วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

ที่ปรึกษา "ชวน" แถลงแจง "พศ." แจ้งสภา ปมมติ "มส." กรณีพระสงฆ์เกี่ยวข้องการเมือง



วันพุธที่ 6 กรกฎาคม 2565   เวลา 10.05 น. ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารรัฐสภา นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงข่าวแจ้งมติมหาเถรสมาคมเรื่องพระภิกษุเกี่ยวข้องกับการเมืองและไม่ประพฤติปฏิบัติตามมติมหาเถรสมาคม เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการทำงานของสภาในอนาคต ตามที่ นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้ทำหนังสือถึงประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 65 แจ้งมติมหาเถรสมาคม เรื่องพระภิกษุเกี่ยวข้องกับการเมืองและไม่ประพฤติปฏิบัติตามมติมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 65 ดังนี้

1. กรณีพระภิกษุไปร่วมเป็นกมธ. อนุ กมธ. หรือที่ปรึกษาในคณะ กมธ. ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของฝ่ายการเมืองที่ดำเนินการโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา มอบให้ประธานฝ่ายปกครอง ที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้งไปพิจารณากำหนดแนวทาง วิธีการ หรือมาตรการให้ชัดเจนในการตำหนิโทษ หรือป้องปรามเป็นลายลักษณ์อักษร 2. กรณีหน่วยราชการที่ขอให้กรรมการมหาเถรสมาคม หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นที่ปรึกษา หรือกรรมการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เสนอผ่านมหาเถรสมาคมพิจารณา


3. กรณีรัฐสภา ขอให้กรรมการมหาเถรสมาคม ไปเป็น กมธ. อนุ กมธ. หรือที่ปรึกษานคณะ กมธ. มอบให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นผู้แทนมหาเถรสมาคม 

และเมื่อดำเนินการในนามมหาเถรสมาคมแล้วให้รายงานมหาเถรสมาคมทราบ 4. กรณีรัฐสภาขอพระภิกษุรายรูป  ต่อพระภิกษุโดยตรงปฏิบัติภารกิจของฝ่ายการเมือง ให้พระภิกษุรูปนั้นแจ้งผู้บังคับบัญชาใกล้ชิด เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึง มหาเถรสมาคมพิจารณา 5. มอบสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแจ้งมติมหาเถรสมาคมต่อรัฐสภาทราบแนวปฏิบัติดังกล่าว


ในการนี้ ทางสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ทำหนังสือแจ้งไปยังประธานคณะ กมธ.กิจการสภาผู้แทนราษฎร และประธานคณะ  กมธ. วิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของสภาต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ จากการสอบถามพบว่าในอดีตเคยมีการนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเป็นคณะ กมธ.จริง แต่ในปัจจุบันไม่มีการปฏิบัติดังกล่าวแล้ว

2 ความคิดเห็น:

  1. มส.ล้าหลังเผด็จการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญถ่วงความเจริญกีดกันสิทธิ์พระสงฆ์ที่ทำงานด้านพระศาสนากระโหลกกระลา พรบ.คณะสงฆ์ผ่านเห็นชอบมติมาจากการพิจารณาผ่านสภาห้ามพระสงฆ์ยุ่งเกี่ยวการเมืองแล้วไปเห็นชอบมติห้ามการเสนอพระสงฆ์เป็นที่ปรึกษาเป็นอนุ..กมธ.ทำไมมันเป็นสิทธิ์อำนาจที่ของสว.สส.เขาๆทำงานร่วมกันมาเป็นประโยชน์ร่วมเพื่อชาติบ้านเมืองแต่มส.กลับบ้าบอออกกฏห้ามพระสงฆ์สารพัดจนอ๊วกมากกว่าพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระบัญญัติต้องยุบ มส.และสำนักงานพระพุทธศาสนาเพราะมาจากการเสนอจัดตั้งโดยกฏหมายผ่านสภาฯฉิบหายเพราะดุลยพินิจที่เป็นดั่งด้ามขวานให้ผู้ไม่ประสงค์ดัต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ในที่สุดก็กระชับอำนาจอ้างต้องเสนอขอตัวแทนจากมส.โดยบุคคลที่จัดให้เองพวกขี้เกลือกีดกันบั่นทอดประโยชน์แต่ต้องการอวยคนของตนควรลาออกไปเข้ากรรมญานดตรียมตัวตายไปนิพพานเถอะแย่ามาเป็นผู้หลงติดในตำแหน่งยศศักดิ์อำนาจเลยล้าหลังปล่อยวางแบบควายๆทำให้ต่างศาสนาและผู้จ้องทำลายนั่งหัวเราะเยาะที่เห็นมส.ทำลายความรุ่งเรื่องของพุทธศาสนาโดยความหวังดีปรีชาแต่ว่าเหมือนประสงค์ร้ายมากกว่า..ยามนี้พระประมุจหวังเห็นความรุ่งเรื่องปลอดภัยของสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์แต่ชะตากรรมกิจพระพุทธศาสนาอยู่ในกรรมมือของสมุนตุ๊ดแต๋วกระเทย บัณเดาะ ลูกสมุนนายกลูกเขยแขกพุทธก็รอวันแหลกรอวันตายไปแล้วชาติ,สถาบันกษัตริย์จะรอดรึ..มส.ไม่มีทรัพยากรทางพระพุทธศาสนาก็ไม่สูญพันธ์หรอก..ลาออกกันย้างก็ได้ก่อนแผ่นดินไทยพุทธจะฉิบหายวอดวายหมดก้อน

    ตอบลบ
  2. พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแขกรีบรับลูกทันทีThank you ทส.สนพ.เผด็จการ พวกขี้เกลือบ่างช่างอิจฉายุแยงตะแคงรั่วกลัวพระสงฆ์ผู้น้อยจะได้ดีทำผระโยชน์เพื่อชาติบ้านเมือง

    ตอบลบ

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...