เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ...." วาระที่ 2 มาถึงเกี่ยวกับคุณสมบัติและคุณสมบัติต้องห้ามของผู้เป็น ส.ส.ร. ทั้งนี้กรรมาธิการเสียงข้างเสนอให้นำคุณสมบัติของ ส.ส.มาใช้โดยอนุโลม
แต่นายณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้สงวนคำแปรญัตติที่สนับสนุนให้ พระภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช ให้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) โดยให้เหตุผลว่า เพราะบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้มีคุณธรรม
รัฐสภาโหวต "ห้ามส.ส.ร.แก้หมวด1-2"
ทั้งนี้การประชุมรัฐสภาที่มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ. … แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญได้พิจารณาเสร็จแล้ว ต่อเนื่องเป็นวันที่สอง โดยเป็นการพิจารณาในมาตรา 256/10 เกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส.ร. และหลักเกณฑ์ว่าด้วยกรณีที่ส.ส.ร.ว่างลงนั้น กมธ.ได้ปรับแก้เนื้อหาในหลักการสำคัญ คือ กรณีที่ตำแหน่ง ส.ส.ร.ว่างลง ให้จัดการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ภายใน 45 วัน ยกเว้นเวลาทำรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่ถึง 90 วัน โดย นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะกมธ.ขอความเห็นจากที่ประชุมว่า เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่ส.ส.ร.มีส่วนเข้าไปร่าง จึงขอกำหนดข้อห้าม ไม่ให้ส.ส.ร.ลงสมัครรับเลือกตั้งภายใน 2 ปี หลังจากที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ก่อนที่ที่ประชุมลงมติเห็นด้วยตามกมธ.แก้ไข ด้วยคะแนน 569 ไม่เห็นด้วย 1 งดออกเสียง 13 ไม่ลงคะแนน 4 เสียง
ส่วนการพิจารณาในมาตรา 2562/13 ว่าด้วยระยะเวลาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดย นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ตนขอเสนอให้ตัดบางวรรคออกไป โดยเฉพาะวรรคที่เขียนว่า “การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 1 และหมวด 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะกระทำมิได้”
ทำให้มีการอภิปรายถกเถียงกันในประเด็นนี้อย่างมาก จน นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกมธ. เสนอขอพักการประชุม 5 นาที
ต่อมา เวลา 17.55 น. ที่ประชุมกลับมาประชุมอีกครั้ง โดยเป็นการลงมติในมาตราดังกล่าว ซึ่งสมาชิกเห็นด้วยกับกมธ.เสียงข้างมาก 349 คะแนน ไม่เห็นด้วย 200 คะแนน งดออกเสียง 58 ไม่ลงคะแนน 2 เสียง ซึ่งเท่ากับไม่มีการเติมข้อความในวรรค 5 เกี่ยวกับเรื่องพระราชอำนาจเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 256/13
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น