วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

รองโฆษกรัฐ เตือน "โน้ต อุดม" ไม่เข้าใจคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" อย่าเอาคำว่า "พอเพียง" มาหากิน



"คารม"  เตือน "โน้ต อุดม แต้พานิช" เป็นบุคคลสาธารณะ ต้องระวังการแสดงความคิดเห็น ถ้าตัวเอง “ไม่เข้าใจคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง อย่าเอาคำว่า พอเพียง มาหากิน”

เมื่อวันที่ 7  พฤษภาคม 2567   นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าผมพึ่งกลับจากร้อยเอ็ด  เพราะลงพื้นที่ ติดตามนายกฯ ในฐานะรองโฆษกรัฐบาล  ผมเป็นคนอีสาน  เป็นคนชนบท  ได้เห็นว่าสังคมชนบทนั้น  แม้เขาไม่ร่ำรวยมาก  ถ้าเขาไม่มีหนี้มากเกินกำลัง   มีที่ทำกิน   มีน้ำเพื่อทำเกษตร   มีความอบอุ่นในครอบครัว  อยู่ในสังคมเอื้ออาทรช่วยเหลือ  และดูแลกัน  แค่นี้สังคมไทยก็อยู่ได้แล้ว  นี้คือความพอเพียง ที่แท้จริง

ส่วนตัว  ผมไม่เคยฟังการพูด ของนายอุดม  แต้พานิช  เพราะคิดว่า  ไม่ได้เป็นประโยชน์กับชีวิตผมเลย   จริง  ๆ  ผมเคารพในความเป็นนักพูดทั้งหลาย   และเคารพอาชีพตลก  ที่สร้างสรรค์  ซึ่งมีอยู่หลายคน และเราก็ควรเคารพอาชีพทุกอาชีพที่ทำมาหากินสุจริต   แต่ความหมายที่เขาพูดกัน ว่า “ ตลกหากิน ก็พึ่งรู้  คือแบบที่นายอุดมฯ ทำนี้เอง  แถมไม่รู้กาละเทศะ    หลงตัวเอง   ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อคนอื่น  แถมอาจสร้างความแยกในสังคมได้   นายอุดมไม่รู้ว่าการอาศัยอยู่ในแผ่นดินนี้  ถึงได้มีที่พูด    จริง  ๆ  แผ่นดินก็มีบุญคุณต่อท่านอยู่นะ  และที่สำคัญคุณจะทำมาหากินอะไร  ก็ทำไป   แต่อยู่เฉยๆ  มายกตน ฃ่มท่าน   ไม่น่าจะมีประโยชน์อะไร        ทั้งที่ตัวเองไม่เข้าใจแก่นแท้อะไร  ในเรื่องความพอเพียง   หรือความพอดี   ซึ่งหมายถึงคนมีเยอะก็แบ่งปัน    ประกอบอาชีพไม่เบียดเบียนคนอื่น  ซึ่งเป็นหลักศาสนาด้วยซ้ำไป         

ที่โลกของเรามีปัญหาอยู่ทุกวันนี้  เพราะสังคมขาดความพอเพียง ขาดความพอดี  ไม่แบ่งปัน  และเห็นแก่ตัว  โลภโมโทสัน  ทั้งนั้น หากนายอุดม  แต้พานิช  เข้าใจคำว่า   “ความพอเพียงจริง   จะรู้ว่า ความพอเพียงนั้น ไม่ใช่เรื่องสอนคนให้เกียจคร้าน  แต่สอนให้คนแบ่งปัน    คนที่รวยก็ควรแบ่งปันให้คนจน  รู้จักพอดี     พอควร    นายอุดม   ฯ  อย่าเอาไม่รู้หรือความโง่   มาทำให้คนอื่นโง่ตามไปด้วย   ถ้าคุณอุดมฯ รวยจากการพูด  ก็ไม่มีใครอิจฉา   แต่ถ้าเอาเอาความรวยของคุณ  มาช่วยคนจนบ้าง  ผมจะชื่นชม  ”  นายคารม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...