วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564


วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)ได้ลงนามในประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ 2565 เมื่อวันที่ 29  พ.ย.2564 โดยได้มีการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยออกเป็น 5 กลุ่ม 






แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ในกลุ่มที่ 4 คือ กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมตามหลักศาสนา ได้มีการระบุว่า ไม่มี และแม้แต่มหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่งคือ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร) ก็ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้หรือกลุ่มใดกลุ่้มหนึ่งนอกจากนี้ และมีรายงานว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งได้ตั้งเป้าที่จะจัดอยู่ในกลุ่มกลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมตามหลักศาสนาในปีงบประมาณ 2566 นั้น 

ล่าสุดพระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่กลุ่มมหาวิทยาลัยด้านปัญญาและคุณธรรม

 

ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว มีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา มจร ที่มีประสบการณ์ด้านเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการบริหารการศึกษาที่เป็นเลิศ (EdPEx) เป็นประธานอนุกรรมการ และมี รศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นเลขานุการ

 



โดยคณะกรรมการชุดนี้ จะทำหน้าที่ในกำหนดกรอบ แผนงาน และแนวทางในการเข้าสู่สถาบันด้านปัญญาและคุณธรรม  แล้วนำเสนอจออนุมัติต่อคณะกรรมการชุดใหญ่ของมหาวิทยาลัย ก่อนจะนำเข้าสู่สภาสถาบัน แวนำเสนอกระทรวงอุดมศึกษาฯ เพื่อให้สอดรับกับปีงบประมาณ 2566 ต่อไป

อว.แบ่ง 5 กลุ่มมหาวิทยาลัยปีงบฯ 65 "มจร-มมร" ตั้งเป้าเข้ากลุ่มพัฒนาปัญญาฯปี 66




วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2564  นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.)ได้ลงนามในประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่อง การกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ 2565 เมื่อวันที่ 29  พ.ย.2564 โดยมีสาระสำคัญดังนี้






ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในประกาศดังกล่าวปรากฏว่า ไม่มีมหาวิทยาลัยใดจัดอยู่ในกลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมตามหลักศาสนา รวมถึงมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่งคือ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร) ก็ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้หรือกลุ่มใดนอกจากนี้ 


ทั้งนี้มีรายงานว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งได้ตั้งเป้าที่จะจัดอยู่ในกลุ่มกลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมตามหลักศาสนา ในปีงบประมาณ 2566 

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

จบ ๗ รุ่นแล้ว! หลักสูตรฝึกอบรมวิทยากรต้นแบบสันติภาพ "มจร" เตรียมเปิดสมัครรุ่น ๘ ต่อ


วันที่ ๒๙  พฤศจิกายน  ๒๕๖๔ พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ประธานพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพ เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ๒๓ - ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ หลักสูตรสันติศึกษา มจร จัดฝึกอบรมวิทยากรต้นแบบสันติภาพ รุ่น ๗ หลักสูตร ๕ คืน ๖ วัน จำนวน ๖๖ ชั่วโมง โดยมีการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพ Peace Facilitatorโดยมีจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ๒๔ รูปคน เพื่อพัฒนาด้านการเป็นวิทยากรต้นแบบสันติภาพ การพัฒนาองค์กร การฝึกอบรมแบบธรรมะโอดี การสร้างสันติภายใน การออกกระบวนการเรียนรู้ที่ทรงพลัง และเครื่องมือพุทธสันติวิธีเพื่อนำไปแก้ปัญหาความขัดแย้งในชุมชน องค์กร สังคม ด้วยการยกระดับจากวิทยากรเป็นเพียงผู้ถ่ายทอด แต่ Peace Facilitator เป็นผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้ โดยกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมคิดเองตระหนักเอง โดยเป็นผู้อำนวยการที่สร้างสันติภาพเสริมสร้างสังคมสันติสุข โดยผู้เข้ารับการเรียนรู้จากวิทยากรระดับมืออาชีพมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรต้นแบบสันติภาพ ซึ่งบรรยากาศการเรียนรู้สนุก สาระ สงบ สำนึก สร้างสรรค์ โดยวิทยากรมีความเป็นกัลยาณมิตรเป็นอย่างยิ่ง

โดยมาจากฐานงานวิจัยเชิงพัฒนา สะท้อนว่าการพัฒนาวิทยากรต้นแบบตามศาสตร์สมัยใหม่และพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งวิทยากรตามศาสตร์สมัยใหม่เป็น “วิทยากรกระบวนการ วิทยากรกิจกรรมกลุ่ม วิทยากรปฏิบัติการ วิทยากรโค้ชชิ่ง และวิทยากรโอดี” โดยมุ่งการสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ด้วยการยึดผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลาง สร้างกิจกรรมให้เกิดการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้แบบ ฉลาดประยุกต์ สนุกมีสาระ เป็นการปรับศาสตร์เข้าหาพระพุทธศาสนา วิทยากรจะต้องสามารถทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ส่วนวิทยากรตามแนวทางพระพุทธศาสนาเถรวาทต้องยึดตาม “หลักการของวิทยากรต้นแบบ อุดมการณ์ของวิทยากรต้นแบบ วิธีการของวิทยากรต้นแบบ และสันติภาพของวิทยากรต้นแบบ” โดยวิทยากรทางพระพุทธศาสนาเถรวาทยึดแนวทางของพระพุทธเจ้าตามหลักของโอวาทปาติโมกข์ โดยมุ่งพัฒนาตนด้วยการทำจิตใจให้บริสุทธิ์มีความสงบเป็นต้นแบบด้านความ ประพฤติ มีอุดมการณ์ด้วยความอดทนต่อความยากลำบากและมีวิธีการสื่อสารธรรมไม่พูดร้าย ไม่ทำร้าย แม้บุคคลผู้มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ๒) รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี พบว่ารูปแบบการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดีเป็นการเผยแผ่ธรรมตามแนวทางของพระพุทธเจ้า โดยรูปแบบการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดีเป็น “การเรียนรู้ธรรมะผ่านกิจกรรม” ในลักษณะของวิทยากรธรรมะโอดี ซึ่งทุกคนสามารถเป็นวิทยากรธรรมะโอดีได้ มีความเหมาะสม เพราะเป็นการนำหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาผ่านการประยุกต์เพื่อการเสริมสร้างองค์กรสันติสุข         ด้วยกระบวนการใช้สื่อกิจกรรม ประกอบการเรียนรู้และใช้กระบวนการของกิจกรรมกลุ่มในการสร้างการมีส่วนร่วม โดยเริ่มต้นจาก การวินิจฉัยและวิเคราะห์องค์กร วิเคราะห์ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สร้างรูปแบบการฝึกอบรม ออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดีจึงเกิด D-H-A-M-M-A-O-D Model       

โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างองค์กรสันติสุข ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี มีวิธีการพัฒนา ๕ ด้าน ประกอบด้วย ๑) ด้านวิทยากรต้นแบบ ๒) ด้านกระบวนการฝึกอบรมแบบธรรมะโอดี ๓) ด้านการพัฒนาองค์กร ๔) ด้านเครื่องมือพุทธสันติวิธี ๕) ด้านการสร้างสันติภายใน ๓) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี โดยผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพโดยพุทธสันติวิธีหรือ รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบสันติภาพ ต้องปฏิบัติตามแนวทางของ K-U-M-S-A-N Model ประกอบด้วย “ความรู้ของวิทยากรต้นแบบ ความเข้าใจของวิทยากรต้นแบบ สติ-สันติของวิทยากรต้นแบบ ทักษะของวิทยากรต้นแบบ ทัศนคติของวิทยากรต้นแบบ และการสร้างเครือข่ายของวิทยากรต้นแบบ”

ในโอกาสการปิดการฝึกอบรมได้รับความเมตตายิ่งจากท่านพระครูภาวนาสารบัณฑิต ดร. ผู้อำนวยการส่วนธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานมอบวุฒิบัตรและกล่าวปิดการฝึกอบรมวิทยากรต้นแบบสันติภาพรุ่น ๗ โดยกล่าวย้ำว่า“หลักสูตรสันติศึกษาถือว่าเป็นหลักสูตรยอดฮิตได้รับการนิยมอย่างมากจากพระสงฆ์และบุคคลทั่วไป โดยมีการประเมินจากบุคคลภายนอกช่วยสะท้อน ถือว่าเป็นหลักสูตรอันดับหนึ่งที่มีผู้คนสนใจมาเรียนจำนวนมาก 

ถือว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ โดยพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาเน้นด้านสันติภายใน ทำให้ผู้คนสนใจจำนวนมากมาเรียนด้วยการจบนอกจบใน จบนอกตามหลักสูตรตามาตรฐาน แต่สันติศึกษาเน้นการจบภายในด้วยการผ่านวิปัสสนากรรมฐาน ๔๕ วัน ซึ่งเวลามาเรียนจะต้องมีการนั่งวิปัสสนากรรมฐานเป็นการสร้างสันติภายใน ภายในมีความสำคัญทำให้หลักสูตรวิทยากรต้นแบบสันติภาพมีการพัฒนาภายในคือ สติ ขันติ สันติ วิทยากรต้นแบบสันติภาพต้องมีสันติภายใน การฝึกสติเป็นวาระแห่งชาติสำหรับการเป็นวิทยากรต้นแบบสันติภาพ มีความสงบจากภายในจะสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะอยู่ในเวทีใด  

ดังนั้น จึงมีการเตรียมเปิดการฝึกอบรมวิทยากรต้นแบบสันติภาพรุ่น ๘ ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๐ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕ จำนวน ๖ วัน สามารถสมัครเพื่อเข้ารับการเรียนรู้หลักสูตรวิทยากรต้นแบบสันติภาพรุ่น ๘  สมัครผ่านไอดีไลน์  1952653 ซึ่งจะมีการพัฒนาหลักสูตรมีความเข้มข้นต่อไป


พระมหาไพรวัลย์ได้ฤกษ์สึกแล้ว! พระมหาสมปองเผย 4 ธ.ค.แถลงเปิดใจ 6 ธ.ค.


เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ตามที่ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระนักไลฟ์สดชื่อดังได้ส่งสัญญาณลาสิกขาบท พร้อมเปลี่ยนชื่อเพจเป็น"ไพรวัลย์  วรรณบุตร"  พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต พระนักไลฟ์สดชื่อดังด้วยกัน  ได้ให้สัมภาษณ์ว่า จากการพูดคุยกับพระมหาไพรวัลย์  ยืนยันว่า จะมีการลาสิกขาแน่นอน 100% ประมาณวันที่ 4 ธ.ค. และจะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 6 ธ.ค.2564 ซึ่งเป็นทิดไพรวัลย์แล้ว โดยตนเอง ก็พึ่งรู้เมื่อวาน ขณะที่ไปรับกิจนิมนต์ด้วยกัน ซึ่งพระมหาไพรวัลย์ มากระซิบบอกว่า จะลาสิกขาบท อาตมาจึงถามกลับไปว่า แน่ใจแล้วหรือ อยากให้คิดให้ดี เพราะ "เจ้าคุณอุทัย" อาจได้เป็นเจ้าอาวาสวัดสร้อยทองก็ได้ ซึ่งพระมหาไพรวัลย์ยืนยันว่า คิดดีแล้ว เพราะรู้สึกว่า เบื่อ เหนื่อย ท้อ และไม่เชื่อว่า จะไม่มีการเปลี่ยนตัวเจ้าอาวาส จึงตัดสินใจลาสิกขาบท ดีกว่า

พระมหาสมปอง กล่าวต่อว่า วันนี้ "พระมหาไพรวัลย์" ยังรับกิจนิมนต์ตามปกติ โดยจะเดินทางไปมอบผ้าห่มคลายหนาว ที่ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เวลา 18.00 น. และจะกลับวัดสร้อยทอง วันที่ 3 ธ.ค. โดย "พระมหาไพรวัลย์" บอกว่า หากสึกออกไปแล้ว จะสามารถแสดงความคิดเห็นได้มากกว่า ในสิ่งที่อยากจะพูด โดยอาจจะไปเป็นนักพูดกับ ส.ศิวลักษณ์

ทั้งนี้ พระมหาสมปอง บอกว่า จะมอบรถเวสป้า ให้เป็นของขวัญกับพระมหาไพรวัลย์ ซึ่งในวันที่ 3 ธ.ค. เป็นวันครบรอบ 3 เดือน ที่ได้มีการไลฟ์สดครั้งแรกด้วยกัน ซึ่งการลาสิกขาบทครั้งนี้ "พระมหาไพรวัลย์" ยืนยันว่า เป็นการแสดงจุดยืนถึงความยุติธรรม ถึงการแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดสร้อยทอง ด้วยการเป็นสามัญชน มอบให้กับ "เจ้าคุณอุทัย" ที่เคารพนับถือ

ต่อมาพระมหาไพรวัลย์ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า ชอบภาพนี้



พระมหาไพรวัลย์ เปลี่ยนชื่อ FB "ไพรวัลย์ วรรณบุตร"


วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564 เฟซบุ๊ก พระมหาไพรวัลย์ วรวณโณ ซึ่งเป็นเพจหลักของ พระมหาไพรวัลย์ มีการเปลี่ยนชื่อเพจเป็น "ไพรวัลย์ วรรณบุตร"  โดยไม่มีคำว่า พระนำหน้าชื่อ โดยเมื่อเวลา 21.44 น. วันที่ 28 พฤศจิกายน 2564  พระมหาไพรวัลย์ ได้โพสต์ภาพขณะกำลังก้มกราบ พระมหาสมปอง พร้อมระบุข้อความว่า "แม้อาจจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ แค่ 3 เดือนเท่านั้น ที่ผ่านมา แต่มันเป็นช่วงเวลาที่พิเศษมากๆ สำหรับชีวิตของผมนะครับ พระอาจารย์ คือ พี่ชายที่น่ารักที่สุดสำหรับผม คือครูบาอาจารย์ที่ให้วิชาและความรู้ต่างๆ มากมายสำหรับการเผยแผ่ธรรมะกับผมกราบขอบพระคุณที่ไม่เคยรังเกียจพระน้องชายรูปนี้ กราบขอบพระคุณสำหรับทุกสิ่งที่พระอาจารย์มอบให้ ไม่ว่าจะในฐานะอะไรก็ตามจะเคารพรักและศรัทธาพระอาจารย์ตลอดไปนะครับ"

โพสต์ล่าสุด ระบุว่า "ขอบคุณพระศาสนาที่มอบทุกอย่างให้กับเด็กบ้านนอกคนหนึ่งคนนี้ ตลอดเวลา 18 ปีที่ผ่านมา ขอบคุณข้าวน้ำจากศรัทธาของญาติโยมทุกคน"


#พระมหาไพรวัลย์


CR:ไพรวัลย์ วรรณบุตร

พระเสียดายแดดมอง! จ่ายเงินชดเชยประกันราคาข้าว แค่หวังผลทางการเมือง


วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2564  เพจ พระปัญญาวชิรโมลี นพพร ได้โพสต์ข้อความว่า เห็นข่าวแล้วปวดใจ 

ข่าวประกันราคาข้าว หรือจ่ายเงินชดเชย จ่ายเงินเยียวยา หลังฤดูทำนามีทุกปีคิดรวมกันตั้งแต่ได้ยินมาคงจะหลายแสนล้านแล้ว มันเป็นผลดีของนักการเมืองเอาเงินหลวงมาแจกชาวบ้านเพื่อหวังผลทางการเมือง แต่เขาโฆษณาว่าเพื่อความอยู่ดีกินดี  ความจริงคืออยู่ดีกินช่วงเดือนแรกที่รับเงินเท่านั้นล่ะที่เหลือคือจนเหมือนเดิมตลอดปีตลอดชาติ มันขาดความยั่งยืน

ถ้าทยอยสร้างความเข้มแข็งของประชาชนอย่างยั่งยืนปีละ 20% แบ่งจากงบให้เปล่ามาให้ชุมชนที่พร้อมกันรวมกลุ่มสหกรณ์หรือกลุ่มโคก หนอง นา ตั้งโรงอบ โรงสีข้าว นำร่องชุมชนที่มีศีลธรรม สมาชิกใดไม่มีศีลห้าให้ออกจากกลุ่มไปก่อนจนกว่าจะรักษาสัตย์ รักษาศีลได้ค่อยพิจารณารับเข้าโดยสมาชิกในกลุ่มคัดสรรกันเอง สีข้าวขายเอง หรือมีสินค้าเกษตรอื่นแปรรูปขายตามช่องทางต่างๆ ทุกวันนี้มีการสร้างจุดขายมากมาย หรือมีการจองล่วงหน้าเช่นข้าว Rice berry Organic ศรีแสงธรรม หรือผลิตภัณฑ์โคกอีโด่ย เป็นต้น

ชุมชนไหนพร้อมหรือทำได้ดี ปีถัดมาก็สนับสนุนเงินทุนเข้ากลุ่มเพื่อดำเนินการ หรือขยายกิจการภายใน 5 ปีครบทุกตำบล และชุมชนแรก ๆ ก็ไม่ต้องสนับสนุนเพราะยืนด้วยลำแข่งตนเองได้แล้ว รู้จักปริมาณการผลิตที่พอดี ให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชผสมผสาน เขตเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะเกิดขึ้นได้ทั่วทุกภาคของไทย และก็จะเป็น BCG Model ที่ยั่งยืนดีกว่าเอาเงินงบประมาณมาหว่านช่วงหาเสียงแล้วให้นักการเมืองมาตีกินว่าเป็นความสามารถช่วยเหลือประชาชน

พระมหาไพรวัลย์ " โพสต์ "หมดเวลาแล้ว ฉันคงต้องไป"


เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 64 พระมหาไพรวัลย์ วรวัณโณ แห่งวัดสร้อยทอง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า "ขอบคุณพระศาสนาที่มอบทุกอย่างให้กับเด็กบ้านนอกคนหนึ่งคนนี้ ตลอดเวลา 18 ปีที่ผ่านมา ขอบคุณข้าวน้ำจากศรัทธาของญาติโยมทุกคน..." นอกจากนี้พระมหาไพรวัลย์ ยังได้ระบุข้อความในคอมเมนต์ด้วยว่า "หมดเวลาแล้วว ฉันคงต้องไป"

ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา พระมหาไพรวัลย์ ได้แชร์ข้อความประเด็นเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งในวงการสงฆ์ โดยพระมหาไพรวัลย์ระบุข้อความว่า "ใกล้จะได้สลัดปลอกคอแล้วสินะ" จากนั้นพระมหาไพรวัลย์ยังโพสต์ข้อความอีกว่า "บริษัทขนย้ายต้องเข้าแล้วนะ ใครรู้จักอินบ็อกมาได้เลยนะ สภาพ"

อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้เฟซบุ๊กจำนวนมากต่างเข้าไปโพสต์ข้อความให้กำลังใจพระมหาไพรวัลย์ ก่อนหน้านี้พระมหาไพรวัลย์ ได้กล่าวในไลฟ์สดระบุว่า หาก พระราชปัญญาสุธี (อุทัย ญาโณทโย) ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสร้อยทองรูปปัจจุบัน ไม่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ก็พร้อมจะลาสิกขา

ทั้งนี้เฟซบุ๊ก "Uthit Siriwan" ศ.ดร.อุทิส ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพระพุทธศาสนา อดีตพระมหาเปรียญธรรม 9 ประโยค ได้โพสต์ภาพ และข้อความว่า  

ผมบอกท่านมหาไพรวัลย์ว่า ถ้าไม่สบายใจ ก็ลาสิกขา ชีวิตเป็นราษฎรเต็มขั้นในผืนแผ่นดิน มีอิสระ เสรี ดีกว่าอยู่ใต้วินัย กฎหมาย ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี สารพัด ท่านมหาเป็นคนกตัญญูกตเวที คนที่รู้ว่าใครดีต่อตัว เจริญทุกราย


ขณะที่เฟซบุ๊ก Raksayam Namanubhap ของ อดีตพระมหาเปรียญธรรม 9 ประโยค เช่นเดียวกันและอยู่ในภาพร่วมกับ ศ.ดร.อุทิส ได้โพสต์ภาพและข้อความว่า #สายสัมพันธ์แน่นแฟ้น ศิษย์พี่ (รักสยาม,วัดบ้านเสียว) ศิษย์น้อง(พระมหาสมปอง,วัดบ้านผือ) ศิษย์เพื่อนและอาจารย์(ศ.ดร.อุทิส,วัดเลียบ) วิปัสสนากินได้!

รักสยาม นามานุภาพ

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

"ณพลเดช"ฉงน! พระ 100 ปี เศียรขาดจากโจรกรรมนาน 13 ปี แนะ รบ. ตั้ง"กระทรวงศิลปากร"

 


วันที่ 27 พ.ย. 2564 ดร.ณพลเดช มณีลังกา ว่าที่ผู้สมัคร ส.ก.เขตสัมพันธวงศ์ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงจากที่ตนได้ลงพื้นที่ที่วัดวัดกันมาตุยาราม ถ.เยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ ได้พบพระเศียรขาดซึ่งทราบว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่อายุมากกว่า 100 ปี จากการที่ตนได้สอบถามพระมหานิวัฒน์ โชติโก เลขาเจ้าอาวาสวัดกันมาตุยาราม ทราบว่าวัดแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ซึ่งหากจะบูรณะต่อเติม ต้องได้รับการอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากรเสียก่อน จากเมื่อปี พ.ศ.2552 เศียรพระได้ถูกโจรกรรมโดยการตัดเศียรไปแล้วทั้งหมด 23 เศียร จากพระพุทธรูปในวัดทั้งหมด 80 องค์ จากการติดตามและยึดของกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เศียรพระคืนจำนวน 3 เศียร เป็นของกลางของตำรวจ สถานีตำรวจบางซื่อ ยึดได้จากร้านจำหน่ายวัตถุโบราณแห่งหนึ่งภายในตลาดนัดสวนจตุจักร ขณะนี้ได้จับยึดเศียรรวมได้มาเพียง 5 เศียร ในเบื้องต้นพระมหานิวัฒน์ จะยื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อช่วยเหลือซ่อมแซมบูรณะต่อไป



ดร.ณพลเดช กล่าวต่อไปว่า จากการที่ตนมาพบเห็นถือเป็นเรื่องเศร้าสลดที่มีพระพุทธรูปกลางกรุง ที่มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนมาท่องเที่ยวกันอย่างต่อเนื่องแต่ต้องพบเห็นพระพุทธรูปเศรียรขาดภายในวัด สื่อถือความเป็นประเทศไทยยังมีการโจรกรรมจากผู้ร้ายสร้างความสลดและลดความน่าเชื่อถือในความเป็นคนไทยที่เป็นผู้มีศีลธรรมอันดีงาม ทั้งนี้จากการที่พระมหานิวัฒน์ ได้พาตนไปกราบพระประธานในพระอุโบสถ ทราบมาว่าสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เคยมีพระดำริว่าหากจะสร้างโบสถ์ก็ไม่ควรสร้างให้เล็กกว่าวัดแห่งนี้ อีกทั้งพระมหานิวัฒน์ยังพาไปชมภาพเขียนบนผนังของวัดและชี้จุดที่มีภาพผนังโบสถ์ไปตีพิมพ์บนแสตมป์ ทำให้แสตมป์กระจายไปทั่วโลก ปรากฏว่ามีฝรั่งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมุ่งมาที่เมืองไทยเพื่อไปที่วัดแห่งนี้โดยมาเพื่อถ่ายรูปภาพผนังโบสถ์ที่ปรากฏบนแสตมป์โดยเฉพาะ



ดร.ณพลเดช กล่าวต่อไปอีกว่า จากที่ตนได้ทำงานร่วมกับกรมศิลปากรมาพอสมควรในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้เห็นภาพของกรมศิลป์ที่มีงบประมาณอย่างจำกัด เจ้าหน้าที่ทำงานล้นมือ ตนเห็นว่ารัฐบาลควรตั้งกระทรวงใหม่เป็น “กระทรวงศิลปากร มรดกและวัฒนธรรม” ตามความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ วาระการปฏิรูปที่35 ที่กำหนดศิลปะวัฒนธรรม สร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  อีกทั้ง “ศิลปะ” ยังเป็นหัวใจสำคัญของจารีตประเพณีที่บรรพบุรุษได้ฝากไว้ให้กับลูกหลานซึ่งแสดงถึงความเป็นไทย แม้ในอดีตการปกครองของไทยก็ได้ให้ความสำคัญของศิลปากร จนมีชื่อเสียงอันโด่งดังในนาม “ช่างสิบหมู่” 


"สำหรับในหลายประเทศได้ให้ความสำคัญของศิลปะ ในการตั้งเป็นกระทรวง เช่นนิวซีแลนด์ ใช้ชื่อกระทรวงว่า “Ministry of arts culture and heritage” แปลก็คือ “กระทรวงศิลปวัฒนธรรมและมรดก” และอีกหลายประเทศจะใช้ Ministry of arts and culture เช่นมาเลเซีย แอฟริกาใต้ แคเมอรูน ฯลฯ ซึ่งจะเห็นว่าเขาให้ความสำคัญต่อ” ศิลปะ” เป็นการนำไปสู่การสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศซึ่งนำไปสู่ความภูมิใจของคนในประเทศ ส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกทั้งจะส่งผลไปสู่การผันงบประมาณที่มากขึ้นสู่การมุ่งเน้นให้ประเทศมีศิลปะที่งดงามดังประเทศที่เจริญแล้ว ซึ่งในปีงบประมาณ 2563 กรมศิลปากร ได้งบประมาณเพียง 2,581 ล้านบาท ขณะที่ ปี 2564 กระทรวงกลาโหมได้รับการจัดสรรงบประมาณถึง 223,463 ล้านบาท จะว่าไปแล้วกรมศิลปากร มีงบเพียง 10% ของกระทรวงกลาโหม และเพียงไม่ถึง 1% ของงบประมาณประเทศ แล้วจะให้ประเทศไทยเจริญด้วยศิลปะได้อย่างไร" ดร.ณพลเดช กล่าว



 

วัดพระธรรมกายจัดพิธีถวายสังฆทานออนไลน์ แด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนใต้


วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2564  คณะสงฆ์จังหวัดสงขลา ยะลา  ปัตตานี  นราธิวาส  หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมกับวัดพระธรรมกาย และกัลยาณมิตรทั่วทั้งโลก จัดพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์จากเหตุการณ์ความไม่สงบ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา) ปีที่ 17 ครั้งที่ 156 และพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ ปีที่ 14 ครั้งที่ 121 จำนวน 74 กองทุน ถ่ายทอดสดจากศูนย์กลางพิธี 5 จังหวัด  ได้แก่  จังหวัดสงขลา  ยะลา  ปัตตานี  นราธิวาส และปทุมธานี  ด้วยระบบออนไลน์ ทางแอปพลิเคชัน ZOOM

พิธีเริ่มเวลา 09.00 น. เป็นพิธีมอบกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ ปีที่ 14 ครั้งที่ 121 จากนั้นเป็นพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ และพิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 323 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีที่ 17 ครั้งที่ 156  ต่อด้วยพระภาวนาธรรมวิเทศ  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย   กล่าวความในใจและเปิดวีดีโอประมวลภาพทบทวนงานฟื้นฟูศีลธรรมโลก  ในพิธีโดยรับความเมตตาจากพระราชวรเวที  เจ้าคณะจังหวัดสงขลา  วัดโคกสมานคุณ พระอารามหลวง เป็นประธานพิธีฝ่ายสงฆ์จังหวัดสงขลา พระครูประโชตธรรมานุยุต เจ้าคณะอำเภอเมืองยะลา  วัดดิตถมงคล เป็นประธานฝ่ายสงฆ์จังหวัดยะลา พระครูอุดมธรรมาทร เจ้าคณะอำเภอยะหริ่ง วัดปิยาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์จังหวัดปัตตานี พระครูพิพัฒนบุญเขต เจ้าคณะอำเภอเมืองนราธิวาส วัดเขานาคา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์จังหวัดนราธิวาส  และนายสุรัตน์  ลายจันทร์  นายอำเภอบางกล่ำ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

พระราชวรเวที  เจ้าคณะจังหวัดสงขลา  วัดโคกสมานคุณ พระอารามหลวงกล่าวว่า “ถ้าเรามีความสมัครสมานสามัคคี  ร่วมมือร่วมใจปฏิบัติตามธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน ความเข้มแข็งก็จะเกิดขึ้น ฝากให้ท่านทั้งหลายลองศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2547 จนมาถึงปัจจุบัน แล้วเอามาถอดเป็นบทเรียน แล้วมาตั้งเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติใหม่  เพื่อการอยู่ร่วมกัน ระหว่างวัด กับชุมชน”

ตลอดพิธีมีพุทธศาสนิกชนทั้งในและต่างประเทศเข้าร่วมผ่านแอปพลิเคชัน ZOOM เป็นจำนวนมากในประเทศ อาทิ กระบี่ กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, ฉะเชิงเทรา, เชียงใหม่, ชลบุรี , นนทบุรี นครนายก, นราธิวาส, นครราชสีมา,  บุรีรัมย์, ปทุมธานี, ปราจีนบุรี, ปัตตานี, จันทบุรี,  ยะลา, ราชบุรี, ลำพูน, ตรัง  , ตราด, ภูเก็ต, พระนครศรีอยุธยา,  สมุทรปราการ, สมุทรสงคราม, สงขลา, สระแก้ว, สระบุรี, สุพรรณบุรี, สตูล,หนองคาย , อุดรธานี ,อุตรดิตถ์ เป็นต้น ต่างประเทศ อาทิ มาเลเซีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย,  แคนาดา, ญี่ปุ่น, เกาหลี , เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน, จอร์แดน, เนปาล เป็นต้น

ทั้งนี้พิธีถวายสังฆทานแด่คณะสงฆ์ 232 วัด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่ผู้วายชนม์จากเหตุการณ์ความไม่สงบ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2548 ณ วัดมุจลินทวาปีวิหาร จังหวัดปัตตานี ปัจจุบันจัดติดต่อกันเป็นปีที่ 17 ครั้งที่ 156 รวมมูลค่าความช่วยเหลือกว่า 303 ล้านบาท และจัดอย่างต่อเนื่องจนกว่าเหตุการณ์จะสงบ ส่วนกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้ รวม 14 ปี มอบแล้วกว่า 39,000 กองทุน เป็นเงินกว่า 80 ล้านบาท 

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เครือข่ายชาวพุทธฯ ยื่นอุทรณ์กรณีขอข้อมูลข่าวสารการถอดถอนพระสังฆาธิการ


วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา นายธีระ ปัดชาเขียว ผู้แทนเครือข่ายชาวพุทธปกป้องพระพุทธศาสนา พร้อมคณะเข้ายื่นหนังสืออุทธรณ์กรณีขอข้อมูลข่าวสารการถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 3 รูป จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยข้อมูลข่าวสารข้อมูลที่คณะเครือข่ายชาวพุทธ ฯ ร้องขอ ประกอบด้วย  

1. หนังสือร้องเรียนเจ้าคณะจังหวัด 3 จังหวัด คือ พระราชปริยัติสุนทร (อมรภิรักษ์ ปสนฺโน) เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา, พระธรรมรัตนาภรณ์ (สมศักดิ์ โชตินฺธโร) เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีและพระเทพสารเมธี (บัวศรี ชุตินฺธโร) เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธรรมยุต)

2. รายงานการสอบสวนของเจ้าคณะภาคและเจ้าคณะหนซึ่งเป็นเจ้าคณะผู้ปกครองตามลำดับ

3. หนังสือรายงานการสอบสวนและความเห็นของเจ้าคณะหนที่เสนอเข้ามหาเถรสมาคมพิจารณา

4. หนังสือของสมเด็จพระสังฆราชฯ ที่เสนอเรื่องถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 5 จังหวัด ที่เสนอไปยังราชเลขานุการในพระองค์

5. หนังสือของสำนักพระราชวังซึ่งกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชในเรื่องการถอดถอนเจ้าคณะจังหวัด 3 จังหวัด

นายธีระ ปัดชาเขียว กล่าวว่า คณะเครือข่ายชาวพุทธปกป้องพระพุทธศาสนาได้ร่วมกันยื่นถวายหนังสือเพื่อขอเอกสารและข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกรณีการถอดถอนเจ้าคณะจังหวัดทั้ง 3 รูป จากเจ้าคณะผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาใกล้ชิด ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

“จึงขอร้องเรียนและอุทธรณ์เรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการและขอให้คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้โปรดพิจารณาและมีคำสั่งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเปิดเผยและส่งมอบเอกสารข้อมูลข่าวสารตามรายการที่ข้าพเจ้าได้ร้องขอตามเอกสารที่ส่งมาด้วย” นายธีระกล่าว

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

อธิการบดี"มจร" ย้ำนโยบายปฏิบัติธรรมประจำปี เน้นทั้ง "Onsite-Online"


เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ลงนามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง การฝึกภาคปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนิสิตระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564

 





ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าว อธิการบดี มจร ได้ย้ำนโยบายการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานประจำปีแบบ Hybrid โดยเน้นการปฏิบัติทั้ง  Onsite การปฏิบัติธรรมในพื้นที่จริง และการปฏิบัติธรรมแบบ Online  และได้มอบหมายให้หน่วยงานจัดการศึกษา ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคดำเนินการจัดกิจกรรมให้สอดรับกับสถานการณ์และความต้องการของนิสิต 

พระธรรมวัชรบัณฑิต ได้กล่าวย้ำว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานประจำปีนั้น เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้นิสิตสามารถเข้าถึงความหมายที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา ส่วนตัวได้ย้ำกับผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมว่าสถานการณ์โควิดได้คลี่คลายลงบ้างแล้ว ควรเน้นการปฏิบัติแบบ Onsite โดยจัดวางมาตรการการดูแลทุกขั้นตอนให้สอดรับกับกระทรวงสาธารณสุข  

ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ออกนโยบายกระตุ้นให้ผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ได้สวดมนต์ปฏิบัติธรรมร่วมกันทุกเช้าวันจันทร์ของต้นเดือน และสนับสนุนให้เข้ารับการปฏิบัติธรรมตลอด 7 วันโดยไม่ถือเป็นวันลาด้วย" พระธรรมวัชรบัณฑิต กล่าว

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

กมธ.ศาสนาฯสภาฯ ลงพื้นที่ศึกษาพุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น


วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เวลา 09.00 น. ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล นายเพชรวรรตวัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายนพดลแก้วสุพัฒน์ ที่ปรึกษากรรมาธิกา นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ พระเมธีธรรมาจารย์ อนุกรรมาธิการฯ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ ว่าที่ร้อยตรี สิริชัย ตุลยสุข อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯนางสาวสิริมนโฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สภาฯ นางภิรมย์ เจริญรุ่ง นายภีม บุตรเพ็ง นายวัชรพล โรจนวัฒน์และคณะ ได้เข้าร่วมประชุมกับ ผู้แทนส่วนราชการจังหวัดขอนแก่น



สำหรับความเป็นมาโครงการ พุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2547 เห็นชอบให้ มีการจัดตั้งสถานที่ทางพระพุทธศาสนา ที่มีลักษณะเดียวกับพุทธมณฑล ในส่วนภูมิภาคให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้นประกอบกับมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 21/2548 เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2548 เห็นชอบให้โครงการจัดสร้างพุทธมณฑลอีสาน จังหวัดขอนแก่น เป็นโครงการร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 จังหวัดขอนแก่น พร้อมกับคณะสงฆ์จังหวัดขอนแก่น จึงได้มีแนวคิดจัดสร้าง "พุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น" เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และร่วมเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 84 พรรษา โดยพุทธมณฑลที่จะจัดสร้างขึ้นนั้น เป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่มีลักษณะเดียวกับพุทธมณฑลที่จังหวัดนครปฐม เป็นสถานที่ประชุม อบรม สัมมนา และปฏิบัติธรรมของประชาชน พระภิกษุสงฆ์ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชนาดใหญ่ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น โดยสถานที่ก่อสร้างพุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่นบริเวณหนองอีเลิง ถนนเลี่ยงเมือง พื้นที่ตำบลศิลา และ ตำบลสำราญ

ทั้งนี้วัตถุประสงค์โครงการ พุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น

1.เฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 84 พรรษา

2.เป็นศูนย์รวมในการประกอบกิจกรรมทางพุทธศาสนา

3.เป็นศูนย์กลางการศึกษาและเรียนรู้ทางพุทธศาสนาตลอดจน

ฝึกอบรมปฏิบัติธรรม

4.เป็นสถานที่พักผ่อนกายและจิตใจ และสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัด

5.เป็นแลนด์มาร์ค (Landmark) แห่งใหม่ของจังหวัดขอนแก่น


การดำเนินการก่อสร้างพุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่นดำเนินการในหลายปีดังนี้


ปี 2554

1.งานขุดลอก ถมดิน ค่าก่อสร้าง 20,910,000 บาท

2.งานก่อสร้างถนน ค.ส.ล. ผิวจราจรขนาด 4 ช่องจราจร พร้อมเกาะกลางถนน ทางเท้า งานไฟฟ้าและแสงสว่าง ค่าก่อสร้าง 13,555,700 บาท

3.งานก่อสร้างพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลอีสาน จังหวัดขอนแก่น ค่าก่อสร้าง 30,000,000 บาท

4.งานก่อสร้างอาคารประดิษฐานองค์พระประธาน ค่าก่อสร้าง 43,000,000 บาท


ปี 2555

1.งานขยายเขตประปา งบประมาณ 1,000,000 บาท

2.งานก่อสร้างป้ายโครงการ งบประมาณ 1,500,000 บาท

3.งานตกแต่งพื้นและผนังภายในอาคารประดิษฐานองค์พระฯ

และผิวทางเดินเท้าภายนอก งบประมาณ 10,200,000 บาท


ปี 2560

1.งานขุดลอกหนองอีเลิงหน้าโครงการพุทธมณฑลอีสาน

งบประมาณ 23,843,000 บาท

2.งานเคลื่อนย้ายหม้อแปลงไฟฟ้าและติดตั้งเสาไฟฟ้า

งบประมาณ 5,040,923 บาท

3.งานก่อสร้างศาลาสังเวชนียสถานทางเดินและโคมไฟ

งบประมาณ 32,331,000 บาท

4.งานก่อสร้างแท่นหินพุทธประวัติ

งบประมาณ 6, 111,000 บาท

5. งานปรับปรุงภูมิทัศน์พร้อมระบบรดน้ำรอบฐานองค์พระ

งบประมาณ 28,500,000 บาท

6. งานก่อสร้างอาคารห้องน้ำ

งบประมาณ 1,087,000 บาท

7. งานก่อสร้างห้องน้ำพร้อมอาคารจำหน่ายสินค้าแห่งที่ 1

งบประมาณ 2,558,000 บาท

8.งานก่อสร้างห้องน้ำพร้อมอาคารจำหน่ายสินค้าแห่งที่ 2

งบประมาณ 2,558,000 บาท


ปี 2565

1. สังเวชนียสถาน งบประมาณ 24,602,477 บาท

2. ซุ้มประตู งบประมาณ 3,055,795 บาท

3. แท่นเฉลิมพระเกียรติ งบประมาณ 1,251,515 บาท

4. อาคารจำหน่ายของที่ระลึก 2 หลัง งบประมาณ 1,143,016 บาท

5. ประติมากรรมพญานาค งบประมาณ 6,844,342 บาท

6. หอไตรกลางน้ำ งบประมาณ 16,426,272 บาท

7. ลานอเนกประสงค์ งบประมาณ 1,541,692 บาท

8. ลานปฏิบัติธรรม งบประมาณ 5,511,506 บาท

9. ลานจอดรถ งบประมาณ 6,481,439 บาท

10. อาคารที่พักผู้มาปฏิบัติธรรม งบประมาณ 3,854,758 บาท

11. ลานปล่อยปลา งบประมาณ 4,422,532 บาท

12. เขื่อนป้องกันตลิ่ง งบประมาณ 40,012,193 บาท

13. ปรับปรุงผิวจราจร งบประมาณ 8,589,346 บาท


ด้าน นายเพชรวรรต กล่าวชื่นชมหลังจากได้เข้ามาศึกษาแล้ว ถือเป็นพุทธมณฑลต้นแบบ อาจนำมาเป็นโมเดลที่เป็นต้นแบบให้กับพุทธมณฑลทั่วประเทศ และอยากขอขั้นตอนในการดำเนินการตามลำดับจากทาง อบจ.ขอนแก่น ซึ่งทาง กทธ. อาจจะขอเข้ามาศึกษาในครั้งต่อไปอีกครั้ง ทั้งนี้นายธาดา พรหมสาขา ณ สกลนคร รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับพุทธมณฑลอีสานจังหวัดขอนแก่น ประสบความสำเร็จอาจด้วย อบจ.ขอนแก่น เข้ามามีส่วนหลักในการประสานงาน ตนอยากให้การบริหารงานพุทธมณฑลในจังหวัดอื่นๆ อบจ.ควรเข้ามาเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ

กมธ.ศาสนาฯสภาฯแก้ปัญหาสร้างพระนอนกลางบึงชัยภูมิ


เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2564  เวลา 13.30 น. ที่วัดบึงบาล บ้านมูลกระบือ จ.ชัยภูมิ นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล นายเพชรวรรตวัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายนพดล แก้วสุพัฒน์ ที่ปรึกษากรรมาธิกา นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ ว่าที่ร้อยตรี สิริชัย ตุลยสุข อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ นางสาวสิริมนโฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ 


พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สภาฯ นางภิรมย์ เจริญรุ่ง นายภีม บุตรเพ็ง นายวัชรพล โรจนวัฒน์และคณะ ได้เข้าร่วมประชุมกับ ผู้แทนส่วนราชการจังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วยสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชัยภูมิ สำนักงานที่ดินจังหวัดชัยภูมิ สาขาภูเขียว อำเภอภูเขียว ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรับทราบรความคืบหน้า ขั้นตอน ระเบียบ เกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ รวมถึงขั้นตอน ระยะเวลาดำเนินการสร้างพระนอนในพื้นที่

จากเดิมมีการวางโครงการพระนอนบนพื้นที่ดินสาธารณประโยชน์หนองโนนกระบือ ตำบลหนองคอนไทย อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่เป็นหนองน้ำพื้นที่ว่า สองร้อยกว่าไร่ ซึ่งได้ยื่นเสนอไปยังที่ดินจังหวัดแล้ว แต่ภายหลังเกิดการร้องเรียน นายอำเภอภูเขียวจึงแนะนำให้เดินโครงการต่อหรือให้เปลี่ยนวัตถุประสงค์ ขณะเดียวกันเจ้าอาวาสวัดบึงบาลแจ้งว่าที่ดินวัดมีพื้นที่ที่จัดซื้อมาเพิ่มอีกสองแปลง หากที่ประชุมมีทางออกร่วมกันก็สามารถย้ายมาสร้างพระนอนบนที่ดินแปลงนี้ที่อยู่ด้านบนของหนองน้ำได้ หลังจากนั้น กมธ.ได้ติดตามความคืบหน้าการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ ตามเรื่องร้องเรียนขอให้ติดตามความคืบหน้าการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้เพื่อสร้างที่พักสงฆ์ในจังหวัดชัยภูมิ ซึ่ง ผู้อำนวยการสำนักพุทธจังหวัดได้จัดเตรียมเอกสารแล้วประกอบด้วย

1. วัดบึงบาล ตำบลหนองคอนไท อำเภอภูเขียว (ขออนุญาตใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์)

6. ที่พักสงฆ์พนังศิลาอาด หมู่ 4 บ้านหนองหอยเหนือ ตำบลกุดชุมแสง อำเภอหนองบัวแดง

3. ที่พักสงฆ์ป่าจันทาราม บ้านโนนสังข์ หมู่ 7 ตำบลกุดยม อำเภอภูเขียว

4. ที่พักสงฆ์ทรงธรรมเจริญสุข หมู่ 10 บ้านหนองบัวเหลือง ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์

5. ที่พักสงฆ์ป่าดอนหัน บ้านดอนหัน หมู่ 7 ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์

6. ที่พักสงฆ์ป่าเทพประทาน หมู่ 8 บ้านสันติสุข ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์

7. ที่พักสงฆ์ป่หนองโพนงาม หมู่ 1 ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์

8. ที่พักสงฆ์ป่าบ้านหญ้านางพุทธบุญญา ตำบลบ้านเป้า อำเภอเกษตรสมบูรณ์

9. ที่พักสงฆ์ป่าพนาไพร หมู่ 5 บ้านโนนมะค่า ตำบลกุดเลาะ อำเภอเกษตรสมบูรณ์

1 . ที่พักสงฆ์ป่าภูคิ้วโฆษิตาราม บ้านโนนหนองไร หมู่ 5 ตำบลโนนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์

11. ที่พักสงฆ์ป่ารัตนศิริธรรม หมู่ 6 บ้านกลาง ตำบลโนนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์

12. ที่พักสงฆ์ป่าเชิงสำราญ บ้านเชิงสำราญ หมู่ 8 ตำบลโนนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์

13. ที่พักสงฆ์ป่าบรรพตธรรมศีรี หมู่ 9 บ้านใหม่นาเจริญ ตำบลโนนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์

1 4. ที่พักสงฆ์ป่าเจริญธรรม หมู่ 3 บ้านเล่า ตำบลโนนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์

15. ที่พักสงฆ์ภูแป้งโพธิบัลลังก์ บ้านบ่อทอง ตำบลถ้ำวัวแดง อำเภอหนองบัวแดง

16. ที่พักสงฆ์ห้วยคลองนา บ้านห้วยคลองนา ตำบลถ้ำวัวแดง อำเภอหนองบัวแดง

สำหรับงานธุรการของสำนักพุทธได้เร่งแก้ปัญหาแล้วและบางกรณีอาจไม่ประสงค์ที่จะขอเนื่องจากอยู่ในป่าช้าและบางกรณีจะต้องมีการสื่อสารเพิ่มเติม

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

กมธ.ศาสนาฯสภาฯลงพื้นที่ภูกระดึง ถกปมที่ดินวัดป่าผาหวาย(ธ) 165 ไร่ เกิดก่อนพรบ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484


วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ที่สำนักสงฆ์ป่าสวนห้อม จ.เลย นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายนพดล แก้วสุพัฒน์ ที่ปรึกษากรรมาธิกา นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ  ว่าที่ร้อยตรี สิริชัย ตุลยสุข อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติ ญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ  นางสาวสิริมน โฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สภาฯ นางภิรมย์ เจริญรุ่ง นายภีม บุตรเพ็ง นายวัชรพล โรจนวัฒน์และคณะ 

ได้เข้าร่วมประชุมกับเจ้าคณะจังหวัดเลย(ธ) เจ้าคณะอำเภอหนองหิน(ธ) เจ้าอาวาสวัดป่าผาหวาย ประธานที่พักสงฆ์ป่าสวนห้อม ตัวแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเลย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดเลย ผู้อำนวยการศูนย์ป่าไม้จังหวัดเลย หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ - ภูกระแต กำนันผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ โดยมีประเด็นถกถึงมีบันทึกว่าวัดป่าผาหวาย หมู่ที่ 3 ต.ปวนพุ อ.ภูกระดึง จ.เลย สังกัดคณะสงฆ์ธรรยุต ที่ดินเนื้อที่ 165 ไร่ ได้จัดตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2483 

ทั้งนี้นายเพชรวรรต กล่าวว่า หากพิจารณาแล้วเอกสารที่บันทึกว่าวัดผาหวายที่สร้างตั้งแต่ พ.ศ.2483 นี้อาจจะมีน้ำหนักไม่เพียงพอ ควรตรวจสอบแผนที่ทางอากาศ รวมถึงมีการสอบถามถึงโบราณวัตถุรวมถึงพยานบุคคลที่มีอายุมากกว่า 85 ปีโดยประมาณเพื่อให้มีหลักฐานเพียงพอ

นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่าตนยินดีที่จะเป็นตัวกลางในการประสานและให้เจ้าพนักงานที่ดินเข้ามาสำรวจ หากถูกต้องตามกฎหมายก็จะสามารถออกเอกสารสิทธิ์ได้ต่อไป

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เกษตรฯหนุนปลูกผักลิ้นห่านดันเป็นสินค้าประจำตำบลไม้ขาวภูเก็ต


วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2564  นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พร้อมด้วยคณะ  ลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงปลูกผักลิ้นห่านของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักลิ้นห่านบ้านไม้ขาว พร้อมรับฟังปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่บ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยมีนางสาววันลีย์ เจริญวิทย์ธนเดช เกษตรและสหกรณ์จังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยนายมนตรี เรืองพันธ์ เกษตรจังหวัดภูเก็ต นายวงศ์ธารินทร์ พรหมรักษ์ สหกรณ์จังหวัดภูเก็ต นายเทวิน  แสวงสิน ปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต ร่วมให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชม พร้อมรับฟังปัญหาของเกษตรกรในพื้นที่ 

ทั้งนี้นายอำพันธ์ุเปิดเผยว่าตนได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระทรวงเกษตรในพื้นที่ให้จัดทำแผนการส่งเสริมเกษตรกรในในพื้นที่สสร้างกลุ่มร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปลูกผักลิ้นห่านให้เป็นสินค้าอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นตำบลไม้ขาว พร้อมประชาสัมพันธ์ให้สินค้าเป็นที่รู้จัก ส่งเสริมเรื่องการแปรรูป และการตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางในการจัดจำหน่ายต่อไปเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตกรในพื้นที่อย่างยั้งยืน            

สำหรับผักลิ้นห่านเป็นผักพื้นบ้าน ส่วนใหญ่จะพบขึ้นอยู่ตามชายหาด พบมากที่ตำบลไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต นิยมนำมาบริโภคโดยนำมาแกงกะทิหรือผัดกับน้ำมันหอย รสชาติอร่อยมีความกรอบมัน มีสรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ลดไขมันในเลือด แก้ท้องอืดได้ด้วยจึงน่าจะเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในท้องถิ่นได้อีกทาง

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เตรียมยกร่างแผนพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคปชช."มจร" เปิดกว้างรองรับคนรุ่นใหม่


วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔  เวลา ๐๙.๐๐-๑๑.๓๐ น. พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และประธานคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ผ่านโปรแกรม Zoom โดยมีคณะกรรมการและคณะทำงานรวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิร่วมประชุม เช่น ดร.มยุรี จำจรัส ผู้อำนวยการยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา   ศาสตราจารย์ นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ กรรมการสมานฉันท์ผู้เชี่ยวชาญด้านสันติวิธี เป็นต้น 

พระมหาหรรษาแจ้งเพื่อทราบว่า ขอชื่นชมคณะทำงานทุกรูปคนในการขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือกับระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นการสนองงานมหาวิทยาลัยและปฏิบัติตามแนวทางการของการบริการ 

ดร.มยุรี ในฐานะกับดูแลมาตรฐานการขับเคลื่อนศูนย์ได้สะท้อนถึงการพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ว่าเป็นศูนย์ต้นแบบที่มีความพร้อมด้านกายภาพเป็นอย่างมากถือว่าเป็นต้นแบบในระดับจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและถือว่าเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ระดับประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมามีการประเมินผลศูนย์ถึง ๙๙ คะแนน พร้อมนำเสนอการพัฒนาให้มีความยั่งยืนและเป็นต้นแบบของศูนย์อื่นๆต่อไปทั่วประเทศ ในมติที่ประชุมจึงมีการเตรียมการยกร่างแผนพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร อย่างเป็นระบบโดยร่วมกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พร้อมยุติธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยผลึกกำลังกับเครือข่ายของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยภาคประชาชนบริการสังคมสันติสุข ซึ่งแผนจะกำหนดคน งาน เงิน ที่มีความเหมาะสม พร้อมตั้งคณะกรรมการทำแผนพัฒนาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เพื่อการทำงานที่เป็นระบบยิ่งขึ้น 

ดังนั้น พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการและคณะทำงานในประเด็นว่า หลักสูตรการพัฒนานักไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ จำนวน รุ่น ๔-๘  ซึ่งมีผู้สมัครเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมจำนวนมากโดยจะมีการพิจารณาผู้มีคุณสมบัติเข้ารับการฝึกอบรม พร้อมยกระดับหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพุทธสันติวิธีจำนวน ๒ รุ่น ซึ่งมีความเป็นอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งเปิดรับสมัครเพื่อพัฒนาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ผู้ประนีประนอม และผู้ทำงานในศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนทั่วประเทศต่อไป 

พร้อมกันนี้พระมหาหรรษา ยังผลึกกำลังคนรุ่นใหม่ในการพัฒนาหลักสูตรสันติศึกษาภาคอินเตอร์และภาษาไทยร่วมกันในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ทำงานเต็มศักยภาพ โดยให้ทุกคนมาสร้างงานสร้างบารมีถือว่าเป็นวิสัยทัศน์ของผู้บริหารรุ่นใหม่อย่างแท้จริง     


จุฬาฯถอดบทเรียนศูนย์ไกล่เกลี่ยฯภาคปชช.มหาจุฬาฯ เป็นฐานพัฒนาหลักสูตร


วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔  พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)   และประธานคณะทำงานศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร ต้อนรับ ดร. อัจฉรียา ธิรศรีโชติ และคณะ ในฐานะผู้แทนนักวิจัยจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ในการขอศึกษาแนวทางการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ และแนวทางการจัดหลักสูตรการไกล่เกลี่ยตามแนวทางพุทธสันติวิธี พร้อมศึกษาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร  โดยคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มุ่งพัฒนาหลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

เพื่อจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ “สังคมไทยไร้ความรุนแรง” โดยผู้เข้าอบรมสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีการพัฒนาหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคนำร่อง ที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช) ได้ให้การรับรอง 

พระมหาหรรษา  จึงกล่าวย้ำว่า มหาจุฬาเริ่มจากMou กับสำนักงานศาลยุติธรรม และสถาบันพระปกเกล้า ในการเปิดปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร ปัจจุบันรียนสันติศึกษาเรียน ๑ ได้ ๒ จบปริญญาโทเอก สันติศึกษาสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๖๒ จึงขออนุญาตจาก กพยช เพื่ออนุมัติหลักสูตรในการเปิดใช้หลักสูตรแล้วบูรณาการความเป็นเอกลักษณ์ของสถาบันนั้นๆ หลักสูตรไกล่เกลี่ยจึงต้องบูรณาการจึงต้องบูรณาการ สันติศึกษาเป็นแบรนด์ของพระพุทธเจ้าในการออกจากความขัดแย้ง พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่นคือสันติศึกษา : สันติเมว สิกขายยะ และ จงพูกพูนสันติวิธีเท่านั้น : สันติมัคคเมว พรูหยะ จึงต้องออกกแบบหลักสูตรให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย แต่อย่าลืมคนในชุมชนรากฐานของชุมชนอย่างแท้จริง จะต้องออกแบบสันติภาพให้ครบตามแนวพระพุทธศาสนา ๔ ภาพ คือ กายภาพ  พฤติภาพ  จิตตภาพ  และปัญญาภาพ ทำให้หลักสูตรสันติศึกษาได้อันดับหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  หลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มหาจุฬาจัดจึงมีการบูรณาการมิติทางพระพุทธศาสนาทำให้ผู้ไกล่เกลี่ยมี "ตัวรู้มากกว่าความรู้" ความรู้อย่างเดียวจะทำให้ก้าวร้าว แข็งกร้าว แต่ตัวรู้คือสติ จะทำให้มีความนุ่มนวล แนวทางกระทรวงจะมุ่งตัวรู้เป็นฐานทำให้มหาจุฬานำตัวรู้มาบูรณาการเพื่อการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท  

ดังนั้น คำถามหน้าตาของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เราจะพัฒนาควรมีหน้าตาอย่างไร   จึงต้องออกแบบให้เหมาะสม จะต้องเริ่มจากการพัฒนาภายในก่อนจะพัฒนาภายนอก จึงต้องพัฒนาแบบต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มหาจุฬาจึงมุ่งเพิ่ม ๑๒ ชั่วโมงเป็นแนวทางพระพุทธศาสนา มุ่งภายในของผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จึงมีการวางแผนการพัฒนาหลักสูตรร่สมกันต่อไป                                        


พระปิดตา 3 รุ่นที่ต้องมี! บารมี"หลวงพ่อพัฒน์" "ปลดหนี้-เงินล้าน-มหาเสน่ห์"


ในยุคปัจจุบันพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาในอันดับต้นๆและมีคนรู้จักทั่วประเทศ อีกทั้งกล่าวได้ว่าท่านมาแรงที่สุด เชื่อว่าส่วนใหญ่ต้องนึกถึง พระราชมงคลวัชราจารย์ หรือ"หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม" เจ้าอาวาสวัดห้วยด้วน (ธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นคร สวรรค์ พระมหาเถระ 5แผ่นดินผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา สมญานาม“เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว” ผู้มีอายุยืนยาวร่วม100ปี

หลวงพ่อพัฒน์ท่านสร้างคุณงามความดีไว้ทั้งทางโลกและทางธรรม อีกทั้งมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านพระคาถาอาคมต่างๆที่ได้รับการถ่ายทอดและสืบทอดจากอดีตเกจิอาจารย์ดังขมังเวทย์หลายท่าน ซึ่งท่านเป็นเหลนแท้ๆของหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล โดยได้วิชาผ่านทางอดีตสุดยอดคณาจารย์ดังอย่างหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่ออิน วัดหางน้ำสาคร, หลวงพ่อหมึก วัดสระทะเล และหลวงพ่อโหมด วัดโคกเดื่อ 


ด้วยเหตุนี้จึงมีการขออนุญาตจัดสร้างวัตถุมงคลของท่านหลายรุ่นหลายรูปแบบเพื่อร่วมยกย่องเกียรติคุณความดีและนำปัจจัยพึงมีพึงได้ถวายแด่ท่านนำไปใช้ในการบูรณะพัฒนาวัดและการสาธารณประโยชน์,สาธารณสงเคราะห์ต่างๆ ซึ่งทุกรุ่นล้วนเป็นที่นิยมทั้งในวงการพระเครื่องและญาติโยมศิษยานุศิษย์ทั่วไป

 "พระปิดตา"เป็นพระเครื่องประเภทหนึ่งที่นิยมกันมาก ด้วยพุทธลักษณะขององค์พระที่แตกต่างทั้งกรรมวิธีการสร้าง รวมทั้งมีพุทธศิลปะ เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจาก พระเครื่องประเภทอื่นๆ ลักษณะเด่นของพระปิดตา นั้นนับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง "นัย" หรือ "ปริศนาธรรม" แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น ยากจะหาพระเครื่องประเภทใดเทียบเทียมได้ 


พระปิดตาทุกสำนัก พุทธคุณส่วนใหญ่จะโดดเด่นในด้านคงกระพัน มหาอุด จะมีบางเกจิอาจารย์ที่ท่านสร้างมาแล้วเด่นด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ  อย่างเช่น พระปิดตาหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม. ซึ่งท่านได้สร้างไว้มากรุ่น ล้วนแต่มีประสบการณ์ ด้านเมตตามหานิยม และโชคลาภเป็นเลิศ

"พระปิดตา"นับเป็นวัตถุมงคลรูปแบบหนึ่งของหลวงพ่อพัฒน์ที่มีกระแสศรัทธาและค่านิยมสูง ทั้งที่ออกในนามวัดห้วยด้วนโดยตรงหรือคณะศิษย์จัดสร้าง ซึ่งมีอยู่ 3 รุ่นที่ขึ้นทำเนียบพระหลักสายพ่อพัฒน์ไปเเล้วนั่นคือ 1.พระปิดตาปลดหนี้ 2.พระปิดตาเงินล้าน 3.พระปิดตามหาเสน่ห์ ผลงานของทีมสร้าง"พี่เสือ" นำโดย"นิภัทร สมาร์ทอิมเมจ และ"ป้อม สกลนคร" 


3รุ่นที่เปี่ยมด้วยพุทธคุณ บวกกับความงามแห่งพุทธศิลป์ ผ่านการรังสรรค์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย แม่พิมพ์คมชัด การออกแบบที่ลงตัว มวลสารครบถ้วนตามตำรา โดยคงความเป็นเอกลักษณ์ของพระผงสืบทอดตำนานปิดตาพระคณาจารย์ดังอย่างหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 

พิมพ์ทรงสะดุดตา ด้านหน้าสีองค์พระกลมกลืนลงตัว ด้านหลังสุดขลังด้วยยันต์ เห็นมวลสารแบบชัดๆ เกศาหลวงพ่อพัฒน์  จีวรหลวงพ่อพัฒน์  ผงว่านผ่านการเสก  ตะกรุดเสก  อัดแน่นทุกอณูเนื้อเพื่อให้เห็นความแตกต่างอย่างที่ภาษานักสร้างบอกว่า"จัดหนักจัดเต็ม เข้มข้น เข้มขลัง"

พิธีปลุกเสกเข้มขลัง "หลวงพ่อพัฒน์"อัดพลังประจุพระคาถาอาคมเต็มที่ทั้ง3รุ่น3วาระ อาราธนาขึ้นคอได้แบบอุ่นใจ...โชว์ใครก็ไม่ต้องอาย...ของดีสายเมตตาโชคลาภ... แคล้วคลาดคุ้มครอง

“ปลดหนี้-เงินล้าน-มหาเสน่ห์" 3รุ่นตำนานเเห่งพระผงที่ศิษย์สายตรงต้องมี!! ใครชอบปิดตาหลวงปู่โต๊ะ ต้องไม่พลาดปิดตาหลวงพ่อพัฒน์  งานพระผงระดับพรีเมี่ยม  ดีกรียอดนิยม  มีงานประกวดรองรับทุกรุ่น เพราะเจตนาการสร้างดี ชื่อรุ่นดี ทีมสร้างดี จำนวนการสร้างชัดเจน...เน้นสร้างบุญกับหลวงพ่อตรงๆ

สอบถามได้ที่ "นิภัทร์ สมาร์ทอิมเมจ" โทร.086-4508969  "ป้อม สกลนคร"โทร.089-6198989 หรือในเพจ"กลุ่มพระผงยอดนิยมทุกรุ่น หลวงพ่อพัฒน์ ปุญญกาโม วัดห้วยด้วน จ.นครสวรรค์



 

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

กมธ.ศาสนาฯสภาฯลั่น! วัดเกิดก่อน พ.ศ.2484 บนพื้นที่หวงห้าม ต้องเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมาย


เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ที่วัดพระพุทธไสยาราม จ.สกลนคร นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติ ญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ , นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ , นางสาวสิริมน โฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ และคณะ 

ได้เข้าร่วมประชุมกับผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ผอ.สำนักงานที่ดินจังหวัด ผอ.สำนักพุทธจังหวัด ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด นายอำเภอเมืองสกลนคร หน่วยงานท้องถิ่นและส่วนงานราชการที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมประชุมหารือการร้องเรียนจาก นายนิยม เวชกามา สส.สกลนคร ที่ร้องเรียนว่า วัดศิริพัฒนาราม และวัดพระพุทธไสยาราม เป็นวัดที่สร้างมาก่อน พ.ศ.2484 หรือก่อนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2484

นายเพชรวรรต ได้กล่าวว่าก่อนที่จะเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงที่รัฐสภาแล้ว หลังจากนั้นคณะกรรมาธิการได้เข้ามาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมโดยลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงของวัดทั้งสอง ซึ่งมีประชาชนยืนยันว่าวัดเกิดก่อน พ.ศ.2484 จริงทั้งนี้ทาง กมธ. ได้ให้ฝ่ายกฎหมายศึกษาข้อกฎหมายว่าสามารถออกเอกสารสิทธิ์ได้หรือไม่ ซึ่งทราบข้อมูลว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร พ.ศ. 2484 จึงได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือ ซึ่งได้ข้อสรุปจากข้อเท็จจริงว่าวัดทั้งสอง เกิดก่อน พ.ศ. 2484 จริง อย่างไรก็ตามขณะนี้อยู่ในกระบวนการรวบรวมเอกสารและพยาน ภาพถ่ายทางอากาศและพยานบุคคล เพื่อดำเนินการออกเอกสารสิทธิต่อไป

30 วัดธรรมยุตขาดเจ้าภาพทอดกฐิน! กมธ.ศาสนาสภาฯ ร่วมกับหลวงพ่อสุธรรม สุธัมโมถวาย


เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ที่จังหวัดสกลนคร คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้เข้ากราบพระราชวชิรธรรมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) จ.อุดรธานี ซึ่งประกอบด้วยนายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาฯ นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ นายประกรเกียรติ ญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ , นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ , นางสาวสิริมน โฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ และคณะ 

เพื่อรับมอบเป็นประธานกฐินพร้อมด้วยปัจจัยไทยธรรม เพื่อนำไปถวายให้กับวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาครบไตรมาส จำนวน 5 รูปขึ้นไป เพื่อให้พระสงฆ์ที่ประจำพรรษาในแต่ละวัดฝ่ายธรรมยุตที่ขาดกฐินได้กรานกฐินจำนวน 30 วัด ซึ่งถือเป็นอานิสงส์สำหรับพระสงฆ์ และเป็นอานิสงส์ใหญ่สำหรับสาธุชนที่ได้ร่วมถวายผ้ากฐินทาน 

ความเป็นมาของกฐินคือ มีภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐจำนวน 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ขณะนั้นยังไม่ทันที่ถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง เมื่อออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4) หรือ 1 เดือนหลังออกพรรษา ในการนี้นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล ได้ประสานกับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร เพื่อรับมอบและนำไปถวายให้แก่วัดที่ยังไม่ได้รับกฐิน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 พ.ย. 2564 ที่จะถึงนี้

"สถาบันโค้ชไทย-วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร" ร่วมมือทางวิชาการขับเคลื่อนศักยภาพมนุษย์


เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔  พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) โค้ชสันติ รุ่น ๔๘ สถาบันโค้ชไทย เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ได้ร่วมในพิธีลงนามความมือทางวิชาการระหว่างสถาบันโค้ชไทยกับวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร โดยมีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร กล่าวต้อนรับว่า การโค้ชเป็นส่วนสำคัญมากในการในปัจจุบันจะต้องเปลี่ยนจากการสอนเป็นการโค้ช เป็นวิธีการที่ดีมากในยุคปัจจุบัน 

"มองว่าพระพุทธเจ้าเป็นบรมโค้ชอย่างแท้จริง จึงมีโอกาสไปเรียนการโค้ชกับสถาบันโค้ชไทยทำให้มองว่าการโค้ชเป็นเครื่องมือที่สำคัญ โค้ชคือแนวทางตะวันตกสอดรับกับพระพุทธศาสนามีกระบวนการถามเพื่อค้นพบตนเอง พระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์กับความดับทุกข์ การโค้ชให้ค้นพบตนเองภายใต้คำว่า รู้ ตื่น และเบิกบาน แต่จะต้องรู้ตนเองก่อนค่อยไปรู้คนอื่น สร้างการตระหนักรู้จากภายใน จึงมีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการนำไปสู่การพัฒนาผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่  ให้มี Mindset ที่เติบโต จะต้องถามตนเองทุกวันเพื่อการเติบโต ถามผู้ใช้บริการเพื่อตอบโจทย์เพื่อนำไปสู่พุทธปัญญา ซึ่งอนาคตจะต้องทำหลักสูตรร่วมกันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผ่านการส่งมอบให้สังคมโลก ผ่านการบูรณาการศาสตร์ตะวันตกและพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน" พระมหาหรรษา  กล่าว       

โค้ช ดร. เทอดทูน ไทศรีวิชัย  ผู้ก่อตั้งสถาบันโค้ชไทยกล่าวว่า  เรามีความเหมือนกันระหว่างสถาบันโค้ชไทยกับวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร โดยมีสหพันธ์การโค้ชนานาชาติเป็นมาตรฐาน ซึ่งโค้ช "เราเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์" โค้ชจะต้องสมรรถนะการโค้ช โดยโค้ชจะเชื่อศักยภาพของทุกคนทุกคนสามารถเติบโตได้ เรามีศักยภาพภายนอกแต่ต้องอาศัยกระจกเงาให้เมล็ดพันธุ์ได้เติบโต จึงต้องเชื่อศักยภาพคนอื่นแล้วละวาง ไม่ตัดสินผู้อื่น เพราะผู้เชื่อศักยภาพผู้อื่นจะต้องละวางผ่านกัลยาณมิตร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในยุทธศาสตร์ของชาติมีการพัฒนาครูอาจารย์เป็นโค้ชเป็นผู้อำนวยการให้เกิดการเรียนรู้อย่างทรงพลัง โดยมุ่งให้สามารถโค้ชตนเองและการโค้ชคนอื่น ให้คนไทยพ้นทุกข์พบสุข  นับว่าเป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่ง

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เสียงธรรมจากมหาจุฬาอาศรม ทอดกฐินสามัคคีทำความดีถวายเป็นพุทธบูชา



เมื่อวันที่ ๑๔ พ.ย.๖๔ พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มจร ในฐานะผู้ดำเนินรายการ “เสียงธรรมจากมหาจุฬาอาศรม” เปิดเผยว่า ที่ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม ตำบลพญาเย็น อำเภอปางช่อง จังหวัดนครราชสีมา จัดทอดกฐินสามัคคีทำความดีถวายเป็นพุทธบูชา ประจำปี ๒๕๖๔ โดยมี ดร.แม่ชีณัฐญาวรรณ เปรมสกุล ประธานมูลนิธิโพธิวรรณา และคณะ เป็นเจ้าภาพหลัก มีผู้ฟังรายงานเสียงธรรมจากมหาจุฬาอาศรมเข้าร่วมกิจกรรม มากกว่า ๑๐๐ คน  โดยปฏิบัตตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งคัด...กิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ น. ฟังเทศน์เรื่องอานิสงส์กฐิน โดย พระศรีธรรมภาณี,ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร เวลา ๑๐.๓๐ น. เจริญพุทธมนต์ฉลององค์กฐิน เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์จำนวน ๑๕ รูป เวลา ๑๓.๓๐ น. พิธีถวายผ้ากฐินสามัคคี เวลา ๑๔.๐๙. พิธีห่มผ้าพระพุทธธรรมวิจิตรศาสดา พระประธานศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม..



ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม จากอดีตสู่ปัจจุบัน มหาจุฬาอาศรมเกิดขึ้นในสมัยที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ ถึงปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ โดยการระดมความคิดเห็นและรวบรวมทรัพย์สินจากแรงศรัทธาของประชาชนผู้มาปฏิบัติธรรม ณ สำนักธรรมวิจัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ชื่อเดิมในเวลานั้น) ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์ซื้อที่ดินจำนวน ๗๙ ไร่ ๒ งาน ๓๑ ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ ๓๐๑ หมู่ ๗ ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นสวนมะพร้าวและลำไยของ นางชวนชื่น ศิระวงษ์จัดซื้อในนามของมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๑๗ ในราคา ๓๕๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการโอนเปลี่ยนชื่อโฉนดที่ดินจากมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การจัดซื้อที่ดินแปลงนี้


เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิและมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่าเป็นสถานที่สงบร่มรื่นดี มีภูเขา ป่าไม้ ลำธาร และห่างไกลจากความแออัดและสิ่งรบกวนที่ก่อให้เกิดมลภาวะ ซึ่งนับว่าเป็นสถานที่เหมาะสม และสัปปายะต่อการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง โดยใช้ชื่อสำนักปฏิบัติว่า “มหาจุฬาอาศรม” และได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม “ตามคำสั่งมหาวิทยาลัย ที่ ๔๙๒/๒๕๕๓” ซึ่งประกอบด้วยหน้าที่ ดังนี้ ประกอบด้วย ๑) ดำเนินการเร่งรัดพัฒนาอาคารและสถานที่ให้เป็นไปตามผังแม่บทพัฒนามหาจุฬาอาศรมให้สำเร็จวัตถุประสงค์ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ๒) จัดทำแผนการใช้งานอาคารสถานที่ให้คุ้มค่ากับการลงทุน (๓) จัดหาทรัพยากรเพื่อพัฒนามหาจุฬาอาศรมให้เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมที่มีประสิทธิภาพตามนโยบายของมหาวิทยาลัยและตามประกาศมหาวิทยาลัย” จะเห็นได้ว่า การก่อตั้งมหาจุฬาอาศรม ถึงแม้จะเป็นไปตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแต่เมื่อพิจารณา โดยเนื้อหาหลักของการก่อตั้งแล้ว ถือว่าเป็นไปเพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรและผู้ที่สนใจทั่วไป

 การบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรม มหาจุฬาอาศรม เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จึงต้องบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม ให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัย เรื่อง ภารกิจ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของส่วนงานในมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๗ ประกอบด้วย “ปฏิบัติงานจัดกิจกรรม ส่งเสริม สนับสนุน บริการฝึกอบรมเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม วิปัสสนากรรมฐาน หรืออื่น ๆ และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย” ในปัจจุบันมหาจุฬาอาศรมมีชีวิตมีผู้บริหารมหาจุฬา รวมถึงญาติธรรมกัลยาณมิตรเข้าไปให้การอุปถัมภ์ สนับสนุน ส่งเสริมในด้านกายภาพถือว่ามีความพร้อมอย่างยิ่งเพื่อเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาในด้านพฤติภาพ ด้านจิตภาพ และด้านปัญญาภาพสำหรับพระสงฆ์และเด็กเยาวชนรวมถึงบุคคลทั่วไป ยิ่งในภาวะปัจจุบันมีการส่งเสริมพุทธเกษตรรักษาธรรมชาติและส่งแวดล้อม มุ่งสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและสร้างความมั่นคงทางด้านจิตใจเป็นปรับเพื่อให้สามารถอยู่รอดในภาวะปัจจุบัน ยังมีฝายเพื่อชีวิตซึ่งสอดรับกับการพัฒนาร่วมกับชุมชนอย่างสันติสุข ปัจจุบันมีพระครูปลัดอุทัย พลเทโว ดร. ฐานานุกรรมในพระเดชพระคุณพระเทพวัชรบัณฑิต,ศ.ดร.(ปัจจุบันเป็น พระธรรมวัชรบัณฑิต,ศ.โร.) รองผู้อำนวยการส่วนธรรมนิเทศ มจร เป็นผู้บริหารศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม

นายก อบจ.อุดรฯ"งง! วัดถูกล้อมลวดหนามเข้าไม่ได้ กมธ.ศาสนาฯสภาฯรุดเคลียร์

 


วันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 ที่ที่พักสงฆ์ดินดำ (ธ) ต.บ้านโคก จ.อุดรธานี นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร , นายทองแดง เบ็ญจะปัก กรรมาธิการ , นายสัมพันธ์ เสริมชีพ อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาฯ , นายณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการฯ , นายประกรเกียรติ ญาณหาร เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ , นายธัชกร แต้ศิริเวช ที่ปรึกษากรรมาธิการศาสนาฯ , นางสาวสิริมน โฉมจันทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วยหน่วยงานราชการโดย เจ้าคณะอำเภอสร้างคอม (ธ) นายอำเภอสร้างคอม กรมศิลปากร พร้อมหน่วยงานราชการ ทั้งนี้ผู้ร้องเรียนโดยหม่อมหลวง กร กมลาศน์ และ นายวิเชียร ขาวขำ นายกองค์กรบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ได้เข้าร่วมประชุมด้วย


นายเพชรวรรต กล่าวว่า วัดถือเป็นศาสนสมบัติที่ประชาชนทั่วโลกให้การเคารพกราบไหว้ ถือเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลก กฎหมายของประเทศไทยจึงได้บัญญัติให้คุ้มครองศาสนสถานไว้ หากพิสูจน์ได้ว่าวัดมีก่อนกฎหมายที่ดินก็จะเป็นนหลักฐานว่ามีวัดของประชาชนปักหลักในสถานที่แห่งนั้น ทั้งนี้ตัวแทนกรมศิลปากรกล่าวว่า จากได้ลงพื้นที่เมื่อปี พ.ศ.2561ได้พบหลักฐานสำคัญว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นวัดมาก่อน พ.ศ.2484 โดยพบเจดีย์และพระพุทธรูปโบราณ คาดว่าอายุของวัดแห่งนี้จะอยู่ราวพุทธศตวรรษ 2100-2400 หรือราว 400 - 100 ปีก่อน ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดงบประมาณในการสำรวจผ่านดาวเทียมเพิ่มเติม ซึ่งจะสำรวจเร็วๆ นี้ หากขอบเขตของวัดกว้างยาวขนาดไหนก็จะแสดงว่าวัดมีพื้นที่ตามการสำรวจนั้น

นายวิเชียร  กล่าวต่อที่ประชุมว่าตนต้องขออภัยที่เข้าร่วมประชุมช้า ด้วยเพราะทางเข้าถูกปิดโดยล้อมลวดหนามขวางกั้นไว้ ตนจึงต้องอ้อมมาอีกทาง ซึ่งเป็นเพียงคันนาเข้ามา หากจะสามารถขยายที่โดยมีการบริจาคงบประมาณในการขยายถนนและบริจาคเป็นถนนสาธารณะตนก็พร้อมที่จะผลักดันงบประมาณในการสร้างถนนเข้ามาในวัดได้ ทั้งนี้ตนอยากจะให้นายอำเภอสร้างคอม ประสานกับกำนันผู้ใหญ่บ้านประสานและคุยกันให้ลงตัวเสีย ก่อนที่จะมีความยุ่งยากมากขึ้นกว่านี้

ด้านหม่อมหลวงกร กมลาศน์ กล่าวต่อไปว่า จากการที่ตนได้รับการร้องเรียน ได้ทราบถึงการที่มีอดีตนักการเมืองท้องถิ่น มีความพยายามผันเอาที่ดินแห่งนี้ซึ่งตกสำรวจและผลักดันให้มีการออกเอกสารสิทธิ์ให้ภรรยา จนเจ้าอาวาสองค์เก่าอยู่ไม่ได้ และมีการกระชับพื้นที่ ข่มขู่พระ รวมถึงมีการทำร้ายพระตลอดมา ตนจึงเห็นว่าเป็นความอยุติธรรมต่อพระพุทธศาสนา จึงได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการเพื่อเข้ามาตรวจสอบดังกล่าว

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...