วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

"ณพลเดช"ฉงน! พระ 100 ปี เศียรขาดจากโจรกรรมนาน 13 ปี แนะ รบ. ตั้ง"กระทรวงศิลปากร"

 


วันที่ 27 พ.ย. 2564 ดร.ณพลเดช มณีลังกา ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก.เขตสัมพันธวงศ์ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงจากที่ตนได้ลงพื้นที่ที่วัดวัดกันมาตุยาราม ถ.เยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ ได้พบพระเศียรขาดซึ่งทราบว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่อายุมากกว่า 100 ปี จากการที่ตนได้สอบถามพระมหานิวัฒน์ โชติโก เลขาเจ้าอาวาสวัดกันมาตุยาราม ทราบว่าวัดแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ซึ่งหากจะบูรณะต่อเติม ต้องได้รับการอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากรเสียก่อน จากเมื่อปี พ.ศ.2552 เศียรพระได้ถูกโจรกรรมโดยการตัดเศียรไปแล้วทั้งหมด 23 เศียร จากพระพุทธรูปในวัดทั้งหมด 80 องค์ จากการติดตามและยึดของกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เศียรพระคืนจำนวน 3 เศียร เป็นของกลางของตำรวจ สถานีตำรวจบางซื่อ ยึดได้จากร้านจำหน่ายวัตถุโบราณแห่งหนึ่งภายในตลาดนัดสวนจตุจักร ขณะนี้ได้จับยึดเศียรรวมได้มาเพียง 5 เศียร ในเบื้องต้นพระมหานิวัฒน์ จะยื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อช่วยเหลือซ่อมแซมบูรณะต่อไป



ดร.ณพลเดช กล่าวต่อไปว่า จากการที่ตนมาพบเห็นถือเป็นเรื่องเศร้าสลดที่มีพระพุทธรูปกลางกรุง ที่มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาท่องเที่ยวกันอย่างต่อเนื่องแต่ต้องพบเห็นพระพุทธรูปเศรียรขาดภายในวัด สื่อถือความเป็นประเทศไทยยังมีการโจรกรรมจากผู้ร้ายสร้างความสลดและลดความน่าเชื่อถือในความเป็นคนไทยที่เป็นผู้มีศีลธรรมอันดีงาม ทั้งนี้จากการที่พระมหานิวัฒน์ ได้พาตนไปกราบพระประธานในพระอุโบสถ ทราบมาว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เคยมีพระดำริว่าหากจะสร้างโบสถ์ก็ไม่ควรสร้างให้เล็กกว่าวัดแห่งนี้ อีกทั้งพระมหานิวัฒน์ยังพาไปชมภาพเขียนบนผนังของวัดและชี้จุดที่มีภาพผนังโบสถ์ไปตีพิมพ์บนแสตมป์ ทำให้แสตมป์กระจายไปทั่วโลก ปรากฏว่ามีฝรั่งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมุ่งมาที่เมืองไทยเพื่อไปที่วัดแห่งนี้โดยมาเพื่อถ่ายรูปภาพผนังโบสถ์ที่ปรากฏบนแสตมป์โดยเฉพาะ



ดร.ณพลเดช กล่าวต่อไปอีกว่า จากที่ตนได้ทำงานร่วมกับกรมศิลปากรมาพอสมควรในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้เห็นภาพของกรมศิลป์ที่มีงบประมาณอย่างจำกัด เจ้าหน้าที่ทำงานล้นมือ ตนเห็นว่ารัฐบาลควรตั้งกระทรวงใหม่เป็น “กระทรวงศิลปากร มรดกและวัฒนธรรม” ตามความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ วาระการปฏิรูปที่35 ที่กำหนดศิลปะวัฒนธรรม สร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  อีกทั้ง “ศิลปะ” ยังเป็นหัวใจสำคัญของจารีตประเพณีที่บรรพบุรุษได้ฝากไว้ให้กับลูกหลานซึ่งแสดงถึงความเป็นไทย แม้ในอดีตการปกครองของไทยก็ได้ให้ความสำคัญของศิลปากร จนมีชื่อเสียงอันโด่งดังในนาม “ช่างสิบหมู่” 


"สำหรับในหลายประเทศได้ให้ความสำคัญของศิลปะ ในการตั้งเป็นกระทรวง เช่นนิวซีแลนด์ ใช้ชื่อกระทรวงว่า “Ministry of arts culture and heritage” แปลก็คือ “กระทรวงศิลปวัฒนธรรมและมรดก” และอีกหลายประเทศจะใช้ Ministry of arts and culture เช่นมาเลเซีย แอฟริกาใต้ แคเมอรูน ฯลฯ ซึ่งจะเห็นว่าเขาให้ความสำคัญต่อ” ศิลปะ” เป็นการนำไปสู่การสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศซึ่งนำไปสู่ความภูมิใจของคนในประเทศ ส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกทั้งจะส่งผลไปสู่การผันงบประมาณที่มากขึ้นสู่การมุ่งเน้นให้ประเทศมีศิลปะที่งดงามดังประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งในปีงบประมาณ 2563 กรมศิลปากร ได้งบประมาณเพียง 2,581 ล้านบาท ขณะที่ ปี 2564 กระทรวงกลาโหมได้รับการจัดสรรงบประมาณถึง 223,463 ล้านบาท จะว่าไปแล้วกรมศิลปากร มีงบเพียง 10% ของกระทรวงกลาโหม และเพียงไม่ถึง 1% ของงบประมาณประเทศ แล้วจะให้ประเทศไทยเจริญด้วยศิลปะได้อย่างไร" ดร.ณพลเดช กล่าว



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราห์อาหุเนยยวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  วิเคราห์อาหุเนยยวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ บทนำ อาหุเนยยวรรคเป็นหมวดหนึ่งในอ...