วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เตรียมยกร่างแผนพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคปชช."มจร" เปิดกว้างรองรับคนรุ่นใหม่


วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔  เวลา ๐๙.๐๐-๑๑.๓๐ น. พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และประธานคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ผ่านโปรแกรม Zoom โดยมีคณะกรรมการและคณะทำงานรวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิร่วมประชุม เช่น ดร.มยุรี จำจรัส ผู้อำนวยการยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ศาสตราจารย์ นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ กรรมการสมานฉันท์ผู้เชี่ยวชาญด้านสันติวิธี เป็นต้น 

พระมหาหรรษาแจ้งเพื่อทราบว่า ขอชื่นชมคณะทำงานทุกรูปคนในการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือกับระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นการสนองงานมหาวิทยาลัยและปฏิบัติตามแนวทางการของการบริการ 

ดร.มยุรี ในฐานะกับดูแลมาตรฐานการขับเคลื่อนศูนย์ได้สะท้อนถึงการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ว่าเป็นศูนย์ต้นแบบที่มีความพร้อมด้านกายภาพเป็นอย่างมากถือว่าเป็นต้นแบบในระดับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและถือว่าเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ระดับประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมามีการประเมินผลศูนย์ถึง ๙๙ คะแนน พร้อมนำเสนอการพัฒนาให้มีความยั่งยืนและเป็นต้นแบบของศูนย์อื่นๆต่อไปทั่วประเทศ ในมติที่ประชุมจึงมีการเตรียมการยกร่างแผนพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร อย่างเป็นระบบโดยร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พร้อมยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยผลึกกำลังกับเครือข่ายของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนบริการสังคมสันติสุข ซึ่งแผนจะกำหนดคน งาน เงิน ที่มีความเหมาะสม พร้อมตั้งคณะกรรมการทำแผนพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เพื่อการทำงานที่เป็นระบบยิ่งขึ้น 

ดังนั้น พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการและคณะทำงานในประเด็นว่า หลักสูตรการพัฒนานักไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ จำนวน รุ่น ๔-๘  ซึ่งมีผู้สมัครเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมจำนวนมากโดยจะมีการพิจารณาผู้มีคุณสมบัติเข้ารับการฝึกอบรม พร้อมยกระดับหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพุทธสันติวิธีจำนวน ๒ รุ่น ซึ่งมีความเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเปิดรับสมัครเพื่อพัฒนาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ผู้ประนีประนอม และผู้ทำงานในศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนทั่วประเทศต่อไป 

พร้อมกันนี้พระมหาหรรษา ยังผลึกกำลังคนรุ่นใหม่ในการพัฒนาหลักสูตรสันติศึกษาภาคอินเตอร์และภาษาไทยร่วมกันในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ทำงานเต็มศักยภาพ โดยให้ทุกคนมาสร้างงานสร้างบารมีถือว่าเป็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารรุ่นใหม่อย่างแท้จริง     


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ

วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำส...