วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

"ดร.มหานิยม เวชากามา" ยื่นแล้วหนังสือขอตั้งวัดปัญญาวุโธ (วัดคำปลาฝา) สว่างแดนดินสกลนคร ต่ออนุกมธ.ศาสนา พร้อมช่วยเคลียร์ปัญหากับอบต.



เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 ดร.นิยม เวชกามา อดีตสส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย ในฐานะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) และในฐานะอนุกรรมาธิการศาสนา สภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการที่ห้องประชุม ซีเอ 303 โดยมีนายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ รองประธานกรรมาธิการศาสนาและวัฒนธรรมในฐานะประธานอนุคณะกรรมาธิการเป็นประธานในที่ประชุม ซึ่งมีวาระการประชุมหลายหัวข้อ

 โดยก่อนที่จะเข้าสู่วาระการประชุม  ดร.นิยม เวชกามา ได้ยื่นหนังสือที่ได้รับการร้องเรียนจาก พระอาจารย์สลา  สีลจิตโต ประธานสำนักสงฆ์ปัญญาวุโธ หรือ วัดป่าคำปลาฝา บ้านดอนธงชัย หมู่ 15 ตำบลสว่าง อำเภอสว่างแดนดินจังหวัดสกลนคร ต่อนายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ สส.ศรีสะเกษในฐานะประธานอนุกรรมาธิการ เพื่อให้คณะอนุกรรมมาธิการศาสนา หา ทางช่วยเหลือต่อไป 

 ทั้งนี้ สำนักสงฆ์ปัญญาวุโธ มีพื้นที่คาบเกี่ยวกับ ตำบลคำสะอาด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีการยื่นฟ้องศาลว่า สำนักสงฆ์ดังกล่าว ได้ตั้งอยู่ในที่ดิน ของ อบต.คำสะอาด และ ศาลจังหวัดสว่างแดนดินมีคำพิพากษาให้รื้อถอน กุฎิและอาคารที่ตั้งในที่ดินดังกล่าวออกไป เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 และให้มีการบังคับคดีด้วย  ต่อมา พระอาจารย์สลา สีลจิตโต ได้มีหนังสือขอให้สำนักงานป่าไม้ที่ 6 สาขาจังหวัดนครพนม ให้ตรวจสอบเขตพื้นที่ดินที่มีปัญหาตามศาลสั่ง  ปรากฏว่าหลังจากการตรวจสอบแล้ว ฝ่ายงานจัดการป่าไม้ที่ 6 สาขาจังหวัดนครพนมได้มีหนังสือแจ้งมาที่ อบต.คำสะอาด ว่าที่ดินดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงจีนและป่าดงเชียงไม ตามพิกัดยูทีเอ็มที่ได้ทำการพิสูจน์แล้ว   ดังนั้น ที่ตั้ง สำนักสงฆ์ปัญญาวุโธ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าวัดคำปลาฝา ไม่ได้ตั้งอยู่บนที่ดินของ นสล.แต่วัดตั้งอยู่บนที่ดินของป่าสงวนแห่งชาติซึ่งทางสำนักสงฆ์ได้ขอใช้ถูกต้องตามกฏหมายแล้ว       

 ดร.มหานิยม  กล่าวว่า อบต.คำสะอาด ยื่นฟ้องโดยคิดว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน นสล.แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้นจึงไม่สามารถบังคับคดีได้จึงมีการประนีประนอมกัน แต่ก็ยังไม่สามารถตั้งวัดได้เพราะยังเป็นปัญหาคาราคาซังอยู่เพราะความจริงปรากฏขึ้นภายหลัง จากศาลมีคำพิพากษาแล้วดังนั้นเรื่องนี้ต้องคุยกันในหลักการของทั้งสองฝ่ายที่มีปัญหากันต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...