กรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรมได้เปิดวิสัยทัศน์สานสมพันธ์ศาสนิกอาเซียน โดยได้นำคณะผู้แทนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ไทย เดินทางไปเจรจาหารือเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ณ ประเทศมาเลเซียน ระหว่างวันที่ 5-7 ก.ย.ที่ผ่านมานั้น
มีคณะผู้แทนประกอบด้วย นายกฤษฎา คงคะจันทร์ รองอธิบดีกรมการศาสนา พระมหาสาธิต สาธิโต ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ มจร และจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผู้แทนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดใหม่ทุ่งคา จังหวัดสงขลา ผู้แทนเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย วัฒนธรรมจังหวัดสงขลา และเจ้าหน้าที่กรมการศาสนาได้เดินทางไปที่ประเทศมาเลเซีย
นายกฤษฎา ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมครั้งนี้ว่า เพื่อแสวงหาความร่วมมือในกรอบอาเซียน ผ่านกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยใช้ภาษา วัฒนธรรมไทยเป็นสื่อกลาง อันจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศมากขึ้น กิจกรรมดำเนินการ มีเป้าหมายในการพัฒนาหลักสูตร ธรรมะอินเตอร์ มุ่งสอนพัฒนาเด็กให้สามารถสื่อสารพระพุทธศาสนา วัฒนธรรมเป็นภาษาอังกฤษได้ โดยมีองค์กรเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นต้น
กิจกรรมเริ่มจากวันที่ 5 ก.ย.ในเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศมาเลเซีย คณะผู้แทนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ไทย ได้เดินทางถึงวัดวิสุทธิประดิษฐาราม บ้านปลายระไม อำเภอเปิ้นดัง รัฐเคดาห์ โดยมีผู้หลักผู้ใหญ่และชาวบ้านชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยสยาม ตั้งวงกลองยาวรอให้การต้อนรับ ในโอกาสที่คณะผู้แทนไทยฯเดินทางมาเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา ซึ่งตั้งขึ้นมากว่า 50 ปี ใช้เป็นที่สอนภาษาไทยและสอนธรรมะแก่เด็กไทยในชุมชนคนไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดไทยที่เข้าร่วมโครงการใน 5 รัฐทั่วประเทศมาเลเซีย จำนวนนักเรียนประมาณ 2,000 คน โดยมีการเรียนการสอนธรรมศึกษาชั้นตรี โท เอก ในวันหยุดราชการ (วันศุกร์-เสาร์) และมีการเรียนภาษาไทยในวันอาทิตย์-พฤหัสบดี ในช่วงเย็น
จากนั้นคณะผู้แทนไทยฯได้เจรจาหารือกับองค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซีย (PERTUBUHAN SAMI BUDDHA KETURUNAN SIAM MALAYSIA) ซึ่งประกอบด้วยพระราชธรรมธาดา เจ้าอาวาสวัดเทพบัณฑิต ในฐานะประธานองค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซีย รวมทั้งเจ้าคณะรัฐเคดาห์-เปอร์ลิส ประธานองค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซีย พระวิสุทธิศีลคุณ เจ้าอาวาสวัดวิสุทธิประดิษฐาราม รองเจ้าคณะรัฐเคดาห์-เปอร์ลิส พระนิโครธธรรมธาดา เจ้าอาวาสวัดนิโครธาราม รองเจ้าคณะรัฐเคดาห์-เปอร์ลิส พระครูสุเทพวรารักษ์ เจ้าอาวาสวัดเทพชุมนุม ประธานกรรมการศึกษาคณะสงฆ์มาเลเซีย และพระครูพิพัฒน์ธรรมกิจ เจ้าคณะอำเภอเปิ้นดัง รัฐเคดาห์
ในโอกาสนี้ ประธานองค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซียได้กล่าวสัมโมทนียกถาและแสดงความยินดีที่คณะผู้แทนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ไทยได้มาเยี่ยมและยินดีในความร่วมมือของการจัดตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในมาเลเซีย โดยพระครูสุเทพวรารักษ์ ประธานกรรมการศึกษาคณะสงฆ์มาเลเซีย และพระมหาสิริสำพันธ์ จนฺทสาโร เลขานุการกรรมการศึกษาคณะสงฆ์มาเลเซีย ได้กล่าวถึงการศึกษาภาษาไทยและการเรียนพระพุทธศาสนาของเด็กและเยาวชนและคณะสงฆ์มาเลเซีย ซึ่งมีการเรียนพระพุทธศาสนาและธรรมศึกษาต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว โดยมีวัดไทยที่เข้าร่วมโครงการใน 5 รัฐทั่วประเทศมาเลเซีย จำนวนนักเรียนประมาณ 2,000 คน
โดยมุ่งเน้นสอนให้นักเรียนสามารถอ่านออกเขียนภาษาไทยได้ก่อน เนื่องจากภาษาไทยจะเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ความเข้าใจในธรรมศึกษาล้ว จึงให้ความคู้ด้านธรรมศึกษา โดยใช้หลักสูตรการศึกษาของกองบาลี และได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลมาเลเซีย การเรียนการสอนในลักษณะที่เป็นการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของชุมชนด้วย อีกทั้งยังเป็นการให้เด็กและเยาวชนได้เข้ามาอยู่ใกล้ๆ วัด ซึ่งเป็นศูนย์กลางร่วมมือร่วมใจในชุชน เพื่อเป็นการอบรมบ่มนิสัย และส่งเสริมให้เกิดคุณธรรมและจริยธรรม อันจะเป็นหลักในการดำรงชีวิตต่อไป โดยคณะกรรมการฯ ของวัดยังได้กล่าวขอให้ทางการไทยให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา เนื่องจากยังประสบปัญหาในเรื่องการขาดบุคลากร ครูอาจารย์สอนภาษาไทย และขาดสื่อการเรียนการสอน
ในโอกาสนี้ คณะผู้แทนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ไทย ได้รับทราบการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ไทยของวัดวิสุทธิประดิษฐาราม รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการของการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในภาพรวมด้าย
กรมการศาสนามีความยินดีที่จะขยายความร่วมมือและสนับสนุนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในประเทศมาเลเซียและอาเซียนด้วย เพื่อให้เด็กและเยาวชนของไทยและอาเซียนที่นับถือพระพุทธศาสนาได้มีโอกาสเรียนรู้พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เป็นสื่อกลาง อีกทั้งยังเป็นการเสีงเสริมบรรยากาศการรียนรู้ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และขนบธรรมเนียมของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อตอบสนองการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและเป็นรากฐานในการสร้างอัตลักษณ์อาเซียนร่วมกันต่อไปในอนาคต
ในโอกาสนี้ ประธานและองค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซียได้กล่าวชื่นชม และอนุโมทนาในเจตนาอันเป็นกุศลนี้ ซึ่งจะยังประโยชน์ให้แก่เด็ก เยาวชน และชาวพุทธในประเทศอาเซียนได้ต่อไป ในตอนท้าย คณะผู้แทนไทยฯ ได้ร่วมกันถวายอุปกรณ์การศึกษาและทุนสนับสนุนการศึกษาจำนวนหนึ่งให้แก่องค์การคณะสงฆ์สยามมาเลเซีย เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาของคณะสงฆ์กิจการของศูนศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในประเทศมาเลเซียอีกด้วย
วันที่ 6 ก.ย.คณะผู้แทนไทยฯได้เดินทางไปที่วัดจันทร์หอม ตำบลเสาะ อำเภอเซะ รัฐเคดาห์ ซึ่งเป็นวัดศูนย์รวมของชาวพุทธ และเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนพุทธศาสนาของเด็กและเยาวชนที่มีชื่อเสียงในประเทศมาเลเซีย โดยมีพระครูสมุห์เซี้ยน สุเมธโส เจ้าอาวาสวัดจันทร์หอม เนื่องจากในวันดังกล่าวมีการจัดพิธีฉลองอายุวัฒนมงคล 54 ปี 31 พรรษา ของพระปลัดเจริญ อุตตโร รองเจ้าคณะอำเภอเซะ และฉลองเปรียญธรรม 9 ประโยค ประจำปี พ.ศ.2556 ให้กับพระมหาจารัญ พุทธปฺปิโย โดยมีพระธรรมวงศาจารย์ เจ้าคณะภาค18 เป็นประธานในพิธี ในโอกาสนี้ คณะผู้แทนไทยฯและญาติโยมในชุมชนอำเภอเซะร่วมงานเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ได้ทราบว่าพระมหาจารัญเป็นพระภิกษุชาวมาเลเซียรูปแรกในประเทศมาเลเซียที่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยคดังกล่าว
วันที่ 7 ก.ย. เวลา 09.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศมาเลเซีย คณะผู้แทนไทยฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมและทัศนศึกษาวัพุทธ วัดไทยต่างๆ ในรัฐปีนัง ได้แก่ 1) วัดบุปผาราม ซึ่งเป็นวัดที่มีความหมายดังคำว่า “วัดดอกไม้” ที่ตั้งอยู่ใน Pulau Tikus ในรัฐปีนัง ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2385 เป็นวัดที่มีขนาดกลาง แต่มีพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงกว่าร้อยปีประดิษฐานอยู่ วัดนี้เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของเครื่องรางที่คอยป้องกัน เป็นที่หาได้ยาก และใช้นับถือกันมีจำนวนน้อยมากในท้องถิ่น ปัจจุบันมีพระครูปโยโคเป็นเจ้าอาวาส
2) เวลา 10.00 น.น. ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศมาเลเซีย คณะผู้แทนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ไทย ได้เดินทางไปเยี่ยมชมและทัศนศึกษา ณ วัดไชยมังคลาราม ก่อสร้างในปี พ.ศ.2388 ตั้งอยู่ในเขตปูเลาติกุส และเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยเสด็จประพาสมาก่อน สถาปัตยกรรมของวัดไชยมังคลารามเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะไทย พม่า และจีนเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้วัดแห่งนี้มีสีสันสะดุดตา ดูแปลกไปจากวัดในประเทศไทย วัดไชยมังคลารามยังตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดพม่าธรรมิการาม ซึ่งเป็นวัดพม่าที่มีชื่อเสียงของรัฐปีนัง
3)เวลา 13.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศมาเลเซีย คณะผู้แทนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ไทย ได้เดินทางไปเยี่ยมชมและทัศนศึกษา ณ วัดปิ่นบังอร (ใน) เดิมชื่ิวัดบาตูลันจัง ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 ตั้งอยู่ริมถนนกรีนเลน (Green Lane) เป็นวัดที่มีเนือที่กว้างขวางมากถึงประมาณ 50 ไร่ อาคารสถานที่ของวัดมีบริบูรณ์ตามแบบอย่างวัดในเมืองไทย เคยเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลศพและเก็บศพของอดีตนายกรัฐมนตรี (พระยามโนปกรณ์นิติธาดา) ผู้ซึ่งลี้ภัยการเมืองไปอาศัยอยู่ในเมืองปีนัง และได้ถึงแก่อสัญกรรมลง ก่อนญาติมารับกลับไปกระทำพิธีพระราชทานเพลิงศพในกรุงเทพฯ ตามประเพณต่อไป ปัจจุบันมี พระครูวชิระธรรมาภินันท์ เป็นเจ้าอาวาส
จวบจนทุกวันนี้บนเกาะปีนังก็มีคนไทยที่สืบเชื้อสายจากคนรุ่นก่อนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากมาก และประชากรส่วนใหญ่ในปีนังเป็นคนเชื้อสายจีนที่เข้ามาทำมาค้าขาย และนับถือศาสนาพุทธ ทำให้เกาะปีนังมีวัดไทยที่เป็นศูนย์รวมของชาวพุทธ มีกิจกรรมทางศาสนาในวันสำคัญ ซึ่งวัดเหล่านี้ ล้วนเป็นวัดที่มีที่มีการจัดแสดงของเทศกาลชาวไทย เช่น ประเพณีลอยกระทง และประเพณีสงกรานต์ และในโอกาสต่างๆ จนเป็นที่รู้จักของชาวมาเลเซียและนักท่องเที่ยวโดยทั่วไป
การที่กรมการศาสนาทำกิจกรรมดังกล่าวนอกจากจะได้เห็นภาพพระพุทธศาสนาในประเทศมาเลเซียเป็นอย่างไรชัดขึ้นแล้ว ยังได้เป็นภาพคนไทยสยามด้วย
.........................
(หมายเหตุ : ศน.จัดจาริกเมเลย์ชมวัดเก็บศพ'อดีตนายกฯไทย' : สำราญ สมพงษ์(FB-samran sompong)รายงาน)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"
กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น