วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2565

"อุตตม" นำรีเซ็ตประเทศไทย ด้วยพันธกิจ 5 แก้ 5 สร้าง 2 เร่งแก้หนี้ด้วยกองทุน"สอท." วางรากสู่อนาคตที่ยั่งยืน

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2565  พรรคสร้างอนาคตไทย แถลงข่าวเปิดยุทธศาตร์เราพร้อม เปลี่ยนอนาคตประเทศไทย โดยมีแกนนำพรรค อาทิ นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค, นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค, นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรค และประธานภาคกทม., นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรค และประธานภาคใต้, นายสุพล ฟองงาม รองหัวหน้าพรรคและประธานภาคอีสาน, นายวิเชียร ชวลิต รองหัวหน้าและผู้อำนวยการพรรค, นายสันติ กีระนันทน์ รองหน้าพรรคและประธานฝ่ายนโยบาย , นายวัชระ กรรณิการ์ รองหัวหน้าพรรคและประธานภาคกลาง เข้าร่วมงาน

โดยนายอุตตม กล่าวว่า พรรคสร้างอนาคตไทยมีพันธกิจรีเซ็ตประเทศไทย 5 แก้ไข คือ 1.แก้ปัญหาที่สั่งสมเป็นปัญหารุนแรง คือ ฉ้อราษฎร์บงหลวงต้องหยุดทุกระดับ 2.ปราบปรามยาเสพติด 3.สร้างความเท่าเทียมลดการผูกขาด เพิ่มการแข่งขัน 4.ลดขนาดราชการ และ 5.ยกระดับให้เกษตรกรทันสมัย นอกจากนั้นจะมี 5 สร้าง คือ 1.สร้างเศรษฐกิจฐานราก 2.สร้างเศรษฐกิจใหม่ 3.สร้างสังคมเกื้อกูล 4.สร้างคนและโครงสร้งพื้นฐานพร้อมก้าวสู่สังคมยุคใหม่ และ 5.สร้างการเมืองที่สร้างสรรค์

นายอุตตม กล่าวด้วยว่า มีโจทย์ 2 เร่งคือเร่งรัดแก้ปัญญหาเร่งด่วน ที่สืบเนื่องมาจากวิกฤตโควิด วิกฤตหนี้สิน แก้ค่าครองชีพสูง และเร่งวางรากฐานไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนที่มีคุณภาพให้คนไทยและก้าวทันโลก โดยการตอบโจทย์สำคัญคือ กองทุนสร้างอนาคตประเทศไทย วงเงิน 3 แสนล้านบาท ซึ่งไม่ใช่เงินกู้ ไม่เป็นภาระ โดยแบ่งเป็น จำนวน แสนล้านบาท เพื่อปลดแอกหนี้สินให้คนตัวเล็ก พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย เสริมทักษะอาชีพ และเติมทุนใหม่ ผ่านกลไกรัฐที่มีมาตรการกำกับที่เหมาะสม เช่น สร้างระบบจัดทุนใหม่ให้คนรายเล็ก ใช้นอนแบงค์ และอีกจำนวน สองแสนล้าน บาทเพือ่ฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก สร้างเศรษฐกิจใหม่ สู่อนาคตประเทศแห่งที่เท่าเทียมและยั่งยืน

"ความไม่ชัดเจนทางการเมืองทำให้หลายฝ่ายกังวลและรู้สึกว่าการแก้ปัญหาเร่งด่วนของภาครัฐให้ประชาชน นั้นคลุมเคลือ ตอบโจทย์ไม่ตรงจุด เรียกว่าซ้ำเติมความห่วงใยในสถานการณ์ที่ปรเทศไทยเผชิญกับมรสุมที่ถาโถม ทั้งนี้การเมืองวันนี้มีหลายอย่างเกิดขึ้นบางคนเรียกว่าเกมการเมือง แก่งแย่ง เกิดคำถามคือประชาชนได้อะไร”นายอุตตม กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...