วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

เจ้าคณะสุรินทร์อบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยฯ อธิการบดี"มจร"หนุนเป็นการบริการสังคมเชิงรุก



วันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๕  พระธรรมวัชบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทรุ่นที่ 8 ภายใต้การดำเนินการของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "มหาจุฬากับการขับเคลื่อนป้องกันขัดแย้งในสังคมไทย" กล่าวประเด็นสำคัญว่า ขอชื่นชมหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ที่มีความเข้มแข็งในการจัดฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ย ซึ่งจะเชื่อมสมานประสานให้คนเข้าใจกัน เพราะความขัดแย้งทำให้ความร่มเย็นเป็นสุขหายไป ทำให้คุณภาพชีวิตไม่ดีนัก สอดรับกับคำว่า สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี  

โดยอดีตมหาจุฬาแสดงบทบาทในการจัดการความขัดแย้งในเชิงรับไม่ได้ร่วมมือกับองค์กรใด แต่ปัจจุบันมีการร่วมมือกับองค์กรภายนอก โดยนำเครื่องมือศาสนาไปแก้ไขความขัดแย้ง รวมถึงการยอมรับวันวิสาขบูชาถือว่าเป็นการยอมรับในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งการใช้กฎหมายเป็นแพ้ทั้งคู่ แต่คนที่มองว่าตนเองชนะถามว่าเสียทรัพย์เสียเวลาไปเท่าใด "เป็นชัยชนะความว่างเปล่า" ทาง มจร นำโดยพระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศ.ดร. จึงออกไปศึกษาสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันพระปกเกล้า สำนักงานศาลยุติธรรม จึงมีการเปิดหลักสูตรร่วมกันนำไปสู่รุ่น ๘  จึงเกิดความเพียรชอบในปธาน ๔ ในทางพระพุทธศาสนา เป็นการป้องกัน แก้ไข  เยียวยา และรักษาสันติภาพให้เกิดความยั่งยืน 

โดยหลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่จัดเป็นปหานปธานคือ แก้ไขความขัดแย้ง เพราะเราทราบว่าความขัดแย้งในบ้านเมืองเราเกิดขึ้นมายาวนานทำมห้เกิดการสูญเสียการพัฒนา

จึงย้ำว่าต้องผลิตพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้มากที่สุดที่มีคุณภาพ โดยพัฒนาตนเองให้มีความพร้อมแล้วออกไปช่วยเหลือสังคมโลก จึงต้องมีบารมี ๑๐ ทัศ เป็นฐานของโพธิสัตว์ เป็นผู้นำในการสร้างบารมี เริ่มจากการให้ทาน รวมถึงให้กำลังใจซึ่งกันและกัน มีระเบียบวินัยในการจัดการตนเอง โดยพัฒนาตามกรอบบารมี ๑๐ ในการทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จึงต้องวัดคุณภาพของจิตตนเอง โดยจิตมีความเอิบอิ่มใจเบาสบาย นโยบายในการขับเคลื่อนการสร้างของมหาจุฬาคือ ภาวนา อันหมายถึงวิปัสสนากรรมฐานแบบเชิงรับและเชิงรุก  

ทั้งนี้พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร กล่าวถวายรายงานว่า เมื่อพัฒนาหลักสูตรสันติศึกษาแล้ว จึงมีการยกระดับเป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งเป็นนโยบายอธิการบดีเป็นสำคัญ มีหน้าที่ประสานใจเพื่อจัดการความขัดแย้งของคนในสังคม โดยในการฝึกอบรมในรุ่นนี้มีพระมหาเถระเข้าร่วมด้วยคือหลวงพ่อเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์  




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...