น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับคนไทยเนื่องจากมีผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตสูงถึงกว่า 3 ล้านราย ทั้งโรคจิต โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคลมชัก และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ทั้งนี้จากการเปิดเผยของนายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2555ที่ผ่านมา
ปัญหาเกิดจากโลกร้อนเกิดภัยพิบัติต่างๆ ตามมาทั่วโลก ประเทศไทยก็มีการเปลี่ยนเป็นสภาพสังคมเมืองมากขึ้น เกิดภัยพิบัติ ทั้งน้ำท่วม สุโขทัยระทม คนกรุงขวัญผวาฝนตกหนักทุกวันกลัวว่าน้ำจะท่วมอีก และสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าอีกอย่างหนึ่งก็คือ "น้ำลาย" จากนักการเมืองที่ด่ากันผ่านสื่อทุกวัน
เมื่อสภาพสังคมไทยป่วยเป็นโรคจิตเช่นนี้จะอาศัยเพียงโรงพยาบาลโรคจิตก็คงจะไม่เพียงพอ แล้วบุคคลหรือหน่วยงานใดที่จะเป็นอาสาเข้ามาช่วย มองไปทั่วประเทศไทยก็เห็นมีแต่ลูกศิษย์ "นักจิตบำบัดที่เก่งที่สุดในโลก" ตามที่ ดร.เมล กิลล์ (Dr.Mel Gill) นักจิตบำบัด ผู้รับขนานนามว่า "นักพูดพันล้าน กูรูผู้สร้าง แรงบันดาลใจ" ประกาศยกย่องนั้นก็คือ "พระพุทธเจ้า"
พุทธวิธีบำบัดโรคจิตโดยเฉพาะโรคซึมเศร้านั้นก็มีทั้งการฝึกสมาธิ ฝึกอานาปานสติ และการสวดบทพระปริตร
การสวดนั้นจะใช้บทใด เพราะบทสวดที่พระสวดนั้นก็มีทั้งเจ็ดตำนานและสิบสองตำนาน ซึ่งเรื่องนี้นางเบญญาภา กุลศิริไชย นักศึกษาปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้ทำการวิจัยในการทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "การลดภาวะซึมเศร้าในผู้ประสบภัยพิบัติด้วยการรับบทสวดโพชฌงคปริตรเข้าจิตใต้สำนึก" และได้นำเสนอในการบรรยายสาธารณะเมื่อวันที่ 12 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่บัณฑิตวิทยาลัย "มจร" วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กทม.
ผู้วิจัยได้นำเสนอว่า ลักษณ์ของผู้ประสบภัยพิบัติที่เกิดภาวะซึมเศร้าจะมีทัศนคติที่บิดเบือนไปในทางลบ และมีจิตใต้สำนึกจะต้านทานทุกอย่างที่เข้ามา ฉะนั้นถ้ามีวิธีการที่สามารถส่งข้อมูลเชิงบวกเข้าจิตใต้สำนึกได้โดยตรงที่ปราศจากการต้านทานจากจิตสำนึก น่าจะช่วยฟื้นฟูจิตใจลดภาวะซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี
ผู้วิจัยได้ค้นคว้าข้อมูลพบว่า มีหลักการนี้เรียกว่า "ซับลิมินอล แมสเซส" (subliminal messages) เป็นการส่งข้อมูลต่างๆ เข้าจิตใต้สำนึกโดยที่จิตไม่สามารถต้านทานได้ และขั้นตอนของการวิจัยด้วยวิธีนี้ได้ใช้บทสวดโพชฌงคปริตรในการทดลอง เพราะถือกันมาว่าเป็นพุทธมนต์สำหรับสวดสาธยายเพื่อให้คนป่วยหายจากโรคทางกายและใจได้
ผู้วิจัยได้ทดลองจากผู้ประสบภัยพิบัติจากเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทยปี พ.ศ.2554 ที่อพยพไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงจังหวัดนครปฐม โดยแบ่งคนที่มีภาวะซึมเศร้าออกเป็น 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 ให้ฟังเสียงเพลงธรรมชาติที่ซ่อนบทสวดโพชฌงคปริตรและคำแปล กลุ่มที่ 2 ฟังเสียงเพลงธรรมชาติเท่านั้น และกลุ่มที่ 3 ไม่ได้ฟังทั้งสองอย่าง ตลอด 7 วัน
หลังจากนั้นทำการประเมินปรากฏว่ากลุ่มที่ 1 มีสภาวะซึมเศร้าลดลงและเพิ่มความรู้สึกสุขภาวะทางจิตได้ อีกทั้งยังส่งผลต่อเนื่องในระยะยาวนาน ส่วนกลุ่มที่ 2 มีสภาวะซึมเศร้าลดลงและเพิ่มความรู้สึกสุขภาวะทางจิตได้ แต่ไม่ส่งผลต่อเนื่องเหมือนกลุ่มที่ 1 ส่วนกลุ่มที่ 3 มีภาวะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงอะไร
ทั้งนี้ผู้ที่ฟังบทสวดโพชฌงคปริตรนั้นมีความรู้สึกสุขภาวะทางจิตด้านความรู้สึกผ่อนคลาย เป็นมิตร ร่าเริง มีจิตใจเข้มแข็ง มีสมาธิเพิ่มขึ้น
จากผลการทำ "ซับลิมินอล แมสเซส" ด้วยฟังบทสวดโพชฌงคปริตรดังกล่าวสอดคล้องกับการทดลองของนักจิตบำบัดในต่างประเทศเช่น สตาร์ค(Stark) ไคล์น โฮลท์ และคีย์
อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่าผู้สวดโพชฌงคปริตรก็ต้องมีองค์ประกอบคือ มีจิตเมตตา มุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง (ไม่ใช่มุ่งหวังแต่สตางค์) สวดไม่ผิด และรู้ความหมายของบทสวดด้วย ขณะที่ผู้ฟังก็ต้องมีองค์ประกอบเช่น ไม่เคยทำกรรมหนักหรืออนันตริยกรรม ไม่มีมิจฉาทิฏฐิอย่างเช่นรับได้กับผู้บริหารที่ทุจริต โกงกินเป็นต้น และมีความเชื่อมั่นในอานุภาพของโพชฌงคปริตร
จากผลการวิจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าคำสอนสามารถนำไปแก้ปัญหารักษาโรคซึมเศร้าได้เจริง นับเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ ตามที่ สกอ.ได้ตั้งความหวังเมื่อคราวเดินทางไปประเมินผลการจัดการศึกษาของ "มจร" ระหว่างวันที่ 12-14 ก.ย.ที่ผ่านมา
แต่หากต้องการที่จะทราบพุทธวิธีในการบำบัดทางจิตมากยิ่งขึ้นวันที่ 27 ก.ย.ที่จะถึงนี้ทาง "มจร" จะจัดงาน 65 ปีของคณะพุทธศาสตร์ ที่ "มจร" อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยจะมีการปาฐกถาพิเศษและเสวนาวิชาการเรื่อง "เหลียวหลังแลหน้าพุทธศาสตร์ในประชาคมอาเซียน" ซึ่งมีผู้ร่วมเป็นวิทยากรประด้วยพระธรรมโกศาจารย์อธิการบดี พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต และมีนายกฤษณะ ไชยรัตน์ แห่งเครื่องเนชั่นเป็นผู้ดำเนินรายการ
สำราญ สมพงษ์รายงาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น