"เสฐียร พันธรังษี"ศาสตราจารย์แห่งธรรมะนักเขียน
ศาสตราจารย์เสฐียร พันธรังษี ราชบัณฑิตทางพุทธปรัชญา และวิชาการหนังสือพิมพ์ เป็นอาจารย์ ผู้มีลูกศิษย์มากมายในบ้านเมืองนี้ เพราะเป็นผู้มีความสำคัญต่อการสอนวิชาการหนังสือพิมพ์และจรรยาบรรณแก่นักศึกษา เป็นอาจารย์สอนที่คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนปี 2522 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ทางวิชาการหนังสือพิมพ์ โดยมีความถนัดและเชี่ยวชาญงานเขียน โดยเฉพาะตำรางานวิชาการ ทั้งด้านการศึกษา ประวัติศาสตร์ ศาสนา และเรื่องราวต่างประเทศ
โดยเฉพาะศาสนา ซึ่งเป็นธรรมสากลสำหรับสังคม เป็นเครื่องประคับประคองสังคมให้ตั้งอยู่ได้ ช่วยขัดเกลาสังคมให้พ้นจากความดุร้ายมาสู่ความเห็นอกเห็นใจรักใคร่สามัคคีกัน ศาสนามิได้เป็นสมบัติของชาติหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ทางแห่งการปฏิบัติธรรมในศาสนาเพื่อความเรียบร้อยของสังคมนั้น ย่อมมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะภูมิประเทศและสังคม เป็นคำนิยมที่ เสถียร พันธรังษี ร่ายเป็นบทนำในหนังสือ ศาสนาเปรียบเทียบ
สำหรับ เสฐียร พันธรังษี และคู่หูอย่าง เฉลิม วุฒิโฆษิต สมัยเป็นนักหนังสือพิมพ์ทั้งสอง เป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้ง สมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยในครั้งแรก โดยมีนักหนังสือพิมพ์ประจำการประมาณคน มี เฉลิม วุฒิโฆสิต บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชาวไทย เป็นหัวหน้า ต่อมา เสฐียร พันธรังษี เป็นนายกสมาคมคนถัดมา 50
ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มอบที่ดินของกรมธนารักษ์ที่อยู่ในความดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี เนื้อที่ 1 ไร่เศษ ฝั่งตรงข้ามโรงพยาบาลวชิระ ถนนสามเสน ซึ่งเป็นบ้านพักของผู้แทนราษฎร ใช้เพื่อเป็นที่ก่อสร้างที่ทำการของสมาคมฯ
ในปี 2512 เสฐียร พันธรังษี เป็นนายกสมาคมฯ ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารที่ทำการของสมาคม และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2512 นับตั้งแต่ก่อตั้งสมาคมในปี 2508 จนถึงการรวมกับสมาคมนักข่าวฯ สมาคมนักหนังสือพิมพ์
นับได้ว่าสมาคมฯ แห่งนี้เป็นองค์กรเดียวที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จฯ มายังองค์กรของผู้ประกอบการวิชาชีพหนังสือพิมพ์.....
โดยองค์กรแห่งนี้ นับเป็นของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ทุกระดับประเภท ไม่ว่าจะเป็นช่างเรียง ช่างแท่น คนตรวจปรู๊ฟ นักข่าว ช่างภาพ คนในกองบรรณาธิการ ตลอดจนบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ผู้อำนวยการและเจ้าของหนังสือพิมพ์ รวบรวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ข้อความข้างต้นนี้ถูกเผยแพร่ทางเว็บไซต์สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2552 และเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2554 และได้เผยแพร่ข้อความที่เกี่ยวข้องกับอาจารย์เสฐียร พันธรังษี อีกครั้งเรื่อง "เสฐียร พันธรังษี นักวิชาการศาสนาและนักหนังสือพิมพ์" http://soclaimon.wordpress.com/2011/06/27/เสฐียร-พันธรังษี-นักวิชา/
แต่จะมีสักกี่คนรู้ว่าวันที่ 3 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันเสฐียร พันธรังษี เมื่อถึงวันนี้ของทุกปีบรรดาลูกศิษย์ของอาจารย์เสฐียรจะเดินทางไปทำบุญที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กทม.เพื่อทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลและรำลึกถึงคุณงามความดีของอาจารย์ตามที่ปรากฏในข้อความดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกศิษย์ที่เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เพราะอาจารย์ก็ถือได้ว่าเป็นศิษย์เก่าสถาบันการศึกษาสงฆ์เช่นนี้เช่นเดียวกัน
...................
(หมายเหตุ : 3มิ.ย.วัน'เสฐียร พันธรังษี'รำลึก : กระดานความคิด โดยสำราญ สมพงษ์เผยแพร่เว็บไซต์คมชัดลึกวันที่ 3 มิ.ย.2556)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น