วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555
พุทธสันติวิธีแก้ขัดแย้ง(การ)เมืองไทยได้จริงหรือ?
ปัญหาความขัดแย้งแบ่งสีแบ่งฝ่ายขาดความสามัคคีที่เกิดขึ้นให้สังคมไทยปัจจุบัน ยังไม่มีแนวโน้มจะที่ประสานรอยร้าวให้กลับคืนมาเหมือนเดิมได้
หากปล่อยไว้เช่นนี้มีแต่จะเป็นตัวถ่วงพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้ แล้วทุกวันนี้เรามีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหานี้กันหรือยัง หรือจะเป็นเชื้อเพลิงเติมความขัดแย้งไปเรื่อยๆจนยากที่จะเยียวยา
หากยังไม่เห็นแนวทางพลเอกภณ วนากมล อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 เพื่อนสนิทของพันเอกวินัย สมพงษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนวคิดผ่านทางเฟซบุ๊คเรื่องหนังเกาหลี ที่ระบุโดยสรุปว่า เขาสร้างมีสาระและชวนให้ติดตาม
การสร้างชาติสมัยใหม่ต้องมีวิธีคิดที่เรียกว่า"ยุทธศาสตรการสร้างชาติ"ซึ่งมีให้เห็นคือประเทศสิงคโปร์และเกาหลีใต้จะมีที่มาไม่เหมือนการสร้างชาติในสมัยโบราณ เขาจะกำหนดเป้าหมายของชาติส่วนรวมขึ้น และแยกแขนงที่เป็นองค์ประกอบเป็นเรื่องๆไป และทำแผนยุทธศาสตร์ให้นำไปปฏิบัติโดยสอดคล้องประสานกัน
"ที่ทำสำเร็จเพราะเกาหลี รักชาติรู้คุณค่าของบรรพบุรุษ ที่สละชีวิตในสงครามที่โหดร้ายในอดีต ผมจึงถามตัวเองว่า ขณะนี้ชาติไทยมีเกียรติและเป็นที่ยอมรับจากต่างชาติในเรื่องอะไร ถ้าคนไทยกับเกาหลีหรือสิงคโปร์อยู่ด้วยกัน เขาจะเชื่อถือใครมากกว่ากัน?.."อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 ระบุ
ช่วง 2 อาทิตย์ที่ผ่านมาได้ดูคลิปหนังเกาหลีที่นำวีรบุรุษโบราณมาเป็นตัวพล็อตเรื่อง อย่างจูมงมหาบุรุษกู้บัลลังก์โซซอนโบราณให้กลับมาเกรียงไกร และเรื่องมูยุน ได้เห็นตัวเอกของเรื่องทิ้งความแค้นส่วนตัวแม้กระทั้งผู้ที่ฆ่าพ่อแม่ของตัวเอง แล้วจับมือกันร่วมต้านชนชาติที่เข้ามาปกครองแบบกดขี่ มีอุดมการณ์แน่วแน่ และเทคนิควิธีที่จะใช้ในการกู้ชาติ
แล้วประเทศไทยจะเริ่มที่จุดใด ซึ่งก็คงหนี้ไม่พ้นที่จะต้องเริ่มที่สถานการศึกษา แม้ว่าบางแห่งจะลงไปเล่นกีฬาสีด้วยก็ตาม
สถานศึกษาหลายแห่งได้ตั้งสถาบันสันติศึกษาขึ้นมา รวมถึงสถาบันพระปกเกล้าที่ตั้งสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล เปิดการศึกษาอบรมหลักสูตรหลายรุ่นแล้ว และหนึ่งในนักศึกษาจำนวนนั้นก็คือพระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อันเป็นที่มาของผลงานหนังสือเรื่อง "ปัญจสดมภ์: ค่านิยมแห่งชาติ" และ"พุทธสันติวิธี"
ขณะเดียวกันพระมหาหรรษายังได้ผลักดันให้มีการเปิดหลักสูตรสันติศึกษาขึ้นใน "มจร" ล่าสุดสภาวิชาการก็ได้อนุมัติเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
พระมหาหรรษา กล่าวในเฟซบุ๊คว่า เนื้อหาของหลักสูตรนี้จะเริ่มต้นศึกษาภาคทฤษฎี เช่น วิชาเกี่ยวกับสันติภาพ ความขัดแย้งและความรุนแรง พัฒนาการความขัดแย้งและสันติภาพในโลกยุคใหม่ พุทธสันติวิธี กระบวนการสร้าง และรักษาสันติภาพ สันติสนทนา ผู้นำเพื่อสันติภาพ ขันติธรรมทางศาสนา และองค์กรสันติภาพระหว่างประเทศ ส่วนภาคปฏิบัติจะเป็นการเน้นการสร้างทักษะในการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง ทั้งในศาล และกรณีขัดแย้งในชุมชุมชนต่างๆ
โดยการนำเครื่องการสื่อสาร และการใช้กระบวนการทางกฎหมายเข้ามาสนับสนุนกระบวนการปฏิบัติในสถานการณ์จริง อีกทั้งเน้นดูสถานการณ์ความขัดแย้ง และความรุนแรงทั้งในและต่างประเทศ ที่ครอบคลุมถึงมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
หลักสูตรนี้จะเปิดรับสมัครตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 เน้นทั้งสารนิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีคณาจารย์บรรยายประกอบผู้เชี่ยวชาญด้านสันติภาพจำนวนมาก เช่น พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี"มจร" พระไพศาล วิสาโล ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ พลเอกเอกชัย ศรีวิลาศ จากสถาบันพระปกเกล้า นายนพพร โพธิรังสิยากร ผู้พิพากษาศาลอาญา ดร.พศวัจน์ กนกนาค ผู้พิพากษาศาลฏีกา
หลักสูตรนี้เป็นการร่วมมือระหว่างมหาจุฬาฯ สถาบันพระปกเกล้า ศาล องค์กรสันติภาพต่างๆ ในประเทศและต่างประเทศ
"การเมืองในปัจจุบัน ควรเป็นการเมืองแบบเมตตา (Compassionate Politics) ไม่ใช่ การเมืองแห่งการทำลายล้าง หรือ ประหัตประหารกัน เพราะผลเสียจะไม่ตกอยู่กับนักการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว ผู้ที่จะได้รับผลทุกข์หรือผลเสียนั้น คือประเทศชาติและประชาชนไทยทั้งหมดซึ่งเป็นที่มาของนักการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น"
พระมหาหรรษาได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับการเมืองผ่านทางสถานีโทรทัศน์แห่งหนึ่งที่ผ่านมา น่าจะเป็นบทสรุปที่ดีแนะเป็นทางแนวในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในการเมืองและสังคมไทยได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางแห่งพุทธสันติวิธี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น