วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

จับตา 9 พ.ย.นี้! บริษัทลิสซิ่งนัดถอน ยึดที่วัดวังใหญ่สงขลา อ้างเหตุสำคัญผิด



วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน 2564  ว่าที่ พ.ต.ดร.สมบัติ วงศ์กำแหง กรรมการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ อดีตเลขาธิการสภาทนายความ เปิดเผยจากประเด็นข่าวศาลสั่งยึดวัดวังใหญ่ หมู่ 10 ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา  เนื้อที่ 27 ไร่  ขายทอดตลาดใช้หนี้อดีตสมภารซื้อรถเบนซ์ไม่ยอมผ่อนว่า  ตามที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดสงขลา สาขานาทวี  ยึดทรัพย์ ในคดีของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ หมายเลขคดีแดงที่ 6897 / 2542 ระหว่าง บริษัทลิสซิ่ง โจทก์ นางอำไพ กับพวก จำเลย ล่าสุดอยู่ระหว่างโจทก์ขอตรวจสอบข้อเท็จจริงและจะแถลงความประสงค์ในการบังคับคดีให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 นั้น            

ปรากฏว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ได้ประสานงานมายังเจ้าพนักงานบังคับคดีจังหวัดสงขลาว่า บริษัทลิสซิ่งโจทก์ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ปรากฎว่าที่ดินที่ยึดไว้ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดวังใหญ่จริง แต่ข้อเท็จจริงแตกต่างจากสภาพทรัพย์ในขณะยึดทำให้โจทก์สำคัญผิดในข้อเท็จจริงในการยึดทรัพย์ แต่การถอนการยึดผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยังไม่สามารถทำคำร้องให้เสร็จในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ตามที่นัดไว้เดิม จึงขอเลื่อนส่งคำร้องเป็นวันที่นี้ (9 พฤศจิกายน 2564)             

หากข้อเท็จจริงเป็นเรื่องสำคัญผิด ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่ไปนำยึด อาจยื่นคำร้องขอถอนการยึดทรัพย์ พร้อมขอยกเว้นค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์ โจทก์อาจขอศาลให้พิจารณายกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้ ทั้งนี้เป็นอำนาจศาลในการที่จะพิจารณายกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวหรือไม่เพียงใด ก็ได้  ซึ่งปกติหากเป็นการยึดทรัพย์ที่ถูกต้อง เมื่อมีการขายแล้ว ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี จะบวกเป็นภาระหนี้ที่จะเลยต้องชำระคืนแก่โจทก์ด้วย              

ว่าที่ พ.ต.ดร.สมบัติ  หวังว่า คดีนี้คงจะจบลงได้ด้วยดี และต้องเป็นคดีตัวอย่าง “การยึดบนโต๊ะ” ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ออกไปที่ที่ตั้งของทรัพย์ที่ยึด และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ต้องตรวจสอบรายละเอียดของทรัพย์ทั้งหมดที่จะยึดเป็นอย่างดี นอกจากจะได้สำเนาโฉนดของลูกหนี้แล้ว ผู้นำยึด ต้องทำแผนที่ตั้งที่ดิน รายละเอียดสภาพที่ดิน หากมีสิ่งปลูกสร้างต้องมีภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้าง พรอ้มระบุลงในแผนที่ตั้งที่ดินด้วยว่า สิ่งปลูกสร้างอยู่ในตำแหน่งใด

"การยึดทรัพย์ลูกหนี้ตามคำพิพากษา อาจถือได้ว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ต้องระวัง หากเกิดความผิดพลาด อาจต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและทางอาญาดังตัวอย่างในคดีนี้ได้" ว่าที่ พ.ต.ดร.สมบัติ กล่าว 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์สาราณิยาทิวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  วิเคราะห์สาราณิยาทิวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ ในพ...