วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เปิดนักกวีลาวซิวโล่'สุนทรภู่'คู่'เนาวรัตน์'
เป็นที่ทราบกันดีว่าวันที่ 26 มิ.ย.เป็นวันสุนทรภู่กวีเอกของประชาชนชาวไทยและได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี พ.ศ.2529 และมีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของท่านเพื่อเป็นการกระตุ้นให้บุคคลเจริญรอยตามเป็นประจำทุกปี
ขณะเดียวกันในปี 2558 จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านงานกวีนิพนธ์ จึงร่วมมือจากสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ริเริ่มที่จะมอบรางวัลสุนทรภู่ระดับอาเซียนขึ้นหรือเรียกว่า "Sunthorn Phu Award " ให้แก่กวีดีเด่นขอประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเป็นอนุสรณ์และเผยแพร่เกียรติคุณของสุนทรภู่ให้กว้างขวางออกไป อีกทั้งเป็นการส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในการเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างประชาชนในประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านงานกวีนิพนธ์ รวมถึงมีความหวังให้เทียบชั้นรางวัลซีไรท์
มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกโดยจะดูจากคุณสมบัติของกวี ได้แก่ 1.เป็นกวีผู้มีสัญชาติประเทศสมาชิกอาเซียนและยังมีชีวิตอยู่ 2.เป็นกวีผู้มีผลงานโดยองค์รวมแสดงความเชี่ยวชาญเชิงวรรณศิลป์และมีคุณธรรมเหมาะสมที่จะเป็นกวีของชาติ และ3.เป็นกวีผู้สร้างสรรค์ มีพัฒนาการที่ต่อเนื่องและโดดเด่นเป็นที่ยอมรับในวงการกวีนิพนธ์ของประเทศ
สำหรับประเทศไทยนั้น วธ.ได้ประกาศเชิญผู้สนใจเสนอชื่อกวีเข้ารับการคัดเลือกเป็น "กวีรางวัลสุนทรภู่" คนแรก ประจำปี 2555 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2555 เป็นต้นมา และมีการตั้งคณะกรรมการคัดเลือกนักกวีจากจำนวนทั้ง 27 คนที่ส่งผลงานเข้าประกวดเข้าสู่รอบสุดท้ายมีดังนี้ 1.นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ 2.นายไพวรินทร์ ขาวงาม 3.นายสุจิตต์ วงษ์เทศ 4.นายสถาพร ศรีสัจจัง 5.นายอดุลจันทรศักดิ์
และขณะนี้คณะกรรมการได้คัดเลือกคัดเลือกให้เหลือเพียง 1 รายชื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วเพื่อเข้ารับรางวัลในวันที่ 26 มิ.ย.ที่จะถึงนี้
โอกาสที่มูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล โดยมีนายสมชาย เสียงหลาย อดีตปลัดวธ. เป็นประธานกรรมการ ได้จัดกิจกรรม "ร่องรอยกาลเวลา : ลาว เพื่อนบ้านอาเซียนวัฒนธรรมร่วมสองฝั่งโขง"วันที่ 30 พฤษภาคม ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย และเรียนรู้เพื่อนบ้านประชุมร่วมนักเขียนไทย – ลาวภาคสนาม ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน ที่มีนักเขียนและผู้สนใจเข้าร่วมประมาณ 100 คน
ในการนี้นายทองแถม นาถจำนง เลขาธิการมูลนิธิสโมสรมิตรภาพวัฒนธรรมสากล หนึ่งในคณะกรรมการคัดเลือก "กวีรางวัลสุนทรภู่" ได้เปิดเผยในระหว่างพบปะกับนักเขียนลาวที่หอวัฒนธรรมแห่งชาตินครหลวงเวียงจันทน์ว่า ขณะนี้สมาคมนักประพันธ์ลาวได้แจ้งว่าได้คัดเลือกนักกวีชาวลาวเพื่อเข้ารับรางวัลสุนทรภู่เป็นที่เรียบร้อยแล้วคือนางดารา กันละยา โดยใช้นามปากกาว่า "ดวงจำปา" ซึ่งเป็นบุตรสาวของมหาสิลา วีระวง นักวรรณกรรมเอกของลาว นับเป็นคนลาวคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้เช่นเดียวกับประเทศไทยคือนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
"ส่วนรายชื่อนักกวีอาเซียนที่เหลือที่ผ่านการคัดเลือกในแต่ละประเทศเพื่อเข้ารับรางวัลสุนทรภู่ในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ คาดว่ามีการแจ้งให้ทางวธ.ทราบหมดแล้วและคงจะมีการเปิดเผยในเร็วๆนี้" นายทองแถมระบุ
ขณะที่นางผิวลาวัน ทิดาจัน รักษาประธานสมาคมนักประพันธ์ลาว กล่าวว่า คณะกรรมการได้พิจารณาคัดเลือกจากผลงานของนักประพันธ์ที่ส่งเข้าประกวดซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก และเห็นว่าผลงานของนางดาราจากกวีเรื่องสั้นเรื่อง "รักดอกจึงมาบอก" มีความโดดเด่น ซึ่งเป็นการรวบรวมบทกวีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่เป็นการสะท้อนวิถีชีวิตของคนลาวในแต่ละช่วงเป็นอย่างดี
ด้านนางดาราได้กกล่าวในโอกาสที่คณะเข้าชมหอสมุดมหาสิลาว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้รับรางวัลนี้ ทั้งนี้คงเป็นเพราะว่าได้รับการถ่ายทอดจากพ่อที่ให้ตนนั้นอ่านหนังสือให้แม่ฟังตั้งอายุ 8 ขวบทำให้เกิดความชอบและฝึกหัดเรื่อยมา
พร้อมกันนี้นางดาราได้พาชมหอสมุดที่เก็บรวบรวบผลงานของมหาสิลาตั้งแต่อดีตที่เป็นคนชาวร้อยเอ็ดเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯบวชเรียนจนสอบได้เปรียญธรรมได้ชื่อว่า "เป็นมหา" และมีความสนใจด้านงานวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนไทยอีสานและคนลาว อย่างเช่นเรื่อง "ท้าวฮุ่งท้าวเจือง" ที่คัดลอกต้นฉบับจากหอสมุดแห่งชาติ สังข์ศิลป์ชัยหรือสินไซ จำปาสี่ต้น เป็นต้น
นางดาราได้เปิดเผยว่า มีแนวความที่จะส่งผลงานของพ่อเรื่อง "ท้าวฮุ่งท้าวเจือง" ให้ยูเนสโกประกาศให้เป็นผลงานสำคัญแห่งความทรงจำโลกร่วมกับประเทศไทย
รางวัลสุนทรภู่ระดับอาเซียนคงจะเป็นอีกรางวัลหนึ่งที่เป็นน้ำเลี้ยงดุจแม่น้ำโขงเลี้ยงนักกวีนักประพันธ์ โดยเก็บอัต(ตา)ลักลักษณ์ของตัวเองไว้ในวงเล็บบ้าง สร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้อาเซียนและโลกสงบสุขเกิดสันติภาพต่อไป
.....................
(หมายเหตุ : เปิดนักกวีลาวซิวโล่'สุนทรภู่'คู่'เนาวรัตน์' : สำราญ สมพงษ์รายงานเผยแพร่เว็บไซต์คมชัดลึกวันที่ 2 มิ.ย.2556)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น