วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565

"ศิธา" ขอคะแนนพี่น้องมุสลิมเดือนรอมฎอน เตรียมประสานเอกชนจัดอาหารฮาลาลในโรงแรมที่พักเพิ่มเติม

 


ศิธา เบอร์ 11 เดินสายขอคะแนน พี่น้องมุสลิมในเดือนรอมฎอน พบหลายปัญหาสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข ประกาศชัดหากได้เป็นผู้ว่าฯกทม.จะเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยว ดึงพี่น้องมุสลิมเข้ามาสร้างรายได้เพิ่มขึ้น เตรียมประสานเอกชน จัดอาหารฮาลาลในโรงแรมที่พักเพิ่มเติม รับการเปิดเศรษฐกิจเต็มรูปแบบ พร้อมเพิ่มสถานที่ละหมาด ตามจุดบริการนักท่องเที่ยว ขณะเดียวกันจะปรับปรุงโรงเรียนในสังกัด กทม.ไม่ให้ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการนับถือศาสนาของพี่น้องมุสลิม 



เมื่อวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2565 น.ต.ศิธา ทิวารี ผู้สมัครผู้ว่ากทม.หมายเลข 11 พรรคไทยสร้างไทย เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่หลายจุดทั่วกรุงเทพมหานคร มีโอกาสพบป่ะพี่น้องประชาชนในหลายเขต รวมถึงได้รับฟังปัญหาและความต้องการของพี่น้องมุสลิม ทั้งเขตหนองจอก สะพานสูง สวนหลวง ลาดกระบัง และเขตประเวศ ซึ่งได้รับการตอบรับจากพี่น้องมุสลิมเป็นอย่างดี ซึ่งในช่วงถือศีลอด หรือเดือนรอมฎอน ขออวยพรให้พี่น้องทุกท่านได้ปฏิบัติศาสนกิจครบถ้วนตลอดเดือนศักสิทธิ์ เดือนแห่งความศรัทธา ตามที่ทุกท่านได้ มุ่งหวังตั้งใจแน่วแน่


น.ต.ศิธา ระบุว่าการลงพื้นที่ พี่น้องมุสลิมได้สะท้อนหลายปัญหาที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร ซึ่งหากตนมีโอกาสได้เข้าไปรับใช้พี่น้องชาว กทม.ยืนยันว่าจะขอคิดต่างเพื่อคนกรุงเทพ และแก้ไขปัญหายากๆให้จบ 


เช่นข้อเสนอของพี่น้องมุสลิม ที่สะท้อนว่าด้านการศึกษาพบว่า โรงเรียนในสังกัด กรุงเทพมหานคร ยังกีดกันนักเรียนมุสลิมที่จำเป็นต้องคลุมฮิญาบ สำหรับนักเรียนหญิง เเละการสวมกางเกงขายาวสำหรับนักเรียนชาย ในการเข้าเรียนในโรงเรียนได้ตามปกติ ทั้งที่ระเบียบการเเต่งกายของนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้เเต่งกายตามศาสนบัญญัติ สามารถคลุมฮิญาบได้  ดังนั้นหากตนได้ เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะทำหนังสือเวียนถึงโรงเรียนภายใต้สังกัด กรุงเทพมหานคร ให้เข้าใจเเละปฏิบัตตาม ระเบียบของ กระทรวงฯ อย่างเคร่งครัด เพื่อไม่เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานในการนับถือศาสนาเเละปฏิบัติศาสนาของประชาชนมุสลิม 


นอกจากนี้ ในปัจจุบันยังพบว่า ครู สอนโรงเรียนคุรุสัมพันธ์ ตามมัสยิด ในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ ซึ่งเป็นการสอนศาสนาอิสลามขั้นพื้นฐาน ที่มุ่งเน้นให้เด็กเยาวชนในชุมชน เป็นคนดีมีศิลธรรม มีคุณธรรม เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของสังคมประเทศชาติ ยังไม่มีค่าตอบเเทน เป็นการทำเเบบจิตอาสา ซึ่งครูเหล่านี้ต้องเเบกรับภาระเรื่องนี้มานานเเล้ว ยังไม่มีการเหลียวเเลจากภาครัฐ  ตนจะสนับสนุนงบประมาณ เรื่องค่าตอบเเทนครูสอนคุรุสัมพันธุ์ (ตาดีกา)เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้ครู ผู้ปกครองนักเรียนทุนคน 


นอกจากนี้ในปัจจุบัน ยังพบว่า ประชากรมุสลิมทั้งที่เป็นประชากรหลัก เเละประชากรเเฝง ที่มาในรูปเเบบการท่องเที่ยว การทำงาน ในพื้นที่ กทม.เพิ่มมากขึ้น อนาคตที่ประเทศไทยจะเปิดการท่องเที่ยวเต็มรูปเเบบ จะมีนักท่องเที่ยว ทั้งจากกลุ่มประเทศอาหรับ กลุ่ม ประเทศอาเซี่ยนมากขึ้น เเต่ยังพบว่า สถานที่ละหมาด ตามสถานท่องเที่ยว หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน ยังไม่มีสถานที่ละหมาดสำหรับ ประชาชนมุสลิมอย่างทั่วถึง เรื่องนี้จึงเป็นอีกกรณี ที่จะต้องพิจาณา จัดทำสถานที่ละหมาด ทั้งใน ห้าง หน่วยงานเอกชน หน่วยงานรัฐ สถานที่ท่องเที่ยว ให้ทั่วถึง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเเละนักท่องเที่ยว


และสำคัญที่สุดพบว่า ปัจจุบัน โรงเเรมต่างๆ ในกทม.ยังไม่ค่อยมีการจัดอาหารฮาลาล ไว้บริการนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ ซึ่งทำให้ประเทศไทยที่กำลังเปิดรับนักท่องเที่ยว ทั้งกลุ่มอาหรับ เเละกลุ่มอาเซียน ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการภาคธุรกิจ ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ขาดรายได้ในส่วนนี้ไป จึงเห็นควรที่กทม.จะต้องประชาสัมพันธ์ กระตุ้นให้ โรงเเรม ห้างสรรพสินค้า ใน กทม. จัดทำอาหารฮาลาล ต้อนรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ด้วย 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...