วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2565

ปราชญ์โคกหนองนาโมเดลสุดปลื้ม! วิจัยดุษฎีนิพนธ์ "ป.เอกสันติศึกษา มจร" พบเป็นฐานปลดหนี้อย่างยั่งยืน



วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๕  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. ผู้ดำเนินรายการสนทนากลุ่มเฉพาะ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ได้เป็นผู้ดำเนินรายการสนทนากลุ่มของนิสิตระดับปริญญาเอก รุ่น ๔ หลักสูตรสันติศึกษา มจร  โดยได้รับความเมตตาจากพระครูปลัดปัญญาวัฒน์ ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวว่า นับว่าเป็นบุญอย่างยิ่งที่ผู้ทรงคุณวุฒิระดับผู้ปฏิบัติการจริงในการลงมือทำโคกหนองนาพุทธกสิกรรมอย่างจริงมาร่วมสะท้อน โดยมีพระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร เป็นประธานคณะกรรมการควบคุมดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งมีนายณัฎฐนันธ์  สกลทัศน์ นิสิตระดับปริญญาเอกหลักสูตรสันติศึกษา มจร ทำวิจัยการพัฒนาพุทธกสิกรรมธรรมอย่างยั่งยืนโดยพุทธสันติวิธี 

โดยอาจารย์ ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อาจารย์ยักษ์) สะท้อนว่าสามารถนำทฤษฎีมาบูรณาการสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ซึ่งดีใจมากที่หลักสูตรสันติศึกษาทำพุทธกสิกรรม โดยรัชกาลที่ ๙ ทรงริ่เริมทำโคกหนองนาแห่งความกตัญญูให้เป็นเรียนรู้ของประชาชน หลักธรรมในการขับเคลื่อนโคกหนองนาในการพัฒนามนุษย์คือ สัปปายะสถาน ซึ่งมีทั้งสัปปายะ ๔ และสัปปายะ ๗ หรือ รมณียสถานเป็นแหล่งเรียนรู้วิชาทางธรรมและวิชาทางโลก มีความเป็นอาวาสสัปปายะเป็นฐาน แต่ต้องมีตัวชี้วัดขึ้นมาเช่น ต้นไม้ เนินเขา สร้างบุคคลสัปปายะมีการจัดฝึกอบรมบุคคลให้มีความเข้าใจเป็นบุคคลสัปปายะ มีอาหารสัปปายะมีอาหารมียาสมุนไพรมีความมั่นคง ธรรมะสัปปายะโดยพุทธเกษตรมีความเป็นธรรมะเป็นฐาน ซึ่งการจะสำเร็จจะต้องอิทธิบาท ๔ ในทางพระพุทธศาสนา

อาจารย์โจน จันใด สะท้อนว่าดีใจที่ใช้พุทธเกษตรพุทธกสิกรรม ซึ่งรวมถึงชีวิตของเราทั้งหมาย การนำพุทธเกษตรมาใช้สามารถเข้ากับคนไทยได้อย่างชัดเจน ซึ่งเราห่างจากเกษตรไม่ได้แต่จะยั่งยืนจะต้องมีความเป็นพุทธเข้าไปบูรณาการด้วย เกษตรจะต้องมีความเป็นธรรมมีความถูกต้องซึ่งเกษตรกรรมต้องไม่เป็นทุนนิยม ซึ่งเกษตรทุนนิยมต้องการผลกำไรจำนวนมาก แต่ความเป็นพุทธนิยมจะเน้นชีวิตเราจึงควรเน้นความเป็นพุทธเกษตร งานวิจัยจะต้องทำให้เป็นรูปธรรมสามารถนำไปใช้ได้จริงอย่าทำวิจัยเพียงแค่จบเท่านั้น เราต้องสามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งประชาชนที่ทำเกษตรมีทักษะลงแรงแต่ขาดทักษะทางวิชาการด้านการทำพุทธเกษตร   

ผศ.สุดที่รัก สายปลื้มจิตต์ อาจารย์ประจำหลักสูตรการออกแบบและจัดการภูมิทัศน์เพื่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สะท้อนว่า การวางแผนทำพุทธกสิกรรมจะต้องวางแผนการปลูกเพื่อนำไปสู่การสร้างคุณค่าและมูลค่า ซึ่งการพัฒนาพื้นที่จะต้องมีการออกแบบ โดยอาจารย์ปัญญา ปุลิเวคินทร์ หัวหน้าศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ สะท้อนว่า ข้าราชการพยายามเพิ่มรายได้ไม่หมดหนี้หมดสิน พยายามจะหาเงินจำนวนมากแต่มีรูรั่ว เหมือนตุ่มที่รั่ว นำน้ำใส่มากเท่าใดก็ไม่พอเพราะมีรูรั่ว แต่ชาวบ้านพยายามจะสร้างอุดรูรั่วในชีวิต ซึ่งระบบทุนนิยมไม่สามารถปัญหาได้ แต่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติได้อธิบาย ๙ ด้วย “พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น” สร้างบุญ สร้างทาน มีการแปรรูป มีการขาย และสร้างเครือข่าย จึงต้องพัฒนาบุคคลให้เกิดพละ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เชื่อมโยงสาราณียธรรม ถือว่าเป็นแนวคิดการฝึกอบรมจะต้องนำชาวบ้านที่สมัครใจเข้ามาเรียนรู้  

โดยอาจารย์บุสดี ขุนศิริ ผู้อำนวยการศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสุรินทร์ สะท้อนว่าจะต้องมีหลักธรรมในความเป็นจริง พุทธกสิกรรมสามารถแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็นจึงเป็นฐานของการชีวิตให้มีความสุข  สุดท้ายจะมีการแบ่งปันการให้คนอื่นรวมถึงต่อยอดในการแปรรูปต่างๆ สร้างเครือข่ายให้เกิดพลังโดยพระอาจารย์สังคม ธนปญฺโญ ดร. ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติธรรมมาเอื้องเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง สะท้อนว่า คนยังหิวอยู่ สันติภาพจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำให้เกิดคำว่า “สันติภาพลงดินสันติภาพกินได้” ถือว่าเป็นการลงมือที่ดีมาก  จึงมีการบูรณาการทำพุทธกสิกรรมธรรมชาติให้เหมาะกับบริบทนั้นๆ   

โดยสรุปว่า พุทธเกษตรในความหมายคืออะไร ขอบเขตเพียงใด เราใช้กรอบเพียงใดจะต้องนิยามให้ชัด  อะไรคือใบไม้กำมือเดียวในงานวิจัยชิ้นนี้  แล้วนำไปบูรณาการลงไปทำในพื้นที่ค้นพบอะไร นำสิ่งที่ค้นพบมานำเสนอมีขั้นตอนอย่างไร มีกระบวนการอย่างไร “นิยาม และนำสิ่งที่ทำมานำเสนอ” รวมถึงนำรูปแบบของคนอื่นทำมีกระบวนการ งานวิจัยชาวบ้านจะต้องอ่านได้อย่างเข้าใจจะต้องสร้างรูปแบบให้คนทั่วไปอ่านได้อย่างเข้าใจ จะเกิดจากความต้องการของชาวบ้านในการระเบิดจากภายใน ใช้พลังศรัทธาของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ให้คนในชุมชนเรียนรู้ฝึกอบรม ศึกษาตัวอย่างที่สำเร็จและไม่สำเร็จ มีการเรียนรู้เครือข่ายเอามื้อเอาเครือข่ายกัลยาณมิตร แต่สิ่งสำคัญคือจะต้องลงมือทำลงมือปฏิบัติ  สร้างอารยเกษตรโคกหนองนาซึ่งจะมีการขับเคลื่อนพัฒนาต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข

  เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: พอสันติสุข บทนำ บทเกริ่นนำ: อธิบายถึงแนวคิดของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและความสำคัญในชีวิตประจำวัน แนะนำตัวละครหล...