วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

สันติศึกษา"มจร"เทรนสุดยอดผู้นำภาคเอกชนและภาครัฐไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมืออาชีพ


 

วันที่ ๒   พฤษภาคม   ๒๕๖๗๒   พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร.โค้ชสันติ  กระบวนกรธรรมะโอดี วิทยากรต้นแบบสันติภาพ  Buddhist Peace Facilitator ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  มจร เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ ๒- ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๗ หลักสูตรสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มจร ร่วมกับ บริษัท เลิร์นนิ่ง  แฮปปี้ไลฟ์ เซ็นเตอร์ จำกัด มุ่งพัฒนาผู้นำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างเป็นมืออาชีพ ภายใต้หลักสูตร “ผู้นำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมืออาชีพ : Leadership in Professional Dispute Mediation” มุ่งสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และสามารถเป็นผู้นำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็น สามารถคลี่คลายความขัดแย้งอย่างเป็นมืออาชีพก่อนฟ้องและฟ้องร้องไปแล้ว และสามารถนำไปสู่ใจจบคดีจบ เป็นการเรียนรู้เครื่องมือเพื่อป้องกันความขัดแย้งและป้องกันความรุนแรง 

โดยเป็นหลักสูตร ๔ วัน ๓๒ ชั่วโมง เวลา ๐๘.๐๐-๑๘.๐๐ น. เน้นฝึกการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยพัฒนาและฝึกอบรม ณ ห้องพุทธเมตตา หลักสูตรสันติศึกษา ชั้น ๔ อาคารเรียนรวม (ฝั่งคณะพุทธศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเปิดการเรียนรู้โดย พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  โดยย้ำว่า เป้าหมายสูงสุดของการเรียนรู้ในหลักสูตรนี้คือผู้ผ่านการฝึกอบรมต้องสามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นตามขั้นตอนต่างๆ สามารถเป็นผู้นำในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และสามารถเข้าใจในกระบวนการไกล่เกลี่ยในชั้นต่างๆ 

โดยมุ่งกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย ๑)วิธีการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง  ๒)วิธีการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา  ๓)วิธีการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นอัยการ ๔)วิธีการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดี ๕)วิธีการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีและล้มละลาย ๖)วิธีการปฏิบัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแบบพุทธสันติวิธี ๗)วิธีการบริหารคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนต้นแบบ ๘)เทคนิควิธีการประสบการณ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีความหลากหลาย จึงเป็นหลักสูตรที่มีความเข้มข้นในแนวทางปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี โดยมีเป้าหมายประกอบด้วย ๑)ต้องสามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็น  ๒)สามารถเป็นผู้นำในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นต่างๆ  ๓)สามารถมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการไกล่เกลี่ยในชั้นต่างๆ ๔)สามารถมีทักษะในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไปถึงระดับใจจบคดีจบ ได้ จึงขออนุโมทนาขอบคุณกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ประกอบด้วย

๑)นางวีรา น้ำแก้วเงิน 

ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

๒)อาจารย์ ผศ.เฉลิมวุฒิ สาระกิจ

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

๓)อาจารย์ ผศ.กฤษฎา ใจแก้วทิ 

รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

๔)อาจารย์ณรงค์ ศรีระสันต์ 

อัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือกฎหมายและรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด 

๕)ว่าที่ร้อยโท ชีวีวัฒน์ หวานอารมณ์

นักวิชาการยุติธรรมชำนาญการพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม 

๖)ทนายพิชัย วรินทรเวช 

ผู้บริหารสำนักงานกฎหมายวินเทจ ลอร์ ที่ปรึกษากฎหมาย ทนายอาสา และคณะทำงานด้านความขัดแย้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...