ทราบกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับรางวัลซีไรต์ประจำปี 2555 ประเภทนวนิยาย คือ "คนแคระ" ของ"วิภาส ศรีทอง" จากทั้งหมด 7 เรื่องที่เข้าชิง
แต่ผลพวงที่ตามมากับไม่ใช่เรื่อง "คนแคระ" กลับเป็นเรื่อง "โลกประหลาดในประวัติศาสตร์ความเศร้า" ของ "ศิริวร แก้วกาญจน์" ที่ถ่ายทอดชะตากรรมของพลเมืองจากประเทศเพื่อนบ้าน
"ศิริวร" กล่าวว่า ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งก็ค้นเพิ่มเติมจากหนังสือประวัติศาสตร์หลายเล่มมากทั้งประวัติศาสตร์พม่า ประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเรื่องคู่ขนาน 2 เรื่อง เดินไปจนสุดท้ายก็บรรจบกัน ระหว่างความเป็นคนนอก คนใน ก็หายไป ทั้งหมดก็คือนิยายเรื่องหนึ่ง
จุดที่เป็นปัญหาก็คือเนื้อหาในหน้าที่ 181 ความว่า "...พอทูก็ตั้งสติกำราบเชื้อร้าย เช็ดหลังมือกับผ้าถุงลายหงส์กำลังร่อนบินไปสู่ดวงดาวห้าแฉก..."
เนื่องจาก “หงส์” ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชนชาติมอญในฐานะสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีตำนานผูกพันกับการสร้างเมืองหงสาวดีเมื่อปีพุทธศักราช 1116 รวมทั้งความเชื่อในทางพุทธศาสนา
ปัจจุบัน ชาวมอญยังได้ใช้ “หงส์” เป็นสัญลักษณ์บนธงชาติ นั่นคือ “หงส์สีทองบินทะยานไปสู่ดวงดาวสีน้ำเงินบนผืนผ้าแดง” การนำ "หงส์" ใช้เป็นลายผ้าถุงของเด็กหญิงกะเหรี่ยง จึงสร้างความไม่พอใจให้กับชาวมอญที่อยู่ในประเทศไทยและพม่าเป็นอย่างมาก
ล่าสุดเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2555 นางฉวีวรรณ ควรแสวง นายกสมาคมไทยรามัญ ได้ร่วมกันลงชื่อทำจดหมายเปิดผนึกถึงนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย เพื่อเรียกร้องความรับผิดชอบต่อกรณีเนื้อหาในนวนิยายไม่เหมาะสมดังกล่าว เพราะไม่ต้องการให้เรื่องดังกล่าวนำมาซึ่งความขัดแย้งบานปลายภายในสังคมไทย รวมทั้งระหว่างพลเมืองของภูมิภาคที่จะเกี่ยวข้อง สัมพันธ์ในฐานะประชาคมอาเซียนในอนาคตต่อไป
"องค์ บรรจุน" นักเขียนเชื้อสายมอญ ให้ความเห็นผ่านไทยทีพีเอสว่า "หนังสือเล่มนี้เนื้อหาดี ข้อมูลหลากหลาย โดยรวมเขียนได้ดีเข้าใจชาติพันธุ์ของชนกลุ่มน้อยที่ถูกกระทำจากพม่า โดยมีเจตนาดีแต่การใช้สัญลักษณ์ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม"
เมื่อเกิดความไม่พอใจเช่นนี้ "ศิริวร" ได้ชี้แจงผ่านทางเฟสบุ๊ก ขณะอยู่ประเทศอินโดนีเซีย และให้ความเห็นผ่านหน้าเครือข่ายสังคมออนไลน์ยอมรับว่านวนิยายเล่มนี้อาจมีความผิดพลาดในขั้นตอนพิสูจน์อักษรบ้าง
อย่างไรก็ตาม "เจน สงสมพันธุ์" นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "ขอแสดงความเสียใจที่บางเรื่องไปกระทบต่อความรู้สึกของชนชาติมอญ ซึ่งต้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายพบปะทำความเข้าใจกัน"
นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ควรหลีกเลี่ยงประเด็นที่จะเป็นน้ำผึ้งหยดเดียวนำสู่ความขัดแย้งที่ยากจะแก้ไข
...........
(ชาวมอญฉุนนักเขียน'ศิริวร' นำเนื้อหา'หงส์'เป็นลายผ้าถุง : สำราญ สมพงษ์รายงาน)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น