งานการปาฐกถาพิเศษ “ผนึกกำลังสู่อนาคต: เรียนรู้ร่วมกันจากประสบการณ์” หรือ "Uniting for the Future: Leaning form each other’s experiences" ที่รัฐบาลจัดขึ้นภายใต้การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศ ที่รร.พลาซ่า แอทธินี วันที่ 2 กัยายน
ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้สาธารณชนไทยได้รับฟังประสบการณ์จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ที่มีส่วนร่วมและประสบการณ์ในการส่งเสริมประชาธิปไตย และเสริมสร้างสันติภาพในหลายประเทศทั่วโลก ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับสังคมไทยในการสร้างอนาคตและส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย โดยมีองค์การระหว่างประเทศ นักวิชาการ มูลธิองค์การเพื่อประชาธิปไตย ภาคประชาชนเข้าร่วม
งานนี้ได้เชิญนายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร นายมาร์ตรี อาห์ติซารี อดีตประธานธิบดีฟินแลนด์ นางพริซิลลา เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน และที่ปรึกษาอาวุโส Centre for Humanitarian Dialogue (HDC) ร่วมเป็นองค์ปาฐก โดยมีองค์การระหว่างประเทศ นักวิชาการ มูลธิองค์การเพื่อ
ดูจากวัตถุประสงค์แล้ว มีคำที่สำคัญอยู่ 2 คำคือ "ประชาธิปไตย" กับคำว่า "สันติภาพ" ว่ามีนิยามความหมายอย่างไร เริ่มจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะที่เป็นประธานกล่าวเปิดงานที่ระบุว่า
"เมื่อกล่าวถึงประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้เพียงหมายถึงระบบที่เสียงข้างมากเป็นรัฐบาลและเสียงข้างน้อยเป็นฝ่ายค้าน แต่หมายรวมถึงวัฒนธรรมที่ประชาชนทุกคนเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และที่ทุกคนยึดและเคารพต่อหลักนิติรัฐ นิติธรรม"
นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ได้เสนอว่า "ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่ต้องรวมถึงการที่ผู้มีเสียงข้างมากเข้าไปดูแลเสียงส่วนน้อย ไม่ใช่ Winner takes all ไม่ได้หมายถึงอำนาจของพรรคการเมืองหนึ่ง แต่จะต้องสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมในสังคม ซึ่งในระบอบประชาธิปไตยจะต้องทำให้ระบบกฎหมายมีความน่าเชื่อถือ เป็นธรรม เพื่อที่คนในสังคมจะได้ยอมรับการบังคับใช้กฎหมายนั้นๆ"
นายโทนี่ แบลร์ยังได้กล่าวถึงการสร้างความปรองดองในประเทศไทยว่า ปัญหาในประเทศไทยต้องแก้ด้วยคนไทยเท่านั้น คนนอกไม่เกี่ยว เพียงแต่จะเข้ามาเล่าประสบการณ์และกระบวนการว่าเคยทำอย่างไรบ้าง การสร้างความปรองดองจะต้องสร้างให้เกิดโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับทุกคนได้แบ่งปันร่วมกัน เพื่อทำให้ทิ้งผลประโยชน์ส่วนตนไว้ก่อน ยกตัวอย่างการสร้างความปรองดองในไอร์แลนด์ คือการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม เพื่อจะได้ทิ้งความขัดแย้งไว้ก่อน เราต้องยอมรับว่าเราย้อนดูประวัติศาสตร์ได้ แต่เราต้องอย่าไปย้อนตัดสินประวัติศาสตร์ เพราะไม่มีทำให้ใครพอใจได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความขัดแย้งในไอร์แลนด์ คือการปล่อยนักโทษ
การทำให้คนเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับอดีต เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ดังนั้นจะต้องทำให้ทุกคนหันมาสร้างอนาคตใหม่ร่วมกันแทน และการออกจากความขัดแย้งคือต้องมองอนาคตร่วมกัน ชี้การปรองดองไม่ใช่ทำให้ทุกคนลืมอดีต ต้องยอมรับว่าความรู้สึกเจ็บปวดยังอยู่ แต่ต้องทำให้เห็นอนาคตที่ดีกว่าร่วมกัน ซึ่งการสร้างปรองดองจะต้องมีการทำ Frame work เพื่ออนาคต ป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก คงไม่สามารถย้อนไปแก้อดีตได้
นายโทนี่ แบลร์ กล่าวต่อว่า การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ เมื่อการเมืองสามารถนำมาได้ซึ่งนโยบายที่เป็นผลประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ความโปร่งใส ความธรรมาภิบาลของรัฐบาลที่ขึ้นมาบริหารประเทศ จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ประชาชน และนำไปสู่ความปรองดองง่ายขึ้น การปรองดองจะเกิดขึ้นได้เมื่อรัฐบาลสามารถที่จะดำเนินการในสร้างความเป็นอยู่ให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่าดีขึ้น ด้วยความโปร่งใส ซึ่งตอนนี้เราอาจจะไม่เชื่อในการปรองดอง แต่อย่างน้อยต้องมีการเริ่ม อย่าเพิ่งท้อ และแม้จะมีความแตกต่างแค่ไหน แต่จะต้องใช้ความพยายาม และนักการเมืองที่มีความตั้งใจในการนำไปสู่ความปรองดองเพื่อคนทั้งประเทศ
พร้อมกันนี้นายโทนี่ แบลร์ ยังได้แนะนำเพียวกับการปรองดองกับน.ส.ยิ่งลักษณ์โดยตรงว่า การสร้างความปรองดองไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องอาศัยความพยายามในการสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นแก่ทุกฝ่าย จุดเริ่มต้นที่สามารถลดความขัดแย้งได้ นั่นคือการที่รัฐบาลจะต้องดำเนินนโยบายที่ได้ประโยชน์แก่ประชาชนทุกฝ่ายเพื่อสร้างความไว้วางใจว่าจะไม่ทำประโยชน์ให้แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้ในระยะยาวจะต้องพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้พร้อมอย่างเต็มที่ในการที่จะสนับสนุนให้เกิดการปรองดองขึ้นในประเทศไทยด้วยการแบ่งปันประสบการณ์
ด้านทางนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ที่เข้าร่วมงานด้วยเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย อยู่ที่หลักการและกระบวนการประชาธิปไตย ที่ถูกตีความไปตามแต่ละความเห็น ซึ่งสำคัญอยู่ที่การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และเปิดพื้นที่ให้มีส่วนร่วม จะช่วยคลี่คลายปัญหาได้ แต่ทุกวันนี้ ฝ่ายค้านไม่สามารถทำงานได้ในรัฐสภา หรือองค์กรอิสระยังไม่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ทำให้ทำงานไม่มีสิทธิภาพ รวมทั้งสื่อมวลชนตกอยู่ในภาวะกีดกันเข้าถึงข้อมูล ทำให้ไม่มีเสรีภาพเท่าที่ควรจะเป็น สำหรับข้อเสนอแนะที่มีการพูดกันวันนี้ คงต้องให้ทุกฝ่ายได้เปิดรับและนำไปใช้ ก็เพื่อให้การปรองดองประเทศสามารถเกิดขึ้นได้
นายสุรินทร์ ยืนยันว่า กระบวนการประชาธิปไตยที่มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายค้านหรือรัฐบาลเท่านั้น แต่ยังมีความพยายามผลักดันของบางคนจากนอกประเทศ ทำให้สิ่งที่ทำกันอยู่ในประเทศเกิดความไขว่เขว่ เพิ่มเชื้อความเข้าใจผิดๆ และทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกัน แล้วกระบวนการปรองดองประเทศจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อยังสิ่งรบกวนประชาธิปไตยและสันติสุขของประเทศอยู่
ขณะที่นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส ได้มองถึงเวทีดังกล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่สังคมไทยมีการตื่นตัวในเรื่องสันติภาพและสร้างความปรองดอง ซึ่งเมื่อสังคมตื่นตัวและเป็นตัวนำ ซึ่งจะบีบให้การเมืองต้องเดินเข้าสู่กระบวนการปรองดอง แม้จะมีนักการเมืองไม่เห็นด้วย แต่เป็นเรื่องที่ทำง่ายกว่าการให้รัฐเป็นผู้ริเริ่มหรือเป็นตัวนำ ซึ่งจะมีฝ่ายไม่เห็นด้วยออกมาขัดแย้ง และในวันที่ 6 ธ.ค.นี้ นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอรัปชั่น จะเชิญนายอดัม คาเฮน ผู้เขียน หนังสือเรื่อง Power and Love และหนังสือ Solving Tough Problems เป็นผู้เชี่ยวชาญแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระดับโลก ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในโคลัมเบีย และอาร์เจนติน่า มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับคนไทย
“ผมยังเชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งในประเทศไทยจะแก้ไขได้ง่ายกว่าปัญหาความขัดแย้งในประเทศอื่นๆ เพราะเราไม่ได้ขัดแย้งกันในเรื่องศาสนาหรือเชื้อชาติ เป็นเพียงความเห็นที่แตกต่างกันเท่านั้น อย่าไปท้อใจเราต้องช่วยกัน เราขัดแย้งกันได้ ทะเลาะกันได้แต่อย่าฆ่ากันตาย ขณะนี้แม่ว่าฝ่ายค้านจะยังไม่เห็นด้วยเราก็ต้องเปิดกว้างและมองคนที่ไม่เห็นด้วยให้เป็นพวกเดียวกัน วันข้างหน้าเขาอาจเห็นด้วยก็ได้”ราษฎรอาวุโสกล่าว
ทั้งนี้นพ.ประเวศได้กล่าวในงานประชุมวิชาการ เรื่องสันติสุขเริ่มที่วิถีชุมชน ที่สถาบันพระปกเกล้าจัดขึ้นที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ ที่มีประชาชนและนักศึกษาหลักสูตรสันติศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)เข้าร่วมรับฟัง
จากเวทีดังกล่าวคงจะทำให้คนไทยเข้าใจความหมายของคำว่าประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น
.............................
นิยามความหมาย'ปชต.จากเวทีปาฐกถาพิเศษ'โทนี่ แบลร์' : สำราญ สมพงษ์รายงาน
ประชาธิปไตย ภาคประชาชนเข้าร่วม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต
วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น