วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

"อธิการบดี มจร"อินเทรนด์! เตรียมบุคลากรรุ่นใหม่รองรับอนาคตใหม่


วันที่ ๓  พฤศจิกายน ๒๕๖๔ พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมประชุมผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยทั้งหมดในส่วนกลาง ผ่านโปรแกรม Zoom มีพระธรรมวัชรบัณฑิต,ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีเป็นประธานโดยกล่าว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้นิมนต์และเรียนเชิญผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยทั้งหมดในส่วนกลาง โดยประชุมผ่านโปรแกรมออนไลน์Zoom  โดยได้กล่าวเปิดและร่วมประชุมว่า เราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งส่วนสำคัญของมหาจุฬา จึงมีการสร้างการรับรู้ร่วมกันสร้างความเป็นอปริหานิยธรรม เพื่อการสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกัน โดยมีการวางแผนการจัดงานรับปริญญาในเดือนธันวาคมนี้พร้อมมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด 

กำหนดให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าทำงานได้ตามปกติเต็มรูปแบบตามการประกาศของมหาวิทยาลัยและตามแนวทางของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ที่กำกับตามมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยให้นิสิตระดับบัณฑิตวิทยาลัยเข้ามาเรียนได้จำนวน ๒๕ เปอร์เซ็นต์หรือพิจารณาตามกรณีเห็นสมควร แต่ต้องรักษาตามมาตรการป้องกันไวรัสโควิดอย่างเคร่งครัด จึงมีการแจ้งเรื่องประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสประเภทสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งได้รับการการประเมินผลอันดับ ๒ จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศได้คะแนน ๙๘.๕๐ จากคะแนนเต็มร้อย อยู่ในระดับ AA ถือว่าเป็นการแจ้งเพื่อความร่วมมือขับเคลื่อนต่อไปให้มีธรรมาภิบาลเป็นต้นแบบสังคมมีการเปิดเผยให้สังคมรับรู้รับทราบสามารถตรวจสอบได้ 

การประเมินคุณภาพการศึกษาของมหาจุฬาล่าสุดผลการตรวจประเมิน “คะแนนดีมาก” ซึ่งจะมีข้อเสนอแนะไปถึงหน่วยงานต่างๆเพื่อให้มีความดียิ่งขึ้น โดยเริ่มจากหลักสูตรต่างๆ และค่อยขยับไปสู่คณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยพร้อมขยับไปสู่การประกันคุณภาพการศึกษามหาจุฬาอย่างเข้มข้น มีการจัดงาน ๑๑๘ ปี ชาตกาล สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) อดีตนายกสภามหาวิทยาลัย เพื่อน้อมถวายต่อบุรพาจารย์ของมหาวิทยาลัยผู้มีคุณูปการต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอย่างยิ่งยวด โดยมีการฟื้นฟูวิปัสสนาธุระของประเทศไทยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยนพ.รัศมี และคุณหญิงสมปอง วรรณิสสร เป็นศิษย์ต้นแบบหลวงพ่ออาจ อาสภเถระ ได้ถวายที่ดินสร้างมหาจุฬาในฐานะลูกศิษย์สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) จึงมีกิจกรรมเกี่ยวกับวิปัสสนากรรมฐานโดยมีมหาจุฬาจะต้องขับเคลื่อนอย่างจริงจังสร้างบรรยากาศในการปฏิบัติวิปัสสนาอย่างดีงามพร้อมมีสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  จึงขอความร่วมมือบุคลากรของมหาจุฬาทุกท่านมีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ นอกจากการนั้นมองถึงทิศทางการบริหารงานตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ การวิจัยและพัฒนา การส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม พร้อมการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม 

อธิการบดีมีความห่วงใยเรื่องระบบไฟฟ้าของมหาวิทยาลัยให้มีความเสถียรมากยิ่งขึ้น ระบบการบริหารจัดการด้านขยะภายในมหาวิทยาลัยอย่างเป็นระบบมีแผนการดำเนินอย่างชัดเจนมีการแปลงขยะเป็นปุ๋ยเพื่อสร้างปรับภูมิทัศน์ให้มีความสวยงาม มีการสร้างการตระหนักร่วมกันในการรักษาดูแลประหยัดพลังงานของมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง พร้อมปรับการใช้โซล่าเซลล์นำมาใช้เพื่องานภายในมหาวิทยาลัยโดยฝ่ายแผนจะนำไปทำแผนงานเพื่อนำไปสู่แผนเงินเพื่อการพัฒนาต่อไป ซึ่งมหาจุฬามีการพัฒนา MCU IT-Team เพื่อพัฒนาสู่ E – University ด้วยการระดมผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านไอทีของมหาวิทยาลัยทุกส่วนงานเพื่อการขับเคลื่อนงานของไอที มีการสำรวจของบุคลากรในด้านการใช้งานไอทีเพื่อนำสู่การพัฒนาสมรรถนะต่อไป 

การเตรียมบุคลากรเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยโดยมุ่งการสำรวจบุคลากรให้ชัดเจนเพื่อการเตรียมการพัฒนาให้สอดรับการสถานการณ์ปัจจุบัน การพัฒนาเจเนอเรชั่นรุ่นใหม่ต่อไปในการบริหารให้มีการขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ในสายวิชาการ สายวิชาชีพ สายสนับสนุน เพื่อเข้าสู่ในตำแหน่งผู้บริหารจะต้องพัฒนาตามระดับต้น กลาง ปลาย จึงต้องพัฒนาในสามกลุ่ม คือ สายวิชาการ  สายสนับสนุน และผู้บริหารพันธุ์ใหม่ เพราะองค์กรจะพัฒนาจะต้องมีการพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจังเพื่อรับรองในอนาคตจึงต้องมีแผนพัฒนาบุคลากร ในช่วงท้ายท่านอธิการบดีได้สะท้อนการทำงานร่วมกัน ด้วยการขอบคุณบุคลากรทุกท่านในการเข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกัน ถือว่าเป็นโอกาสสำคัญในการให้บุคลากรรุ่นใหม่เข้าร่วมเรียนรู้เพื่อเห็นนโยบายการขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ทุจริตวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ๕. ทุจริตวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทคัด...