วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

จุฬาฯถอดบทเรียนศูนย์ไกล่เกลี่ยฯภาคปชช.มหาจุฬาฯ เป็นฐานพัฒนาหลักสูตร


วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)   และประธานคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ต้อนรับ ดร. อัจฉรียา ธิรศรีโชติ และคณะ ในฐานะผู้แทนนักวิจัยจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ในการขอศึกษาแนวทางการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ และแนวทางการจัดหลักสูตรการไกล่เกลี่ยตามแนวทางพุทธสันติวิธี พร้อมศึกษาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  โดยคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งพัฒนาหลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

เพื่อจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ “สังคมไทยไร้ความรุนแรง” โดยผู้เข้าอบรมสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีการพัฒนาหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคนำร่อง ที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช) ได้ให้การรับรอง 

พระมหาหรรษา  จึงกล่าวย้ำว่า มหาจุฬาเริ่มจากMou กับสำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้า ในการเปิดปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร ปัจจุบันรียนสันติศึกษาเรียน ๑ ได้ ๒ จบปริญญาโทเอก สันติศึกษาสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ จึงขออนุญาตจาก กพยช เพื่ออนุมัติหลักสูตรในการเปิดใช้หลักสูตรแล้วบูรณาการความเป็นเอกลักษณ์ของสถาบันนั้นๆ หลักสูตรไกล่เกลี่ยจึงต้องบูรณาการจึงต้องบูรณาการ สันติศึกษาเป็นแบรนด์ของพระพุทธเจ้าในการออกจากความขัดแย้ง พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่นคือสันติศึกษา : สันติเมว สิกขายยะ และ จงพูกพูนสันติวิธีเท่านั้น : สันติมัคคเมว พรูหยะ จึงต้องออกกแบบหลักสูตรให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย แต่อย่าลืมคนในชุมชนรากฐานของชุมชนอย่างแท้จริง จะต้องออกแบบสันติภาพให้ครบตามแนวพระพุทธศาสนา ๔ ภาพ คือ กายภาพ  พฤติภาพ  จิตตภาพ  และปัญญาภาพ ทำให้หลักสูตรสันติศึกษาได้อันดับหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  หลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มหาจุฬาจัดจึงมีการบูรณาการมิติทางพระพุทธศาสนาทำให้ผู้ไกล่เกลี่ยมี "ตัวรู้มากกว่าความรู้" ความรู้อย่างเดียวจะทำให้ก้าวร้าว แข็งกร้าว แต่ตัวรู้คือสติ จะทำให้มีความนุ่มนวล แนวทางกระทรวงจะมุ่งตัวรู้เป็นฐานทำให้มหาจุฬานำตัวรู้มาบูรณาการเพื่อการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  

ดังนั้น คำถามหน้าตาของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เราจะพัฒนาควรมีหน้าตาอย่างไร   จึงต้องออกแบบให้เหมาะสม จะต้องเริ่มจากการพัฒนาภายในก่อนจะพัฒนาภายนอก จึงต้องพัฒนาแบบต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มหาจุฬาจึงมุ่งเพิ่ม ๑๒ ชั่วโมงเป็นแนวทางพระพุทธศาสนา มุ่งภายในของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จึงมีการวางแผนการพัฒนาหลักสูตรร่สมกันต่อไป                                        


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...