วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2567

"ประเสริฐ" แนะนำหลักฐานอื่นพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของวัดในเขตที่ดินของรัฐด้วย



คณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ "เห็นชอบ" ร่างการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของวัดในเขตที่ดินของรัฐ  "ประเสริฐ" แนะควรนำหนังสือรับรองสภาพวัด หรือ เอกสารขึ้นทะเบียนโบราณสถาน หรือจดหมายเหตุมาประกอบการพิจารณาด้วย   

เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567 นายประเสริฐ จันทรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 3 /2567 ว่า  ที่ประชุมมีการพิจารณาเรื่องการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของวัดในเขตที่ดินของรัฐ ที่ประชุมได้พิจารณามาตรการการพิสูจน์สิทธิ ที่เรียกง่ายๆ ว่า สำหรับวัดในที่ดินของรัฐ เนื่องจากแนวทางการพิสูจน์สิทธิที่มีอยู่ในปัจจุบัน ใช้ไม่ได้ผลดีกับแนวทางการปฏิบัติธรรมของสงฆ์ ซึ่งอาจจะทำให้เมื่ออ่านแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแล้ว อาจจะไม่พบร่องรอยการทำประโยชน์ จึงต้องกำหนดมาตรการการพิสูน์สิทธิที่นอกจากจะใช้หลักฐานเอกสารแจ้งการครอบครองที่ดินได้แล้ว ยังสามารถใช้หนังสือรับรองสภาพวัด หรือ เอกสารขึ้นทะเบียนโบราณสถาน หรือ จดหมายเหตุมาประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ ต้องเป็นการครอบครองทำประโยชน์ มาก่อนการเป็นที่ดินของรัฐด้วย

ขณะที่ดร.นิยม เวชกามา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เข้าร่วมประชุมด้วย กล่าวว่า เรื่องการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของวัดในเขตที่ดินของรัฐนี้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ถกเถียงและเสนอแนะอย่างกว้างขวาง อาทิ บางวัดครอบครองที่ดินวัดนับพันไร่ เกินความจำเป็นหรือไม่ หรือเป็นห่วงมาตรฐานการพิสูจน์สิทธิเป็นไปด้วยหลักวิทยาศาสตร์หรือไม่

ดร.รวีวรรณ ภูมิเดช ผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ได้กล่าวชี้แจงว่า ร่างนี้ได้ผ่านการถกกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายรอบ และขอให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งผู้เข้าร่วมประชุมโปรดวางใจ การดำเนินการพิสูจน์สิทธิในร่างนี้มีหลายมาตรการด้วยกัน ทั้งวัดต้องมีเอกสารรับรองจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีเอกหลักฐานรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น ประกาศโบราณสถานของวัดที่ออกโดยกรมศิลป์ ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา หลักการได้รับวิสุงคามสีมา จดหมายเหตุ หรือพงศาวดาร เป็นต้น

ทางด้านดร.นิยม เวชกามา ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า สำหรับวัดในประเทศไทยที่มีปัญหาที่ดินซึ่งอยู่ในเขตที่ดินของรัฐมีทั่วประเทศนับหมื่นวัด ร่างนี้มีประโยชน์สำหรับพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ปัจจุบันนี้หลายพันวัดแม้สร้างโบสถ์เสร็จแล้ว  ก็ยังประกอบสังฆกรรมไม่ได้ เพราะยังไม่ได้พระราชทานวิสุงคามสีมา เนื่องจากมีปัญหาที่ดิน บางวัดมีปัญหาทับซ้อนกับที่ดินของรัฐ

“อย่างวัดดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ใครจะคิดว่าจะมีปัญหาที่ดิน ทุกวันนี้อุทยานก็ยังไม่ออกโฉนดที่ดินให้ ฟ้องร้องกันอยู่ ส่วนวัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร ที่ประชุมยกมาเป็นกรณีตัวอย่างนี้ ที่บอกว่ามีเป็นพันไร่ ต้องยอมรับว่าจริง ท่านทำรั้วเรียบร้อยแล้ว  ยุคหลวงปู่แบน ไม่มีใครร้อง เพราะท่านเป็นพระผู้ใหญ่มีคนนับถือมาก ตอนนี้ทราบว่ากรมอุทยานบอกว่าบุกรุก 900 กว่าไร่ ซึ่งก็ต้องว่ากันไป พระสงฆ์สายวัดป่าท่านอยู่ป่า ปฎิบัติธรรม ท่านอยู่พันกว่าไร่ ก็เพื่อจาริกปฎิบัติธรรม พระสายวัดป่านอกจากอาศัยป่าปฎิบัติธรรมแล้ว ยังป้องกันป่าไม่ให้ถูกทำลายทั้งจากประชาชนและไฟป่าด้วย..”

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...