วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

"สถาบันโค้ชไทย-วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร" ร่วมมือทางวิชาการขับเคลื่อนศักยภาพมนุษย์


เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔  พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) โค้ชสันติ รุ่น ๔๘ สถาบันโค้ชไทย เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ได้ร่วมในพิธีลงนามความมือทางวิชาการระหว่างสถาบันโค้ชไทยกับวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร โดยมีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร กล่าวต้อนรับว่า การโค้ชเป็นส่วนสำคัญมากในการในปัจจุบันจะต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการโค้ช เป็นวิธีการที่ดีมากในยุคปัจจุบัน 

"มองว่าพระพุทธเจ้าเป็นบรมโค้ชอย่างแท้จริง จึงมีโอกาสไปเรียนการโค้ชกับสถาบันโค้ชไทยทำให้มองว่าการโค้ชเป็นเครื่องมือที่สำคัญ โค้ชคือแนวทางตะวันตกสอดรับกับพระพุทธศาสนามีกระบวนการถามเพื่อค้นพบตนเอง พระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์กับความดับทุกข์ การโค้ชให้ค้นพบตนเองภายใต้คำว่า รู้ ตื่น และเบิกบาน แต่จะต้องรู้ตนเองก่อนค่อยไปรู้คนอื่น สร้างการตระหนักรู้จากภายใน จึงมีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการนำไปสู่การพัฒนาผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่  ให้มี Mindset ที่เติบโต จะต้องถามตนเองทุกวันเพื่อการเติบโต ถามผู้ใช้บริการเพื่อตอบโจทย์เพื่อนำไปสู่พุทธปัญญา ซึ่งอนาคตจะต้องทำหลักสูตรร่วมกันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผ่านการส่งมอบให้สังคมโลก ผ่านการบูรณาการศาสตร์ตะวันตกและพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน" พระมหาหรรษา  กล่าว       

โค้ช ดร. เทอดทูน ไทศรีวิชัย  ผู้ก่อตั้งสถาบันโค้ชไทยกล่าวว่า  เรามีความเหมือนกันระหว่างสถาบันโค้ชไทยกับวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร โดยมีสหพันธ์การโค้ชนานาชาติเป็นมาตรฐาน ซึ่งโค้ช "เราเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์" โค้ชจะต้องสมรรถนะการโค้ช โดยโค้ชจะเชื่อศักยภาพของทุกคนทุกคนสามารถเติบโตได้ เรามีศักยภาพภายนอกแต่ต้องอาศัยกระจกเงาให้เมล็ดพันธุ์ได้เติบโต จึงต้องเชื่อศักยภาพคนอื่นแล้วละวาง ไม่ตัดสินผู้อื่น เพราะผู้เชื่อศักยภาพผู้อื่นจะต้องละวางผ่านกัลยาณมิตร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในยุทธศาสตร์ของชาติมีการพัฒนาครูอาจารย์เป็นโค้ชเป็นผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้อย่างทรงพลัง โดยมุ่งให้สามารถโค้ชตนเองและการโค้ชคนอื่น ให้คนไทยพ้นทุกข์พบสุข  นับว่าเป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ

วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำส...