วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ นำคณะสงฆ์ไทยเข้าเฝ้า "โป๊ปฟรังซิส" เชื่อมสัมพันธ์สองศาสนาอย่างยั่งยืน

  


เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม เวลาประมาณ 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น นครรัฐวาติกัน ที่ห้อง Sala Clementina พระราชวังวาติกัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ทรงต้อนรับคณะเดินทางจากประเทศไทย ได้แก่สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ พร้อมด้วย พระเทพวัชราจารย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสฯ พระสงฆ์เถรานุเถระ และผู้ติดตามบิชอบ ฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ และคณะบาทหลวงจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ผู้แทนนายจิตตพัฒน์ ทองประเสริฐ เอกอัครราชทูตวาติกัน และตัวแทนจากสถาบันพระปกเกล้า รวมทั้งสิ้นกว่า 110 ราย โดยมีพระคาร์ดินัล มีเกล อังเกล อายูโซ ร่วมด้วยมงซิญอร์อินดูอิน เลขาธิการสมณกระทรวงว่าด้วยการสานเสวนาระหว่างศาสนาให้การต้อนรับ 



ในการนี้ สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงมีกระแสพระราชดำรัส และมีพระราชปฏิสันถารส่วนพระองค์ ทรงจับพระหัตถ์ และพระราชทานของที่ระลึก จากนั้นคณะจากประเทศไทย ถวายของที่ระลึกแด่สมเด็จพระสันตะปาปา



ทั้งนี้ตามที่สภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย ร่วมกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร นำคณะพระสงฆ์เถรานุเถระพร้อมด้วยหน่วยงานต่างๆ เดินทางไปยังสาธารณรัฐอิตาลีและนครรัฐวาติกัน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อเตรียมเข้าเฝ้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส มุ่งหวังเชื่อมสายสัมพันธ์แห่งศรัทธาสองศาสนา 



ในการนี้พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มจร ได้ร่วมคณะเข้าเฝ้าด้วยพร้อมเปิดเผยว่า สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสว่า ขอต้อนรับพระเดชพระคุณซึ่งมีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานคณะสงฆ์ที่เดินทางมาในครั้งนี้  พระคุณเจ้าทั้งหลาย พี่ชาย น้องสาวอันเป็นที่รัก ยินดีต้อนรับ

เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับคณะตัวแทนชาวพุทธของท่านในโอกาสนี้ ซึ่งจะช่วยกระชับมิตรภาพที่ยั่งยืนของเรา ข้าพเจ้าระลึกถึงด้วยความขอบคุณถึงการเดินทางไปเยือนประเทศของท่านตั้งแต่วันที่ 20-23 พฤศจิกายน 2019  และการต้อนรับอันแสนพิเศษที่ท่านมอบให้ ข้าพเจ้าระลึกถึงสมเด็จพระสังฆราชอย่างอบอุ่น และขอฝากคำทักทายอันเปี่ยมด้วยความรักถึงพระองค์ด้วย


วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

"เวีย อารีย์" คอนโดใหม่จากแสนสิริ บนอารีย์ซอย 1 ส่วนตัวเพียง 114 ครอบครัว ราคาเริ่มต้น 19.99. ล้าน



"เวีย อารีย์" คอนโดมิเนียมที่ออกแบบให้มีสุนทรียศาสตร์เพื่อการอยู่อาศัย​ โดยนำคาแรคเตอร์ของย่านอารีย์ และความเป็น "กลิ่นอายแห่งมรดก" มาเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบ ​ เพื่อผลักดันแนวคิด "สุนทรียภาพการใช้ชีวิต" ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผสานกันระหว่างความเก่าและใหม่ไว้ได้อย่างมีมิติ  โดยนำทั้ง องค์ประกอบ , พื้นที่ , ความเขียวขจี , รูปทรง , อารมณ์และวัสดุ เพื่อให้เกิดสถาปัตยกรรมแบบที่เคารพอดีต แต่ก็ยังโอบกอดปัจจุบันเอาไว้​ และ “เวีย อารีย์” ยังทำหน้าที่เป็น "อยู่ในงานศิลปะ" ที่คุณจะได้สัมผัสความงามของการใช้ชีวิต ดั่งการชื่นชมงานศิลปะในทุกๆ วันอีกด้วย












เริ่มต้นที่ 19.99. ล้านบาท รายละเอียดคลิก  https://siri.ly/12MKYB5


#เวียอารีย์ #คอนโดมิเนียม #แสนสิริ 

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ชูช์ราชเทวี คอนโดใหม่จากแสนสิริ เพียง 140 ม. จาก BTS ราชเทวี และ 1 สถานีจากสยาม เริ่มต้น 8.99 ล้าน


ชูช์ราชเทวี คอนโดมิเนียมใหม่จากแสนสิริ ใจกลาง "ราชเทวี" ห้อง LOFT โดดเด่นด้วยเพดานสูงกว่า 4.5 ม.  รายล้อมด้วย "โอกาส" และ "การเติบโต" ใจกลางกรุงเทพฯ  เชื่อมต่อความสะดวกสบายเพียง 1 สถานีจากสยาม ไม่กี่ก้าวจาก BTS ราชเทวี   เชื่อมต่อโอกาสไม่หยุดยั้ง กับโลเคชันตอบโจทย์ทุกวัย ครบครันทั้งแหล่งไลฟ์สไตล์ สถาบันการศึกษา สถานพยาบาลชั้นนำ จนถึง ตึกสำนักงานชื่อดัง  พบกับ ซิมโฟนี สุนทรียภาพใหม่แห่งการใช้ชีวิตบนทำเล ที่มี "คุณ" อยู่ตรงใจกลางของทุกสิ่ง ชีวิตที่คอนเนกทุกการเชื่อมต่อในที่เดียว















เริ่มต้นที่ 8.99 ล้านบาท  



รายละเอียด คลิก https://siri.ly/gdfPWI5

#คอนโดมิเนียม #แสนสิริ #ชูช์ #ราชเทวี #𝗦𝗛𝗨𝗦𝗛𝗥𝗮𝘁𝗰𝗵𝗮𝘁𝗵𝗲𝘄𝗶  #YouAreMadeForLife

เอ็กซ์ทีพญาไททำเลใจกลางเมือง ไลฟ์สไตล์คอนโดมิเนียมจากแสนสิริ ใกล้ BTS พญาไท เริ่มต้น 4.99 ล้าน



สัมผัสถึงความสงบ ท่ามกลางความเร่งรีบของเมืองหลวง

กลางเมืองที่เต็มไปด้วยสีสันเเละเรื่องตื่นตาตื่นใจ จะดีแค่ไหนถ้ายังมีมุมส่วนตัว​ในแบบคุณ XT PHAYATHAI ตอบโจทย์ที่คุณกำลังตามหา ​กับการเป็นคอนโดมิเนียมเพื่อคนรักสีสันของเมืองที่ยังคงมองหาการมีพื้นที่ส่วนตัว​สบายๆ เป็นของตัวเอง เข้าใจทุกมิติของคนรุ่นใหม่ที่ฝักใฝ่ความกระฉับกระเฉง​ และคล่องตัวของการใช้ชีวิตในทุกๆ ด้านระหว่างวันและกลับสู่โลกส่วนตัวแสนสบาย​ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางความสีสันอันหลากหลายของชีวิตเมือง






@siampongs

#เอ็กซ์ที #พญาไท ทำเลใจกลางเมือง ไลฟ์สไตล์ #คอนโดมิเนียม จาก #แสนสิริ ใกล้ BTS พญาไท เริ่มต้น 4.99 ล้าน

♬ เสียงต้นฉบับ - สยามพงษ์ช้อป

รายละเอียด คลิก https://siri.ly/v3IeD25

#คอนโดมิเนียม #เอ็กซ์ที #พญาไท #ราชเทวี #MadeForLife #MadeForEveryday

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กมธ.สร้างสันติภาพชายแดนใต้จัดเสวนาที่ "สันติศึกษา มจร"



เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวต้อนรับคณะกรรมาธิการ และเข้าร่วมสัมมนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างความเข้าใจกับแนวทางการสร้างสันติภาพในพื้นที่ และรับฟังความคิดเห็นสภาพปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภายใต้ ตลอดถึงการปัญหาและอุปสรรคในการสร้างสันติภาพ 

โดยได้รับนิมนต์จากนายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยภาคเช้ามีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกล่าวต้อนรับ กล่าวเปิดและบรรยายถึงบทบาทของกรรมาธิการโดย แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีท่านนัจมุดดีน อูมา รองอนุกรรมาธิการ ฯ ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน สะท้อนว่า การสร้างการมีส่วนร่วมโดยจะต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๗ จัด ณ มจร วังน้อย เพื่อเสนอความคิดเห็น ปัญหาเกิดมาแล้วครบ ๔๐ กว่าปี ส่งผลกระทบต่อมิติต่างๆ เราจะช่วยกันเสนอแนวทางอย่างไร  โดยความคาดหวังสูงสุดด้วยการออกกฎหมายว่าด้วยการสร้างสันติภาพ  โดยมี อาจารย์ ผศ. ดร. ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร เป็นผู้ดำเนินรายการ 

ศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  สะท้อนประเด็นถึงความเป็นมาของความขัดแย้งในชายแดนภาคใต้ สะท้อนว่า ห้วงเวลาในประวัติศาสตร์ ๑๒๐ ปี ที่สยามมีการปฏิรูปประเทศซึ่งสอดรับกับประเทศตะวันตกที่ล่าอาณานิคม จึงมีการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่มีการใช้กำลังในรูปแบบต่างๆ ทำให้สยามมีการปฏิรูปประเทศ  จะเห็นการปฏิรูปของญี่ปุ่นแตกต่างจากไทย โดยไทยเปลี่ยนเฉพาะส่วนกลางแต่ส่วนห่างไกลไม่มีการเปลี่ยนแปลง ต่างจากญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทั้งประเทศ  

โดยภูมิศาสตร์ของปัตตานีมีความสะดวกติดต่อกับมาเลเชีย มีวัฒนธรรมของอิสลามมีความเป็นเอกลักษณ์ จึงมีการรักวิถีความเป็นอิสลาม ประวัติศาสตร์เป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ความจริง  ความต้องการของสยามสร้างอุดมการณ์ชาติคือ ความเป็นไทย ใส่ความสมัยใหม่เป็นรูปแบบสถาบันสมัยใหม่  เช่น ระบบราชการ ระบบการศึกษา ระบบกระทรวง ทำให้อยู่ในกรอบเพราะมีนโยบายการรวบดินแดน การรวมคนเชื้อชาติต่างๆ  ห้วงเวลาที่สองนำไปสู่คำว่า ร้าว แตก แยก นำไปสู่ความไม่สงบ ขาดความไว้วางใจกัน จึงมีการเจรจาระหว่างผู้แทนรัฐบาลกับกลุ่มผู้นำมุสลิมตามคำร้องขอ ๗ ประการ  นำไปสู่การใช้กองทัพเกี่ยวข้องกับความมั่นคง 

ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง อาจารย์ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งทำวิจัยพหุวัฒนธรรม สะท้อนว่า รัฐชาติกับผู้คนหลากหลายทางวัฒนธรรม พยายามเปลี่ยนผู้คนให้เหมือนกันเพื่อการปกครองที่ง่ายขึ้น รัชกาลที่ ๖ ให้นโยบายว่าต้องไม่เบียดเบียน กดขี่บีบคั้นประชาชน พอโลกสมัยใหม่เข้ามาจึงมีการเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับ เช่น ภาษาไทย จึงมีการกีดกั้นจากวัฒนธรรมดั่งเดิมทำให้รู้สึกตัวตนเสียไป ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมศาสนา ซึ่งปัจจัยความรุนแรง เช่น วัฒนธรรม  รัฐชาติพยายามจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีการนำพหุวัฒนธรรมมาใช้เคารพความหลากหลายแตกต่าง โดยเคารพวัฒนธรรม  การยอมรับรับรองผู้ด้อยกว่า  ยอมรับทั้งระดับภายในและยอมรับระดับภายนอก ในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี มีการส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ให้เข้มแข็งจนเป็นพลัง จึงสะท้อนถึงพหุวัฒนธรรมเป็นการทำลายอัตลักษณ์ ซึ่งพหุวัฒนธรรมความจริงสามารถสะท้อนอัตลักษณ์ได้ สูงสุดคือสามารถอยู่ร่วมกันท่ามกลางความขัดแย้ง  "เราคิดถึงความมั่นคงของรัฐ แต่ไม่ได้คิดถึงความมั่นคงของความเป็นมนุษย์" 

รองศาสตราจารย์มารค ตามไท สะท้อนประเด็นถึงการพูดคุยกระบวนการสร้างสันติภาพในชายแดนใต้ สะท้อนว่า สภาพปัญหาในชายแดนใต้มีความหลากหลายมิติ มีสถานการณ์เกิดขึ้น มีสถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ เช่น สถานการณ์ในตากใบมีการเยียวยาแต่ไม่สามารถบอกเหตุผลได้เพราะอะไร อย่างไร รัฐใช้งบประมาณในการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้บประมาณ ๕.๔ แสนล้านบาท (๕๓๘,๕๑๔) งบส่วนนี้ถ้านำไปพัฒนาประเทศจะเกิดความเจริญในมิติต่างๆ กระบวนการพูดคุยสันติภาพล่าสุด มีการยุติใช้ความรุนแรง แสวงหาทางออกร่วมกัน  โดยกระบวนการสันติภาพการเปลี่ยนจากใช้อำนาจแข็งมาที่อำนาจแห่งความนุ่มนวล 

เราเจอความขัดแย้งแต่ทำไมถึงแก้ไม่ได้เพราะหาสาเหตุไม่พบ สาเหตุหนึ่งคือ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์  ซึ่งทุกคนมีเหมือนกันคือ สมอง : Amygdala  มนุษย์สร้างความกลัว อะไรที่เป็นภัยจะมีวิธีการป้องกันตนเอง แท้จริงเป็นความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ด้วยกัน พยายามจัดการด้วยสติแต่จะทำอย่างไรให้เกิดรูปธรรม  มองคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ มองว่าเหตุที่เราไม่สามารถแก้ไขได้เพราะหาสาเหตุที่แท้จริงไม่พบ ซึ่งความเป็นมนุษย์ยังมีอยู่แต่การแบ่งรัฐต่างๆ อาจจะไม่เกิดขึ้น    

อุปสรรคในกระบวนการสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย ๑) วิธีที่รัฐมองความขัดแย้งมองความมั่นคง  ๒)มีชุดคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ที่ต่างกัน ประชาชนต้องการเอกราช หรือการปกครองตนเอง ชอบธรรมกับความรุนแรง  ไม่ชัดว่าคู่เจรจามีเป้าหมายสันติภาพ ซึ่งเข้าใจมิติของสันติภาพไม่ตรงกัน เป้าหมายต่างกัน ซึ่งในภาคบ่ายมีการแบ่งกลุ่มสัมมนาเข้าร่วมกลุ่มย่อย ประกอบด้วย ๑)อัตลักษณ์วัฒนธรรม ๒)ความยุติธรรม ๓)เศรษฐกิจและการพัฒนา ๔)การศึกษา ๕)รูปแบบการปกครอง เพื่อสะท้อนร่วมกัน ทำไมต้องพูดคุยเพราะเป็นคนไทย ความรุนแรงไม่ใช่ทางออก มีเงื่อนไขระดับบุคคลโครงสร้างวัฒนธรรม จึงมีการสร้างกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ โดยสอดรับกับการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ ๑๓” จัดโดยสถาบันพระปกเกล้า เรียนรู้ในประเด็นสำคัญหัวข้อ “การสร้างกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้” อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย นายดนัย มู่สา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้  มีประเด็นสำคัญว่า นายดนัย มู่สา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สะท้อนว่า ซึ่งปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความซับซ้อน จึงต้องใช้องค์ความรู้ทางวิชาการที่เป็นข้อมูลที่เป็นความจริง โดยหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขมีความหลากหลายอาชีพ จึงจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกันในมิติหงการสร้างกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงต้องสันติเสวนาร่วมกัน ประกอบด้วย 

๑)เกิดอะไรขึ้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามว่าเราฟังจากกลุ่มใด เช่น ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาคมข่าวกรอง ภาคประชาชน เอกชน  เช่น ความไม่เป็นธรรม กระบวนการแบ่งแยกดินแดน  ความเป็นอัตลักษณ์ เป็นความจริงของแต่ละฝ่ายมีความไม่ตรงกัน จึงต้องมีวิธีการวิเคราะห์ ซึ่งลักษณะพื้นที่ประกอบด้วย "ศาสนา ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์" เป็นลักษณะของพื้นที่  อะไรนำไปสู่ความรุนแรงในพื้นที่เพราะมี ๓ เงื่อนไข ประกอบด้วย  มีเงื่อนไขระดับบุคคล เงื่อนไขระดับโครงสร้าง  และเงื่อนไขระดับวัฒนธรรม  ถือว่าเป็น Deadly  Conflict Intractable Conflict  และ นำไปสู่ Permacrisis  

๒)ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาอดีตปัจจุบัน ในปี ๒๕๔๐ นำสันติวิธีเข้าใช้กระบวนการในการแก้ปัญหา ในปี ๒๕๖๐ เน้นสันติวิธี  การพูดคุยเพื่อสันติสุข ในปี ๒๕๖๒ ใช้คำว่า พหุวัฒนธรรม สร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการร่วมสร้างสันติสุข ในปี๒๕๖๕ เน้นสันติสุข ความปลอดภัย สังคมพหุวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การจัดการความขัดแย้งตามแนวทางสันติวิธี การบริหารจัดการบนพื้นฐานคความหลากหลายทางวัฒนธรรม    

๓) เส้นทางการสร้างกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้  จะต้องสร้างความไว้วางใจ จึงมีการพูดคุยสันติสุขหรือสันติสนทนา ระหว่างผู้มีความขัดแย้ง โดยมีลำดับการพูดคุยตั้งนายกทักษิณ  นายกสุรยุทธ์  นายกอภิสิทธิ์ นายกยิ่งลักษณ์  นายกประยุทธ์ โดยมุ่ง "พูดคุยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างการมีส่วนร่วม ลดการใช้ความรุนแรง สร้างความไว้วางใจ ใช้กระบวนการสันติวิธี มองถึงความเป็นพหุสังคม" ซึ่งสันติวิธีใช้เวลานานแต่มีความยั่งยืน  ซึ่งในปัจจุบันนำนโยบายการบริหารและพัฒนา จชต. มาใช้ โดยมีวิสัยทัศน์ว่า สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยปราศจากเงื่อนไขความรุนแรง ทุกคนได้รับการปกป้อง เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม และมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน ทิศทางในการพูดคุยมีการคุยกันอย่างต่อเนื่อง โดยสังคมมีความคาดหวังสูง  การสร้างการมีส่วนร่วม มีกลุ่มเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ความรุนแรงในพื้นที่  พูดคุยกับทุกกลุ่มอย่างรอบด้านทุกชาติพันธุ์ ทุกศาสนา รวมถึงเอกภาพอย่างต่อเนื่องถือว่าเป็นความท้าทาย


วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

รองโฆษกรัฐ เตือน "โน้ต อุดม" ไม่เข้าใจคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" อย่าเอาคำว่า "พอเพียง" มาหากิน



"คารม"  เตือน "โน้ต อุดม แต้พานิช" เป็นบุคคลสาธารณะ ต้องระวังการแสดงความคิดเห็น ถ้าตัวเอง “ไม่เข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง อย่าเอาคำว่า พอเพียง มาหากิน”

เมื่อวันที่ 7  พฤษภาคม 2567   นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าผมพึ่งกลับจากร้อยเอ็ด  เพราะลงพื้นที่ ติดตามนายกฯ ในฐานะรองโฆษกรัฐบาล  ผมเป็นคนอีสาน  เป็นคนชนบท  ได้เห็นว่าสังคมชนบทนั้น  แม้เขาไม่ร่ำรวยมาก  ถ้าเขาไม่มีหนี้มากเกินกำลัง   มีที่ทำกิน   มีน้ำเพื่อทำเกษตร   มีความอบอุ่นในครอบครัว  อยู่ในสังคมเอื้ออาทรช่วยเหลือ  และดูแลกัน  แค่นี้สังคมไทยก็อยู่ได้แล้ว  นี้คือความพอเพียง ที่แท้จริง

ส่วนตัว  ผมไม่เคยฟังการพูด ของนายอุดม  แต้พานิช  เพราะคิดว่า  ไม่ได้เป็นประโยชน์กับชีวิตผมเลย   จริง  ๆ  ผมเคารพในความเป็นนักพูดทั้งหลาย   และเคารพอาชีพตลก  ที่สร้างสรรค์  ซึ่งมีอยู่หลายคน และเราก็ควรเคารพอาชีพทุกอาชีพที่ทำมาหากินสุจริต   แต่ความหมายที่เขาพูดกัน ว่า “ ตลกหากิน ก็พึ่งรู้  คือแบบที่นายอุดมฯ ทำนี้เอง  แถมไม่รู้กาละเทศะ    หลงตัวเอง   ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อคนอื่น  แถมอาจสร้างความแยกในสังคมได้   นายอุดมไม่รู้ว่าการอาศัยอยู่ในแผ่นดินนี้  ถึงได้มีที่พูด    จริง  ๆ  แผ่นดินก็มีบุญคุณต่อท่านอยู่นะ  และที่สำคัญคุณจะทำมาหากินอะไร  ก็ทำไป   แต่อยู่เฉยๆ  มายกตน ฃ่มท่าน   ไม่น่าจะมีประโยชน์อะไร        ทั้งที่ตัวเองไม่เข้าใจแก่นแท้อะไร  ในเรื่องความพอเพียง   หรือความพอดี   ซึ่งหมายถึงคนมีเยอะก็แบ่งปัน    ประกอบอาชีพไม่เบียดเบียนคนอื่น  ซึ่งเป็นหลักศาสนาด้วยซ้ำไป         

ที่โลกของเรามีปัญหาอยู่ทุกวันนี้  เพราะสังคมขาดความพอเพียง ขาดความพอดี  ไม่แบ่งปัน  และเห็นแก่ตัว  โลภโมโทสัน  ทั้งนั้น หากนายอุดม  แต้พานิช  เข้าใจคำว่า   “ความพอเพียงจริง   จะรู้ว่า ความพอเพียงนั้น ไม่ใช่เรื่องสอนคนให้เกียจคร้าน  แต่สอนให้คนแบ่งปัน    คนที่รวยก็ควรแบ่งปันให้คนจน  รู้จักพอดี     พอควร    นายอุดม   ฯ  อย่าเอาไม่รู้หรือความโง่   มาทำให้คนอื่นโง่ตามไปด้วย   ถ้าคุณอุดมฯ รวยจากการพูด  ก็ไม่มีใครอิจฉา   แต่ถ้าเอาเอาความรวยของคุณ  มาช่วยคนจนบ้าง  ผมจะชื่นชม  ”  นายคารม


วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

"สมศักดิ์" เปิด "กุฏิชีวาภิบาลจังหวัดสุโขทัย" ช่วยดูแลพระสงฆ์อาพาธระยะท้าย เล็งขยายให้ครอบคลุม 12 เขตสุขภาพ



"สมศักดิ์" ปิ๊งไอเดีย จับมือ "ปลัด สธ."  ออกกฎหมายให้ อสม. หวังมีค่าตอบแทน-มีความยั่งยืน หลังที่ผ่านมา ไม่มีกฎหมายเฉพาะ ต้องใช้มติ ครม.อนุมัติค่าตอบแทนให้ เตรียมยกระดับ อสม. พร้อมเปิด "กุฏิชีวาภิบาลจังหวัดสุโขทัย" ช่วยดูแลพระสงฆ์อาพาธระยะท้าย เล็งขยายให้ครอบคลุม 12 เขตสุขภาพ

วันที่ 6 พฤษภาคม 2567 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีเปิด”กุฏิชีวาภิบาลจังหวัดสุโขทัย” โดยมี พระเทพวชิรเวที เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พรรณสิริ กุลนาถศิริ สส.สุโขทัย นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สส.สุโขทัย พรรคเพื่อไทย พญ.ธัญญารักษ์ สิทธิวงศ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข อสม. และประชาชนกว่า 500 คน เข้าร่วม ที่วัดราษฎร์ศรัทธาราม ตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย 

โดยนายสมศักดิ์ กล่าวว่า วันนี้ตนรู้สึกดีใจที่ได้เจอพี่น้อง อสม. โดยตนมีความภาคภูมิใจ ที่ได้อยู่กับกลุ่มคนที่ต้องดูแลพี่น้องประชาชนให้มีอายุยืนยาว ซึ่งตนทราบว่า อสม.ทุกคนเหนื่อยในการดูแลผู้คน เพราะต้องการให้ทุกคนหลุดพ้นจากความเจ็บป่วย ดังนั้น ตนจึงมีข่าวดี สำหรับ อสม.ทุกคน โดยตนได้หารือเบื้องต้นกับปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่า จะช่วยออกกฎหมาย เป็น พ.ร.บ.สำหรับ อสม. เพื่อให้ อสม. มีค่าตอบแทน และมีความยั่งยืน โดยไม่ต้องกังวลว่า ในอนาคตจะได้เดือนละ 2,000 บาทหรือไม่ เพราะถ้าไม่มีกฎหมาย ก็ต้องใช้มติคณะรัฐมนตรีในการอนุมัติ ซึ่งถ้าไม่ให้ อสม.ก็จะไม่ได้ แต่ถ้าเป็นกฎหมายแล้ว ก็จะเกิดความยั่งยืน ดังนั้น ตนจะช่วยผลักดันให้ อสม.เกิดความยั่งยืนต่อไป

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการกุฏิชีวาภิบาล ของกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการเพื่อช่วยเหลือพระสงฆ์อาพาธ เพราะจากข้อมูลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ปี 2564 มีพระสงฆ์ สามเณร จำนวน 241,368 รูป ซึ่งพระสงฆ์ในจำนวนนี้ มากกว่า 50% เป็นผู้สูงอายุ และมีพระอาพาธระยะสุดท้าย ถึงจำนวน 9,655 รูป โดยที่ผ่านมา พระอาพาธติดเตียง หรือ พระอาพาธระยะท้าย มีความประสงค์จะกลับวัด แต่สถานที่รองรับพระอาพาธมีน้อยมาก ซึ่งวัดก็ยังขาดบุคลากรผู้ดูแลประจำวัด รวมถึงญาติที่รับไปดูแลที่บ้าน ส่วนใหญ่ก็มักต้องลาสิกขา

นายสมศักดิ์ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ จึงดำเนินโครงการกุฏิชีวาภิบาล ตั้งแต่ปี 2567 ด้วยงบประมาณ 4.3 ล้านบาท เพื่อเป็นสถานที่ดูแลพระอาพาธระยะท้าย ซึ่งเริ่มต้นโครงการ มีการจัดตั้งกุฏิชีวาภิบาลต้นแบบแล้ว จำนวน 5 แห่ง คือ 1.วัดทับคล้อ จ.พิจิตร เขตสุขภาพที่ 3 , 2.วัดหนองกะพ้อ จ.สระแก้ว เขตสุขภาพที่ 6 , 3.วัดท่าประชุม จ.ขอนแก่น เขตสุขภาพที่ 7 , 4.วัดบุญนารอบ จ.นครศรีธรรมราช เขตสุขภาพที่ 11 และ 5.วัดห้วยยอด จ.ตรัง เขตสุขภาพที่ 12 โดยโครงการมีเป้าหมาย จัดตั้งกุฏิชีวาภิบาล ให้ครอบคลุมทั้ง 12 เขตสุขภาพ ซึ่งโครงการนี้ จะมีการพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐาก หรือ พระดูแลปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในการช่วยดูแลพระอาพาธ โดยขณะนี้ มีพระคิลานุปัฏฐาก ที่ผ่านมาอบรมแล้ว คือ หลักสูตรพระบริบาลภิกษุไข้ ระยะเวลา 35 ชั่วโมง จำนวน 10,13 รูป หลักสูตรกรมอนามัย ระยะเวลา 70 ชั่วโมง จำนวน 13,414 รูป และหลักสูตรการดูแลพระอาพาธระยะท้าย กรมการแพทย์ ระยะเวลา 140 ชั่วโมงจำนวน 363 รูป

“ส่วนที่จังหวัดสุโขทัย มีการเปิดกุฏิชีวาภิบาล ครบทั้ง 9 อำเภอ 11 แห่ง รวม 17 เตียงแล้ว และล่าสุดวันนี้ มีการจัดตั้งกุฏิชีวาภิบาล อีก 1 แห่ง คือ ที่วัดราษฎร์ศรัทธาราม ต.ทับผึ้ง อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย จำนวน 4 เตียง ทำให้ปัจจุบัน จังหวัดสุโขทัย มีกุฏิชีวาภิบาล จำนวน 12 แห่ง ครอบคลุมทั้ง 9 อำเภอ มี 21 เตียง ซึ่งถือว่า เพียงพอ เพราะขณะนี้ มีพระสงฆ์อาพาธ เพียงจำนวน 2 เตียง และมีการอบรมพระคิลานุปัฏฐาก ในจังหวัดสุโขทัย แล้ว 278 รูป นอกจากนี้ ทางสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย ยังไม่นิ่งนอนใจ ได้มีการตรวจสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ แล้วจำนวน 1,802 รูป พบว่า เป็นกลุ่มปกติ 1,290 รูป กลุ่มป่วย 512 รูป และอาพาธติดเตียง 11 รูป จึงถือได้ว่า โครงการนี้ มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ที่จะช่วยรองรับดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธติดเตียง หรือ พระอาพาธระยะท้าย เพื่อให้มีคนดูแล โดยไม่ต้องถูกทอดทิ้ง” รมว.สาธารณสุข กล่าว


 


พ่อเมืองขอนแก่นสั่งตรวจสอบ หลังประชาชนร้องเรียนกลิ่นกัญชาสร้างความเดือดร้อนรำคาญจากโรงเรือน



พ่อเมืองขอนแก่นสั่งนายอำเภอหนองนาคำตรวจสอบ หลังประชาชนร้องเรียนกลิ่นกัญชาสร้างความเดือดร้อนรำคาญจากโรงเรือน พบยังไม่ได้ขออนุญาตจำหน่ายตามกฎหมาย สั่งอายัดกัญชาทั้งหมดกว่า 1,400 ต้น และดำเนินโดยเด็ดขาด พร้อมเดินหน้าจัดระเบียบสังคม เพื่อความเรียบร้อยและความสงบสุขของสังคม

วันที่ 6  พฤษภาคม 2567   นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า จังหวัดขอนแก่นได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนว่าได้รับความเดือดร้อนรำคาญ จากกลิ่นกัญชาที่โชยมาจากโรงเรือนแห่งหนึ่งในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลกุดธาตุ อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น ตนจึงได้สั่งการให้ นายไพศาล วงษ์ซีวะสกุล นายอำเภอหนองนาคำ นำกำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง สมาชิก อส. กองร้อย อส. อ.หนองนาคำ ที่ 24 พร้อมด้วย สาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ป้องกันจังหวัดขอนแก่น, สาธารณสุขอำเภอหนองนาคำ,  เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.หนองนาคำ และกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงเรือนดังกล่าว

นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จากการเข้าตรวจสอบพบว่าเป็นโรงเรือน มีการปลูกกัญชาจริง เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองสามารถจับกุมผู้ต้องหา 1 ราย ชื่อ นายวิน พร้อมอายัดโรงเรือนที่มีของกลางต้นกัญชาให้ช่อดอก ซึ่งภายในมีการปลูกกัญชาและกำลังให้ช่อดอก รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,409 ต้น และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บเกี่ยว จึงได้อายัดของกลางและสั่งมิให้เคลื่อนย้ายต้นกัญชาที่มีช่อดอกทั้งหมดจนกว่าคดีจะสิ้นสุด โดยให้ผู้ประกอบการดูแลอย่าให้เกิดความเสียหาย 

"การปฏิบัติการในครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองได้มีการบูรณาการหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่ นำกำลังร่วมกันปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด จัดระเบียบสังคมและปราบปรามผู้มีอิทธิพล ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย เพื่อนำมาซึ่งความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยในคดีนี้ตนได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและฝ่ายความมั่นคงดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด เบื้องต้นได้แจ้งข้อกล่าวหา "มีกัญชา (สมุนไพรควบคุม)ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 46 และมีอัตราโทษตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 จำคุกไม่เกิน 1ปี ปรับไม่เกิน 2หมื่น หรือทั้งจำทั้งปรับ" ก่อนนำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวน สภ.หนองนาคำ ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป" นายไกรสรฯ กล่าว

นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดขอนแก่น มุ่งมั่นในการกวาดล้างสิ่งผิดกฎหมายทุกรูปแบบที่ก่อให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง โดยขอให้พี่น้องประชาชนเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ทั้งฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และร่วมเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์ให้บ้านเมืองของเรามีแต่สิ่งที่ดี ด้วยการช่วยกันระแวดระวังบ้านเมืองของเรา ช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ หากพบเห็นเบาะแสการกระทำผิดทุกรูปแบบ สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่นายอำเภอ ปลัดอำเภอ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ สายด่วน 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้แจ้งเบาะแสจะถูกคุ้มครองและปกปิดเป็นความลับ ป้องกันไม่ให้พลเมืองดีต้องได้รับภัยจากการร่วมกันจรรโลงสิ่งที่ดีให้กับสังคม


#WorldSoilDay #วันดินโลก 

#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI 

#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข

#SoilandWaterasourceoflife 

#SustainableSoilandWaterforbetterlife

#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน  

#SDGsforAll #ChangeforGood


 


วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กกต.เปิดให้ตรวจสอบการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง เตรียมพร้อมสมัครเลือกสว.

 


เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567    สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดการประชุมชี้แจงให้แก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ในการเตรียมความพร้อมการรับสมัครสมาชิกวุฒิสภา โดยเฉพาะการตรวจสอบลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งการใช้งานระบบฐานข้อมูลพรรคการเมือง สำหรับการตรวจสอบการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและการเป็นผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง (ตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคการเมือง กรรมการสาขาพรรคการเมือง และตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด) เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ใช้งานในการตรวจสอบลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภาที่จะมีขึ้น    

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา สามารถตรวจสอบข้อมูลการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองได้จากแอพพลิเคชั่น Smart Vote ที่เมนู การเลือก สว. / อื่น ๆ หรือได้ทางเว็บไซต์ www.ect.go.th ที่เมนูบริการข้อมูล หรือสแกน QR Code ด้านล่าง

อ.ป.อ.และ อ.ป.ต. คณะสงฆ์อำเภอนางรองบุรีรัมย์ เป็นเจ้าภาพ สวดพระอภิธรรมสรีระพระพรหมวชิรโมลี



 (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ ป.ธ. ๙,ดร.) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑ อดีตเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดศาลาลอย และอดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์             

วันพฤหัสบดีที่ ๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๖๗  แรม ๙ ค่ำ เดือน ๕  ณ วัดศาลาลอย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์   พระครูปริยัติภัทรคุณ(เสนอ สิริภทฺโท ป.ธ.๕,M.A.)เจ้าคณะอำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์   ในนามคณะสงฆ์อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์  ประธานอำนวยการศาสนกิจคณะสงฆ์อำเภอ ประธานอำนวยการศูนย์ประสานงานศาสนกิจคณะสงฆ์อำเภอนางรอง ประธานอำนวยการคณะทำงานขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในระดับพื้นที่ และประธานคณะกรรมการอำนวยการอบรมประชาชนประจำอำเภอ (อ.ป.อ.) อำเภอนางรอง



พร้อมด้วย  พระเถรานุเถระ เจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกระดับ เจ้าคณะตำบลทุกตำบล ประธานกรรมการหน่วยอบรมประชาชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ๑๗ ตำบล พระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.คณะสงฆ์อำเภอนางรอง-คณะทำงานทุกรูป) ในนามเจ้าอาวาสวัดทุกวัด ในเขตพื้นที่อำเภอนางรองและพุทธศาสนิกชนชาวอำเภอนางรอง    เป็นเจ้าภาพ สวดพระอภิธรรมสรีระ  พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ ป.ธ. ๙,ดร.) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑ อดีตเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดศาลาลอย และอดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์  โดยมอบกัปปิยภัณฑ์ เข้ากองกลางในการบำเพ็ญกุศล พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ในครั้งนี้เป็นจำนวนเงิน ๒๕,๐๐๐.๐๐บาท(สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) 

ในการนี้มีการแสดงพระธรรมเทศนา โดย พระธรรมวชิรบัณฑิต(สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.๙,ศ.ดร.) รองเจ้าคณะภาค  ๕ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ รองแม่กองบาลีสนามหลวง อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  พระสงฆ์ ๔ รูป สวดพระอภิธรรม  คณะสงฆ์อำเภอลำดวน  นำโดย พระครูศรีสุนทรสรกิจ(เริงศักดิ์ เขมวีโร ปธ.๖,ผศ.ดร.)เจ้าคณะอำเภอลำดวน และคณะ



   อนึ่ง การร่วมบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมสรีระ พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ ป.ธ. ๙,ดร.) อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๑ อดีตเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดศาลาลอย และอดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์ ในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับหลักการที่ว่าด้วยหลักกิจกรรมเสาหลัก ตามกรอบการดำเนินงานที่กำหนดไว้ ๘ ด้าน(ด้านกตัญญูกตเวทิตาธรรมและด้านสามัคคีธรรม) ของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) และ (อ.ป.อ.) คณะสงฆ์อำเภอนางรอง 

โดยภาพรวม ที่แสดงออกถึงความเคารพและร่วมถวายความอาลัยรำลึกในจริยาวัตรโดยพระเดชพระคุณเป็นพระมหาเถระผู้ถึงพร้อมด้วยรัตตัญญู รู้ราตรีนานมีประสบการณ์เชี่ยวชาญ ในการบริหารกิจการคณะสงฆ์นำคณะสงฆ์ให้ปรากฎโดดเด่นเป็นต้นแบบแห่งสังฆโสภณ  เป็นพระมหาเถระที่งดงามด้วยศีล มีข้อวัตรปฏิบัติ จริยาวัตรงดงามทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด เป็นพระเถระที่ถึงพร้อมด้วยพหูสูต เป็นผู้ใฝ่เรียนสำเร็จเปรียญธรรม ๙ ประโยคและสำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต(ปริญญาเอก-พธ.ด.สาขาวิชาพระพุทธศาสนา) เป็นพระมหาเถระผู้ยังศรัทธาให้ถึงพร้อม เป็นนักเผยแผ่ธรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ นับเป็นคุณูปการแก่ประเทศชาติ พระศาสนาและสังคมส่วนรวมเป็นอเนกประการฯลฯ ด้วยคุณูปการและกุศลจริยาสัมมาปฏิบัติที่พระเดชพระคุณ พระพรหมวชิรโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ ป.ธ. ๙,ดร.) ได้บำเพ็ญไว้ดีแล้วย่อมปรากฎเป็นทิฏฐานุคติแก่ชนรุ่นหลังสืบต่อไป 

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ศน. เสริมสร้างเครือข่าย หนุนหน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาทั่วประเทศ

 


กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนในสังคมไทยขับเคลื่อนสังคมให้เป็นสังคมคุณธรรมด้วยมิติศาสนาอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการนำหลักธรรมไปปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้สังคมมีความสงบ มีความร่มเย็นในใจ ซึ่งการเสริมสร้างศีลธรรมคุณธรรมจริยธรรม ให้เกิดแก่คนในชาตินั้น นับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ทุกภาคส่วนทั้งวัด ส่วนราชการ สถานศึกษาและองค์กรต่างๆ ต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งและจริงจัง

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา (ศน.) เปิดเผยว่า กรมการศาสนาได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้ง “หน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา”หรือ นศพ. ตามระเบียบกรมการศาสนา ว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2563  ขึ้น ประกอบด้วย วัด  ส่วนราชการ สถานศึกษา และนิติบุคคล เพื่อดำเนินกิจกรรมเผยแพร่คุณธรรมจริยธรรม เผยแผ่หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาให้สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติให้เป็นคนดีมีศีลธรรม และมุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นการเผยแพร่คุณธรรมจริยธรรมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้นำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาไปประพฤติ ปฏิบัติตนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม ซึ่งหน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาเหล่านี้ ได้ดำเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเผยแพร่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสู่ประชาชนได้อย่างกว้างขวาง ได้แก่ วันสำคัญของชาติ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันสำคัญทางสถาบันพระมหากษัตริย์ ตลอดทั้งวันสำคัญทางประเพณีไทย และประเพณีของท้องถิ่น

อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันมีหน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาทั่วประเทศ 566 แห่ง ประกอบด้วย ส่วนกลาง 20 แห่ง และส่วนภูมิภาค 546 แห่ง โดยมีหน่วยเผยแพร่ในความอุปถัมภ์ของกรมการศาสนาทั่วประเทศ ซึ่งได้สนับสนุนงบประมาณโครงการหน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาส่วนภูมิภาค 69 จังหวัด ผ่านสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด จำนวน 185 หน่วย เป็นศูนย์กลางเชื่องโยงกับภาคีเครือข่ายผ่านพลังบวร เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในพื้นที่ เป็นแหล่งปลูกฝังและเผยแพร่ศีลธรรมสู่สังคม เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ในกระบวนการหลากหลายตามความเหมาะสมของบริบทในพื้นที่ อาทิ  - หน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาโรงเรียนบ้านหนองต่อ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท จัดกิจกรรม “ลานธรรมนำชีวี สร้างคนดีให้สังคม” ที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักธรรมผ่านการทำกิจกรรม การสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ การบรรยายธรรม ร้องเพลงคุณธรรม เล่านิทานคุณธรรม และโครงงานคุณธรรม ผ่านงานนิทรรศการ เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม 

- หน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาวัดใหม่สุขเกษม อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จัดกิจกรรมการแสดงธรรมะผ่านออนไลน์ โดยเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับหลักธรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เยาวชนปฏิบัติตนในสังคมได้อย่างเหมาะสม  - หน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาวัดไตรภูมิ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร จัดกิจกรรม โครงการค่ายพุทธบุตร มีการอบรมบรรยายธรรม สวดมนต์ เจริญภาวนา และแบ่งกลุ่มเข้าฐานเรียนธรรม เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาหลักธรรมให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

อธิบดีกรมการศาสนา กล่าวทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลายหน่วยงาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้ให้ความสำคัญและดำเนินการส่งเสริมศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรมในหลายรูปแบบ ทำให้เกิดความหลากหลายในการส่งเสริมศีลธรรมในสังคม ที่ต้องการหล่อหลอมบ่มเพาะเด็กและเยาวชน และส่งเสริมให้ประชาชน  ให้เป็นคนดีมีศีลธรรมคุณธรรมจริยธรรม  เพื่อสร้างชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าในทุกด้าน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมทุกองค์กรในสังคม กรมการศาสนาจึงได้ส่งเสริมให้มีการขยายเครือข่ายหน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาทั่วประเทศ เพื่อบูรณาการการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมร่วมกับทุกภาคส่วน ให้ทุกภาคส่วนมีความสำคัญและมีบทบาทในการเผยแพร่ศีลธรรม ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยยึดถือเด็ก เยาวชน และประชาชนเป็นผู้ที่มีบทบาทนำแห่งการพัฒนา และให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมอย่างทั่วถึงทั้งแผ่นดิน ทั้งนี้ องค์กรหน่วยงาน สถานศึกษา และวัดที่สนใจสามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยเผยแพร่ศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาในความอุปถัมภ์ของกรมการศาสนา ในส่วนกลางติดต่อที่ สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา  ส่วนภูมิภาคติดต่อได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด รายละเอียดสอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 02-209-3728 และเว็บไซต์กรมการศาสนา www.dra.go.th 


"อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ราชภัฏสุราษฎร์ธานี" นำนิสิตลงพื้นที่แก้ไขปัญหาชาวบ้านไม่มีไฟฟ้าใช้



เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567     สืบเนื่องจากโครงการพัฒนานักนิติศาสตร์ ให้มีคุณลักษณะวิศวกรสังคม กิจกรรมสร้างนักนิติศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น : แก้ไขปัญหาช้างป่าอย่างยั่งยืน วันที่ 20 มี.ค. 2567 หมู่ 11 ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี ที่ผ่านมานั้น นำเข้าสู่การพบปัญหาการไม่มีไฟฟ้าใช้ ที่เกิดจากการพูดคุยกับผู้ใหญ่ไชยะ ลักษณะปิยะ หมู่ 15 ต.ตะกุกเหนือ อ.วิภาวดี สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียง 



ศ.ดร.ภูภณัช รัตนชัย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จึงเดินทางขอคำแนะนำจากคุณพีรพงษ์ คชโสภณ ผู้จัดการไฟฟ้าสาขาท่าฉาง พร้อมด้วย ผศ.สมชาย บุญคงมาก ดร.ธนสาร เดชนะ(นักวิชาการอิสระ) ผู้ใหญ่ไชยะ และผู้ใหญ่จารึก คุ้มจันทร์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ต.หนองไทร อ.พุนพิน สุราษฎร์ธานี จากการพูดคุยในลักษณะกัลยาณมิตร การร่วมวงเจรจาเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์สาธารณะที่เป็นแนวคิดที่เห็นสอดคล้องตรงกันทุกคนและได้คำตอบที่ชัดเจนเพื่อนำไปปฏิบัติและหวังผลสำเร็จ นำประโยชน์สู่พี่น้องประชาชนต่อไป


สันติศึกษา"มจร"เทรนสุดยอดผู้นำภาคเอกชนและภาครัฐไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมืออาชีพ


 

วันที่ ๒   พฤษภาคม   ๒๕๖๗๒   พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.โค้ชสันติ  กระบวนกรธรรมะโอดี วิทยากรต้นแบบสันติภาพ  Buddhist Peace Facilitator ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  มจร เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ ๒- ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๗ หลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มจร ร่วมกับ บริษัท เลิร์นนิ่ง  แฮปปี้ไลฟ์ เซ็นเตอร์ จำกัด มุ่งพัฒนาผู้นำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างเป็นมืออาชีพ ภายใต้หลักสูตร “ผู้นำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมืออาชีพ : Leadership in Professional Dispute Mediation” มุ่งสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และสามารถเป็นผู้นำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็น สามารถคลี่คลายความขัดแย้งอย่างเป็นมืออาชีพก่อนฟ้องและฟ้องร้องไปแล้ว และสามารถนำไปสู่ใจจบคดีจบ เป็นการเรียนรู้เครื่องมือเพื่อป้องกันความขัดแย้งและป้องกันความรุนแรง 

โดยเป็นหลักสูตร ๔ วัน ๓๒ ชั่วโมง เวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ น. เน้นฝึกการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยพัฒนาและฝึกอบรม ณ ห้องพุทธเมตตา หลักสูตรสันติศึกษา ชั้น ๔ อาคารเรียนรวม (ฝั่งคณะพุทธศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเปิดการเรียนรู้โดย พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  โดยย้ำว่า เป้าหมายสูงสุดของการเรียนรู้ในหลักสูตรนี้คือผู้ผ่านการฝึกอบรมต้องสามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นตามขั้นตอนต่างๆ สามารถเป็นผู้นำในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และสามารถเข้าใจในกระบวนการไกล่เกลี่ยในชั้นต่างๆ 

โดยมุ่งกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย ๑)วิธีการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง  ๒)วิธีการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา  ๓)วิธีการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นอัยการ ๔)วิธีการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดี ๕)วิธีการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีและล้มละลาย ๖)วิธีการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแบบพุทธสันติวิธี ๗)วิธีการบริหารคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนต้นแบบ ๘)เทคนิควิธีการประสบการณ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีความหลากหลาย จึงเป็นหลักสูตรที่มีความเข้มข้นในแนวทางปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี โดยมีเป้าหมายประกอบด้วย ๑)ต้องสามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็น  ๒)สามารถเป็นผู้นำในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นต่างๆ  ๓)สามารถมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการไกล่เกลี่ยในชั้นต่างๆ ๔)สามารถมีทักษะในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปถึงระดับใจจบคดีจบ ได้ จึงขออนุโมทนาขอบคุณกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ประกอบด้วย

๑)นางวีรา น้ำแก้วเงิน 

ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

๒)อาจารย์ ผศ.เฉลิมวุฒิ สาระกิจ

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

๓)อาจารย์ ผศ.กฤษฎา ใจแก้วทิ 

รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

๔)อาจารย์ณรงค์ ศรีระสันต์ 

อัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือกฎหมายและรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด 

๕)ว่าที่ร้อยโท ชีวีวัฒน์ หวานอารมณ์

นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม 

๖)ทนายพิชัย วรินทรเวช 

ผู้บริหารสำนักงานกฎหมายวินเทจ ลอร์ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายอาสา และคณะทำงานด้านความขัดแย้ง


วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

"ดร.มหานิยม เวชากามา" ยื่นแล้วหนังสือขอตั้งวัดปัญญาวุโธ (วัดคำปลาฝา) สว่างแดนดินสกลนคร ต่ออนุกมธ.ศาสนา พร้อมช่วยเคลียร์ปัญหากับอบต.



เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ดร.นิยม เวชกามา อดีตสส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย ในฐานะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) และในฐานะอนุกรรมาธิการศาสนา สภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการที่ห้องประชุม ซีเอ 303 โดยมีนายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ รองประธานกรรมาธิการศาสนาและวัฒนธรรมในฐานะประธานอนุคณะกรรมาธิการเป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งมีวาระการประชุมหลายหัวข้อ

 โดยก่อนที่จะเข้าสู่วาระการประชุม  ดร.นิยม เวชกามา ได้ยื่นหนังสือที่ได้รับการร้องเรียนจาก พระอาจารย์สลา  สีลจิตโต ประธานสำนักสงฆ์ปัญญาวุโธ หรือ วัดป่าคำปลาฝา บ้านดอนธงชัย หมู่ 15 ตำบลสว่าง อำเภอสว่างแดนดินจังหวัดสกลนคร ต่อนายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ สส.ศรีสะเกษในฐานะประธานอนุกรรมาธิการ เพื่อให้คณะอนุกรรมมาธิการศาสนา หา ทางช่วยเหลือต่อไป 

 ทั้งนี้ สำนักสงฆ์ปัญญาวุโธ มีพื้นที่คาบเกี่ยวกับ ตำบลคำสะอาด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีการยื่นฟ้องศาลว่า สำนักสงฆ์ดังกล่าว ได้ตั้งอยู่ในที่ดิน ของ อบต.คำสะอาด และ ศาลจังหวัดสว่างแดนดินมีคำพิพากษาให้รื้อถอน กุฎิและอาคารที่ตั้งในที่ดินดังกล่าวออกไป เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 และให้มีการบังคับคดีด้วย  ต่อมา พระอาจารย์สลา สีลจิตโต ได้มีหนังสือขอให้สำนักงานป่าไม้ที่ 6 สาขาจังหวัดนครพนม ให้ตรวจสอบเขตพื้นที่ดินที่มีปัญหาตามศาลสั่ง  ปรากฏว่าหลังจากการตรวจสอบแล้ว ฝ่ายงานจัดการป่าไม้ที่ 6 สาขาจังหวัดนครพนมได้มีหนังสือแจ้งมาที่ อบต.คำสะอาด ว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงจีนและป่าดงเชียงไม ตามพิกัดยูทีเอ็มที่ได้ทำการพิสูจน์แล้ว   ดังนั้น ที่ตั้ง สำนักสงฆ์ปัญญาวุโธ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดคำปลาฝา ไม่ได้ตั้งอยู่บนที่ดินของ นสล.แต่วัดตั้งอยู่บนที่ดินของป่าสงวนแห่งชาติซึ่งทางสำนักสงฆ์ได้ขอใช้ถูกต้องตามกฏหมายแล้ว       

 ดร.มหานิยม  กล่าวว่า อบต.คำสะอาด ยื่นฟ้องโดยคิดว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน นสล.แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้นจึงไม่สามารถบังคับคดีได้จึงมีการประนีประนอมกัน แต่ก็ยังไม่สามารถตั้งวัดได้เพราะยังเป็นปัญหาคาราคาซังอยู่เพราะความจริงปรากฏขึ้นภายหลัง จากศาลมีคำพิพากษาแล้วดังนั้นเรื่องนี้ต้องคุยกันในหลักการของทั้งสองฝ่ายที่มีปัญหากันต่อไป


"เจ้าคุณประสาร"มองคุณสมบัติของรัฐมนตรีที่จะมากำกับดูแลสำนักพุทธฯ



เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ได้กล่าวถึงกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีได้ปรับครม.เศรษฐา 1/1 ในการปรับครั้งนี้มีทั้งรัฐมนตรีที่ถูกปรับออก เข้าใหม่และสลับตำแหน่งหลายคน และในส่วนของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับ ดูแลและสั่งการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาตินั้นคนเดิม(นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด)ก็ทำหน้าที่ได้ดี มีผลงานและทำงานเชิงรุกกับพระสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯที่มาใหม่ 3 คนนั้นล้วนแล้วแต่มีความรู้ความสามารถและเหมาะสม แต่ถ้าจะแยกตามความถนัดในบางงานบางมุมจะเห็นได้ว่า นายพิชิต ชื่นบาน ทำงานใกล้ชิดวัดวาอาราม รู้จักพระสงฆ์และองค์กรพุทธมากทีเดียว นาวสาวจิราพร สินธุไพร เป็นคนในอนาคต เป็นคนรุ่นใหม่ เก่ง ครบเครื่อง งานด้านเศรษฐกิจ มวลชน การสื่อสารถือว่ามีผลงานให้เห็นชัด นายจักรพงษ์ แสงมณี รอบรู้งานเศรษฐกิจและการต่างประเทศ

" ในฐานะเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยหลังจากที่มีการปรับครม.ในครั้งนี้องค์กรพุทธได้พูดคุย ปรึกษาหารือกันโดยพิจารณาว่า รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีท่านใดที่จะมาขับเคลื่อนงานพระศาสนา งานคณะสงฆ์ภายในสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติให้เดินหน้าไปได้ด้วยดีนั้น ในส่วนนี้ให้เป็นไปตามดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรี เพียงแต่อยากให้นายกฯได้คำนึงถึงความถนัด ความเหมาะสมเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาด้วยงานจะได้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล" พระราชวัชรสารบัณฑิต กล่าวในตอนท้าย


"เจ้าคุณเสียดายแดด" ถ่ายทอดสุดยอดเคล็ดวิชาเคลื่อนย้ายพลังงาน สามเณรโซล่าร์เซลล์



เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567  เพจพระปัญญาวชิรโมลี นพพร ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า สุดยอดเคล็ดวิชาเคลื่อนย้ายพลังงาน สามเณรโซล่าร์เซลล์ เข้าคอร์สฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ วิชาเคลื่อนย้ายรังสีสุริยะ

หลังจากเข้ามาศึกษาอบรมอยู่ในสำนักศรีแสงธรรม ณ โคกอีโด่ยเป็นสัปดาห์สุดท้ายก่อนลาสิกขา มีรายวิชาโซล่าร์เซลล์ที่เปิดเป็นหลักสูตรสอนนักเรียนแบบ Project based Learning จึงแบ่งมาสอนการทำระบบไฟฟ้าแบบพกพาไปตามสถานที่ต่าง เช่นน้ำท่วม โคลนถล่ม หรือภัยพิบัติอื่น ๆ ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ได้ หรือในบางพื้นที่ไม่มีไฟแสงสว่างเลยก็ยังส่งไปเป็นร้อยชุด เรียกว่าชุดกู้ภัย เป็นชุดฝึกสอนวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น เทคนิคการตัด การต่อ การเข้าสวิตช์ การต่อหลอดไฟ หรือการนำไปใช้งานอื่น ๆ พร้อมการคำนวณหาค่าพลังงานที่จัดเก็บแล้วนำไปใช้ได้

เป็นกิจกรรมการสอนระยะสั้นให้สามเณรได้สัมผัสแล็ปโซล่าร์เซลล์ อันเป็นเคล็ดลับวิชาเคลื่อนย้ายพลังงานแบบไม่ต้องอิงนิยาย แถมสร้างงานสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้เหมือนทีมงานช่างขอข้าวที่นำเคล็ดวิชาการติดตั้งไปประกอบอาชีพ และสร้างแรงบันดาลใจให้สังคมหันมาพึ่งพาตนเองด้านพลังงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางการตลาด และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของระบบสุริยรังสี เช่นแดดที่ร้อนจัด ๆ อย่างทุกวันนี้จะทำให้กำลังการผลิตลดลง ยิ่งร้อนมากยิ่งลดลงมาก หากจะไปด่าเจ้าหน้าที่ศึกษาข้อมูลไปดี ๆ ค่อยด่ากัน แต่ความเป็นจร้งเจ้าหน้าที่ก็ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงกัน เพียงแต่มีหน้าที่ทำตามนโยบายรัฐ ต่อให้เราไปด่าก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากมีแต่จะสร้างความแตกแยกในสังคม ทางที่ดีปรึกษาหารือ “แสวง จุดรุ่วม สงวน จุดต่าง” เพื่อเดินหน้าประเทศไทยจะดีกว่ามาย่ำอยู่กับที่เผลอๆ ถอยหลังเข้าคลอง เป็นเครื่องมือให้นักการเมืองชั่วหรือที่เรารู้ว่าเป็น ”มิจฉาชีพที่มีกฎหมายรับรอง“

การบวชภาคฤดูร้อนถวายพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในปีมหามงคลครบ 6 รอบ 72 พรรษา กำลังจะปิดโครงการลง รายวิชาพุทธประวัติ ศาสนพิธี มงคลชีวิต และโซล่าร์เซลล์ ก็ได้สอนตามหลักสูตรที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วน หวังว่าคงจะมีประโยชน์ต่อสามเณรที่เข้าร่วมโครงการ และเป็นบุญกุศลแก่ทุกท่านที่เกี่ยวข้อง 


ขออนุโมทนาขอบคุณมา ณ โอกาสนี้


เพลง: ‘กอดนี้ 120 ล้านบาท’ ถวายหลวงพ่อเณร สร้างรพ.ศูนย์มะเร็งบางแค​

บุญในปริบทพุทธสันติวิธีเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสันติภาพในสังคมไทย  บุญเป็นปัจจัยที่นำไปสู่สังคมที่สงบสุขและยั่งยืน  เมื่อวันที่ 21 พฤศจ...