วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2565

"อธิบดีพช." กระตุ้นสร้างความพร้อมทีมงาน พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 ที่ห้องประชุม 3001 ชั้น 3 กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) นายสมคิด จันทมฤกอธิบดี พช. เป็นประธานการประชุม Morning Brief เพื่อหารือข้อราชการประจำสัปดาห์ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีคณะผู้บริหาร พช. เข้าร่วมการประชุม โดยกล่าวว่า ทิศทางการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน ประจำปี 2566 ตามวิสัยทัศน์ พช. “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 

มุ่งเน้นการทำงานครบทุกมิติ ในกระบวนการ “งาน งบ ระบบ คน” เพื่อมุ่งสู่ชุมชนเข้มแข็ง (ตำบลเข้มแข็ง) “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ มีเศรษฐกิจฐานรากและมีความสุขมวลรวม ผ่านโครงการต่างๆ ของ พช. ในด้านของการบริหารจัดการชุมชน ส่งเสริมและพัฒนา สร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชน มีการรักษาระดับการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง (เดิม) ขยายผลหมู่บ้านใหม่ ขับเคลื่อนและต่อยอดพื้นที่ต้นแบบ โคก หนองนา พัฒนาชุมชน ด้วยหลัก 5 P ยกระดับศูนย์เรียนรู้ชุมชน ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน และศูนย์สารภี เสริมสร้างความเข้มแข็งกองทุนแม่ของแผ่นดิน ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนธรรมาภิบาล และงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ในด้านเศรษฐกิจฐานราก มีการกระตุ้นส่งเสริมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ทั้งผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์ ภูมิปัญญาผ้าไทย และช่องทางการตลาด ส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยเครือข่ายภาคี

นายสมคิด กล่าวต่อว่า ด้านเสริมขีดความสามารถทุนชุมชนธรรมาภิบาล ผ่านกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ส่งเสริมศูนย์จัดการกองทุนชุมชน รวมถึงการสืบสานรักษาและต่อยอด ผ่านโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) หมู่บ้านคนรักษ์ช้าง และผ้าไทยใส่ให้สนุก มีการพัฒนากลไกการพัฒนาชุมชน ตามโครงการประสานแผนและบูรณาการแผนตำบล บริหารจัดการฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน/สารสนเทศตำบล ส่งเสริมและพัฒนากลุ่ม/องค์กรและเครือข่าย พัฒนาผู้นำชุมชน ผู้นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนาคุณภาพชีวิต/ลดความเหลื่อมล้ำ แก้ไขปัญหาความยากจน สัมมาชีพชุมชน ส่งเสริมการออมฯ วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีตัวชี้วัดงบประมาณ คือ 1. ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมายมีความสุขมวลรวม(GVH) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 85 2. มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 60

นายสมคิด กล่าวด้วยว่า ให้มีระบบการพัฒนาระบบฐานข้อมูล Big Data เพื่อการตัดสินใจ ระบบพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ระบบการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ สร้างภาพลักษณ์กรมฯ และสื่อสารความเข้าใจสังคมเชิงรุก เน้นการพัฒนาคน โดยการพัฒนา Mindset & Skillsets (ทักษะเชิงยุทธศาสตร์ ทักษะตามสายงาน ทักษะด้านดิจิทัล ทักษะด้านภาวะผู้นำ มีการส่งเสริมค่านิยมองค์การ (ABCDE S&P) พัฒนาเส้นทางความก้าวหน้า ยกระดับสู่องค์กรธรรมาภิบาล ทันสมัย และมีความสุขร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนปีงบประมาณ 2566 ให้บรรลุวิสัยทัศน์ไปด้วยกัน 

https://www.banmuang.co.th/news/politic/294320


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...