วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2565

'กอ.รมน.' จับมือ 'วช.' ชูชุมชนเข้มแข็งสนับสนุนชุมชนต้นแบบเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กอ.รมน. และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในการนำองค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมของ วช. ไปถ่ายทอดสู่ศูนย์เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลของเครือข่ายปราชญ์เพื่อความมั่นคง ซึ่งเป็นปราชญ์ ชาวบ้าน ที่ กอ.รมน. ให้การสนับสนุนอยู่เดิม เพื่อช่วยยกระดับศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งและคุณภาพชีวิตให้คนในชุมชนมีความกินดีอยู่ดี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง ในทุกมิติ จากความต้องการของชุมชน

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา กอ.รมน. ร่วมกับ วช. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ณ อาคารรื่นฤดี กอ.รมน. เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร          

พล.อ.สันติพงศ์ ธรรมปิยะ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กล่าวว่า ประสานงานและส่วนปฏิบัติงานในพื้นที่ สร้างพลังสังคม พลังชุมชน นวัตกรรมชุมชน นวัตกรรมสังคมเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวสู่ข้างหน้าด้วยความมั่นคง สังคมไทยมีความสงบสุข ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นฐานความรู้ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง          

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ในการพัฒนาเชิงพื้นที่ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม ในการนำองค์ความรู้ไปพัฒนากระบวนการผลผลิต การพัฒนาอาชีพ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาสังคม การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและพลังงานให้แก่ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ของ กอ.รมน. ให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งและมีความยั่งยืน อันนับเป็นการส่งเสริมการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนและชุมชนฐานรากของประเทศได้อย่างยั่งยืนด้วยวิจัยและนวัตกรรม          

สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้เป็นโครงการ ต่อเนื่องจากปี 2562 ซึ่งจะครบกำหนดสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 27 สิงหาคม 2565 ที่จะถึงนี้ โดยการดำเนินงานที่ผ่านมาได้มีการนำ ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีต้นแบบเข้าไปแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย จนสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายในงานมีการ จัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม จำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ท้องถิ่น

พร้อมกันนี้ ได้มีพิธีมอบรางวัลให้กับชุมชนต้นแบบที่บรรลุ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน จำนวน 7 ชุมชน รางวัลชุมชน ดีเด่น ได้แก่ พาราโบลาโดม จากวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์บ้านดงบัง, นวัตกรรมเครื่องผ่าไม้และจักตอกแบบเลาะข้อ จากชุมชนบ้านทุ่งนาค จ.สุรินทร์, เครื่องอบแห้งอินฟราเรดเทคโนโลยีการผลิตข้าวฮางงอก จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนบ้าน ไผ่เขียว จ.อุตรดิตถ์ และ นวัตกรรมระบบผลิตผักและปุ๋ยหมัก จากชุมชนบ้านโหนดหมู่ จ.พัทลุง ส่วนรางวัลชมเชย ได้แก่ เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ จากวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถียั่งยืนบ้านบางแตน จ.ปราจีนบุรี, ระบบการผลิตผักและข้าวโพดฝักสด จากกลุ่มเกษตรกรสมาชิกศูนย์ส่งเสริมการเกษตรครบวงจรตามแนวเศรษฐกิจ พอเพียง จ.สระแก้ว และเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ จากชุมชนบ้านวังช้าง จ.ชุมพร          

ความร่วมมือดังกล่าวสอดคล้องตามพันธกิจของ กอ.รมน. ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เสริมสร้างความมั่นคงของรัฐ ด้วยการสร้างเสริมศักยภาพชุมชนสร้างเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ อันจะนำไปสู่การสร้างโอกาส สร้างอาชีพ และ ยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่นให้ดีขึ้นตามแผนยุทธศาสตร์ชาติอย่างเป็นรูปธรรม


ที่มา: นสพ.แนวหน้า ฉบับวันที่ 28 ส.ค. 2565


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...