วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

แชร์กดไลค์ไม่คิดเหมือนกินยาไม่อ่านฉลาก

              เมื่อวันที่ 17 ก.ย.2558 ได้รับเชิญไปพูดในงานมหกรรมสัปดาห์ตลาดนัด KM โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ หัวข้อ "สันติวิธีเพื่อพัฒนาชีวีสู่สันติสุข....ในมุมมองของสื่อ"

              เริ่มจากการให้ความหมายของคำว่า "สันติ" คือความว่าง โดยว่างจากความขัดแย้งทั้งภายในและนอก เมื่อเกิดความขัดแย้งแล้วจะบริหารจัดการความขัดแย้งอย่างไร

              คำว่า "KM" คือการบริหารความรู้ การทำหน้าที่สื่อและผู้ให้บริการด้านสุขภาพก็ต้องใช้ "KM" เช่นเดียวกัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการเพื่อไม่ให้ความขัดแย้ง นำมาซึ่งสันติสุข

              หลัก "KM" ของสื่อและผู้ให้บริการด้านสุขภาพก็คงมีหลักไม่ต่างจากหลักการในพระพุทธศาสนานั้นก็คือแนวทางของการสร้างความรู้หรือปัญญา ซึ่งมี 3 ระดับคือ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา

              ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจะต้องมีตัวยาเพื่อนำมารักษาผู้ป่วยแล้วจะไปหาที่ไหนก็ต้องเข้าป่าหรือมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่จะนำมาเป็นยา ต้องไปเก็บๆมา ในชั้นนี้เรียกว่าสุตมยปัญญา หลังจากนั้นก็เอามาแยกประเภทเป็นกลุ่มๆของโรคในชั้นนี้เรียกว่าจินตามยปัญญา หลักจากนั้นก็นำตัวยาที่แยกกลุ่มได้นั้นมาสะกัดเป็นตัวเอาบรรจุเป็นแค็ปซูลเป็นต้น ในชั้นนี้เรียกว่าภาวนามยปัญญา

              หลักการบริหารการข่าวก็เช่นเดียวกัน อันดับแรกก็คือหาข่าวเป็นสุตมยปัญญา แยกประเด็นข่าวเป็นจินตามยปัญญา หลักจากนั้นก็มาเรียบเรียงให้เหมาะสมที่จะเผยแพร่ในเวลาใดจังหวัดใดเป็นภาวนามยปัญญา

              หลักการนี้ก็นำไปใช้กับผู้รับข่าวสารเมื่อรับข่าวสารมาแล้วเห็นสุตมยปัญญา ต่อไปก็ต้องวิเคราะห์ดูว่าเป็นเรื่องอะไรมีความเกี่ยวเนื่องกับอะไรเป็นจินตามยปัญญา หลังจากนั้นก็ต้องสรุปว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องเหมาะสมที่จะแชร์หรือกดไลค์หรือไม่

              หากผู้ให้บริการด้านสุขภาพสื่อและผู้รับข่าวไม่ใช้ สูตร "KM" 3 ตัวนี้แล้ว ด่วนสรุปในชั้นของสุตมยปัญญาได้มาอย่างไรก็ไปอย่างนั้นได้ตัวยามาแล้วกินเลย ได้ข่าวมาแล้วเผยแพร่เลย และรับข่าวมาแล้วแชร์กดไลค์เลย ก็ไม่ต่างอะไรกับ "กินยาไม่อ่านฉลาก" ตายลูกเดียว

              ทุกวันนี้เราใช้สูตร "KM" 3 ตัวนี้หรือไม่ ซึ่งเป็น"สันติวิธี" หากใช้ชีวีก็จะมี"สันติสุข" แต่ไม่ใช่ก็อย่างที่ว่า "ตายลูกเดียว"

สำราญ สมพงษ์ 
นิสิตปริญญาโท
สาขาสันติศึกษา มจร 
รายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...