ขณะนี้ทุกฝ่ายต่างก็บอกว่า ต้องการเห็นการยุติความขัดแย้ง เลิกเล่นกีฬาสี สร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นกับคนในชาติ
ฝ่ายรัฐบาลเองก็หวังเป็นฐานในการแก้ปัญหามุ่งพัฒนาประเทศไปข้างหน้า ไม่ติดหล่มอย่างเช่นทุกวันนี้ ขณะเดียวกันก็ยังจ่อ พ.ร.บ.ปรองดองคาไว้ในวาระการประชุมสภา พร้อมมอบให้สถาบันพระปกเกล้าและมหาวิทยาลัยต่างๆถามความเห็นประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ส่วนฝ่ายค้านเองก็ค้านสมชื่อกลัวว่าฝ่ายรัฐบาลจะซ่อนเงื่อน ลักไก่ อภัยโทษ นิรโทษกรรมให้กับคนบ้างคนที่อยู่แดนไกล
การเมืองไทยจึงเป็นคู่ขนาน ไม่สงวนจุดต่างประสานจุดร่วมที่เป็นประโยชน์ของชาติ ไม่พิจารณาผลการกระทำของอีกฝ่ายว่าเป็นอย่างไร ตั้งหน้าตั้งตาตำหนิไว้ก่อนหรือสักว่าเป็นข่าว
ประเทศไทยถือ(ดี)ว่าเป็นเมืองพุทธ จนกระทั้งมีการเคลื่อนไหวให้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่จะมีคนไทยสักกี่เปอร์เซนต์ที่เข้าใจหลักธรรมพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
ชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ชอบให้ทานทำบุญตักบาตรก็นับได้ว่าเป็นชาวพุทธที่ดีระดับหนึ่ง จนกระทั้งต้องมีทหารคอยคุ้มครองพระไปบิณฑบาตทาง 3 จังหวัดชายแดนใต้
แต่การให้ทานในพระพุทธศาสนานั้นแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ 1. อามิสทานหรือวัตถุทาน การให้วัตถุสิ่งของต่างๆ 2. ธรรมทาน การให้พระธรรมคำสั่งสอน และ 3. อภัยทาน การให้อภัยแก่คนที่เราโกรธ หรืออาฆาตพยาบาท หรือสัตว์อื่นๆ นับเป็นทานที่น่ายกย่อง
ดูเหมือนว่าชาวพุทธไทยนิยมที่จะทำทาน 2 ประเภทคือ อามิสทานและธรรมทาน แต่สำหรับอภัยทานแล้วไม่ค่อยอยากให้กันเท่าใดนัก
นอกจากนี้ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนายังให้ความสำคัญกับผู้ที่จะรับทานด้วย หากผู้รับทานเป็นผู้บริสุทธิ์ผลของทานนั้นก็จะมีมาก ตรงกันข้ามถ้าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ก็จะมีผลน้อย ดังนั้น หากมีการอภัยทานแล้วผู้รับนั้นก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยเช่นเดี่ยวกัน หรือต้องทำให้ตัวบริสุทธิ์ต้องมีความสำนึกด้วย ผลแห่งการปรองดองก็จะเกิดขึ้น
ประเด็นของ "อภัยทาน" สามารถนำไปสู่ความปรองดองได้ ซึ่งพระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) นักศึกษาหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปปร) รุ่นที่ 15 สถาบันพระปกเกล้า ได้เขียนบทความเรื่อง ''อภัยทานกับความจริง การอภัยโทษ และการนิรโทษกรรม'' ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง "อภัยทานในฐานะเป็นเครื่องมือสร้างความปรองดองในสังคมไทย" ซึ่งผ่านการอนุมัติจากสถาบันพระปกเกล้าแล้ว และมีการเผยแพร่ในเว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=1424&menutype=1&articlegroup_id=276)
เนื้อหาในบทความนั้น พระมหาหรรษาได้อ้างอิงความเห็นของศ.ดร.คณิต ณ นคร ที่ให้ความสำคัญกับ "อภัยทาน" ที่สอดคล้องกับความเห็นของนายเนลสัน เมนเดลล่า อดีตผู้นำแอฟริกาใต้ ที่จะนำไปสู่ความปรองดองของคนในชาติ พร้อมกับนิยามความหมายของคำว่า "อภัยทาน" "อภัยโทษ" และคำว่า "นิรโทษกรรม" มีนัยยะเหมือนและแต่ต่างกันอย่างไร รวมถึงแนวทางการปฏิบัติไปสู่เป้าหมาย
พระมหาหรรษาได้ระบุในบทส่งท้ายของบทความโดยสรุปว่า "อภัยทาน" นับเป็นหลักการที่สำคัญประการหนึ่งที่สังคมตะวันตกและพระพุทธศาสนาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้พระพุทธเจ้าตรัสในประเด็นนี้ว่า "อภัยทานเป็นทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด" ความปรองดองที่แสดงตัวผ่านการอภัยโทษและการนิรโทษกรรมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร หากการให้อภัยยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในเบื้องต้น
บทความเรื่อง "อภัยทานกับความจริง การอภัยโทษ และการนิรโทษกรรม'' น่าจะเป็นหลักคิดที่จะนำไปสู่กระบวนการของสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมไทยได้ แต่หากสังคมการเมืองไทยยังเมินอภัยทานมุ่งแต่จะอภัยโทษ นิรโทษกรรม ก็เชื่อแน่ว่าความปรองดองจะไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้สามารถศึกษารายละเอียดจากลิ้งค์บทความดังกล่าว
สำราญ สมพงษ์รายงาน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น