝึกอบรมในด้านการประนอม เป็นศูนย์แห่งชุมชน  ฝึกอบรมจำนวน ๔๐ ชั่วโมง   ความขัดแย้งในทางครอบครัว

Mr.Ethelwald O. Mender มาจากอินเดีย กล่าวว่า การประนอมเกิดขึ้นสมัยกรีกโบราณ  ซึ่งพระพุทธศาสนาสนับสนุนระงับข้อพิพาทจัดให้การพูดคุยกันถือว่าเป็นที่ดีมาก  เราต้องเข้าใจเหตุของความขัดแย้ง ต้องเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง  เพราะจะไม่ทำให้เกิดความรุนแรง  การเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งมีหลายมิติ ดั้งนั้น  "งานไกล่เกลี่ยจึงเป็นงานที่มีความท้าทายมาก  สิ่งสำคัญความขัดแย้งในชุมชน คือ เราจะหาเป้าหมายร่วมกัน  ต้องลดการแสดงความรุนแรง ให้ทุกคนมีบทบาทร่วมกัน มีการเยียวยาด้วย  ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็นความขัดแย้ง ผู้นำชุมชนจึงต้องใส่ใจ ดั้งนั้น  " ผู้ประนอมต้องประสานความต้องการที่มีความแตกต่างกัน "   ย้ำว่า...ความขัดแย้งในชุมชนขึ้นบันไดเลื่อนไม่ได้ แต่ต้องเดินทีละก้าว 

" Sports  Diplomacy : a tool  for helping  mediating  conflicts "

                   เป็นการส่งเสริมข้อพิพาทด้วยการกีฬา  Dr.Soyoung  Kwon   จากเกาหลี กล่าวว่า นักกีฬาจจะทำเกิดสันติได้อย่างไร ? เราจะใช้กีฬาเพื่อเป็นข้อประนอมได้อย่างไร?  

กีฬามีพลังที่เปลี่ยนแปลงโลกได้ power of Sport สามารถผ่าทางตันได้ เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้มีความขัดแย้งมา ๗๐ ปี  ก็มีการสร้างกีฬาเป็นเครื่องมือเชื่อมความสัมพันธ์ นำมาซึ่งความผูกพันซึ่งกันและกัน

เอาความขัดแย้ง รุนแรง สงคราม มาเป็นเครื่องมือสร้างสันติภาพ     

Legislative  Developments  in Singapore  on Mediation
                Mr.Andy  Yeo กล่าวว่า  การร่างกฎหมายการประนอมของสิงคโปร์  ตั้งเป็นศูนย์ข้อพิพาท
ไทยเหมาะในการประนอมเพราะเป็นประเทศที่รักสันติ  ไทยมีรากเหง้าด้านสันติภาพอยู่แล้ว  ทางสิงคโปร์มีการร่างกฎหมายในการประนอม ผู้ประนอมต้องผ่านการรับรองคุณภาพคุณสมบัติ ที่สำคัญมีการกำหนดมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นวิชาชีพ  คนที่ไม่ใช่นักกฎหมายสามารถเป็นผู้ประนอมได้อย่างดี  แต่นักหมายอาจจะใช้อำนาจบังคับ เพราะเขาต้องการหารายได้จากคู่กรณี  ทุกอาชีพเป็นสามารถเป็นผู้ไกล่เกลี่ย


Geert Hofstede เขาวิเคราะห์มิติของสังคมเป็น 5 มิติ

1. Small vs. large power distance - ในสังคมนั้น ถ้าคนที่อยู่ระดับสูงกว่า (พ่อแม่ รุ่นพี่ อาจารย์ หัวหน้า ..) ทำอะไรผิด ผู้ที่อยู่ระดับต่ำกว่า กล้าที่จะตำหนิหรือพูดอย่างตรงไปตรงมาหรือไม่? (Democratic vs Autocracy)

2. Individualism vs. collectivism - สังคมคาดหวังให้คนในสังคม ทำงานเดี่ยว มีเป้าหมายและบุคคลิกเป็นอิสระจากกัน หรือคนในสังคมอยู่เหนี่ยวแน่นกันเป็นกลุ่ม เช่นครอบครัว ศาสนา ชุมชน

3. Masculinity vs. femininity - การแข่งขัน ความมั่นใจในตัวเอง ความทะเยอทะยาน (Masculinity) vs มนุษยสัมพันธ์ และคุณภาพชีวิต (femininity)

4. Weak vs. strong uncertainty avoidance - คนในสังคม ชอบวิธีการต่างๆ ที่ตายตัวมั่นคง เช่นกฏกติกา ศาสนา การไม่เปลี่ยนที่ทำงาน หรือชอบการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการตีกรอบ

5. Long vs. short-term orientation - ให้ความสำคัญกับอนาคต เช่นความแน่วแน่ การประหยัดอดออม ความละอาย หรือให้ความสำคัญกับปัจจุบัน เช่นการรักษาหน้าตัวเอง ราคาหุ้น การทักทาย ให้ของข


....................
(หมายเหตุ :ภาพจาก Pramote Od)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...