วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

คืบสร้าง'รพ.พระพุทธเจ้า'วัดไทยพุทธคยา อีกหนึ่งศาสนกิจพระธรรมทูตไทยในต่างแดน

              การปฏิบัติศาสนากิจของพระธรรมทูตไทยที่เดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดนนั้น นอกจากจะทำหน้าที่ในการสอนธรรมแล้วยังต้องทำหน้าที่บริการสังคมในพื้นที่นั้นๆด้วย

              อย่างเช่นที่ประเทศอินเดีย พระราชรัตนรังษี หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ได้มีความริเริ่มที่จะสร้างโรงพบาลขึ้นโดยให้ชื่อว่า"สถานพยาบาลวัดไทยพุทธคยา" ขณะนี้ก็ดำเนินการต่อสร้างเสร็จไปมากแล้ว

              ล่าสุดเฟซบุ๊กวัดไทยพุทธคยาได้รายงานภาพพร้อมระบุว่า พระราชรัตนรังษีตรวจสอบความคืบหน้าและให้คำปรึกษากับสถาปนิกและช่าง ในการสร้างโรงพยาบาลพระพุทธเจ้าวัดไทยพุทธคยา ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุงก่อสร้าง เพื่อเตรียมพร้อมในการต้อนรับผู้แสวงบุญในช่วงเทศกาลที่จะมาถึง และเพื่อเป็นสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานระดับสากล ในการให้บริการการรักษาสำหรับพระสงฆ์และผู้แสวงบุญ ทั้งชาวไทยและต่างชาติ

              พร้อมกันนี้ยังได้รายงานว่า ทางวัดไทยพุทธคยาโดยพระราชรัตนรังษีได้ลงนามนามกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คือ รศ.ดร.สุรชัย จิวเจริญสกุล คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ในการพัฒนากิจการงานที่จะพัฒนาการศึกษา วัฒนธรรมและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตลอดถึงการร่วมมือในการฝึกอบรมบุคลากร การส่งนิสิตร่วมปฏิบัติสหกิจการศึกษา ณ แดนพุทธภูมิ เพื่อรองรับงานพระศาสนา และโครงการบรรพชาอุปสมบท เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 45 ปี คณะศึกษาศาสตร์ และ 72 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

              นับได้ว่ากิจกรรมของวัดไทยพุทธคยาเป็นสิ่งที่น่ายินดีน่าอนุโมทนายิ่ง เพราะในครั้งพุทธกาลนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงให้ความสำคัญกับการรักษาพระป่วยแม้นแต่พระพุทธองค์ก็ยังทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เอง และด้วยพุทธกิจดังกล่าวชาวพุทธในอดีตจึงมีการพัฒนสถานพยาบาลพระและโยมป่วย ทั้งนี้จะทำอย่างไรให้เป็นเอกภาพแสดงพุทธนุภาพมากกว่าเป็นอั
ตานุภาพอย่างไร

              ทั้งนี้บล็อกเกอร์ศุภศรุตได้เขียนบทความเรื่อง “อโรคยศาลา” พยาบาลสถานแห่งพระพุทธเจ้ากับข่าวคราวครั้งล่าสุด !!! อโรคยศาลาคืออะไร ? เมื่อปี 2552 (http://www.oknation.net/blog/voranai/2009/08/20/entry-1) โดยลงความเห็นว่า  "อโรยศาลา หรือ ที่ผมเรียกว่า “พยาบาลสถานแห่งพระพุทธเจ้า” เป็นชื่อรวมของสถานที่หนึ่ง ที่มีการจัดพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆ ส่วนที่เราเห็นหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็น “ประภามณฑลแห่งอำนาจของพระพุทธเจ้าไภษัชยไวฑูรยประภาสุคต” ประกอบด้วย “หอพระ” หรือ “ปราสาทประธาน” (Chapel - Shrine) ตั้งอยู่กลาง “มณฑลศักดิ์สิทธิ์” ที่ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วบนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม" ทั้งนี้โดยมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับอโรยศาลาสมัย "พระเจ้าชัยวรมันที่ 7"  

              บล็อกเกอร์ศุภศรุต ได้ระบุต่อว่า "คำถามหนึ่งที่น่าสนใจ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้รับ “แรงบันดาลใจ” จากไหน ถึงได้โปรดให้สร้างอโรคยศาลามากมายทั่วพระราชอาณาจักร ?

               คำตอบก็คือ ในยุคหนึ่ง พระองค์ “อาจ” เคยได้เสด็จไปถึงชมพูทวีป(อินเดีย) ในคราวหนีการปกครองของพระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน ผู้ยึดครองบัลลังก์ ตามตำนานเก่าแก่ในประเทศอินเดีย – ลังกา เล่าว่าเคยมีกษัตริย์แห่งศรียโสธรปุระเสด็จกลับไปครองราชย์ที่อินเดีย - ลังกา ซึ่งนั่นก็น่าจะหมายถึงพระองค์เท่านั้น

              พระองค์คงได้ศึกษาและได้ยินเรื่องราวของ “พุทธมหาราชา” ในอดีต อย่างน้อย 2 พระองค์ ได้แก่ “พระเจ้าอโศกมหาราช”  และ “พระเจ้ากณิษกะ”แห่งอาณาจักรกุษาณะ

              มหาราชาทั้งสอง เป็นผู้อุปถัมภกพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ ในการทำนุบำรุงและควบคุมบ้านเมืองภายหลังสงครามรวบรวมอาณาจักร ทั้งสองพระองค์ทำเหมือนกันหลายอย่าง อย่างหนึ่งก็คือ การสร้างพยาบาลสถานและการขุดบ่อน้ำไว้ทั่วทุกตำบลใน “ขอบเขต” ปกครอง

              ประโยชน์ทาง “การเมือง” ที่ได้จากการสร้าง “พยาบาลสถาน” ของพุทธกษัตริย์โบราณ คือ การประกาศขอบเขต ”เดชานุภาพ” ของพระองค์โดยพฤตินัย ด้วยอาคารและผู้คนที่มีรูปแบบเดียวกัน การบริหารขึ้นตรงต่อราชสำนักกลาง บ้านเมืองใด ไม่สร้างอโรคยศาลา ไม่ประดิษฐานรูปเคารพแห่งศูนย์กลางอาณาจักร ก็เป็นที่ชัดเจนว่า บ้านเมืองนั้นเอาใจออกห่าง และผลที่ตามมาก็คือ “สงครามปราบกบฏ” !!!

              ประโยชน์สำคัญในทางสังคม คือการทำนุบำรุงไพร่ฟ้าประชาชน ให้อยู่ดีมีสุข ด้วยการรักษาโรคโดยไม่คิดค่ารักษา อโรคยศาลาคือที่พึ่งทั้งทางกายและจิตใจของไพร่ฟ้าประชาชน สามารถสร้างเงื่อนไขความผูกพันให้ประชาชนจงรักภักดี สวามิภักดิ์ต่อผู้ปกครองตลอดรัชสมัย การบูชาสักการะพระพุทธเจ้าแห่งอาณาจักรและพระราชาผ่านพยาบาลสถาน มีผลทางจิตวิทยากับประชาชนเป็นอย่างมาก

              แรงบันดาลใจจากอดีตนี้ คงเป็น “แรงขับ” สำคัญที่ส่งผลให้พระเจ้าศรีชัยวรมัน ประกาศตนเป็นพุทธมหาราชาทั้งทางเดชานุภาพของอาณาจักรกัมพุชเทศ พร้อมผลในการทำนุบำรุงไพร่ฟ้าประชาชนด้วยการสร้าง “พยาบาลสถาน” ขึ้นไปพร้อมกัน เฉกเช่นพุทธมหาราชาผู้ยิ่งใหญ่ในครั้งอดีต !!!"

              นับได้ว่าเป็นข้อมูลที่พระธรรมทูตนำมาประยุกต์ใช้ในเหตุการณ์ปัจจุบันได้



.................................

สำราญ สมพงษ์รายงาน(FB-samran sompong)รายงาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กกต.เตือนผู้ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็น สว. ศึกษาและทำความเข้าใจระเบียบการแนะนำตัวให้เป็นไปตามกฎหมาย

   เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567  ด้วยปรากฏว่ามีบุคคล กลุ่มบุคคล ได้ดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเล...