วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

“เกษตรฯ.”ดึงมหาวิทยาลัยทากะซากิและบริษัทญี่ปุ่น ร่วมมือศูนย์AICพัฒนาอาหารจากโปรตีน



“เกษตรฯ.”เดินหน้านโยบายอาหารแห่งอนาคตดึงมหาวิทยาลัยทากะซากิและบริษัทญี่ปุ่นร่วมมือศูนย์AICพัฒนาอาหารจากโปรตีนทางเลือกใหม่ ขยายความร่วมมือกับญี่ปุ่นเพิ่มส่งออกผลิตภัณฑ์แมลงผงจากไทยสร้างรายได้ให้เกษตรกร

เมื่อวันอังคารที่ 5 กรกฎาคม 2565    นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมศักดิ์ วิวิธเกยูรวงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงโตเกียว นายโชติ พึงเจริญพงศ์ คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ นายณฐกร สุวรรณธาดา  คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงเกษตรฯ นายสกนธ์ วนาเศรษฐี ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำกรุงโตเกียว และคณะเดินทางไปมหาวิทยาลัยทากะซากิ  (Takasaki City University of Economics)ในจังหวัดกุนมะเพื่อร่วมประชุมหารือกับ นายทาเคชิ มิซึกุจิ (Takeshi Mizuguchi) อธิการบดีมหาวิทยาลัย และคณะเมื่อวานนี้เพื่อขยายความร่วมมือด้านการพัฒนาอาหารแห่งอนาคต(Future Food) โดย มหาวิทยาลัยทากะซากิได้ร่วมวิจัยและพัฒนากับบริษัท ฟิวเจอร์นอท อิงค์ (Futurenaut Inc.) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารจากแมลงโดยใช้ผงจิ้งหรีดนำเข้าจากประเทศไทยเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าแปรรูป เช่น ขนมแครกเกอร์ โปรตีนแท่ง เป็นต้น


โดยนายเรน ซากุไร (Ren Sakurai) CEO บริษัทฟิวเจอร์นอท และ นายอะกิฮิโร อีจิมะ (Akihiro Iijima) หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี (Chief Technology Officer) ได้นำเสนอข้อมูลของบริษัทตลอดจนพาชมห้องปฏิบัติการทดลองเลี้ยงจิ้งหรีดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์

 ทั้งนี้นายอลงกรณ์ กล่าวว่า จากการหารือพอใจต่อความสำเร็จในการเจรจาหารือโดยนายทาเคชิ มิซึกุจิ และนายเรน ซากุไร พร้อมจะทำความตกลงลงนามเอ็มโอยู.กับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC)ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยมีศูนย์แห่งความเป็นเลิศ (Center of Excellence) ด้านแมลง เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาแมลงต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารจากโปรตีนทางเลือกใหม่ภายใต้นโยบายอาหารแห่งอนาคต(Future Food)และนโยบายฮับแมลงโลกของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และยังสอดรับกับแนวทางขององค์การอาหารและเกษตรแห่สหประชาชาติ(FAO: Food and Agriculture Organization) ที่ประกาศให้ “แมลงเป็นแหล่งอาหารในอนาคตของโลก”และเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)ของสหประชาชาติอีกด้วย

“โปรตีนจากแมลงจัดเป็นซุปเปอร์ฟู้ด (Super Food) เป็นแหล่งโปรตีนชนิดใหม่ (New Protien) และเป็นอาหารแห่งอนาคต(Future Food) ที่ต้องยกระดับมาตรฐานการผลิตการแปรรูปและการตลาด 

โดยเน้นเรื่องคุณค่าสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ (Nutrients)ซึ่งความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่นครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากแมลงโดยทางบริษัทฟิวเจอร์นอทมีแผนลงทุนผลิตจิ้งหรีดในไทยและในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการนำเข้าจิ้งหรีดผงโดยพัฒนาการเลี้ยงด้วยอาหารที่ผลิตจากเศษอาหารเหลือใช้(Food Lost)และอาหารแมลงที่มีส่วนผสมเฉพาะสามารถกำหนดกลิ่นและรสชาดจิ้งหรีดได้ซึ่งเป็นแนวทางการทดลองที่เป็นประโยชน์ต่อการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคซึ่งมหาวิทยาลัยทากะซากิมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านเศรษฐศาสตร์ผู้บริโภคจะช่วยพัฒนานโยบายตลาดนำการผลิตได้อีกทางหนึ่งด้วย ประการสำคัญคือการสร้างงานสร้างอาชีพสร้างรายได้และธุรกิจใหม่ๆให้กับเกษตรกรจากจุดแข็งที่ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพและแมลงเศรษฐกิจเช่นจิ้งหรีด ด้วงสาคู ตัวไหมหม่อน ตัวไหมอีรี่ ชันโรง ผึ้งโพรง หนอนนก แมลงวันลาย แมงดาเป็นต้นสามารถผลิตเป็นอาหารคน อาหารสัตว์ เวชสำอางค์ เวชกรรม และเครื่องดื่มสุขภาพที่หลากหลาย ปัจจุบันมีฟาร์มและแปลงใหญ่ของเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและบริษัทเอกชนกว่า1แสนฟาร์มมีการส่งออกไปหลายประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยุโรปและเอเซีย เป็นเศรษฐกิจฐานรากใหม่ที่มีอนาคต


 ขณะที่ นายสมศักดิ์ วิวิธเกยูรวงศ์ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงโตเกียว กล่าวว่า ตลาดอาหารจากแมลงในประเทศญี่ปุ่นมีศักยภาพในการเติบโตสูง ปัจจุบัน ผู้บริโภคและผู้ผลิตอาหารจากแมลงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนญี่ปุ่นให้ความสนใจกับอาหารจากแมลงมากขึ้น และมีความตื่นตัวตามหลักการของ SDGs สูง ปัจจุบัน มีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารจากแมลง อาทิ ข้าวเกรียบผสมผงจิ้งหรีด คุ้กกี้ ราเมนจิ้งหรีด ฯลฯ จึงนับเป็นโอกาสของประเทศไทยในการขยายตลาดมายังประเทศญี่ปุ่น 

โดย ปัจจุบันญี่ปุ่นยังไม่มีการกำหนดเงื่อนไขการนำเข้าแมลงหรืออาหารจากแมลงเป็นกรณี

พิเศษ โดยสามารถนำเข้าตามเงื่อนไขของอาหารทั่วไป ขณะเดียวกัน กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF)ได้จัดตั้งคณะทำงาน Foodtech เพื่อกำหนดมาตรฐานและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ Future Food เช่น โปรตีนจากพืช อาหารและอาหารสัตว์จากแมลง.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...