เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 65 ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ศคง. ได้เผยแพร่ข้อมูล เรื่องการจัดการหนี้ โดยระบุว่า เวลาไม่มีทางออกเรื่องการจ่ายหนี้ เรามักนึกถึงการกู้มาโปะเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เอาตัวรอดเป็นงวดๆ ไป ทั้งนี้ ถ้าเราคิดไม่รอบคอบ วางแผนไม่ดี อาจกลายเป็นเพิ่มภาระหนี้ให้มากกว่าเดิม ดังนั้นก่อนคิดจะกู้หนี้ไปโปะหนี้ ต้องไตร่ตรองให้ดี ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกู้มาโปะหนี้บัตรเพื่อมีวงเงินหมุนเวียนไว้ใช้ต่อ หรือ กู้มาจ่ายหนี้ เพราะไม่อยากให้เสียเครดิต แม้ความจริงจะจ่ายไม่ไหว
โดย ศคง. แนะนำให้ลองวิธีแก้ปัญหาหนี้แบบอื่น เช่น เจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอลดดอกเบี้ย พักเงินต้น หรือแปลงหนี้บัตรเป็นสินเชื่อระยะยาว รวมไปถึงดูมาตรการช่วยเหลือต่างๆ เช่น และแก้หนี้บัตรกับโครงการคลินิกแก้หนี้
สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าร่วม "โครงการคลินิกแก้หนี้" มีดังนี้
เป็นบุคคลธรรมดา ที่มีรายได้ อายุไม่เกิน 70 ปี
เป็นหนี้เสียบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มี หลักประกันของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ
เป็นหนี้เสีย (NPL) ก่อน 1 เม.ย. 65 (ตามรายงานเครดิตบูโร ณ เดือน มี.ค. 65 ต้องมีสถานะค้างชำระ 91-120 วันขึ้นไป)
หนี้รวมไม่เกิน 2 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ส่วนลูกหนี้ที่มีประวัติการจ่ายหนี้ตามปกติ แต่คิดว่าผ่อนไม่ไหว ทางแบงก์ชาติแนะนำให้ติดต่อกับธนาคารโดยตรง เพื่อทำการ "รวมหนี้" โดยการรวมหนี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก คือ
1. การรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน
2. การรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงิน โดยโอนหนี้บัตรจากธนาคารแห่งหนึ่งไปรวมกับหนี้บ้านของธนาคารอีกแห่งหนึ่ง หรือจะเป็นการโอนหนี้บ้านไปรวมกับหนี้บัตรก็ได้
3. การโอนหนี้บ้านและหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นไปรวมกันที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ที่ลูกหนี้ไม่เคยมีหนี้ด้วยมาก่อน
โดยมีหลักเกณฑ์เพิ่มเติมสำหรับลูกหนี้ ดังนี้
1. ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ได้ไม่เกินมูลค่าของหลักประกัน ทั้งนี้ หากยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยสูงกว่ามูลค่าหลักประกันสามารถขอรวมหนี้บางส่วนได้
2. ลูกหนี้ต้องให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้คงค้าง แก่ธนาคารที่ทำการรวมหนี้
3. ลูกหนี้อาจถูกพิจารณาปรับลดวงเงินส่วนที่นำไปรวมหนี้ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการได้
อย่างไรก็ตาม แนะนำให้คุยกับธนาคารโดยตรง เพราะการออกแบบเรื่องการรวมหนี้นั้นจะพิจารณาและทำเป็นรายบุคคคล โดยสามารถดูรายละเอียดธนาคารที่เข้าร่วมโครงการได้ที่นี่ มาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์ และการรวมหนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก ศคง. 1213
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น