วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2565

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ประชาคม พัฒนายั่งยืน

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565    ที่หอประชุมใหญ่ อาคารไทยบุรี มหาวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ประชาคมจังหวัดนครศรีธรรมราช พบปะหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลงาน ความก้าวหน้าในการดำเนินการพัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนาจังหวัดให้โดดเด่นและยั่งยืน โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นายกนพ เกตุชาติ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครศรีธรรมราช หัวหน้าส่วนราชการ คณาจารย์ นิสิต นักศึกษา และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมฯ


โอกาสนี้ นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “จังหวัดนครศรีธรรมราชนครแห่งอารยธรรม น่าอยู่ น่าเที่ยว การเกษตรและอุตสาหกรรมยั่งยืน” โดยใช้แนวคิดการพัฒนา Soft Power ผลักดันให้วิสัยทัศน์จังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม มุ่งสู่เป้าหมายใน 5 มิติ (5P) คือ 1) Planet ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) People ด้านสังคม ความเป็นอยู่ของประชาชน 3) Prosperity ด้านเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง 4) Peace สันติภาพ และ 5) Partnership หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา


จากนั้นศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “30 ปี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ” ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความมุ่งมั่นในการดำเนินภารกิจในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเพื่อรับใช้สังคมในวงกว้าง รวมทั้งงานวิจัยที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศและนานาชาติ ตลอดจนงานบริการวิชาการแก่สังคมที่สนับสนุนการเติบโตของจังหวัด และประเทศอย่างมั่นคง แข็งแรง และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นภารกิจที่เป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช


ข้อมูลข่าวและที่มา https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG220830203952806

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...