วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

กมธ.สร้างสันติภาพชายแดนใต้จัดเสวนาที่ "สันติศึกษา มจร"



เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๗ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวต้อนรับคณะกรรมาธิการ และเข้าร่วมสัมมนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างความเข้าใจกับแนวทางการสร้างสันติภาพในพื้นที่ และรับฟังความคิดเห็นสภาพปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภายใต้ ตลอดถึงการปัญหาและอุปสรรคในการสร้างสันติภาพ 

โดยได้รับนิมนต์จากนายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ โดยภาคเช้ามีผู้แทนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกล่าวต้อนรับ กล่าวเปิดและบรรยายถึงบทบาทของกรรมาธิการโดย แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสร้างสันติภาพจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีท่านนัจมุดดีน อูมา รองอนุกรรมาธิการ ฯ ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน สะท้อนว่า การสร้างการมีส่วนร่วมโดยจะต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๗ จัด ณ มจร วังน้อย เพื่อเสนอความคิดเห็น ปัญหาเกิดมาแล้วครบ ๔๐ กว่าปี ส่งผลกระทบต่อมิติต่างๆ เราจะช่วยกันเสนอแนวทางอย่างไร  โดยความคาดหวังสูงสุดด้วยการออกกฎหมายว่าด้วยการสร้างสันติภาพ  โดยมี อาจารย์ ผศ. ดร. ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร เป็นผู้ดำเนินรายการ 

ศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  สะท้อนประเด็นถึงความเป็นมาของความขัดแย้งในชายแดนภาคใต้ สะท้อนว่า ห้วงเวลาในประวัติศาสตร์ ๑๒๐ ปี ที่สยามมีการปฏิรูปประเทศซึ่งสอดรับกับประเทศตะวันตกที่ล่าอาณานิคม จึงมีการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่มีการใช้กำลังในรูปแบบต่างๆ ทำให้สยามมีการปฏิรูปประเทศ  จะเห็นการปฏิรูปของญี่ปุ่นแตกต่างจากไทย โดยไทยเปลี่ยนเฉพาะส่วนกลางแต่ส่วนห่างไกลไม่มีการเปลี่ยนแปลง ต่างจากญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทั้งประเทศ  

โดยภูมิศาสตร์ของปัตตานีมีความสะดวกติดต่อกับมาเลเชีย มีวัฒนธรรมของอิสลามมีความเป็นเอกลักษณ์ จึงมีการรักวิถีความเป็นอิสลาม ประวัติศาสตร์เป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ความจริง  ความต้องการของสยามสร้างอุดมการณ์ชาติคือ ความเป็นไทย ใส่ความสมัยใหม่เป็นรูปแบบสถาบันสมัยใหม่  เช่น ระบบราชการ ระบบการศึกษา ระบบกระทรวง ทำให้อยู่ในกรอบเพราะมีนโยบายการรวบดินแดน การรวมคนเชื้อชาติต่างๆ  ห้วงเวลาที่สองนำไปสู่คำว่า ร้าว แตก แยก นำไปสู่ความไม่สงบ ขาดความไว้วางใจกัน จึงมีการเจรจาระหว่างผู้แทนรัฐบาลกับกลุ่มผู้นำมุสลิมตามคำร้องขอ ๗ ประการ  นำไปสู่การใช้กองทัพเกี่ยวข้องกับความมั่นคง 

ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง อาจารย์ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งทำวิจัยพหุวัฒนธรรม สะท้อนว่า รัฐชาติกับผู้คนหลากหลายทางวัฒนธรรม พยายามเปลี่ยนผู้คนให้เหมือนกันเพื่อการปกครองที่ง่ายขึ้น รัชกาลที่ ๖ ให้นโยบายว่าต้องไม่เบียดเบียน กดขี่บีบคั้นประชาชน พอโลกสมัยใหม่เข้ามาจึงมีการเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับ เช่น ภาษาไทย จึงมีการกีดกั้นจากวัฒนธรรมดั่งเดิมทำให้รู้สึกตัวตนเสียไป ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมศาสนา ซึ่งปัจจัยความรุนแรง เช่น วัฒนธรรม  รัฐชาติพยายามจัดการความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีการนำพหุวัฒนธรรมมาใช้เคารพความหลากหลายแตกต่าง โดยเคารพวัฒนธรรม  การยอมรับรับรองผู้ด้อยกว่า  ยอมรับทั้งระดับภายในและยอมรับระดับภายนอก ในยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี มีการส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ให้เข้มแข็งจนเป็นพลัง จึงสะท้อนถึงพหุวัฒนธรรมเป็นการทำลายอัตลักษณ์ ซึ่งพหุวัฒนธรรมความจริงสามารถสะท้อนอัตลักษณ์ได้ สูงสุดคือสามารถอยู่ร่วมกันท่ามกลางความขัดแย้ง  "เราคิดถึงความมั่นคงของรัฐ แต่ไม่ได้คิดถึงความมั่นคงของความเป็นมนุษย์" 

รองศาสตราจารย์มารค ตามไท สะท้อนประเด็นถึงการพูดคุยกระบวนการสร้างสันติภาพในชายแดนใต้ สะท้อนว่า สภาพปัญหาในชายแดนใต้มีความหลากหลายมิติ มีสถานการณ์เกิดขึ้น มีสถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ เช่น สถานการณ์ในตากใบมีการเยียวยาแต่ไม่สามารถบอกเหตุผลได้เพราะอะไร อย่างไร รัฐใช้งบประมาณในการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้บประมาณ ๕.๔ แสนล้านบาท (๕๓๘,๕๑๔) งบส่วนนี้ถ้านำไปพัฒนาประเทศจะเกิดความเจริญในมิติต่างๆ กระบวนการพูดคุยสันติภาพล่าสุด มีการยุติใช้ความรุนแรง แสวงหาทางออกร่วมกัน  โดยกระบวนการสันติภาพการเปลี่ยนจากใช้อำนาจแข็งมาที่อำนาจแห่งความนุ่มนวล 

เราเจอความขัดแย้งแต่ทำไมถึงแก้ไม่ได้เพราะหาสาเหตุไม่พบ สาเหตุหนึ่งคือ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์  ซึ่งทุกคนมีเหมือนกันคือ สมอง : Amygdala  มนุษย์สร้างความกลัว อะไรที่เป็นภัยจะมีวิธีการป้องกันตนเอง แท้จริงเป็นความขัดแย้งระหว่างมนุษย์ด้วยกัน พยายามจัดการด้วยสติแต่จะทำอย่างไรให้เกิดรูปธรรม  มองคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ มองว่าเหตุที่เราไม่สามารถแก้ไขได้เพราะหาสาเหตุที่แท้จริงไม่พบ ซึ่งความเป็นมนุษย์ยังมีอยู่แต่การแบ่งรัฐต่างๆ อาจจะไม่เกิดขึ้น    

อุปสรรคในกระบวนการสันติภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย ๑) วิธีที่รัฐมองความขัดแย้งมองความมั่นคง  ๒)มีชุดคุณค่าศักดิ์สิทธิ์ที่ต่างกัน ประชาชนต้องการเอกราช หรือการปกครองตนเอง ชอบธรรมกับความรุนแรง  ไม่ชัดว่าคู่เจรจามีเป้าหมายสันติภาพ ซึ่งเข้าใจมิติของสันติภาพไม่ตรงกัน เป้าหมายต่างกัน ซึ่งในภาคบ่ายมีการแบ่งกลุ่มสัมมนาเข้าร่วมกลุ่มย่อย ประกอบด้วย ๑)อัตลักษณ์วัฒนธรรม ๒)ความยุติธรรม ๓)เศรษฐกิจและการพัฒนา ๔)การศึกษา ๕)รูปแบบการปกครอง เพื่อสะท้อนร่วมกัน ทำไมต้องพูดคุยเพราะเป็นคนไทย ความรุนแรงไม่ใช่ทางออก มีเงื่อนไขระดับบุคคลโครงสร้างวัฒนธรรม จึงมีการสร้างกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้ โดยสอดรับกับการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ ๑๓” จัดโดยสถาบันพระปกเกล้า เรียนรู้ในประเด็นสำคัญหัวข้อ “การสร้างกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนใต้” อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย นายดนัย มู่สา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้  มีประเด็นสำคัญว่า นายดนัย มู่สา ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สะท้อนว่า ซึ่งปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความซับซ้อน จึงต้องใช้องค์ความรู้ทางวิชาการที่เป็นข้อมูลที่เป็นความจริง โดยหลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุขมีความหลากหลายอาชีพ จึงจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกันในมิติหงการสร้างกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงต้องสันติเสวนาร่วมกัน ประกอบด้วย 

๑)เกิดอะไรขึ้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามว่าเราฟังจากกลุ่มใด เช่น ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาคมข่าวกรอง ภาคประชาชน เอกชน  เช่น ความไม่เป็นธรรม กระบวนการแบ่งแยกดินแดน  ความเป็นอัตลักษณ์ เป็นความจริงของแต่ละฝ่ายมีความไม่ตรงกัน จึงต้องมีวิธีการวิเคราะห์ ซึ่งลักษณะพื้นที่ประกอบด้วย "ศาสนา ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์" เป็นลักษณะของพื้นที่  อะไรนำไปสู่ความรุนแรงในพื้นที่เพราะมี ๓ เงื่อนไข ประกอบด้วย  มีเงื่อนไขระดับบุคคล เงื่อนไขระดับโครงสร้าง  และเงื่อนไขระดับวัฒนธรรม  ถือว่าเป็น Deadly  Conflict Intractable Conflict  และ นำไปสู่ Permacrisis  

๒)ทางเลือกในการแก้ไขปัญหาอดีตปัจจุบัน ในปี ๒๕๔๐ นำสันติวิธีเข้าใช้กระบวนการในการแก้ปัญหา ในปี ๒๕๖๐ เน้นสันติวิธี  การพูดคุยเพื่อสันติสุข ในปี ๒๕๖๒ ใช้คำว่า พหุวัฒนธรรม สร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการร่วมสร้างสันติสุข ในปี๒๕๖๕ เน้นสันติสุข ความปลอดภัย สังคมพหุวัฒนธรรม และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การจัดการความขัดแย้งตามแนวทางสันติวิธี การบริหารจัดการบนพื้นฐานคความหลากหลายทางวัฒนธรรม    

๓) เส้นทางการสร้างกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้  จะต้องสร้างความไว้วางใจ จึงมีการพูดคุยสันติสุขหรือสันติสนทนา ระหว่างผู้มีความขัดแย้ง โดยมีลำดับการพูดคุยตั้งนายกทักษิณ  นายกสุรยุทธ์  นายกอภิสิทธิ์ นายกยิ่งลักษณ์  นายกประยุทธ์ โดยมุ่ง "พูดคุยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างการมีส่วนร่วม ลดการใช้ความรุนแรง สร้างความไว้วางใจ ใช้กระบวนการสันติวิธี มองถึงความเป็นพหุสังคม" ซึ่งสันติวิธีใช้เวลานานแต่มีความยั่งยืน  ซึ่งในปัจจุบันนำนโยบายการบริหารและพัฒนา จชต. มาใช้ โดยมีวิสัยทัศน์ว่า สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัยปราศจากเงื่อนไขความรุนแรง ทุกคนได้รับการปกป้อง เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม และมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน ทิศทางในการพูดคุยมีการคุยกันอย่างต่อเนื่อง โดยสังคมมีความคาดหวังสูง  การสร้างการมีส่วนร่วม มีกลุ่มเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ความรุนแรงในพื้นที่  พูดคุยกับทุกกลุ่มอย่างรอบด้านทุกชาติพันธุ์ ทุกศาสนา รวมถึงเอกภาพอย่างต่อเนื่องถือว่าเป็นความท้าทาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ดร.มหานิยม" ร่วมกมธ.ศาสนาสภาฯลงพื้นที่เพชรบุรี ติดตามและช่วยวัดที่มีปัญหาเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่วัดเขาย้อย ฉลุยทุกวัดที่ยื่นและรอ

เมื่อวันที่  16 พฤษภาคม 2567 เวลา 10.00 น. ที่วัดเขาย้อยอำเภอเขาย้อยจังหวัดเพชรบุรี คณะกรรมาธิการศาสนานำโดยนายวีระพล  จิตสัมฤทธิ์ สสศรีสะเกษ...