วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2565

รองหัวหน้าพรรคกล้า เสนอนำท้าวเวสสุวรรณ เป็นซอฟท์พาวเวอร์ สร้างเศรษฐกิจไทย


"วรวุฒิ" เสนอเครื่องราง-ของขลัง เป็นซอฟท์ พาวเวอร์ สร้างเศรษฐกิจไทย ดึงนักท่องเที่ยวสายมูจากต่างประเทศ  ชี้มีฐานรากจากวัฒนธรรมโบราณ มูลค่ามหาศาล เติบโตถึง 40,000 กว่าล้านบาทต่อปี 

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2565 นายวรวุฒิ อุ่นใจ รองหัวหน้าพรรคกล้า ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจเพื่อคนตัวเล็ก กล่าวว่า ประเทศไทยอยู่คู่กับความเชื่อ ความศรัทธา ในพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน ทั้งวัดวา อาราม สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก และอีกสิ่งที่มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางใจคือ เครื่องราง ของขลัง พระเครื่อง พระบูชา ที่ทุกครัวเรือนจะมีไว้สักการะบูชา และมีกลุ่มที่ทำเป็นธุรกิจ มีเงินไหลเวียนในธุรกิจประเภทนี้สูงถึงปีละ 40,000 กว่าล้านบาท หรืออาจสูงกว่านี้เพราะไม่มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ 



“ธุรกิจเครื่องราง ของขลัง จะเป็นพุทธพาณิชย์ หรือพุทธศิลป์ ขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละท่าน แต่ผมมองเป็น soft power ที่สำคัญของไทยอีกด้านหนึ่ง ที่มีรากฐานมาแต่โบราณ ทั้งวัฒนธรรม ศิลปะ และโบราณวัตถุ เมื่อเชื่อมกับความเชื่อ ก็สามารถพัฒนาเป็นสินค้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ โดยเฉพาะถ้าไปโยงกับการท่องเที่ยวต่าง ๆ ของไทย ยกตัวอย่างเช่น ศาลพระพรหม สี่แยกราชประสงค์ มีผู้เลื่อมใสศรัทธาจากทั่วโลก โดยเฉพาะชาวฮ่องกงนับถือกันมาก ทั้งหมดนี้นำมาสู่การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม หรือใครจะเรียกว่าเป็นการท่องเที่ยวสายมูก็ได้และนำรายได้เข้าประเทศไทยอย่างมหาศาลมาตลอดหลายสิบปี นี่ขนาดทำแบบไม่มีกลยุทธ์ ไม่มีการวางสตอรี่ หรือเส้นทางต่อเนื่องอะไรจากภาครัฐเลย เชื่อว่าเราจะพัฒนาเรื่องนี้ เป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อีกมหาศาล” รองหัวหน้าพรรคกล้า กล่าว 

หัวหน้าทีมเศรษฐกิจเพื่อคนตัวเล็กพรรคกล้า กล่าวด้วยว่า โดยส่วนตัวแล้ว ก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบสะสมเหรียญ นอกจากจะเลื่อมใสศรัทธาแล้ว ยังชอบในศิลปะด้วย อย่างเหรียญท้าวเวสสุวรรณเนื้อเงิน ซึ่งแม้ว่าเราจะคุ้นชินกับศิลปะแนวนี้มาตลอดยังเห็นว่าสวยงามมาก และก็อดไม่ได้ที่จะเช่ามาเก็บสะสมไว้ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่เคยเห็นมาก่อนจะตื่นตาตื่นใจขนาดไหน ผนวกกับสตอรี่ ที่ให้ความรู้ประสบการณ์กับนักท่องเที่ยวที่ให้ผลต่อความเชื่อเข้าไป รับรองดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อีกมหาศาลแน่ ๆ เรื่องแบบนี้มันต้องให้คนที่เข้าใจ มีเซ้นส์ทางธุรกิจเข้าไปบริหารประเทศ ถึงจะขับเคลื่อนหารายได้เข้าประเทศได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราห์อาหุเนยยวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  วิเคราห์อาหุเนยยวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ บทนำ อาหุเนยยวรรคเป็นหมวดหนึ่งในอ...