วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

'บิ๊กตู่'เห็นอริยสัจ'แม้ว'เห็นอะไร


              ต้องยอมรับว่าได้หันหลังให้กับการเมืองมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๙ ได้ถอยออกมายืนดูแบบไม่ยึดติดข้างที่สุดโต่งทั้งสองข้างคือมายืนอยู่ตรงกลางตามหลักทางสายกลาง แม้จะมีส่วนเกี่ยวข้องบ้างก็เพียงหน้าที่เท่าน้้น เพราะหากยืนอยู่ทางสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่งมีแต่ทางจะสร้างความขัดแย้ง เพราะประกอบกับมองดูบริวารทั้งสองข้างนั้นก็มีญาติเราอยู่ หากเรามายืนอยู่ข้างหนึ่งแล้วอีกข้างหนึ่งหละ หากจะบอกว่าเราไม่มีจุดยืน เพราะก็ตอบว่าเรามีแต่ไม่จำเป็นต้องบอกใครให้รู้ก็ได้ เพราะการบอกไม่มีประโยชน์อันใด

              ช่วงที่หันหลังให้กับการเมืองนี้ ได้มีโอกาสเข้าวัดฟังธรรมมากขึ้นได้เข้าใจหลักธรรมมากขึ้น สิ่งที่เรียนมาเมื่อยี่สิบปีก่อนแบบท่องจำมาบัดนี้เข้าใจในระดับหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักอริยสัจ

              และเพราะอริยสัจนี้แหละเมื่อไม่กี่วันมานี้พล.อ.ประยุทธ์ จันท์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเมื่อวันที่ ๙  ก.ย.๒๕๕๘ ความว่า "ทุกภาคส่วนที่ต้องวิเคราะห์และเข้าถึงปัญหาถ้าเรายึดแบบของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องของอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย  นิโรธ มรรค ว่าทุกวันนี้มันเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง สาเหตุเกิดจากอะไร และต้องหาหนทางแก้ปัญหา ปัญหาทุกอย่างก็จะหมดสิ้นไป ระบอบประชาธิปไตยที่ถูกต้องและสนับสนุนรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล"

              ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า คนที่อ่านเพียงเท่านี้ได้ดวงตาเห็นธรรมบ้างหรือไม่ แต่นี้คือหัวใจของพระพุทธศาสนาที่อุปติสสมานพสามารถขยายความจากที่พระอัสสชิกล่าวแสดงธรรมให้ฟังเพียงว่า "ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ" และสามารถขยายความได้เป็นกระบวนการตามหลักปฏิจจสมุปบาทก็ได้

              แต่ทีนี้ลองมาดูซิว่า ปฏิจจสมุปบาท หรือ อริยสัจ การเมืองไทยทุกข์นี้เป็อย่างไร พิจารณาให้ครบวงจรก็ยังเป็นวงจรอุบาทว์อยู่เหมือนเดิม แก้สมุทัยซิการปรองดอกถึงจะเกิด

              และก่อนหน้านี้ก็มีคืที่ถูกถอดยศออกมาพูดว่าตัวเองไม่ยึดติด ก็คงจะจริงเพราะเห็นลอยไปลอยมาอยู่ ก็ทำให้นึกถึงผู้ที่บรรลุธรรมไม่ยึดติดในกิเลสแล้วท่านจะไม่โอ้อวดว่าท่านได้บรรลุุธรรมไม่ยึดติดกับอะไร เพราะหากโอ้อวดก็เท่ากับไม่บรรลุจริง ถ้าเป็นธรรมก็เข้าข่ายต้องอาบัติปาราชิก นี้ผมได้ยินได้ฟังมาแบบนี้ ถูกผิดอย่างไรวิญญูชนพิจารณาเอาเองเถิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...