ช่วงระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านชาวพุทธได้ทราบข่าวการสุญเสียครั้งใหญ่ของวงการคณะสงฆ์อาเซียนถึง 2 ครั้งด้วยกัน คือเมื่อ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา เป็นวันที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มรณภาพ ด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ชาวพุทธทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศต่างเศร้าโศกเสียใจ และได้มีการบำเพ็ญกุศลฟังสวดพระอภิธรรมเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
ขณะเดียวกันวันที่ 10 ก.ย.ที่เพิ่งผ่านไปนี้ พี่น้องชาวลาวก็ได้สูญเสียพระนักปกครอง พระวิปัสสนาจารย์ พระนักแผ่ศีลธรรมและด้านการสั่งสอนประชาชนที่ยิ่งใหญ่ของคณะสงฆ์ประเทศ สปป.ลาว นั้นก็คือดร.พระมหาชาลี กันตสีโล รองประธานองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งประเทศลาว (อพส.) หรือรองประมุขสงฆ์ลาว หัวหน้ากรรมาธิการใหญ่ เผยแผ่ศีลธรรมและวิปัสสนากัมมัฏฐานทั่วประเทศลาว
ทั้งนี้ดร.พระมหาชาลีเกิดที่จังหวัดยโสธร ปี 2476 และเดินทางไปจำพรรษาที่สปป.ลาวเพื่อสอนอภิธรรมปี 2498 และได้ พธ.ด.กิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปี 2551
ทั้งนี้เว็บไซต์ Lao Buddhismได้รายงานว่าดร.พระมหาชาลี กันตสีโลได้มรณภาพเมื่อคืนวันที่ 10 ก.ย.ได้อาการสงบที่วัดป่านาคูนน้อย เมืองนาชายทอง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ด้วยโรคมะเร็งตับ รวมอายุได้ 81 ปี 60 พรรษา
ดร.พระมหาชาลี กันตสีโลนั้นเป็นรองประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาวและเป็นประธานโครงการพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาทั้งเป็นประธานโครงการแปลประไตรปิฎกฉบับภาษาลาว เป็นอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากัมมัฏฐานสืบสานมาจากพระอาจารย์ใหญ่มหาอานันโท ที่วัดพุทธวงสาป่าหลวงในเมืองก่อน
การจากไปของพระอาจารย์ใหญ่ดร.พระมหาชาลีในครั้งนี้ถือว่าคณะสงฆ์ลาวได้สูญเสียบุคลากรสงฆ์และบูชนียบุคคลสงฆ์สำคัญไป เป็นการสูญเสียเพชรเม็ดงามแห่งแดนดินลาวไปอีกผู้หนึ่ง
ยาท่านใหญ่(เป็นคำสรรพนามเรียกพระเถระด้วยความเคารพ) เป็นผู้มีจริยวัตรอันงดงามและเป็นอุทิศชีวิตเพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนาตลอดมา เป็นผู้สืบสานปฏิปทาของพระอาจารย์ใหญ่มหาปาน อานันโท เพื่อวางรากฐานแห่งการเผยแผ่พระธรรมในดินแดนลาวให้แผ่หลายดังที่สามารถเห็นได้ในโครงการที่ยาท่านใหญ่ได้ดำเนินการมาดังที่ได้กล่าวไว้ก่อนแล้วนั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 ก.ย.ทางคณะสงฆ์จากศูนย์กลางและท้องถิ่น ตลอดจนพ่อแม่ประชาชน บรรดาศิษยานุศิษย์ได้พากันมาที่วัดป่านาคูนน้อย เพื่อประชุมจัดตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบงานจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างเป็นทางการคือคระกรรมการรับผิดชอบจากด้านบนประสานกับท้องถิ่น
มติของที่ประชุมให้บรรจุพระศพของยาท่านใหญ่ไว้ในโกศแก้ว(หีบแก้ว)และกำหนดการบำเพ็ญกุศลไปจนกระทั้ง 50 วันและ 100 วัน หลังจากนั้นจึงจะได้พิจารณาต่อไปว่าจะกำหนดวันถวายพระเพลิงศพหรือจะรักษาไว้ในโกศแก้ว และสร้างโรงไว้เหมือนกับพระอาจารย์มหาปาน อานันโท ดังที่เคยทำมาที่วัดโศกป่าหลวงเมืองก่อน แต่ก็ยังไม่ได้ตกลงกันชัดเจน แต่ตามเจตนารมณ์ของลูกศิษย์ญาติโยมต้องการให้รักษาไว้ในโกศแก้วเพื่อกราบไหว้บูชาต่อไปตามแต่อัตภาพและกาลเวลาจะอำนวย
ดังนั้นการกำหนดการถวายพระเพลิงศพของยาท่านใหญ่นั้นยังไม่ได้กำหนดและจะรักษาไว้จึงขอให้ได้ติดตามข่าวต่อไปและขอให้ศิษยานุศิษย์ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเพื่อแสดงถึงความไว้อาลัยถึงคุณงานความดีและคำสอนของอาจารย์ใหญ่ตามปรกติจนกว่าจะรู้กำหนดการที่แน่นอน
ทั้งๆที่ยาท่านใหญ่ดร.พระมหาชาลีเป็นคนไทย แต่คงต้องยอมรับกันว่าคนไทยรับทราบคุณูปการของท่านน้อยมาก อย่างไรก็ตามในสารมิตรภาพไทย-ลาวปี2555 ของสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพที่มีดร.วีรพงษ์ รามางกูรเป็นนายกสมาคม ได้เผยแพร่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในด้านต่างๆ ร่วมถึงด้านศาสนาและวัฒนธรรมที่รายงานถึงคณะกรรมการ องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว (อ.พ.ส.) 2554-ปัจจุบัน สังคม วัฒนธรรม ลาว โดย หอมหวล บัวระภา bhomhu@kku.ac.th ความโดยสรุปว่า
องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว (อ.พ.ส.)เป็นองค์การสงฆ์ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นด้วยความเห็นพร้องต้องกันของคณะสงฆ์และรัฐบาล แห่ง สปป.ลาว ด้วยเห็นว่า พระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐานอย่างมั่นคง ผ่านวิวัฒนาการของชาติลาวมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ดังปรากฏในธรรมนูญปกครองสงฆ์ลาว พ.ศ.2541 ว่าพฤติกรรมอันแท้จริงยืนยันให้พวกเราเข้าใจว่า“พุทธศาสนาจะตัดแยกออกจากชาติไม่ได้และพระสงฆ์สามเณรจะตัดแยกออกจากญาติโยมทุกชนเผ่าไม่ได้”
ประวัติศาสตร์ของชาติลาวที่ผ่านมาได้บ่งชี้ว่า พระสงฆ์ลาวในทุกยุคสมัยล้วนถือธงชาติเป็นชีวิตจิตใจและถือศีลธรรมเป็นปัจจัย เป็นส่วนประกอบในการกอบกู้เอกราชทั่วผืนแผ่นดินลาวและสนับสนุนพรรค-รัฐ สร้างบ้านแปงเมือง เพื่อความสุขของญาติโยมลาวทุกชนเผ่าและความ ศิวิไลซ์ของประเทศชาติเหนือจิตใจแห่งความเป็นเอกราชของชาติองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว ได้รับการสถาปนาขึ้น เพื่อความเป็นเอกภาพทางหลักศีลธรรมและการปฏิบัติให้สอดคล้องกับสภาพเปลี่ยนแปลงใหม่ของบ้านเมือง จึงได้ปรับปรุงกฎระเบียบที่กองประชุมใหญ่ผู้แทนพระสงฆ์ทั่วประเทศ ครั้งที่ 3 รับรองมาเป็น“ธรรมนูญปกครองสงฆ์” ฉบับปัจจุบัน (ฉบับ พ.ศ.2541)
ดังปรากฏในธรรมนูญปกครองสงฆ์ หมวดที่ 4 การจัดตั้งคณะบริหารสงฆ์ในมาตรา 11 ที่ว่า ให้มีการจัดตั้งคณะบริหารศาสนกิจ เป็นองค์การนําพาของพระสงฆ์ลาวขึ้น เรียกว่า “องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว เรียกและเขียนคําาย่อว่า อ.พ.ส.” ให้ถือเอาตราพระธรรมจักรเป็นเครื่องหมาย และมีตราประทับประจําตำแหน่งการจัดตั้งตามระเบียบ อ.พ.ส. ครั้งที่ 3 มีตัวหนังสือเขียนอยู่ข้างบนว่า องค์พุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว ขอบข้างล่างเขียนชื่อตําแหน่งและตรงกลางมีตราธรรมจักรสำนักงานของคณะบริหารงานสงฆ์ ศูนย์กลางตั้งอยู่เมืองหลวงของประเทศหรือตามที่สนักงานศูนย์กลางพรรคและรัฐตั้งอยู่
มาตรา 12 องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาวมีการจัดตั้งขึ้นตามการรวมศูนย์ประชาธิปไตยร่วมกันเป็นคณะรับผิดชอบเป็นบุคคล ทุกคนขึ้นอยู่กับการจัดตั้ง เสียงส่วนน้อยขึ้นอยู่กับเสียงส่วนมากชั้นล่างขึ้นสู่ชั้นบน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับกองประชุมใหญ่กองประชุมใหญ่ผู้แทนสงฆ์ทั่วประเทศเลือกตั้งคณะผู้บริหารงานสงฆ์ศูนย์กลาง ส่วนการประชุมใหญ่ระดับท้องถิ่นเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสงฆ์ในระดับเดียวกัน โดยวิธีเปิดเผยหรือวิธีปิดลับแล้วแต่ความเหมาะสม
มาตรา 13 อ.พ.ส. ปกครองสงฆ์มีการจัดตั้งเป็น 4 ระดับ ดังนี้ 1. อ.พ.ส. ระดับศูนย์กลาง 2. อ.พ.ส. ระดับแขวง กำแพงนคร เขตพิเศษหรือเทศบาลแขวง, นครหลวงเวียงจันทน์ เขตพิเศษ 3. อ.พ.ส. ระดับเมือง หรือระดับ เทศบาลเมือง 4. อ.พ.ส. ระดับวัด 13.1 อ.พ.ส. ระดับศูนย์กลางประกอบด้วยผู้แทนพระสงฆ์ทั่วประเทศอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 30 องค์ อย่างมากไม่เกิน 45 องค์ ในนั้นเป็นคณะประจํา 11 องค์ ประกอบด้วยประธาน 1 องค์ รองประธาน 4 องค์ นอกนั้นเป็นคณะ
13.2 อ.พ.ส. ระดับแขวง กำแพงนครหรือเขตพิเศษ ประกอบด้วย กรรมการ อย่างน้อย 11 องค์ อย่างมากไม่เกิน 25 องค์ ในนั้น 3 ถึง 7 องค์เป็นคณะประจำประกอบด้วยประธาน 1 องค์ รวมทั้งเป็นผู้ประจำการ รองประธาน 4 องค์ นอกนั้นเป็นคณะ ทุก 3 เดือนต้องรายงานให้ระดับสูงถัดจากตนขึ้นไประดับหนึ่ง ทุกหนึ่งปีประชุมสามัญครั้งหนึ่ง เพื่อสรุปงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา และวางแนวทางข้างหน้าการจัดตั้งในชั้นแขวงหรือเมือง ให้จัดตั้งเป็นกรรมการรับผิดชอบงานต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกับท้องถิ่น
13.3 อ.พ.ส. ปกครองเมืองหรือเทศบาลเมืองประกอบด้วยกรรมการ 7 – 15 องค์ ในนั้น 3 – 5องค์ เป็นคณะประจําหนึ่งองค์เป็นประธานทั้งเป็นประจําการ 3-4 องค์เป็นรองประธาน นอกนั้นเป็นคณะกรรมการ หนึ่งปีประชุมกันหนึ่งครั้ง เพื่อสรุปผลงานประเมินผลดีผลเสียและบทเรียนทุกสามเดือนรายงานสภาพการให้ระดับสูงถัดจากตน ในกรณีรีบด่วนต้องรายงานทันที
มาตรา 14 กงจักรบริหารของ อ.พ.ส. ระดับศูนย์กลางมี 4 กรรมาธิการ 14.1 กรรมาธิการฝ่ายปกครองสงฆ์ 14.2กรรมาธิการฝ่ายศึกษาสงฆ์ 14.3 กรรมาธิการฝ่ายเผยแพร่ศีลธรรม และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 14.4 กรรมาธิการฝ่ายสาธารณูปการให้ประธานแต่งตั้ง 1 องค์เป็นหัวหน้าห้องการศูนย์กลาง อ.พ.ส. และเลือกเอาคณะพระวินัยธร 3 – 5 องค์พระคณะธรรมธร 3 – 5 องค์
ในหมวดที่ 7 ที่ว่าด้วยกองประชุมอ.พ.ส.ในมาตรา 26 พระสงฆ์ทั่วประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ต้องเข้าร่วมกองประชุมใหญ่สามัญประจําาปี ตามการกําาหนดของประธานศูนย์กลาง อ.พ.ส. เพื่อรับฟังรายงานการสรุปศาสนกิจประจําปี ประเมินจุดดีจุดอ่อน และถอดถอนบทเรียนพิจารณารับเอาแผนต่อไปและปัญหาอื่นๆ เพื่อปฏิบัติต่อไป
มาตรา 27 กองประชุมใหญ่พระสงฆ์ทั่วประเทศ 5 ปี เปิดครั้งหนึ่งเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารงานสงฆ์ศูนย์กลางชุดใหม่ และกองประชุมใหญ่ระดับล่างเลือกตั้งคณะบริหารงานสงฆ์ระดับท้องถิ่นชุดใหม่ในกองประชุมใหญ่ หลังจากได้รับฟังรายงานในรอบ 5 ปีผ่านมาของ อ.พ.ส. ชุดเก่าแล้วให้พระสงฆ์อาวุโสมีคุณธรรม สุขภาพดีสมัครรับเลือกตั้งหรือเสนอชื่อในเมื่อไม่มีผู้สมัคร ศูนย์กลาง อ.พ.ส. ต้องดําเนินการเลือกตั้ง ใน 2 วิธี
คือ 1.เสนอชื่อตามจํานวนคาดหมาย 30 องค์หรือ 45 องค์ ครั้งเดียวแล้วให้เลือกแบบปิดลับ หรือเปิดเผยแบบใดก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสมองค์ที่ได้คะแนนสูงสุด ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานศูนย์กลาง อ.พ.ส. แล้วให้ผู้ถูกเลือกเป็นประธานคัดเลือกเอา 4 องค์ ตามความพอใจเพื่อแต่งตั้งเป็นรองประธาน
2. ให้ประธานศูนย์กลาง อ.พ.ส. ในจําานวน30 องค์ หรือ 45 องค์ สมัครเลือกตั้งเป็นประธานตามแบบปิดลับหรือเปิดเผย ในแบบที่หนึ่ง องค์ใดคะแนนสูงเป็นประธาน องค์ใดมีคะแนนรองลงมาเป็นรองประธาน 4 องค์ เพื่อรับผิดชอบ กรรมาธิการ แล้วให้ประธานและรองประธานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแต่งตั้งพระหัวหน้าสําานักงาน 1 องค์ คณะพระวินัยธร 3 หรือ 5 องค์ และคณะพระธรรมธร 3-5 องค์
มาตรา 28 ให้ประธานศูนย์กลาง อ.พ.ส. องค์เก่าประสานกับคณะประจําาศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ เสนอชื่อประธาน อ.พ.ส. องค์ใหม่ รับทราบแล้วให้ลงลายเซ็นใบแต่งตั้ง ถวายประธานกรรมาธิการกล่าวคือ รองประธานทั้ง 4 องค์ หัวหน้าสําานักงานอ.พ.ส. 1 องค์ คณะพระวินัยธร และคณะพระธรรมธรตามลําดับ
3.คณะกรรมการองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว(อ.พ.ส.)ชุดใหม่ 2554-ปัจจุบันในที่ประชุม พระอาจารย์เหวด มะเสไน เจ้าอาวาสวัดสีสะเกด เวียงจันทน์ได้เสนอมติต่อกองประชุมใหญ่ผู้แทนพระสงฆ์ทั่วประเทศ สมัยที่ 6 เพื่อตกลงแต่งตั้งพร้อมกับรับรองคณะกรรมการบริหารงานประจําาศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาวจํานวน 18 รูปคือ 1.พระอาจารย์มหาผ่อง สมาเลิก 2.พระอาจารย์มหางอน ดํารงบุน 3.พระอาจารย์มหาจะรุน วชิรรังสี
4.พระอาจารย์มหาชาลี กันตสีโล 5.พระอาจารย์มหาบัวคํา สารีบุด 6.พระอาจารย์มหาบุนมา สิมมาพม 7.พระอาจารย์เหวด มะเสไน 8.พระอาจารย์บุนสี วงพูมี 9.พระอาจารย์คำมา ปันยาวิจิด 10.พระอาจารย์พูมสะหวัน พันทะบัวลี 11.พระอาจารย์สุขี เฮือนมุงคุน 12.พระอาจารย์ดาวเฮือง คำปะเสิด 13.พระอาจารย์สีทน ไซยวงสอน 14.พระอาจารย์บุนทะวี ประสิดทิสัก 15.พระอาจารย์บุนส่วน แก้วพิลม 16.พระอาจารย์ถาวอน พอนปะเสิด 17.พระอาจารย์วันนา สุริยะวง18.พระอาจารย์บุนส่วน พันทะวง
ที่ประชุมได้แต่งตั้งและรับรองประธานคณะกรรมการศูนย์กลาง องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาวสมัยกองประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6 ประกอบด้วยพระเถระชั้นผู้ใหญ่ดังนี้ 1.พระอาจารย์มหาผ่อง สมาเลิก ประธานคณะกรรมการศูนย์กลาง องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว มีหน้าที่รับผิดชอบชี้นํารวม ปฎิบัติงานกิจการต่างประเทศ 2.พระอาจารย์มหางอน ดำรงบุน เป็นรองประธานรูปที่ 1 รับผิดชอบกิจกรรมงาน อ.ส.พ. ใน 5 แขวงภาคใต้ 3.พระอาจารย์มหาจะรุน วชิรรังสี เป็นรองประธานรูปที่ 2 รับผิดชอบกรรมาธิการสาธารณูปโภคสาธารณูปการ
4.พระอาจารย์มหาชาลี กันตสีโล เป็นรองประธานรูปที่ 3 รับผิดชอบกรรมาธิการเผยแผ่ศีลธรรมและปฏิบัติวิปัสสนากัมมฐาน 5.พระอาจารย์มหาบัวคำ สารีบุด เป็นรองประธานรูปที่ 4 รับผิดชอบกรรมาธิการศึกษาสงฆ์ 6.พระอาจารย์มหาบุนมา สิมมาพม เป็นรองประธานรูปที่ 5 รับผิดชอบกรรมาธิการปกครองสงฆ์ 7.พระอาจารย์เหวด มะเสไน เป็นรองประธานรูปที่ 6 เป็นผู้ประจําการสํานักงาน นอกจากนี้ยังได้แต่งตั้งให้พระอาจารย์พูมสะหวัน พันทะบัวลีเป็นหัวหน้าห้องการศูนย์กลาง อ.พ.ส.
3.ในธรรมนูญปกครองสงฆ์ลาว ได้ระบุสิทธิหน้าที่ของผู้ดําารงตําาแหน่งใน อ.พ.ส.ไว้ในหมวดที่ 5 ดังนี้มาตรา 17 หน้าที่ อ.พ.ส. ศึกษาสงฆ์ 1.ปรับปรุงการศึกษาสงฆ์ ให้ได้ศึกษาพระธรรมวินัย, ภาษาบาลี, สันสกฤต, ภาษาสากลและการศึกษาประสมประสานกับวิชาการทางโลก ที่เกี่ยวข้องกับสังคมอย่างพอเหมาะและก้าวหน้า 2.จัดให้มีกองวิชาการแต่งแบบเรียนธรรมวินัย, ภาษาบาลี, สันสกฤตแบบง่ายๆ รับรู้ได้เร็วและนําาไปใช้อย่างถูกต้องและแบบเรียนวิชาอื่นๆ
3.ให้มีห้องสมุดค้นคว้าไปพร้อมๆ กับการขยายเครือข่ายการศึกษาให้ได้อย่างน้อยแขวงละ 1 - 2แห่ง และในทุกเมืองใหญ่ 4.ให้มีการจัดตั้งโรงเรียนพุทธยุวชนวันอาทิตย์ เน้นการปลูกฝังศีลธรรมประสานกับวิชารับใช้สังคมและภาษาสากล 5.สร้างครูสงฆ์ให้มากขึ้น ทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยจัดให้มีขึ้นทั่ว สปป. ลาว 6.จัดส่งพระเณรที่เรียนจบมัธยม หรือจบมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทุกๆ ปี ไปประจําการอยู่ตามแขวงหรือเมือง หรือวัดที่ขาดพระเณรทั่วประเทศ เพื่อบริหารศาสนกิจตามกฎระเบียบของโรงเรียนสงฆ์อย่าง
เข้มงวด
มาตรา 18 หน้าที่ อ.พ.ส. เผยแพร่ศีลธรรมและปฏิบัติกรรมฐาน 1.จัดตั้งสังฆบัญญัติ, สังฆาณัติกฎระเบียบสงฆ์ ในการดําาเนินการเผยแพร่ศีลธรรม ฝึกอบรมพระธรรมกถึกในหลายรูปแบบ และปฏิบัติกรรมฐานให้กว้างขวางทั่วประเทศ
2.ฝึกอบรมพระวิทยากร, วิปัสสนากร ให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ แต่ละปีไม่ต่ำกว่า 10 องค์เมื่อถึงปี 2000 ต้องให้ทุกแขวง และเขตพิเศษ อย่างน้อย 2 – 3 องค์ขึ้นไป 3.ใช้วิทยากรผู้มีประสบการณ์สูงทั้งฝ่ายสงฆ์และคฤหัสถ์อย่างเหมาะสม ตามคำชี้แนะของศูนย์กลาง อ.พ.ส. เพื่อให้มีวิชาการทั้งภาคปฏิบัติและการเผยแผ่ศีลธรรมและวิชาอื่นๆ ดําเนินไปพร้อมๆ กัน
สรุปความ บทความนี้ได้แสดงที่มาขององค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว พร้อมกับคณะกรรมการชุดใหม่พร้อมกับสิทธิบทบาทหน้าที่ ที่ปรากฏในธรรมนูญปกครองสงฆ์ พ.ศ. 2541 ซึ่งจะทําาให้มองเห็นโครงสร้างการบริหารงานของคณะสงฆ์ลาว ในการบริหารปกครองสงฆ์ให้ก้าวทันโลกสมัยใหม่ เป็นการปฏิบัติศาสนกิจช่วยเหลือรัฐบาลภายใต้ระบอบสังคมนิยมที่เคร่งครัดพอประมาณระบอบการเมืองมิใช่อุปสรรคในการบริหารจัดองค์กรสงฆ์ สิ่งที่สําคัญและเป็นอุปสรรคสำคัญก็คือการบริหารกิจการสงฆ์จะฝ่าวิกฤตจากการไหลบ่าท่วมทับของกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีแรงเหวี่ยงของทุนนิยมที่แรงและเร็วได้อย่างเข้มแข็งเพียงไร เหมือนกับคณะสงฆ์ไทยเจอปัญหาอุปสรรคในการบริหารกิจการสงฆ์ในภาวการณ์ปัจจุบัน
.....................
สำราญ สมพงษ์รายงาน(FB-samran sompong)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต
วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น