วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

"IBSC มจร" ยกระดับองค์กร Growth พัฒนาบุคลากร Gen ใหม่ขับเคลื่อน



วันที่ ๒๕  กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔  พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ที่ปรึกษากลุ่มพัฒนาและการฝึกอบรม  เปิดเผยว่า วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ(IBSC)มจร จัดพัฒนาบุคลากรฝ่ายสนับสนุนด้าน Growth Mindset เพื่อการเติบโตของบุคลากรในการทำงานในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภายใต้ "แบบผันผวน ซับซ้อน ไม่แน่นอน และคลุมเครือ" สร้างกระบวนการเรียนรู้โดย อาจารย์สาโรจน์ พึ่งไทย  วิทยากรกระบวนการชั้นนำระดับประเทศผ่านกระบวนการของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการเติบโตจากภายในสู่ภายนอกเพื่อการพัฒนาบุคลากร Gen ใหม่ขับเคลื่อนองค์กร Genเพื่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน  


     

บุคลากรแบบ Growth Mindset เป็นวิธีคิดว่าถ้าฉันผิดพลาด นั่นคือโอกาสที่ฉันจะได้เรียนรู้เพื่อจะได้ไม่พลาดเรื่องนั้นซ้ำอีก มองว่างานยากๆ เป็นโอกาสให้ฉันเติบโต และเก่งขึ้น  ฉันอยากรู้มากกว่านี้เพื่อจะได้ทำงานที่ไม่มีใครเคยทำได้ ฉันชอบฟังความคิดเห็นของลูกทีมเพราะนั่นคือโอกาสให้ฉันได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ฉันอาจยังไม่รู้ รวมถึงเมื่อเห็นคนอื่นสำเร็จ ฉันรู้สึกมีแรงบันดาลใจที่จะเอาชนะตัวเอง และทำให้สำเร็จ       

บุคลากรFixed Mindset เป็นวิธีคิดว่าถ้าฉันทำผิดพลาดเรื่องไหน ฉันจะไม่ทำมันอีก เพราะความสามารถฉันคงมีอยู่แค่นี้ ฉันไม่อยากทำงานยากๆ เพราะถ้าทำอะไรผิดพลาด ฉันจะเสียชื่อเสียง ฉันมีความรู้อยู่เเค่นี้ เพราะฉันทำได้เท่าที่ฉันรู้ ฉันไม่ต้องการฟังคสามเห็นของลูกทีมเพราะฉันเป็นหัวหน้าและรู้เรื่องนี้ดีสุด รวมถึงเมื่อคนอื่นสำเร็จฉันรู้สึกแย่กับตัวเองที่ทำไม่สำเร็จเหมือนเขา     

โดยองค์กรมีบุคลากร Generation Y หรือ Gen-Y เรียกว่า Millennials คือคนที่เกิดในช่วงพ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๔๐ คน Gen-Yจะเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิตัล มีความเป็นสากล เปิดรับวัฒนธรรมแบบ Teen Pop มองว่าการชื่นชอบศิลปินต่างชาติเป็นเรื่องปกติธรรมดา มีเทคโนโลยีพกพา รักความสะดวกสบาย เกิดมาในยุคที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตและเฟื่องฟู  ยุค Gen-Y จึงมักจะถูกตามใจ อยากได้อะไรต้องได้ มีโอกาสทางการศึกษาที่ดี มีแนวคิดเป็นตัวของตัวเอง ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ และปฏิเสธสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ     

ลักษณะพฤติกรรมของคน Gen-Y มักต้องการความชัดเจนในการทำงาน เช่น ต้องชัดเจนว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตนเองและต่อหน่วยงานอย่างไร? คาดหวังที่จะมีเงินเดือนสูงๆ คาดหวังคำชม แต่ไม่อดทนต่องานที่ทำ ชอบเปลี่ยนงานอยู่บ่อยๆ คน Gen-Y ยังต้องการสร้างสมดุลเวลาให้กับตัวเอง เช่น หลังเลิกงานมักจะไปทำกิจกรรมให้ความสุขกับตัวเอง อย่างไปเล่นฟิตเนส แฮงเอาท์พบปะเพื่อนฝูง คนกลุ่มนี้มีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ชอบงานด้านไอที ใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำสิ่งใหม่ๆ รวมทั้งสามารถทำอะไรหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน เรียกได้ว่าสามารถใช้เครื่องมือเครื่องไม้ต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว อย่างที่เราอาจจะเคยเห็นภาพคนยุคใหม่ที่นั่งเล่นสมาร์ตโฟน ไอแพด คุยโทรศัพท์ ไปพร้อมๆ กับทำกิจกรรมอื่นๆ อย่างการเดิน การทำงาน หรือกินข้าวได้     

ทำงานกับกลุ่มGen-Y ลองท้าทายพวกเขาด้วยภารกิจใหม่ๆ Millennium จะชอบความเป็นคนสำคัญ การเพิ่มความรับผิดชอบ เสมือนการให้คำชม จงเปิดโอกาสให้ Millennium ได้แสดงความคิดเห็นของเขา เห็นพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในทีม ผู้ใหญ่ที่ยอมรับความคิดเขาจะได้รับการยอมรับจากพวกเขาเช่นกัน Millennium ชอบให้เราแสดงออกต่อสิ่งที่พวกเขาทำทุกขณะจิต เพราะความรู้สึกและความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน มีผลต่อพวกเขามาก ทำงานกับกลุ่ม Gen-Z จงให้เกียรติพวกเขาก่อนเสมอในฐานะที่พวกเขาน่าจะฉลาดกว่าเรา เพราะพวกเขาเติบโตมากับยุคอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตั้งแต่เด็ก ส่วนปรัชญาที่เหมาะสมกับการทำงานของพวกเขาคือ Work-Life Balance ไม่ชอบสไตล์การทำงานแบบคนรุ่นเก่าที่น่าเบื่อ และเพื่อป้องกันการสูญเสียความคิดและไอเดียของคน Gen Z ดาวรุ่งดวงใหม่ เราควรใช้ระบบการฝึกอบรมพนักงานที่ได้มาตรฐาน ใช้เทคโนโลยีปรับปรุงให้องค์กรมีความทันสมัยเพื่อดึงดูดพวกเขาให้มาทำงาน สุดท้ายคือการให้โอกาสพวกเขาในการแสดงความสามารถอย่างเต็มที่และส่งเสริมให้พวกเขาได้แสดงบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้นเสมอ      

รวมถึงการพัฒนาTeme Building เป็นการสร้างทีม หรือ ทีมสัมพันธ์ผ่านกระบวนที่คิด ออกแบบมา เพื่อให้มีการใช้กระบวนการ วิธีการในการให้บุคคล กลุ่มคน ได้เกิดการพัฒนากันในหลายๆ ด้าน เช่น พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน ความสามัคคี การยอมรับ ความเป็นผู้นำ การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และการทำงานเป็นทีม โดยอาศัยสถานการณ์ที่วิเคราะห์จากแนวคิดต่างๆ ให้ได้ผลออกมา ตรงตามประโยชน์ เป้าหมายที่ต้องการ การทำให้กลุ่มคน กลุ่มหนึ่ง กลุ่มใดก็ตาม มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เริ่มจากสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างตัวบุคคล ลดช่องว่างจากตำแหน่ง หน้าที่การทำงาน เปิดใจ เปลี่ยนมุมมอง คลายความขัดแย้งในกลุ่มคนหรือองค์กร ที่จะส่งผลตรงไปถึงการทำงาน สร้างความสามัคคี ความร่วมมือ การระดมความคิด ประตูสู่การสื่อสาร ผ่านการทำกิจกรรมหลากหลาย ร่วมกัน ซึ่งต้งเป็นกิจกรรมที่ออกแบบมาอย่างดี ผ่านรูปแบบที่หลากหลายขึ้นอยู่กับ กลุ่มคน สถานที่ และเป้าหมาย ที่เรายึดตามลักษณะและกระบวนการตามหลักการ “การจัดกิจกรรมที่ดี” ของเรา      

ดังนั้น Teme Building จึงมุ่งละลายพฤติกรรม การทำความรู้จักกัน มีเป้าหมายร่วมกัน มีการสื่อสารกันภายในกลุ่ม ได้แก้ไขปัญหาร่วมกันแสดงความคิดเห็น สร้างความสามัคคีเพิ่มศักยภาพในการทำงานร่วมกัน และสร้างทัศนคติที่ดี  วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร หรือ Ibsc Mcu จึงมีการยกระดับองค์กรGrowthเพื่อการเติบโตพัฒนาบุคลากร Gen ใหม่เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรในยุคปัจจุบัน โดยมุ่งเน้น Growth Mindset ถือว่าเป็นทักษะแห่งความสุขและสำเร็จในการทำงานยุคปัจจุบัน บุคลากรและผู้นำองค์กรจึงต้องระวัง Fixed Mindset จุดจบขององค์กรยุคใหม่ล้มสลาย   

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...