วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

“เจ้าคุณประสาร”ย้อนอดีตส่องอนาคตถอดรหัสทางรอด“มหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย”

วันที่ 26 ก.พ.2564  เช้าวันมาฆบูชา วันนี้ (26 ก.พ.64) พระเมธีธรรมาจารย์, รศ. ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้โพสต์เฟชบุ๊ก พูดถึงสถานการณ์มหาวิทยาลัยสงฆ์ในสถารณ์ปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

มหาวิทยาลัยของไทยในปัจจุบันกำลังประสบปัญหามากมายทั้งในแง่ทรัพยากรบุคคล ประชากร งบประมาณ เทคโนโลยี นวัตกรรม วิจัย และสถานการณ์เฉพาะหน้า

สำหรับมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทยมี 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาปนาเมื่อปี พ.ศ. 2430 เพื่อศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง(อุดมศึกษา) และมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2436 เพื่อการศึกษาของพระภิกษุสามเณร

ทั้งสองมหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ทั้ง 2 นิกาย โดย มหาจุฬาฯ หรือ มจร ในฝ่ายมหานิกายนั้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ส่วนมหามกุฏฯ หรือ มมร ในฝ่ายธรรมยุติกนิกายนั้นเพื่ออนุสรณ์แก่พระราชบิดา

เมื่อคราวที่พระปิยมหาราช ทรงปกครองบ้านเมืองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute monarchy) นั้นพระองค์มีพราราชภารกิจที่สำคัญ 3 ประการคือ

1.ปกครองไพร่ฟ้าประชาชนให้อยู่ดี มีสุข

2.พัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า

3.ทำทุบำรุงและอุปถัมภ์ค้ำจุนพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น

ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงสนพระทัยและพยายามทุกวิถีทางที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงเสด็จประภาสยุโรปหลายครั้งหลายคราเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรี ให้ฝรั่งมังค่าเห็นว่าสยามประเทศนั้นไม่ได้ล้าหลัง ป่าเถื่อน นอกจากนั้นยังเป็นจิตวิทยา เป็นการทำแบบทำเนียมฝรั่ง รักษาดินแดนและดูบ้านดูเมืองเขาเพื่อกลับมาพัฒนาประเทศของตน

ในยุคสมัยของพระองค์จะเห็นได้ว่าสยามประเทศนั้นได้พัฒนาไปมากทั้งด้านการศึกษา การทหาร สาธารณสุข สาธารณูปโภคและอื่นๆอีกมากมาย

เมื่อพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้าแล้วพระองค์ก็ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกล (จกฺขุมา) ว่าแล้วคณะสงฆ์จะอยู่อย่างไร การศึกษาสงฆ์จะพัฒนาไปได้อย่างไร จะช่วยกันสืบทอดพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองและมั่นคงได้อย่างไร พระราชดำรัสตอนหนึ่งของพระองค์ว่า "เมื่อข้าพเจ้าได้ดำรงสิริราชสมบัติแล้วก็ตั้งใจทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงอยู่เป็นนิจ" ดังนั้นพระองค์จึงมีลายพระราชหัตถเลขา ในการสถาปนามหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งด้วยพระองค์เอง

ในรอบศตวรรษที่ผ่านมามหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งก็ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด เพราะกฎหมายหรือพระราชบัญญัติสมัยพระองค์ที่ทรงร่างไว้นั้นยังไม่ทันประกาศใช้ เป็นกฎหมายการบริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ทันสมัย เหมาะสมและจะช่วยการศึกษาสงฆ์ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและทั่วโลก และนอกจากนั้นพระองค์ยังทรงพระราชอุทิศอาคารสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย (ตึกถาวรวัตถุหรือตึกแดงภายในวัดมหาธาตุด้านสนามหลวง)ถวายเป็นอาคารเรียนของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ.2453 พระปิยมหาราชทรงสวรรคต บ้านเมืองเปลี่ยนผ่าน ทำให้การศึกษาของคณะสงฆ์ในรูปแบบมหาวิทยาลัยต้องพลอยได้รับผลกระทบและหยุดชะงักไปด้วย ไม่มีการจัดการศึกษา ไม่มีพรบ.รองรับ ไม่มีอาคารเรียน ตึกแดงสร้างยังไม่แล้วเสร็จกระเบื้องที่สั่งมาจากจีนผิดพลาด กาลต่อมาตึกแดงกลายเป็น"หอสมุดวชิรญาณสำหรับพะนคร"

ปัจจุบันตึกแดงเป็นอาคารหอสมุดเและเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมศิลปากร แต่อยู่ในที่ดินภายในวัดมหาธาตุ เรื่องนี้เป็นข้อพิพาท เป็นมหากาพย์อันยาวนานมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในอดีตนั้นพระนิสิตมหาจุฬาฯเคยเดินขบวนประท้วงเรียกร้องคืนตึกแดงมาแล้วในนาม "กลุ่มเรียกร้องคืนตึกแดง" แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ วันนี้วัดมหาธาตุยังคงพยายามในเรื่องนี้ต่อไปเพื่อสืบสานพระราชปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 จนกว่าจะประสบความสำเร็จ

พ.ศ.2488 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต นพวงศ์)ทรงสนับสนุนพระมหาสุชีพ สุชีโว (สุชีโวภิกขุ) พระสงฆ์ไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษได้ร่วมกับคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายจัดการเรียนการสอนขึ้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร หลังจากที่พระมหาสุขีพ สุชีโว มาขอใช้สถานที่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร (แต่เดิมนั้นจัดการเรียนวิชาพระพุทธศาสนากับวิชาการสมัยใหม่ที่วัดกันมาตุยาราม )ในนาม สภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย ในรูปแบบมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2488 โดยพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์(ม.ร.ว.ชื่น สุจิตฺโต นพวงศ์) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. 2490 พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺโต) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุรูปทึ่ 15 นำพระมหาเถระ 57 รูปเจริญชัยมงคลคาถาที่ตำหนักสมเด็จวัดมหาธาตุ ประกาศเปิดการเรียนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2490 ณ วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฏิ์ ในนาม มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฝ่ายมหานิกาย ในรูปแบบมหาวิทยาลัย โดยเปิดคณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรก และมีนิสิตเริ่มแรก 8 รูป

จะเห็นได้ว่า เมื่อในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงสวรรคตการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ฝ่ายบ้านเมืองก็ไม่ได้สืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ ซึ่งถ้าไม่มีพระมหาเถระที่มองการณ์ไกล หัวก้าวหน้า ล้ำสมัย ก็ยากจะมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ในวันนี้

ระยะเริ่มแรกจัดการจัดศึกษาถูกดูหมิ่นดูแคลนว่าเป็นมหาวิทยาลัยเถื่อน ปริญญาเถื่อน ผู้บริหารก็ต้องอดทน ก้มหน้าก้มตาทำเพื่อคณะสงฆ์และคุณภาพของพระภิกษุสามเณรที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ส่วนบัณฑิตนั้นเมื่อจบแล้วต้องไปเรียนต่อในระดับสูงขึ้นไปในต่างประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา สหรัฐอเมริกา เป็นต้นเพราะเมืองไทยไม่มีการยอมรับปริญญาของทั้งสองมหาวิทยาลัย

ปีพ.ศ. 2512 มหาเถรสมาคม ประกาศให้การศึกษาของทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นการศึกษาของคณะสงฆ์

พ.ศ.2527 รัฐบาลประกาศรับรองปริญญาบัตร แต่ไม่รับรองสถานะของมหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2540 รัฐบาลสมัยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ได้ออกพระราชบัญญัติให้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐและเป็นนิติบุคคล สิ้นสุดการต่อสู้อันยาวนานเพื่อให้รัฐรับรองสถานะของมหาวิทยาลัย

สถานการณ์ปัจจุบันมหาวิทยาลัยทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อยในหลากหลายปัจจัยที่แตกต่างกันออกไป ในส่วนของมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็ย่อมหนีไม่พ้นกฎเกณฑ์ในข้อนี้

มหาวิทยาลัยสงฆ์จะปรับตัวอย่างไร จะเดินหน้าแบบใหน จึงจะยังคงคุณค่าและรักษาสถานะให้มั่นคงไว้ได้ เพราะปัญหาต่างๆนั้นมีมากมาย ให้บริหาร จัดการ เช่น

1.ประชากรลดลง ปัจจุบันประชากรทั้งในประเทศและทั่วโลกต่างลดลงตามลำดับ คนชรามีมากขึ้น ศาสนทายาทหายากขึ้นทุกที นั่นย่อมหมายถึงจำนวนผู้เรียนจะหายากขึ้นทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์

2.โลกยุคโควิด-19 เปลี่ยนไป ทำให้วิถีแห่งการเรียน การสอน ถูกปรับเปลี่ยนไปด้วย นิสิต นักศึกษานั่งนอนอยู่บ้านแต่สามารถพบศาสตราจารย์ชั้นนำในมหาวิทยาลัยชื่อดังทั่วโลก แปลว่า คู่แข่งขยายวงกว้างมากขึ้น แนวรบทางด้านนี้เพิ่มมากขึ้น

3.รายได้จากรัฐลดลง เฉพาะในเมืองไทยชัดเจนว่ามหาวิทยาลัยที่ขอรับงบประมาณจากรัฐ จะมีสัดส่วนที่จะต้องถูกลดงบประมาณลงมีความเป็นไปได้สูง

4.รายได้ในส่วนของมหาวิทยาลัยถดถอย แน่นอนเมื่อผู้เรียนลดลง การแข่งขันมากขึ้น เศรษฐกิจฝืดเคือง รายได้จากการจัดเก็บ การบริจาค และผลประโยชน์อื่นไดก็ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วยเข่นกัน

5.แบกรับภาระเพิ่มมากขึ้น ทั้งภาระค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัย ทั้งภาระคือความคาดหวังจากภาครัฐและคนทั่วไปในด้านศักยภาพ การบริการและการพัฒนา

6.ลูกผสมมีมากขึ้น แต่เดิมมหาวิทยาลัยสงฆ์สองแห่งมีเฉพาะพระสงฆ์สามเณรเท่านั้นที่มาศึกษาเล่าเรียน ส่วนผู้บริหารนั้นส่วนใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ ปัจจุบันนิสิต นักศึกษา มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ หลากหลายทั้งเพศ อายุ ความเชื่อและการแสดงออกในฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยนั้นก็เช่นกัน มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ เดิมนั้นทั้งสองแห่งเป็นการบริหารแบบครอบครัว คือจบ พธ.บ. มาบริหารมหาจุฬาฯ จบ ศน.บ.มาบริหารมหามกุฏ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งมีบุคคลากรที่จบมาจากสถาบันอื่นๆมาอยู่ในองค์กรและรวมทั้งเป็นผู้บริหารในสัดส่วนที่มีมากขึ้น เมื่อเป็นลูกผสมก็จำต้องระมัดระวังในเรื่องผลประโยชน์ ทิศทางในการดำรงสถานะของความเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ รวมทั้งเรื่องของความสามัคคีด้วย

7.เทคโนโลยีสารสนเทศ แน่นอนวันนี้มหาวิทยาลัยสงฆ์ก็ต้องวิ่งแข่งขันในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย แต่ก็เนื่องด้วยงบประมาณที่ได้รับค่อนข้างจำกัด รายได้ในส่วนของมหาวิทยาลัยก็มีไม่มากนัก จะประยุกต์ใช้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพจะตอบสนองผู้เรียนอย่างไรให้พึงพอใจและจะวิ่งแข่งกับมหาวิทยาลัยอื่นๆอย่างไร

8.งานวิจัย เรื่องวิจัยเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญสำหรับมหาวิทยาลัยในทั่วโลก แต่สำหรับมหาวิทยาลัยสงฆ์จะมีทิศทางในการวิจัยอย่างไร เช่นการผลิตนักวิจัยอย่างมืออาชีพ การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อตอบโจทย์สังคมปัจจุบัน เป็นต้น

9.นวัตกรรม จะกำหนดทิศทางในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆโดยเฉพาะนวัตกรรมด้านพระพุทธศาสนาเพื่อสนองตอบสังคมอย่างไร รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแนวคิดของผู้คนทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ให้เดินก้าวไปด้วยกัน หายใจเป็นจังหวะเดียวกันและมีเป้าหมายที่ตรงกันอย่างไร

10.แหล่งผลิตและศูนย์รวมแห่งศีลธรรม ในฐานะมหาวิทยาลัยสงฆ์จะต้องชัดและประจักษ์ในเรื่องศีลธรรม ทั้งในทางการบริหาร บุคลากร และบัณฑิตที่ผลิตออกไปสู่สังคม รวมทั้งที่ว่า คิดอะไร สนใจแบบใหน ในทุกหลักสูตร ทั้งระดับประกาศนียบัตร เกียรติบัตร การฝึกฝนอบรม การเรียนการสอนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว หรือจะต้องการเรียนหลักสูตรอย่าง วปอ. สถาบันพระปกเกล้า ในด้านที่เกี่ยวกับศีลธรรม หรือในเรื่องบุญในเรื่องกุศล ผู้คนจะต้องคิดถึงสองมหาวิทยาลัยสงฆ์นี้เท่านั้น

11.มหาวิทยาลัยเปิดกว้าง ขณะนี้มหาวิทยาลัยชื่อดังทั่วโลกกำลังปรับเปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยสงฆ์จะ Block Course ต่อไปคงลำบาก จะต้องขยับเรื่องนี้อย่างเป็นจริงเป็นจังเพื่อความอยู่รอด

12.ความสัมพันธ์กับคณะสงฆ์ มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งนั้นผู้บริหารจะต้องเปรียบประหนึ่งว่าเป็นผู้แทนของคณะสงฆ์ในการเข้ามาบริหารการศึกษาในส่วนนี้ ขณะเดียวกันคณะสงฆ์ เจ้าคณะผู้ปกครองก็ต้องคิดเช่นเดียวกัน และควรให้การสนับสนุนส่งเสริมเพื่อพระราชปณิธานของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 5 จะบรรลุผล

13.เป็นตัวแทนคณะสงฆ์ในทั่วโลก วันนี้ในทั่วโลกมีทั้งคณะสงฆ์ฝ่ายเถรวาทและมหายาน ทั้งในประเทศเพื่อนบ้านและห่างไกลออกไป มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งจะต้องสัมพันธ์ เชื่อมโยง และถูกไว้วางใจเพื่อเป็นตัวแทนในการจัดการศึกษาในฐานะมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลกของคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายใหญ่ เพื่อขยายมหาวิทยาลัยให้เป็นสากลมากขึ้น

มหาวิทยาลัยสงฆ์ยุคเริ่มแรกนั้น อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ของรัชกาลที่ 5 แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต ดูเหมือนมหาวิทยาลัยสงฆ์จะตกอบ ไม่มีอนาคตและหาผู้สืบทอดยาก เมื่อตกมาถึงยุคที่เริ่มมีการเรียนการสอนผู้บริหารต้องต่อสู้ด้วยมือเปล่าและเสียสละท่านต่อสู้เพื่อให้ได้รับการ “ยอมรับ”ทั้งในทางนิตินัยและพฤตินัย

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงฆ์เมื่อมีสถานะต่าง ๆที่พึงมีพึงได้แล้วก็ต้องต่อสู้กับตัวเองให้มากขึ้น การพัฒนามหาวิทยาลัย การพัฒนาบุคคลากรเพื่อให้ถูกทิศถูกทางและในขณะเดียวกันต้องสนองตอบสังคมเทคโนโลยีให้ได้ประสิทธิภาพขั้นสูง

ในส่วนของเป้าหมายนั้นแน่นอนว่ามหาวิทยาลัยจะต้องมีอะไรอีกหลายอย่างรวมทั้งเป้าหมายคือพันธกิจและวิสัยทัศน์ให้จัดเจน จับต้องใด้และก็เดินไปให้ถึงภายในระยะเวลาที่กำหนดและทันท่วงที...


วันมาฆบูชา! ศาลอุทธรณ์ให้ปล่อยตัวชั่วคราว 8 แกนนำกปปส.แล้ว


วันที่ 26 ก.พ.2564 วันมาฆบูชา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำกปปส.จำนวน 8 คน โดยตีราคาประกันคนละ 800,000 บาท ห้ามจำเลยที่ 1 เดินทางออกนอกประเทศ ช่วงเข้าที่ผ่านมาบรรยากาศที่บริเวณหน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ก็ได้มีบรรดาญาติพี่น้อง คนสนิท ของบรรดาแกนนำและรวมไปถึงกลุ่ม กปปส. เนเวอร์ดายประมาณ 30 เดินทางมารอมอบดอกไม้พร้อมให้กำลังใจด้วย

เปิดพระวินัยปิฎก "ลงทัณฑกรรม"คืออะไร มส.ใช้ทำโทษเณรร่วมม็อบราษฏร


เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 จากกรณี สามเณรสหรัฐ สุขคำหล้า หรือ โฟล์ค นักศึกษาวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล สมาชิกแนวร่วมราษฎรศาลายา ที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับม็อบราษฎร ว่า มีพฤติกรรมขัดต่อคำสั่งมหาเถรสมาคม (มส.) ต่อมาวันนี้ (25 ก.พ.) เพจ “สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ” ได้ออกประกาศเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว กรณีการตวจสอบสามเณรมีพฤติกรรม ขัดต่อคำสั่งมหาเถรสมาคม โดยมีข้อความคือให้ลงทัณฑกรรมแก่สามเณรสหรัฐ   ดังนั้นจึงมีประเด็นว่า การลงโทษสามเณรสหรัฐตามแนวทางลงทัณฑกรรมอะไร ซึ่งตามพระไตรปิฎก เล่มที่ 4   พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4   มหาวรรค ภาค 1   เรื่องลงทัณฑกรรมแก่สามเณร ได้ระบุข้อความไว้ว่า              

[๑๒๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พวกสามเณรไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง มีความ ประพฤติไม่เหมาะสม ในภิกษุทั้งหลายอยู่. ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพวกสามเณรจึงได้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง มีความประพฤติไม่เหมาะสมในภิกษุ ทั้งหลายอยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.             

พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม แก่สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ๑. พยายามเพื่อความเสื่อมลาภแห่งภิกษุทั้งหลาย ๒. พยายามเพื่อความพินาศแห่งภิกษุทั้งหลาย ๓. พยายามเพื่อความอยู่ไม่ได้แห่งภิกษุทั้งหลาย ๔. ด่า บริภาษ ภิกษุทั้งหลาย ๕. ยุยงภิกษุต่อภิกษุให้แตกกัน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความดำริว่า จะพึงลงทัณฑกรรมอย่างไรหนอแล แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม คือ ห้ามปราม.

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายลงทัณฑกรรมคือห้ามสังฆารามทุกแห่งแก่พวกสามเณร. สามเณรเข้าอารามไม่ได้ จึงหลีกไปเสียบ้าง สึกเสียบ้าง ไปเข้ารีตเดียรถีย์บ้าง. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.

พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงลงทัณฑกรรม คือห้ามสังฆารามทุกแห่ง รูปใดลงต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ลงทัณฑกรรม คือ ห้ามเฉพาะสถานที่ที่สามเณรจะอยู่หรือจะเข้าไปได้.

ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายลงทัณฑกรรมคือห้ามอาหารซึ่งจะกลืนเข้าไปทางช่องปาก แก่พวกสามเณร. คนทั้งหลายทำปานะคือยาคูบ้าง สังฆภัตรบ้าง จึงกล่าวนิมนต์พวกสามเณร อย่างนี้ว่า นิมนต์ท่านทั้งหลายมาดื่มยาคู นิมนต์ท่านทั้งหลายมาฉันภัตตาหาร. พวกสามเณรจึง กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกอาตมาทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะภิกษุทั้งหลายลงทัณฑกรรมคือห้ามไว้.

ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย จึงได้ ห้ามอาหาร ซึ่งจะกลืนเข้าไปทางช่องปากแก่พวกสามเณรเล่า. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงลง ทัณฑกรรมคือห้ามอาหารที่จะกลืนเข้าไปทางช่องปาก รูปใดลง ต้องอาบัติทุกกฏ.

เรื่องลงทัณฑกรรมแก่สามเณร จบ.

เรื่องกักกันสามเณรต้องขออนุญาตก่อน

[๑๒๒] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคีย์ไม่อาปุจฉาพระอุปัชฌาย์ก่อน แล้วทำการ กักกันสามเณรทั้งหลายไว้. พระอุปัชฌาย์ทั้งหลายเที่ยวตามหาด้วยนึกสงสัยว่า ทำไมหนอ สามเณรของพวกเราจึงหายไป.

ภิกษุทั้งหลายได้แจ้งให้ทราบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์ได้กักกันไว้.

พระอุปัชฌาย์ทั้งหลาย จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงไม่ อาปุจฉาพวกเราก่อน แล้วทำการกักกันสามเณรของพวกเราเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี พระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่อาปุจฉาอุปัชฌาย์ ก่อนแล้ว ไม่พึงทำการกักกันสามเณรไว้ รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

 

ส.ส.ก้าวไกลเสนอให้"พระภิกษุ"มีสิทธิ สมัครเลือกตั้งเป็น ส.ส.ร.ได้


เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วว่าด้วยร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ...." วาระที่ 2 มาถึงเกี่ยวกับคุณสมบัติและคุณสมบัติต้องห้ามของผู้เป็น ส.ส.ร. ทั้งนี้กรรมาธิการเสียงข้างเสนอให้นำคุณสมบัติของ ส.ส.มาใช้โดยอนุโลม 

แต่นายณธีภัสร์  กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล  ได้สงวนคำแปรญัตติที่สนับสนุนให้ พระภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช ให้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) โดยให้เหตุผลว่า เพราะบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้มีคุณธรรม

รัฐสภาโหวต "ห้ามส.ส.ร.แก้หมวด1-2" 

ทั้งนี้การประชุมรัฐสภาที่มี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) พ.ศ. … แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญได้พิจารณาเสร็จแล้ว ต่อเนื่องเป็นวันที่สอง โดยเป็นการพิจารณาในมาตรา 256/10 เกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส.ร. และหลักเกณฑ์ว่าด้วยกรณีที่ส.ส.ร.ว่างลงนั้น กมธ.ได้ปรับแก้เนื้อหาในหลักการสำคัญ คือ กรณีที่ตำแหน่ง ส.ส.ร.ว่างลง ให้จัดการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ภายใน 45 วัน ยกเว้นเวลาทำรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่ถึง 90 วัน โดย นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะกมธ.ขอความเห็นจากที่ประชุมว่า เพื่อไม่ให้เกิดเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่ส.ส.ร.มีส่วนเข้าไปร่าง จึงขอกำหนดข้อห้าม ไม่ให้ส.ส.ร.ลงสมัครรับเลือกตั้งภายใน 2 ปี หลังจากที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ก่อนที่ที่ประชุมลงมติเห็นด้วยตามกมธ.แก้ไข ด้วยคะแนน 569 ไม่เห็นด้วย 1 งดออกเสียง 13 ไม่ลงคะแนน 4 เสียง

ส่วนการพิจารณาในมาตรา 2562/13 ว่าด้วยระยะเวลาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดย นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า ตนขอเสนอให้ตัดบางวรรคออกไป โดยเฉพาะวรรคที่เขียนว่า “การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 1 และหมวด 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจะกระทำมิได้”   

ทำให้มีการอภิปรายถกเถียงกันในประเด็นนี้อย่างมาก จน นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกมธ. เสนอขอพักการประชุม 5 นาที  

ต่อมา เวลา 17.55 น. ที่ประชุมกลับมาประชุมอีกครั้ง โดยเป็นการลงมติในมาตราดังกล่าว ซึ่งสมาชิกเห็นด้วยกับกมธ.เสียงข้างมาก 349 คะแนน ไม่เห็นด้วย 200 คะแนน งดออกเสียง 58 ไม่ลงคะแนน 2 เสียง ซึ่งเท่ากับไม่มีการเติมข้อความในวรรค 5 เกี่ยวกับเรื่องพระราชอำนาจเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 256/13

"IBSC มจร" ยกระดับองค์กร Growth พัฒนาบุคลากร Gen ใหม่ขับเคลื่อน



วันที่ ๒๕  กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔  พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ที่ปรึกษากลุ่มพัฒนาและการฝึกอบรม  เปิดเผยว่า วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ(IBSC)มจร จัดพัฒนาบุคลากรฝ่ายสนับสนุนด้าน Growth Mindset เพื่อการเติบโตของบุคลากรในการทำงานในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ภายใต้ "แบบผันผวน ซับซ้อน ไม่แน่นอน และคลุมเครือ" สร้างกระบวนการเรียนรู้โดย อาจารย์สาโรจน์ พึ่งไทย  วิทยากรกระบวนการชั้นนำระดับประเทศผ่านกระบวนการของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการเติบโตจากภายในสู่ภายนอกเพื่อการพัฒนาบุคลากร Gen ใหม่ขับเคลื่อนองค์กร Genเพื่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน  


     

บุคลากรแบบ Growth Mindset เป็นวิธีคิดว่าถ้าฉันผิดพลาด นั่นคือโอกาสที่ฉันจะได้เรียนรู้เพื่อจะได้ไม่พลาดเรื่องนั้นซ้ำอีก มองว่างานยากๆ เป็นโอกาสให้ฉันเติบโต และเก่งขึ้น  ฉันอยากรู้มากกว่านี้เพื่อจะได้ทำงานที่ไม่มีใครเคยทำได้ ฉันชอบฟังความคิดเห็นของลูกทีมเพราะนั่นคือโอกาสให้ฉันได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่ฉันอาจยังไม่รู้ รวมถึงเมื่อเห็นคนอื่นสำเร็จ ฉันรู้สึกมีแรงบันดาลใจที่จะเอาชนะตัวเอง และทำให้สำเร็จ       

บุคลากรFixed Mindset เป็นวิธีคิดว่าถ้าฉันทำผิดพลาดเรื่องไหน ฉันจะไม่ทำมันอีก เพราะความสามารถฉันคงมีอยู่แค่นี้ ฉันไม่อยากทำงานยากๆ เพราะถ้าทำอะไรผิดพลาด ฉันจะเสียชื่อเสียง ฉันมีความรู้อยู่เเค่นี้ เพราะฉันทำได้เท่าที่ฉันรู้ ฉันไม่ต้องการฟังคสามเห็นของลูกทีมเพราะฉันเป็นหัวหน้าและรู้เรื่องนี้ดีสุด รวมถึงเมื่อคนอื่นสำเร็จฉันรู้สึกแย่กับตัวเองที่ทำไม่สำเร็จเหมือนเขา     

โดยองค์กรมีบุคลากร Generation Y หรือ Gen-Y เรียกว่า Millennials คือคนที่เกิดในช่วงพ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๔๐ คน Gen-Yจะเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิตัล มีความเป็นสากล เปิดรับวัฒนธรรมแบบ Teen Pop มองว่าการชื่นชอบศิลปินต่างชาติเป็นเรื่องปกติธรรมดา มีเทคโนโลยีพกพา รักความสะดวกสบาย เกิดมาในยุคที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตและเฟื่องฟู  ยุค Gen-Y จึงมักจะถูกตามใจ อยากได้อะไรต้องได้ มีโอกาสทางการศึกษาที่ดี มีแนวคิดเป็นตัวของตัวเอง ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ และปฏิเสธสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ     

ลักษณะพฤติกรรมของคน Gen-Y มักต้องการความชัดเจนในการทำงาน เช่น ต้องชัดเจนว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตนเองและต่อหน่วยงานอย่างไร? คาดหวังที่จะมีเงินเดือนสูงๆ คาดหวังคำชม แต่ไม่อดทนต่องานที่ทำ ชอบเปลี่ยนงานอยู่บ่อยๆ คน Gen-Y ยังต้องการสร้างสมดุลเวลาให้กับตัวเอง เช่น หลังเลิกงานมักจะไปทำกิจกรรมให้ความสุขกับตัวเอง อย่างไปเล่นฟิตเนส แฮงเอาท์พบปะเพื่อนฝูง คนกลุ่มนี้มีความสามารถในการทำงานที่เกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ชอบงานด้านไอที ใช้ความคิดสร้างสรรค์ทำสิ่งใหม่ๆ รวมทั้งสามารถทำอะไรหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกัน เรียกได้ว่าสามารถใช้เครื่องมือเครื่องไม้ต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว อย่างที่เราอาจจะเคยเห็นภาพคนยุคใหม่ที่นั่งเล่นสมาร์ตโฟน ไอแพด คุยโทรศัพท์ ไปพร้อมๆ กับทำกิจกรรมอื่นๆ อย่างการเดิน การทำงาน หรือกินข้าวได้     

ทำงานกับกลุ่มGen-Y ลองท้าทายพวกเขาด้วยภารกิจใหม่ๆ Millennium จะชอบความเป็นคนสำคัญ การเพิ่มความรับผิดชอบ เสมือนการให้คำชม จงเปิดโอกาสให้ Millennium ได้แสดงความคิดเห็นของเขา เห็นพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในทีม ผู้ใหญ่ที่ยอมรับความคิดเขาจะได้รับการยอมรับจากพวกเขาเช่นกัน Millennium ชอบให้เราแสดงออกต่อสิ่งที่พวกเขาทำทุกขณะจิต เพราะความรู้สึกและความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน มีผลต่อพวกเขามาก ทำงานกับกลุ่ม Gen-Z จงให้เกียรติพวกเขาก่อนเสมอในฐานะที่พวกเขาน่าจะฉลาดกว่าเรา เพราะพวกเขาเติบโตมากับยุคอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงตั้งแต่เด็ก ส่วนปรัชญาที่เหมาะสมกับการทำงานของพวกเขาคือ Work-Life Balance ไม่ชอบสไตล์การทำงานแบบคนรุ่นเก่าที่น่าเบื่อ และเพื่อป้องกันการสูญเสียความคิดและไอเดียของคน Gen Z ดาวรุ่งดวงใหม่ เราควรใช้ระบบการฝึกอบรมพนักงานที่ได้มาตรฐาน ใช้เทคโนโลยีปรับปรุงให้องค์กรมีความทันสมัยเพื่อดึงดูดพวกเขาให้มาทำงาน สุดท้ายคือการให้โอกาสพวกเขาในการแสดงความสามารถอย่างเต็มที่และส่งเสริมให้พวกเขาได้แสดงบทบาทที่สำคัญมากยิ่งขึ้นเสมอ      

รวมถึงการพัฒนาTeme Building เป็นการสร้างทีม หรือ ทีมสัมพันธ์ผ่านกระบวนที่คิด ออกแบบมา เพื่อให้มีการใช้กระบวนการ วิธีการในการให้บุคคล กลุ่มคน ได้เกิดการพัฒนากันในหลายๆ ด้าน เช่น พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน ความสามัคคี การยอมรับ ความเป็นผู้นำ การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน และการทำงานเป็นทีม โดยอาศัยสถานการณ์ที่วิเคราะห์จากแนวคิดต่างๆ ให้ได้ผลออกมา ตรงตามประโยชน์ เป้าหมายที่ต้องการ การทำให้กลุ่มคน กลุ่มหนึ่ง กลุ่มใดก็ตาม มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เริ่มจากสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างตัวบุคคล ลดช่องว่างจากตำแหน่ง หน้าที่การทำงาน เปิดใจ เปลี่ยนมุมมอง คลายความขัดแย้งในกลุ่มคนหรือองค์กร ที่จะส่งผลตรงไปถึงการทำงาน สร้างความสามัคคี ความร่วมมือ การระดมความคิด ประตูสู่การสื่อสาร ผ่านการทำกิจกรรมหลากหลาย ร่วมกัน ซึ่งต้งเป็นกิจกรรมที่ออกแบบมาอย่างดี ผ่านรูปแบบที่หลากหลายขึ้นอยู่กับ กลุ่มคน สถานที่ และเป้าหมาย ที่เรายึดตามลักษณะและกระบวนการตามหลักการ “การจัดกิจกรรมที่ดี” ของเรา      

ดังนั้น Teme Building จึงมุ่งละลายพฤติกรรม การทำความรู้จักกัน มีเป้าหมายร่วมกัน มีการสื่อสารกันภายในกลุ่ม ได้แก้ไขปัญหาร่วมกันแสดงความคิดเห็น สร้างความสามัคคีเพิ่มศักยภาพในการทำงานร่วมกัน และสร้างทัศนคติที่ดี  วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร หรือ Ibsc Mcu จึงมีการยกระดับองค์กรGrowthเพื่อการเติบโตพัฒนาบุคลากร Gen ใหม่เพื่อการขับเคลื่อนองค์กรในยุคปัจจุบัน โดยมุ่งเน้น Growth Mindset ถือว่าเป็นทักษะแห่งความสุขและสำเร็จในการทำงานยุคปัจจุบัน บุคลากรและผู้นำองค์กรจึงต้องระวัง Fixed Mindset จุดจบขององค์กรยุคใหม่ล้มสลาย   

 

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

พศ.แจงแล้วปม! ตรวจสอบเณรร่วมม็อบราษฎรขัดคำสั่งมส.





เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564  เพจคณะปฎิสังขรณ์การพระศาสนาใหม่ออกแถลงการณ์ เรื่อง ประณามองค์กรสำนักพุทธและมหาเถรสมาคมต่อการคุกคามสามเณรสหรัฐ สุขคำหล้า  โดยมีเนื้อความว่า        

วันนี้เวลา 10.40 น. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและพระวินยาธิการ (ตำรวจพระ) พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบ ได้บุกค้นบ้านพักนักกิจกรรมทางการเมือง เพื่อขอพบสามเณรโฟล์ค หรือ โดยไม่มีหมายค้นและอ้างว่ามีประชาชนพบเห็นสามเณรเข้า - ออก บ้านพักดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา เพื่อร้องเรียนต่อพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมอันผิดสมณวิสัยของสามเณรรูปนี้และกล่าวหาว่า “พระภิกษุสามเณรไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง” จึงขอพาตัวสามเณรไป “วัดบางโพธิ์” เพื่อพูดคุยเป็นการส่วนตัว

คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนาใหม่จึงขอประนามการกระทำดังกล่าวขององค์กรมหาเถรสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบที่ใช้อำนาจโดยมิชอบ อีกทั้งกฎมหาเถรสมาคมที่ไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัยและขัดหลักการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย การใช้อำนาจในครั้งนี้ของทั้งสององค์กรเป็นการกระทำที่คุกคามต่อผู้เห็นต่างทางการเมืองและขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของพระภิกษุสามเณรตามสิทธิพลเมืองไทย

พฤติกรรมการเข้าออกบ้านพักนักกิจกรรมทางการเมืองของสามเณรเป็นการกระทำที่หาได้ผิดต่อหลักพระธรรมวินัยและกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ การกระทำของสามเณรในบ้านพักฯ เป็นการประชุมเพื่อปรึกษาหารือแนวทางในการเคลื่อนไหวต่อการปฏิรูปการพระศาสนาให้มีความถูกต้องเป็นธรรมและยุติธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่ มิใช่การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมืองของชนชั้นนำอย่างที่เห็นเรื่อยมา เมื่อเสร็จธุระสามเณรก็กลับที่พักตามสมควรแก่เวลา

คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนาใหม่จึงขอเรียกร้องให้สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติและมหาเถรสมาคม พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หยุดใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการสร้างค่านิยมกดทับสิทธิเสรีภาพและคุกคามนักบวช และเป็นข้ออ้างสร้างความชอบธรรมให้แก่ชนชั้นศักดินาให้สูงส่งประดั่งเทวดาจนมิสามารถจับต้องได้ แบ่งแยกผู้คนในรัฐประดั่งไพร่เพื่อขูดรีดอำนวยความสบายแก่ตนตามอำเภอใจ                                                         

เชื่อมั่นและศรัทธา                                   

คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนาใหม่

ต่อมาเพจสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้เผยแพร่คำชี้แจงความว่า 





“ประภัตร”นำเชฟชื่อดังโชว์เปิบเมนูเด็ดอาหารจากจิ้งหรีด



 “ประภัตร”นำเชฟชื่อดังโชว์เปิบเมนูเด็ดอาหารจากจิ้งหรีดเพื่อสุขภาพสู่ระดับภัตตาคารและตลาดโลกก่อนเดินหน้าหนุนเกษตรกรเลี้ยงจิ้งหรีดสร้างรายเสริม

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564   นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์  ได้เชิญ”เชฟโอ๊ต อิทธิกร สรศาสตร์”จากร้าน Insect In The Backyard และ “เชฟ เกษร แม่นแก้ว”จากร้าน CnC cafe มาแนะนำวัตถุดิบที่มีส่วนผสมของแมลงกินได้และจิ้งหรีด เพื่อนำมาประกอบอาหาร รวมทั้งโชว์เคล็ดลับ เทคนิคในการปรุงเมนูอาหารที่มีส่วนผสมของแมลงกินได้และจิ้งหรีด ให้อร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งมีเมนู ดังนี้

1. ซีซาร์สลัด ด้วงสาคู

2. นาโชส์แมลง

3. แมลงรวมผัดพริกเกลือ

4. พาสต้าเส้นสะดิ้งผัดแห้งด้วงสาคู

5. มัลเบอร์รี่ชีสพายสะดิ้ง

6. ข้าวจี่ 

7. น้ำพริกเผา 

8. ข้าวผัดจิ้งหรีด

โดยมีที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยฯนายรัฐชทรัพย์ นิชิด้า นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองเลขาธิการ มกอช. นายชนวัฒน์ สิทธิธูรณ์ ผู้อำนวยการกลุ่ม นโยบายระหว่างประเทศที่ 3 มกอช. และกรมปศุสัตว์ ร่วมชมการแนะนำและ สาธิตการปรุงอาหารในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ทั้งนี้นายประภัตรฯเปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการประชุมหารือร่วมกับ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ภาคเอกชนผู้ผลิต/แปรรูป และจำหน่ายจิ้งหรีด-ผลิตภัณฑ์ (ขวัญใจฟาร์ม และเปี่ยมสุขฟาร์ม) โดยให้กลุ่มเกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นกลุ่มปฏิบัตินำร่องเพื่อเตรียมการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงจิ้งหรีดในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเสริมสร้างรายได้ กระจายโอกาส ช่วยแก้ปัญหาความยากจน ตลอดจนวางเป้าให้เป็นฐานการผลิตป้อนตลาดโลก โดยมีประเด็นสำคัญ คือส่งเสริมให้มีการตั้งฟาร์มมาตรฐาน GAP เพื่อผลิตจิ้งหรีดคุณภาพ นำร่องที่จังหวัดสุพรรณบุรี รวม 200 รายภายหลังการดำเนินงานในระยะแรกจะมีการประเมินเพื่อขยายผลไปในวงกว้างต่อไป 

ทั้งนี้คัดเลือกเกษตรกรเป้าหมาย มอบให้นายกเทศบาลตำบลเป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับด้านระบบงานส่งเสริมการเลี้ยงจิ้งหรีด มอบหมายกรมปศุสัตว์ โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกับ กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ เป็นผู้ประสานงานที่ส่วนกลาง และให้ "ขวัญใจฟาร์ม" และ "เปี่ยมสุขฟาร์ม" เป็นผู้รับซื้อผลผลิตในราคาประกัน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ตลอดจนมอบให้ มกอช. ร่วมกับกรมปศุสัตว์ให้คำแนะนำด้านการจัดทำมาตรฐานฟาร์ม GAP แก่เกษตรกร และให้กรมปศุสัตว์ โดยสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ คิดสูตรอาหารสัตว์ที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรได้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ในท้องถิ่นราคาถูก มาผสมอาหารสัตว์ใช้เองนำไปเลี้ยงสัตว์ให้เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของสัตว์เลี้ยง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์

นอกจากนี้ยังได้มีการประชุมวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เพื่อหารือแนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรให้มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ เพิ่อสร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรและเตรียมเดินหน้าขับเคลื่อนร่วมกัน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยนเรศวรยินดีให้คำแนะนำและพร้อมสนับสนุนให้เกษตรกรได้มีอาชีพที่มั่นคง ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19) คลี่คลายก็ที่จะ พร้อมเดินหน้าอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป


 

สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา


เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เพจสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้โพสต์ภาพเนื้อหาเป็นคติธรรม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในวันมาฆบูชาความว่า 



 เนื่องในวันมาฆบูชา ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม ความว่า

ดิถีมาฆบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ดิถีเช่นนี้ชวนให้พุทธบริษัททุกหมู่เหล่าน้อมระลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ อันมีหลักการสำคัญเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ ๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ๒. การบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม และ ๓. การชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ประทานแก่พระอรหันตสาวก ๑,๒๕๐ รูป ซึ่งล้วนอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ณ ดิถีเพ็ญเดือน ๓ เมื่อกว่า ๒,๖๐๐ ปีล่วงมาแล้ว อย่างไรก็ดี หากปีใดเป็นปีอธิกมาส วันมาฆบูชาจะตรงกับดิถีเพ็ญเดือน ๔ ดังเช่นที่เกิดขึ้นปีนี้ 

สารัตถะประการหนึ่งในโอวาทปาติโมกข์นั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนหลักการแห่ง “ขันติธรรม” เพื่อเป็นหลักเผยแผ่พระศาสนา และการดำรงตนของพุทธบริษัท ดังพระพุทธภาษิตที่ว่า ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา แปลว่า “ขันติ เป็นเครื่องเผาผลาญบาปธรรมอย่างยิ่ง” 

“ขันติ” หมายถึง “ความอดทนอดกลั้น” มีลักษณะ คือความข่ม มีรส คือความอดทนต่อสิ่งที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ มีสภาพที่ปรากฏ คือความอดกลั้นหรือความไม่โกรธ มีพื้นฐานคือความเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ทุกชีวิตที่เกิดมาในโลกต่างมีสัญชาตญาณรักสุขเกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น และก็เป็นธรรมดาที่ทุกชีวิตจำต้องเผชิญความทุกข์โทมนัส สลับกับความสุขโสมนัส หมุนเวียนเปลี่ยนไปอยู่เสมอ จะหาบุคคลผู้มิต้องประสบกับ “โลกธรรม ๘” กล่าวคือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข และทุกข์ ในโลกนี้ เป็นอันมิมีเลย  ผู้ตระหนักรู้ในความจริงเช่นนี้ จึงพึงสั่งสมบ่มเพาะกำลังแห่งขันติไว้สำหรับใช้ระงับยับยั้ง และต้านทานโลกธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในท่ามกลางวิกฤติการณ์ ซึ่งรุมเร้าเข้าสู่บ้านเมืองและโลกของเราทุกวันนี้ ทั้งนี้ ก็เพื่อจะได้รักษาร่างกายและจิตใจให้ยังคงความผาสุก สามารถอดทนอดกลั้นต่อทุกขเวทนาทางกาย ถ้อยคำจาบจ้วงล่วงเกิน คำติฉินนินทาว่าร้าย และความเสื่อมลาภเสื่อมยศ ซึ่งหลงยึดถือไว้ว่าเป็นตัวเราของเราเสียได้ อย่างน้อยแม้จะเจ็บใจเพียงใด แต่ก็ไม่เผลอแสดงอาการหุนหันพลันแล่นออกมาทางกายหรือทางวาจาจนเสียกิริยาอาการอันดี


บุคคลผู้สามารถดำรงขันติธรรม คือความอดทนอดกลั้นไว้ได้ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้เสงี่ยมงดงาม ถือธรรมะเป็นใหญ่ กิเลสตัณหาไม่อาจทำอันตราย เมื่อเป็นได้ดังนี้แล้ว ย่อมประสบความสงบร่มเย็น ระงับความดิ้นรนทะยานอยาก การที่สามารถดับเพลิงทุกข์เป็นคราว ๆ ได้ เสมือนว่าได้ถึงพระนิพพานเป็นคราว ๆ เป็นบทพิสูจน์ให้พุทธบริษัทรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า พระนิพพานมิใช่ธรรมะอันสุดเอื้อม แม้ว่าพระนิพพานจริง ๆ คือความดับเพลิงทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงอาจยังอยู่ไกล แต่พระนิพพานในปัจจุบันคือความดับกิเลสตัณหา ซึ่งบังเกิดขึ้นครอบงำจิตใจในขณะนี้ จึงอาจใช้ “ขันติธรรม” คือความอดทนอดกลั้นนี้เอง เป็นเครื่องช่วยระงับดับได้ แม้เพียงคราวหนึ่ง ๆ ก็ยังดี ไม่เกินความสามารถที่ทุกคนจะปฏิบัติและเข้าถึงได้ เพื่อความสงบร่มเย็นซึ่งพึงบังเกิดมีขึ้นแก่ตนและแก่สังคมส่วนรวม สมความปรารถนาอันดีงามของคนไทย ที่ต่างหวังใจมุ่งหมายจะได้ประสบสันติสุขด้วยกันทุกคน

ขอพระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำรงมั่นคงอยู่ในโลกนี้ตลอดกาลนาน และขอพุทธบริษัททั้งหลาย จงพร้อมเพรียงกันศึกษาพระสัทธรรมนั้น เพื่อบรรลุถึงความรุ่งเรืองไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นสืบไป เทอญ.

"สภา มจร"มีมติมอบป.เอกกิตติมศักดิ์ "เจ้าคุณว.-พ.อ.ชรินทร์-ไชยา มิตรชัย"



เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 14.00 น. ณ. ห้องประชุม 401 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  พระธรรมปัญญาบดี นายกสภามหาวิทยาลัย,พระเทพวัชรบัณฑิต อธิการบดี มจร พร้อมด้วยกรรมการสภามหาวิทยาลัย ก่อนเข้าสู่วาระการประชุมผู้บริหารสภามหาวิทยาลัยได้ร่วมกันมุทิตาพระเทพวัชรบัณฑิต อธิการบดี มจร เนื่องในวโรกาสได้รับโปรดเกล้า ฯ สมณศักดิ์ใหม่ ส่วนวาระการประชุมว่าด้วย การพิจารณาผู้สมควรได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์(ปริญญาเอก),มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์(ปริญญาโท) และผู้สมควรได้รับเข็มเกียรติคุณประจำปี พ.ศ.2564

ปีนี้ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติผู้สมควรได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทั้งสัดส่วนภายในประเทศและนานาชาติ จำนวน 54 รูป/คน รายชื่อมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 6 รูป/คน และสำหรับเข็มเกียรติคุณ 114 รูป/คน                

สำหรับรายชื่อผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ อาทิ  พระเทพสิทธิวิมล เจ้าอาวาสวัดคลองวาฬ เจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์,พระมงคลรัตนวิเทศ เจ้าอาวาสวัดมงคลรัตนาราม สหรัฐอเมริกา พระเมธีวชิโรดม หรือ ว.วชิรเมธี พระนักเทศน์ชื่อดัง,พ.อ.ชรินทร์ จุลคประดิษฐ์ นักติวเตอร์บาลีชื่อดัง,นายเสมา สมบูรณ์ หรือ ไชยา มิตรชัย ดารานักแสดง,สำหรับต่างประเทศ มีทุกภูมิภาคทั่วโลก เช่น สมเด็จพระอริยะวงศา สมเด็จพระสังฆราชจากประเทศกัมพูชา,พระพุทธรักขิตะ พระนักเผยแผ่ชื่อจากประเทศยูกันดา,

ส่วนเข็มเกียรติคุณ มีรายชื่อผู้สมควรได้รับ อาทิ ดร.อุทิส ศิริวรรณ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา,คุณหญิงสุชาดา ไทยผดุงพานิช กรรมการกลุ่มกิจการในเครือพระปิ่นนคร,นายจำรัส ตั้งตระกูลธรรม นายกเทศมนตรีเมืองไร่ขิง จ.นครปฐม,นายสรชัด สุจิตต์ ส.ส.สุพรรณบุรี,นายรัชพล ภู่โอบอ้อม หรือ  ต๋อง ศิษย์ฉ่อย นักสนุกเกอร์ชื่อดัง ดังนี้เป็นต้น

ทางด้าน พระเทพปวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร เปิดเผยหลังการประชุมว่า ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้กับบุคคล 3 กลุ่ม คือ พระภิกษุ,นักวิชาการและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ส่วนอีกเรื่องคืองานประสาทประจำปี 2564 ของมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สำหรับปีนี้ที่ประชุมได้อนุมัติงานประสาทปริญญาระหว่างวันที่ 8-12 ธันวาคม 2564 ปลายปีนี้ และทั้งที่ประชุมได้อนุมัติเห็นชอบแต่งตั้งให้ ศ.ดร.พระพรหมบัณฑิต อดีตอธิการบดี มจร เป็น อุปนายกของสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยด้วย.. 

ทั้งนี้สามารถติดตามรายชื่อทั้งหมดได้ที่http://thebuddh.com/?p=50300


วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ศาลอาญาฯ"ยกฟ้อง"อดีตพระพรหมดิลกแล้ว


เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีแถลงใบสำคัญคดีถึงที่สุด ระบุว่า ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางใบสำคัญฉบับนี้ออกให้ไว้เพื่อแสดงว่า คดีอาญาหมายเลขดำที่ อท. 196/2561 หมายเลขแดงที่ อก 122/562 ระหว่าง พนักงานอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์พระพรหมดิลก (เอื้อน กลิ่นสาลี) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน จำเลย เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกงิน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ศาลอาญาคดีทุจริตและ ประพฤติชอบกลางได้ถอนคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 23 กันยายน พุทธศักราช 2563 คดีจึงถึงที่สุด ออกให้ไว้ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2564


นายโกศล ใสสุวรรณ ทนายความของอดีตพระพรหมดิลก ได้ทำคำร้องขอออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เนื่องจากพนักงานอัยการ สำนักอัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 1 โจทก์ มิได้ยื่นฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย คดีจึงถึงที่สุดแล้ว อดีตพระพรหมดิลก จึงมีความประสงค์ขอให้ศาลออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ต่อมาเมื่อวันที่ 23 ก.พ. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้ออกใบสำคัญคดีถึงที่สุด ระบุว่า ใบสำคัญฉบับนี้ออกให้ไว้เพื่อแสดงว่า คดีอาญาหมายเลขดำที่ อท.196/2561หมายเลขแดงที่ อท.122/2562 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ พระพรหมดิลก (เอื้อน กลิ่นสาลี) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน จำเลย เรื่อง ความผิดต่อพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2563 คดีจึงถึงที่สุด
          
นายโกศล กล่าวว่า ถือได้ว่าคดีนี้สิ้นสุดลงแล้ว ท่านอดีตพระพรหมดิลกกับพวกไม่มีความผิด อย่างไรก็ตามยังเหลืออีก 1 คดี คือความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำผิด มาตรา 157 ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์ ส่วนแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับการขอคืนตำแหน่งต่างๆ นั้น ยังไม่ได้มีการหารือกัน ซึ่งอดีตพระพรหมดิลกก็ยังคงปฏิบัติศีลอยู่ที่วัดสามพระยา


Cr.http://kao36.com/?p=186

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ดร.คุณหญิงสุดารัตน์ เข้าถวายมุทิตาสักการะ พระเทพวัชรบัณฑิต



 เมื่อวันที่  22 กุมภาพันธ์ 2564 ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ เชิญสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร ถวายแด่ พระเทพวัชรบัณฑิต,ศ. ดร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ที่พระอุโบสถวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 21  กุมภาพันธ์ 2564  ที่ผ่านมา ตามที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระราชปริยัติกวี เป็น พระเทพวัชรบัณฑิต ปริยัติศาสนกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นเทพ สถิต ณ วัดปากน้ำ พระอารามหลวง ให้มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 5 รูป คือ พระครูปลัด 1  พระครูวินัยธร 1  พระครูสังฆรักษ์ 1  พระครูสมุห์ 1  พระครูใบฎีกา 1 

วันนี้(22ก.พ.) ดร.คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มสร้างไทย ในฐานะศิษย์เก่าดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มจร เข้าถวายมุทิตาสักการะพระเทพวัชรบัณฑิต ที่สำนักงานอธิการบดี มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในโอกาสนี้ ผศ.ดร.อิทธิพล แก้วพิลา นายกสมาคมศิษย์เก่า มจร นำคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ เข้าถวายมุทิตาสักการะด้วย

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

"รฏาวัญ"จี้มิสแกรนด์เม็กซิโก ลบภาพจาบจ้วงพุทธรูปในไอจี



วันที่  22 กุมภาพันธ์ 2564 นางรฏาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ได้โพสต์ข้อความในเพจ ลดาวัลลิ์/Ladawan Wongsriwong และใน Instagram ความว่า  วันนี้...ลบภาพจาบจ้วงพระพุทธศาสนาด่วน!!!

เห็นข่าวในมติชนออนไลน์ รู้สึกสะเทือนใจ  ต่อการกระทำของAngela Yuriarนางงามชาวเม็กซิโก ที่ใส่ชุดว่ายน้ำถ่ายภาพกับพระพุทธรูปเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย   เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะกระทำอย่างยิ่ง  ซึ่งคนระดับนางงามที่จะต้องขึ้นเวทีประกวดระดับสากลควรจะรู้วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของประเทศไทยดีพอ การกระทำเช่นนี้เป็นผลลบต่อภาพลักษณ์ของเธอเอง  

ดิฉันในฐานะผู้ก่อตั้งองค์กรคุ้มครองรักษาพระพุทธศาสนา ขอเรียกร้องให้ Angela Yuriarลบภาพดังกล่าวนี้ออกทันทีและขอความร่วมมือเจ้าภาพผู้จัดประกวดมิสแกรนด์ติดต่อนางงามคนนี้ให้ลบภาพดังกล่าว เร็วที่สุด  ขอร้องอย่า promote การจัดประกวดมิสแกรนด์ด้วยการจาบจ้วงพระพุทธศาสนาอันเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวไทยกว่า 93% เลย   #protectbuddhism

สำหรับเวทีมิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล 2020 หรือ Miss Grand International 2020 ของประธานและผู้ก่อตั้ง อย่างณวัฒน์ อิสรไกรศีล ซึ่งปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จะจัดขึ้นที่ โชว์ ดีซี ฮอลล์ ในวันที่ 27 มีนาคมนี้ โดยเหล่าสาวงามทั่วโลก จะเดินทางมาถึงประเทศไทย พร้อมเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคโควิด-19 ทันทีเพื่อกักตัว 14 วัน และทำกิจกรรมผ่านระบบซูม

จากการตรวจสอบล่าสุด Angela Yuriar ได้เคลื่อนไหวด้วยการปิดอินสตาแกรมเป็นแบบส่วนตัวเรียบร้อยแล้ว

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ชาวพุทธส่งกำลังใจ! พระธรรมทูตไทยในเนเธอร์แลนด์ติดโควิด 2 รูป

 


ชาวพุทธส่งกำลังใจ! พระธรรมทูตไทยในเนเธอร์แลนด์ติดโควิด 2 รูป  คือพระธรรมพุทธิวงศ์ ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป และพระลูกวัดพุทธาราม

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก M.C. Chaichana ได้โพสต์เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564ว่า  "ประกาศจากวัดพุทธาราม เมือง Waalwijk ประเทศเนเธอร์แลนด์  เนื่องด้วย หลวงปู่ (พระธรรมพุทธิวงศ์ เจ้าอาวาสวัด วัดพุทธาราม ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป  รองประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ) และหลวงอา ได้มีการตรวจโควิด และผลออกมาเป็นบวก แต่ท่านทั้งสองไม่มีอาการอะไร แต่ต้องกักตัวนับจากวันนี้ ไปอีก 5 วัน 

ทางวัดจึงมีมาตรการงดรับกิจนิมนต์ทุกอย่าง จากนี้ จนถึง อาทิตย์หน้านะครับ ท่านที่เป็นห่วง ยังสามารถส่งของ หรือนำอาหารมาถวาย นะจุดรับอาหารได้เหมือนเดิม โดยเราแบ่งโซนที่พักพระ แยก กับโรงอาหาร ที่ทุกคนสามารถ นำอาหารมาถวายได้ แล้วกลับ นะครับ 

ท่านใด ที่มาวัดตั้งแต่วันที่ 9 และ คิดว่าใกล้ชิดพระ จะอยู่ในกลุ่มสุ่มเสี่ยง ขอให้ไปตรวจโควิดได้ท่ามีอาการ แต่ คิดว่า น่าจะมีน้อยมากถึงไม่มี นี่คือเหตผลที่พวกเราพยามไม่ให้มีการเข้าพบพระเท่าไหร่นะครับ และเข้าพบก็ต้องเว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก และ ท่ามีอาการ ใข้หวัดเราจะไม่ให้เข้ามาพบอยู่แล้ว ทั้งนี่ทั้งนั้น ทางวัด มีเจ้าหน้าที่ ที่คอยดูแลหลวงปู่หลวงอา โดยยอมเสียสละดูแล หลวงปู่ตลอด24ช.ม. ขอขอบคุณ ความห่วงใยร่วงหน้า และทางวัดจะคอยรายงาน ให้ทุกทราบโดยต่อเนื่องถึงอาการของพระทั้งสองรูปนะครับ" 

และวันนี้(20ก.พ.) ได้โพสต์อีกว่า  แจ้งข่าวคืบหน้าจากวัดพุทธารามเมือง Waalwijk /  voor NL versie zie hier onder

เช้าวันนี้หลวงปู่ และ หลวงอาสำรอง ไม่มีอาการใดๆ ไม่มีใข้ หลวงปู่พักผ่อนได้เต็มที่ ฉันอาหารได้ปกติดีนะครับ หลวงพี่สำรองท่านไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ ท่าทั้งสองแข็งแรงดี

วันนี่ได้ความกรุณาจากทางสถานทูตฯมาถวายอาหารเพล และขอบคุณญาติโยมทุกท่านที่คอยนำอาหารมาถวายอยู่เรื่อยๆทางวัด มีเจ้าหน้าที่จัดโต๊ะรับของใว้หน้าวัด ท่านที่นำของมาถวายแล้ว สามารถนำดอกไม้ไปสักการะบูชาที่พระทรายองใหญ่ที่อยู่ด้านหน้าศาลาใหม่ได้นะครับ

โดยหลังจากได้คุยกับทาง GGD แล้ว คาดว่าท่าหลวงปู่และหลวงอาไม่มีอาการใดๆ อาทิตย์หน้าก็ไม่ต้องกักตัวแล้วครับ ทางวัดจะขอให้พระท่านอย่างน้อยได้พักฟื้นตัวโดยยังไม่รับกิจนิมนต์ที่วัดใดๆ จนไปอีกสัก1-2 อาทิตย์ เพื่อให้พระท่าน ได้พักผ่อน จากการพักฟื้นนะครับ แต่ญาติโยมสามารถส่งอาหาร หรือนำอาหารผลไม้ มาถวายเพลได้ตลอดนะครับ" 

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

มส.เตรียมพิจารณาให้วัดทั่วประเทศตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท



วันที่ 20 ก.พ.2564  เพจ WBTV สถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติฯ ได้โพสต์ข้อความว่า มส.เตรียมพิจารณาให้วัดทั่วประเทศตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 

ที่ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โฆษกสำนักงานพุทธฯ กล่าวในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่4/2564  ในประเด็นความร่วมมือ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยกล่าวว่า มหาเถรสมาคมมอบ พศ.หาแนวทางการขับเคลื่อนภารกิจการสร้างการรับรู้กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิ-เสรีภาพ สิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ผ่านกิจการทางพุทธศาสนา และโรงเรียนพระปริยัติธรรม และจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เสนอ พศ.พิจารณา  

1.บันทึกตกลงความร่วมมือระหว่างพศ.กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในวันที่25ก.พ.2564

2.เสนอแนวทางการสร้างการรับรู้กฎหมายเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 

นอกจากนี้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ขอให้ พศ.นำเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบและขอความอนุเคราะห์ให้วัดในส่วนกลางและภูมิภาค วัด เจ้าคณะกทม.เจ้าคณะเขต เจ้าคณะแขวง เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบลเป็นสถานที่ตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน และได้ขอให้โรงเรียนพระปริยัติธรรมนำหลักสูตรสิทธิมนุษยชนศึกษาและความรู้เกี่ยวกับกฎหมายพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนถวายความรู้แด่พระภิกษุสามเณร

อย.ย้ำ! ปรุงอาหารเมนูกัญชาไม่ผิด กม. จ่อปลดล็อกทำเครื่องสำอาง-ยา ใช้ภายนอก

 


วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ภายหลังจากที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2563 ปลดล็อกส่วนของพืชกัญชา-กัญชง ประกอบด้วย เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก และใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย ให้พ้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดตามหลักความปลอดภัย โดยประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2563 และได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการธุรกิจอย่างมากในการนำส่วนต่างๆ ที่ปลดล็อกแล้วไปใช้ประโยชน์ ต่อยอดธุรกิจและสร้างเศรษฐกิจของประเทศ 

ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวถึงสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทราบ ก่อนนำส่วนของพืชกัญชา-กัญชง ที่ได้รับการปลดล็อกแล้วไปใช้ในการปรุงอาหาร หรือเครื่องดื่ม ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ร้านค้า/ร้านอาหาร ที่นำส่วนประกอบของพืชกัญชาไปประกอบอาหาร เครื่องดื่มจำหน่าย จะต้องซื้อมาจากแหล่งปลูกที่ได้รับอนุญาตจาก อย. เท่านั้น อาทิ วิสาหกิจชุมชนที่ปลูกร่วมกับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งข้อมูลผู้ที่ได้รับอนุญาตปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมาย สามารถตรวจสอบได้ในเว็บไซต์ กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือที่ https://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/Pages/Main.aspx เพื่อเป็นหลักฐานแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบว่า วัตดุดิบที่นำมาปรุงอาหารนั้น ได้รับการยืนยันมาจากแหล่งปลูกที่ถูกกฎหมาย 

ภญ.สุภัทรา กล่าวว่า เมื่อได้รับใบหรือส่วนของพืชกัญชาจากแหล่งที่ปลูกถูกต้องตามกฎหมายมาแล้ว สามารถนำมาปรุงใส่อาหารจำหน่ายที่ร้านได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก อย. อีก 

“เสมือนหนึ่งว่า ใบกัญชา เป็นวัตถุดิบอย่างหนึ่งในการประกอบอาหาร เพียงแต่ว่าจะต้องมีหลักฐานแสดงต่อเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจนเมื่อมีการตรวจสอบ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรจะต้องระมัดระวัง คือ ใบกัญชาเองมีสารอื่นๆ เช่น สารเทอร์พีน (Terpene) ที่มีผลต่อความไวในการตอบสนองของมนุษย์ต่างกัน ฉะนั้น เมื่อนำมาปรุงอาหารขาย จะต้องมีความระมัดระวังความเข้มข้นของกัญชา ควรใส่ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป หรืออาจหลีกเลี่ยงสำหรับผู้บริโภคบางกลุ่ม เช่น โรคประจำตัว เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคหัวใจ” รองเลขาธิการ อย. กล่าว 

ทั้งนี้ ภญ.สุภัทรา กล่าวว่า โรงพยาบาล (รพ.) เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ก็มีความพยายามในการเผยแพร่เมนูอาหาร หรือ เครื่องดื่มจากพืชกัญชา-กัญชง ให้สำหรับผู้ที่สนใจ เช่น น้ำชาใบกัญชา ก็จะไม่ใช่การนำใบมาปั่นแล้วดื่มได้ทันที แต่จะมีส่วนประกอบอื่นด้วย อาทิ น้ำใบกัญชาผสมกับน้ำผึ้งและมะนาว เพื่อไม่ให้มีความเข้มข้นเกินไป ป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ในผู้ที่ไวต่อสารสกัดจากกัญชา 

ภญ.สุภัทรา กล่าวว่า สำหรับผู้ที่จะนำส่วนของพืชกัญชา ไปทำเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายที่ต้องผ่านการขอเลขจดแจ้งจาก อย. นั้น ในส่วนนี้จะต้องขออนุญาตซึ่ง อย. กำลังทยอยทำประกาศปลดล็อกการนำส่วนของพืชกัญชาไปใส่ในอาหารและผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น ขณะนี้ที่มีการปลดล็อกออกมาแล้วคือ การกำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ.2564 ปลดตำรับยากัญชาแผนไทย 5 ตำรับที่มีส่วนประกอบของใบ และกิ่งก้านกัญชาจากบัญชีตำรับยาเสพติดให้โทษ ได้แก่ ยาศุขไสยาศน์ ยาแก้นอนไม่หลับ/ยาแก้ไข้ผอมเหลือง ยาแก้ลมแก้เส้น ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง และยาแก้โรคจิต โดยเปิดให้ภาคเอกชนสามารถยื่นขอผลิตยาดังกล่าวได้ที่กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร อย. ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป 

“ส่วนต่อไปที่คาดว่าจะออกมาได้เร็วที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากกัญชา-กัญชง สมุนไพรที่ใช้ภายนอก เช่น ลูกประคบ ยาดม ยาหมอง ในสัปดาห์หน้าก็จะมีการปลดล็อกผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น น้ำมันและเมล็ดกัญชง ต่อไปก็จะปลดล็อกส่วนของใบ กิ่ง ก้าน เพื่อสามารถนำใส่ในเบเกอร์รีได้ และจะปลดล็อกสารซีบีดี (CBD) ในเครื่องดื่มต่อไป ซึ่งจะทยอยเป็นเฟสตามความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์” ภญ.สุภัทรา กล่าว

 

ไกล่เกลี่ยสำเร็จ! ผู้เช่าที่ธรณีสงฆ์วัดกรุงเก่า ยอมเปิดเส้นทางออกถนนพหลโยธิน



กมธ.ศาสนาฯสภา พร้อมพศจ.พระนครศรีอยุธยา รักษาการแทนเจ้าอวาส ร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ปมผู้เช่าที่ธรณีสงฆ์วัดลาดทรายไม่ยอมเปิดทางเส้นทางออกถนนพหลโยธิน เป็นผลสำเร็จ ผู้เช่ายอมเปิดทางเบื้องต้น พร้อมนำถกชั้นกรรมาธิการต่อไป

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดลาดทราย ตำบลลำไทร อ.วังน้อยจ.พระนครศรีอยุธยา นายประดับ โพธิกาญจนวัตร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และคณะ ได้เข้าหารือกับพระฉัตรชัย อธิปญโญ รักษาการแทนเจ้าอวาสวัดลาดทราย ถึงกรณีการร้องเรียนเพื่อขอทางออถนนพหลโยธิน ของชาวบ้านโดยมีนายธวัชชัย งามเจริญพุทธศรี ได้ร้องเรียนถึงคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้หลังคณะกรรมาธิการได้มาศึกษาข้อเท็จจริงแล้ว ทราบว่ามีการเช่าพื้นที่วัดโดยนางพัฒน์ศรินทร์ ภู่ระหงษ์ เป็นผู้เช่าและปิดกั้นทางออกถนนพหลโยธิน ที่ผ่านมาได้มีการร้องเรียนไปยังหลายหน่วยงาน เช่น ศูนย์ดำรงธรรม แต่ไม่คืบหน้า

ในกรณีนี้นางพัฒน์ศรินทร์อ้างว่า ได้ให้เช่าช่วงกับบริษัทจำหน่ายรถแม็คโครไปแล้วหากมีการรื้อถอนตนอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ผู้เช่าช่วงอาจเรียกร้องค่าเสียหายต่อตนได้ ภายหลังจากใช้เวลาร่วม 2 ชั่วโมง ในการหารือ นางพัฒน์ศรินทร์เปิดเผยว่าที่ดินบริเวณนี้หากขายสิทธิ์ในราคาทั่วไปจะขายกันที่ 76 ตรว. ต่อเงิน 400,000 บาท ทั้งนี้ทั้งนั้นหากจะเปิดช่องผ่านที่ดินที่ตนเองให้เช่าช่วงนั้น ตนต้องรื้อถอนอาคารพาณิชย์ โดยค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโดยประมาณคือ 2.5 ล้านบาท หากเยียวยาตามจำนวนเงินดังกล่าว ตนก็จะยินดีเปิดทางให้ ภายหลังจากเจรจากันเป็นเวลานาน นางพัฒน์ศรินทร์ได้ให้เซ็นต์เอกสารไว้เป็นหลักฐานการยินยอมให้เปิดทางออกสู่ถนนพหลโยธิน เพื่อนำเสนอในชั้นกรรมาธิการ ต่อไป

นายประดับ  กล่าวว่า ปัญหาเรื่องการเช่าที่ดินนี้มีการร้องเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยตนมาครั้งนี้ประสานทางออกให้กับวัดเพื่อหาทางออกให้กับทุกฝ่าย ตามอำนาจหน้าที่ของตน ซึ่งมีความจำเป็นต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายตามกรอบของกฎหมาย ในแง่ของข้อกฎหมายนั้นในปัจจุบันมีมติมหาเถรสมาคม และกฎกระทรวงที่วางกรอบได้ชัดเจนขึ้น ช่วยให้วัดได้ประโยชน์มากขึ้น อีกทั้งยังเสริมความปลอดภัยให้กับพระภิกษุที่จะต้องอยู่ในกรอบพระธรรมวินัย ให้ปลอดภัยจากการกระทบกระทั่งกับประชาชนในพื้นที่กับพระสงฆ์ และทำให้พระอยู่เป็นที่พึ่งและศูนย์รวมใจให้กับญาติโยมดังในอดีต ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจมีช่องโหว่บ้าง ตนจะนำจุดอ่อนเพื่อนำเสนอในชั้นกรรมาธิการต่อไป

พระฉัตรชัย อธิปญโญ กล่าวว่า อาตมาได้เข้ามารักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดลาดทราย ทั้งนี้ต้องเรียนตามตรงว่า เป็นความลำบากของพระสงฆ์ที่มาบวชเพื่อถวายชีวิตให้กับพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา มีเป้าหมายคือตัดกิเลสมีพระนิพพานเป็นที่ไป แต่ด้วยเงื่อนไขในการดำรงความเป็นพระสงฆ์ในปัจจุบันที่มีหน้าที่และอำนาจการปกครองทำให้พระสงฆ์จะต้องมีภาระมากขึ้น ด้วยตนเป็นพระเล็กๆ ที่อยู่วัดต่างจังหวัด ในบางครั้งต้องอดทนและต่อสู้กับปัญหาต่างๆ มากมาย แต่ก็ยึดหลักที่ว่า “ชีวิตนี้ถวายกับพระพุทธเจ้า” โดยยึดหลักความถูกต้องและความเป็นธรรมเป็นที่สุด ถ้าทำดีแล้วแม้จะเอาชีวิตเป็นเดิมพันเพื่อถวายกับพระศาสนาตนก็ยอม 

พระฉัตรชัย กล่าวด้วยว่า อาตมาขออนุโมทนาที่ทาง ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานกรรมาธิการการศาสนาฯ และคณะ รวมถึงผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และนายสิปปวร แก้วงาม ผู้ตรวจการสำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ให้การประสานงานและช่วยเหลือ วัดเล็กๆ อย่างวัดอาตมาเป็นอย่างมาก

อดีตรองอธิการบดีมธ.ดูศึกซักฟอก ผิดหวังทั้งฝ่ายค้าน-รัฐบาล



เมื่อวันที่  19 กุมภาพันธ์ 2564  รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว มีเนื้อหาดังนี้          

ได้ดูการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล โดยรวมแล้วค่อนข้างผิดหวัง ผิดหวังทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล          

แม้ผู้อภิปรายเกือบทุกคนจะใช้เทคโนโลยีช่วย ใช้ power point มีการทำวิดีโอคลิปส์ และทำกราฟฟิคส์ได้ดี แต่การอภิปรายส่วนใหญ่ยังไม่พัฒนาขึ้นจากเดิม ทั้งยังยิ่งแย่กว่าเดิม          

อยากแห็นการอภิปรายที่เฉียบคม อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและความเป็นจริง ให้ความเคารพ(respect)อีกฝ่ายพอควร ไม่ใช้สำนวนโวหารมากจนเกินควร และที่สำคัญคือ อยากเห็นการอภิปรายที่ปราศจากการใช้ถ้อยคำดูถูก หมิ่นแคลนฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะจากพรรคที่วางตัวเป็นพรรคการเมืองยุคใหม่ ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยให้ดีขึ้น          

แค่เริ่มจากญัตติ และที่ผู้อภิปรายแต่ละคนเริ่มต้นพูด ก็จะมีคำ เช่น          

“มีการทุจริตเป็นที่ประจักษ์ ไร้ประสิทธิภาพ ไร้ความสามารถ ไร้ภูมิปัญญา ไร้วุฒิภาวะ ไร้จริยธรรม ไร้ภาวะผู้นำ”          

หากใครมีคุณสมบัติข้างต้นนี้ทั้งหมดในคนๆเดียว อย่าว่าแต่เป็นรัฐมนตรีเลย แค่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมตามปกติก็ยังยาก แต่นี่ดูเหมือนฝ่ายค้านจะกล่าวหาว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี มีคุณสมบัติเหล่านี้อย่างครบถ้วนทุกคน มันจะเป็นไปได้อย่างไร แค่เริ่มต้นก็ฟังดูไม่น่าเชื่อถือเสียแล้ว          

นอกจากคำกล่าวหาเหล่านี้แล้ว ผู้อภิปรายไม่ไว้วางใจเกือบทุกคนล้วนใช้คำพูดเสียดสี ดูหมิ่นดูแคลน เยาะเย้ย ถากถาง เหมือนกับต้องการจะยั่วให้โกรธ และพูดเสมือนหนึ่งว่าตัวเองเก่งอย่างที่สุด เก่งกว่ารัฐมนตรีที่ตัวเองอภิปรายทุกคน และที่น่าเศร้าคือ ผู้อภิปรายจำนวนมาก พูดคำควบกล้ำยังไม่ชัด ฟังแล้วระคายหูเป็นที่สุด          

ทั้งหมดนี้ แม้ผู้อภิปรายบางคนจะมีข้อมูลค่อนข้างแน่น แต่ก็ทำให้มีความน่าเชื่อถือน้อยลง          

การโจมตีฝ่ายรัฐบาล มีหลายเรื่องที่เป็นเรื่องหมักหมมมาทุกรัฐบาล แต่ก็พูดเสมือนหนึ่งว่า เป็นเพราะนายกรัฐมนตรีคนนี้ หรือรัฐมนตรีคนนี้เท่านั้น เช่นเรื่องบ่อนการพนัน รัฐบาลนี้ไม่สามารถขจัดบ่อนการพนันให้หมดไปได้ แต่รัฐบาลชุดก่อนๆก็เช่นเดียวกัน หรือเรื่องการศึกษา ซึ่งมีความพยายามที่จะปฏิรูปมาหลายรัฐบาล แต่ไม่มีใครทำสำเร็จ แต่นี่อภิปรายเหมือนกับว่าเป็นความผิดของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการคนปัจจุบันแต่เพียงผู้เดียว กระทั่งภารโรงเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เพราะความบกพร่องของโรงเรียน ก็โทษว่าเป็นเพราะรัฐมนตรี          

เรื่องการจัดการปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด 19 ก็เป็นข้อกล่าวหาว่าเป็นความล้มเหลวของรัฐบาล ฟังแล้วก็สรุปได้ว่าล้มเหลวเพราะ          

1. ปล่อยให้มีการจัดมวยที่สนามมวยลุมพินี จนเกิดการติดเชื้อไปมากมาย          

2. ตื่นกลัวเกินไป จึงไปประกาศให้มีการ lock down ปิดโรงเรียน ปืดห้าง ปิดสถานบันเทิง ประกาศ curfew ทำให้ประชาชนเดือดร้อนแสนสาหัส และไม่มีจะกิน          

3. ประกาศภาวะฉุกเฉิน ไม่ได้เพื่อควบคุมโควิด แต่เพื่อควบคุมม็อบ ทั้งที่ไม่เคยปรากฏว่ามีการติดเชื้อในม็อบเลย          

4. ปล่อยให้มีการลักลอบนำแรงงานต่างด้าวเข้ามา ปล่อยให้มีบ่อนการพนัน จนมีการติดเชื้อ ระลอกใหม่          

5. ผิดพลาดเรื่องการจัดหา วัคซีน ทำให้คนไทยได้รับวัคซีนช้ากว่าประเทศอื่น          

6. มาตรการเยียวยาล้มเหลว ไม่ทำให้เศรษฐกิจหมุนได้จริง กระบวนการจัดการก็ล้มเหลว ทำให้คนต้องลำบากในการเข้าถึงความช่วยเหลือ

7. นายกรัฐมนตรีเป็นเผด็จการ รวบอำนาจมาไว้ที่เองทั้งหมด โดยตั้ง ศบค ขึ้น เป็นการสั่งการข้ามหัวรัฐมนตรีทุกคน          

แค่ข้อ 1 กับข้อ 2 ก็ย้อนแย้งกันเสียแล้ว การพูดในภายหลัง จะพูดอย่างไรก็ได้ เช่น ไม่ควรปิดโรงเรียน ไม่ควรปิดสถานบันเทิง หรือไม่เคยมีการติดเชื้อในม็อบ แต่ถ้ากลับไปมองด้วยใจเป็นธรรม ต้องตั้งคำถามว่า “ แล้วถ้าในม็อบมีการติดเชื้อเล่า อะไรจะเกิดขึ้น” หรือ “ ถ้าไม่ปิดโรงเรียนเล่า อะไรจะเกิดขึ้น”          

เรื่องวัคซีน ก็แน่นอนว่า ผู้อภิปรายเป็นดาวสภาคนล่าสุดจากพรรคก้าวไกล แต่การพูดจา และลีลาเต็มไปด้วยคำดูหมิ่น เหยียดหยาม ดูแคลน และยังคงพุ่งเป้าไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ เพียงฉลาดพอที่จะไม่เอ่ยถึงโดยตรง แต่ก็พูดประโยคว่า          

“บริษัทเอกชน ที่น่าจะไม่เคยผลิตวัคซีนมาก่อน” มากกว่า 10 ครั้ง สุดท้ายหลุดคำที่เกี่ยวกับสถาบันออกมาจึงถูกประท้วง          

ความจริงนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ไม่ต้องพูดอะไรยาวเลย เพราะผู้ฟังจะเบื่อเสียก่อน แต่ต้องสามารถใช้ข้อมูล และข้อเท็จจริง หักล้างข้อกล่าวหาให้ได้ทีละประเด็นให้ครบทุกประเด็น แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น เช่นเรื่องเศรษฐกิจที่ฝ่ายค้านพยายามโยนความผิดให้รัฐบาลทั้งหมด ซึ่งคนฟังจะคล้อยตาม แต่ก็ยังไม่มีการให้ตัวเลขตอบโต้ที่ชัดเจน โดยแยกผลกระทบที่เกิดจากปัญหาโควิดออกให้ได้          

เรื่องวัคซีน ที่แม้รัฐมนตรีสาธารณสุข จะตอบได้หนักแน่น ฟังดูจริงใจ แต่ก็ไม่ได้หักล้างให้ครบทุกประเด็น          

เรื่องบ่อนการพนัน นายกรัฐมนตรีก็ไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมเพิ่งจะมาจับบ่อนใหญ่ เมื่อเกิดการติดเชื้อโควิด          

เรื่องเครือข่ายการลักลอบนำแรงงานต่างด้าว รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงก็ยังตอบไม่ได้ ต้องขอผลัดไว้ก่อน          

อย่างไรก็ดี ต้องชมว่านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเกือบทุกคน คุมอารมณ์ได้ดี และไม่มีใครดูหมิ่นดูแคลนฝ่ายตรงข้าม เพียงแต่มีการตอบโต้ที่แรงไปบ้างแต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อย          

ยังมีอีก 1 วัน หรืออาจยืดออกไปเป็นอีก 2 วัน ที่ต้องติดตามดู          

เมื่อมีการลงมติ ต้องคอยดูว่าใครจะได้คะแนนความไว้วางใจน้อยที่สุด เพราะรัฐบาลชุดนี้ก็เป็นรัฐบาลที่มีจุดอ่อนค่อนข้างมาก          

เชื่อว่าจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีตามมา ค่อนข้างแน่

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

กรมประมงแจงแล้ว! "ดีเจภูมิโชว์กินปลาพิ้งกี้" ได้ไม่ผิด

         


เมื่อวันที่  19 กุมภาพันธ์ 2564 จากกรณีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ "ดีเจภูมิ ภูมิใจ ตั้งสง่า" ที่ก่อนหน้านี้เคยโดนแจ้งจับใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ หลังละเมิดตกปลาในเขตอุทยานหมู่เกาะชุมพร และต่อมาเจ้าตัวได้ไปออกเรือตกปลาทะเลน้ำลึกหลากหลายชนิด โดยหนึ่งนั้นเป็น ปลาพิ้งกี้ปลาที่มีสีสันสวยงาม พร้อมโชว์วิธีการทานปลา และทำให้เกิดดรามาตามมาอีกครั้งอย่างหนัก โดยชาวเน็ตบางส่วนชี้ว่า ไม่ควรรับประทานปลาปลาพิ้งกี้ที่มีความสวยงามและควรอนุรักษ์ตามที่เคยนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น

นายวิชาญ  อิงศรีสว่าง  รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากคลิปกระแสดงประเด็นดราม่าเรื่องปลาพิ้งกี้ในโลกโซเชียล หลังดีเจดังคนหนึ่งตกปลาและนำปลาสวยงามชนิดหนึ่งมาแล่ทำอาหารนั้น จากจากตาวจสอบพบว่าคือ ปลาพิ้งกี้ หรือชื่อทางการค้าว่า ปลาแพดเดิ้ลป๊อป มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Meganthias filiferus ชื่อสามัญ Filamentous anthiine  จัดเป็นกลุ่มปลาหน้าดิน ที่มีรูปร่างค่อนข้างกลมและแบนข้าง มีส่วนหัวขนาดใหญ่เป็นหนึ่งในสามของลำตัว ลำตัวมีสีชมพูถึงแดง และพบแต้มสีเหลืองบริเวณ ปาก หัวด้านบนจนถึงส่วนต้นของครีบหลัง ครีบอก ครีบท้อง และครีบก้น  มีปลายของก้านครีบหลังและครีบหางเป็นเส้นยาว 

ทั้งนี้สถานภาพปัจจุบันของปลาพิงกี้ ไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองตามพรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า  และบัญชีรายชื่ออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)  โดยในประเทศไทยพบปลาชนิดนี้ในแนวกองหิน บริเวณฝั่งทะเลอันดามัน ที่ระดับความลึกประมาณ 150 เมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่ไม่ใช่แหล่งทำการประมง จึงพบว่าปลาชนิดนี้  สามารถจับได้โดยเครี่องมือประมง ประเภท เบ็ด, เบ็ดราว ที่ส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมของนักตกปลา หรือ กลุ่ม Fishing Game ซึ่งไม่ใช่เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม จากภาพของปลาและเครื่องมือที่ใช้ในการจับปลา ไม่ได้เป็นเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย แต่หากกิจกรรมการตกปลาดำเนินการในพื้นที่ที่มีกฎหมายควบคุมดูแล เช่น พื้นที่อุทยานแห่งชาติทางทะเล ก็จะมีความผิดได้ 

ส่วนใน เรื่องของการบริโภคปลาชนิดนี้นั้นสามารถนำมาบริโภคได้ แต่ในประเทศไทยจัดว่าเป็นปลาที่ไม่นิยมนำมาบริโภค เนื่องจากจับได้ยากและมีราคาแพง

กรมส่งเสริมเกษตรเผยปี64" ยกระดับเกษตรกร ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนด้วยเกษตรอินทรีย์



กรมส่งเสริมการเกษตรเผยปี64"ยกระดับเกษตรกร ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน"  ก้าวสู่เกษตรวิถีใหม่ปรับรูปแบบการทำงานส่งเสริมเกษตรพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทุกสถานการณ์ ยึดหลักตลาดนำการเกษตร หนุนใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม 

(19 กุมภาพันธ์ 2564) นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึง ทิศทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร ในปี 2564 ว่าหลังจากปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ประเทศไทยประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะภาคเกษตรได้รับผลกระทบตั้งแต่การผลิต จนถึงการตลาด ส่งผลต่อรายได้และการประกอบอาชีพ รวมถึงเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมดิจิทัล ความใส่ใจเรื่องความปลอดภัยจากอาหารและสุขอนามัย 


ทั้งนี้กรมส่งเสริมการเกษตรจะต้องปรับวิธีการทำงาน เพื่อยังคงให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีเช่นเดียวกับในภาวะปกติ การก้าวเข้าสู่เกษตรวิถีใหม่ (New Normal) สิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กับการเปลี่ยนแปลง คือ การส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร โดยปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต การบริหารจัดการสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ใช้ตลาดนำการเกษตรเป็นหลัก เพื่อยกระดับเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกษตรกรเกิดรายได้ที่ยั่งยืน ด้วยการ “ยกระดับเกษตรกร ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน” ในแต่ละด้านโดยมีแนวทางในการพัฒนา คือ


1. ส่งเสริมการรวมกลุ่มในรูปแบบแปลงใหญ่ และพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน โดยยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด เพื่อสร้างความเข้มแข็งส่งเสริมให้เกษตรกรทำงานในรูปแบบเครือข่าย พัฒนากระบวนการผลิตให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง การใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเพิ่มประสิทธิการผลิต สร้างตราสินค้า (Brand) มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ 


2. พัฒนาตลาดเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้า โดยยึดหลักตลาดนำการผลิต เพื่อให้เกษตรกรสามารถจำหน่ายผลผลิตทางตลาดออนไลน์ได้มากขึ้น สนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ตลาดเกษตรกร การทำ Contract Farming การจำหน่ายสินค้าเกษตรตามชั้นคุณภาพ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อให้สามารถบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชน สร้างรายได้จากการขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น สร้างเศรษฐกิจชุมชน 


3. ส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ ได้แก่ ยกระดับการทำงานของศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ให้เป็นกลไกหลักของชุมชนในการให้บริการด้านดินและปุ๋ย รวมทั้งส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน เพื่อลดต้นทุนการผลิต ช่วยสร้างธุรกิจให้เกิดขึ้นในชุมชน


4. บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในชุมชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร สร้างเครือข่ายปลอดการเผาให้เข้มแข็งครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น 


5. พัฒนาศักยภาพองค์กรและการบริหารจัดการ ปรับวิธีการทำงานให้มีการใช้ระบบเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการองค์กร รวมทั้งการให้บริการในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตรมากขึ้น


อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จากการระบาดของโรค COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการกระจายสินค้าเกษตรของเกษตรกร นอกจากนี้กรมส่งเสริมการเกษตรยังมีแนวทางดำเนินการให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในท้องถิ่นเพื่อลดผลกระทบจากการชะลอตัวของภาคเศรษฐกิจสำคัญ ตามกรอบนโยบายด้านเกษตรโดยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาศักยภาพการผลิตและต่อยอดของเดิมให้ดีขึ้น ซึ่ง ครม.ได้มีมติอนุมัติให้ใช้เงินกู้ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 ขณะนี้ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด และ 2) โครงการพัฒนาธุรกิจบริการด้านดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service) ทั้งนี้ ในการ “ยกระดับเกษตรกร” เป้าหมายสำคัญ คือ ยกระดับการรวมกลุ่มเกษตรกร สู่การดำเนินการในรูปแบบธุรกิจเกษตร สร้างโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม กลุ่มเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ เกษตรแปลงใหญ่ และ เกษตรกรศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.)  


สำหรับโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด มีเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ คือ ต้องเป็นแปลงใหญ่ที่ผ่านการรับรองและอยู่ในระบบ Co-farm.doae.go.th ของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ได้เสนอความต้องการเข้าร่วมโครงการ ซึ่ง ครม. มีมติอนุมัติงบประมาณไว้แล้ว จำนวน 5,250 แปลง โดยเป็นแปลงใหญ่ที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประเภทนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การขอรับการสนับสนุนงบประมาณต้องไม่เกินวงเงินเดิมที่เคยเสนอขอความต้องการและได้รับการอนุมัติจาก ครม. แล้ว รวมทั้งต้องดำเนินกิจกรรมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการอื่นๆ ผลการดำเนินงาน (ณ วันที่ 15 ก.พ. 2564) มีกลุ่มแปลงใหญ่แจ้งเข้าร่วมโครงการฯ แล้ว จำนวน 1,555 แปลง เป็นกลุ่มแปลงใหญ่ที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประเภทนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน 879 แปลง และกลุ่มแปลงใหญ่ที่อยู่ระหว่างจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ประเภทนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน 676 แปลง ตัวอย่างกลุ่มแปลงใหญ่ที่จัดแสดงครั้งนี้เป็นของ นายพิพัฒน์ เต็งเศรษฐศักดิ์ แปลงใหญ่มังคุดหมู่ 1 ต.ชากไทย อ.เขาคิชกูฎ จ.จันทบุรี ปัจจุบันมีสมาชิก 70 ราย พื้นที่ 1098 ไร่ จดทะเบียนเป็น บริษัท วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่มังคุดคิชฌกูฎ จำกัด มีการต่อยอดโดยขอรับการสนับสนุนเป็นเครื่องคัดมังคุด เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพในการส่งออกด้วยตนเอง จากเดิมที่ทางกลุ่มได้มีการรวบรวมผลผลิตและคัดด้วยมือแล้วส่งให้ล้ง


ส่วนโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service) จะสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในรูปแบบธุรกิจชุมชน ตัวอย่างโมเดลธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน ได้แก่ ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน ต.หนองค้า อ.พยุห์ จ.ศรีสะเกษ ของนายสมชิต แซ่อึ้ง เกษตรกร ศดปช. ปัจจุบันมีสมาชิก 176 ราย ได้ดำเนินการในเชิงธุรกิจ มีการให้บริการตรวจวิเคราะห์ดิน ให้คำแนะนำการจัดการดินปุ๋ยที่ถูกต้อง บริการจัดหาแม่ปุ๋ยและผสมปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินหรือปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นปุ๋ยเต็มสูตรและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ศูนย์ผลิตเองเป็นตัวเติมเต็ม มีการวางแผนบริหารจัดการกิจกรรมศูนย์อย่างดี เช่น ให้สมาชิกเลี้ยงวัวเพื่อให้มีวัตถุดิบมูลทำปุ๋ยเพียงพอและต่อเนื่อง มีการจัดสรรกำไรสู่สมาชิก สะสมเข้ากลุ่ม ใช้เพื่อสาธารณะ และจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิก รวมไปถึงโอกาสในการขยายธุรกิจบริการเพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้ใช้ปุ๋ยคุณภาพเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต “หากสมาชิกใน ต.หนองค้า หันมาใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินจะทำให้ศูนย์ฯ สามารถจำหน่ายปุ๋ยรวมมูลค่าประมาณ 35 ล้านบาท ดังนั้น สมาชิก ศดปช. จึงร่วมกันการผลิตปุ๋ยที่มีคุณภาพ ให้บริการดี มีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในชุมชนรู้จักธุรกิจบริการของศดปช.เพิ่มขึ้น” ขณะเดียวกันสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอได้ให้ความรู้ที่ถูกต้องและช่วยประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรทั่วไปอีกทางหนึ่ง  


อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการ “ฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน” กรมฯ ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานในมิติดังกล่าว 2 โครงการสำคัญ ได้แก่ 1) ส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร และ 2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป้าหมายสำคัญ คือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน เช่น การสร้างรายได้จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร นำไปสู่การลดการเผาในพื้นที่เกษตร และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในรูปแบบเครือข่ายชุมชน สร้างต้นแบบการท่องเที่ยววิถีเกษตร สร้างรายได้สู่ชุมชน 


สำหรับกิจกรรมส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่เกษตร ได้นำเสนอกรณีตัวอย่างของ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีวิธีการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร โดยนำร่องจัดทำจุดสาธิตการทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุทางการเกษตร สาธิตการอัดฟางก้อน จัดทำสื่อรณรงค์ “หยุดเผาในพื้นที่การเกษตร” รวมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน จัดกิจกรรมการไถกลบตอซังฟางข้าว ลดการเผาฟางและตอซังข้าว, MOU หน่วยงานในท้องถิ่น (อบต.รางจระเข้ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา) ร่วมกับบริษัท SCG ซีเมนต์จำกัด และบริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่นจำกัด ในการ ทำ MOU มอบเครื่องจักรกลการเกษตร เพื่อใช้ในโครงการ "ฟางอัดก้อน ลดการเผา Zero Burn", ทำชีวมวลอัดแท่ง ซึ่งบริษัท SCG ตั้งโรงงานผลิตชีวมวลอัดแท่ง โดยรับซื้อฟางอัดก้อนจากเกษตรกร เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต และนำชีวมวลที่ได้ไปใช้ในโรงงานปูนซีเมนต์ของ SCG 


อีกหนึ่งกิจกรรมซึ่งถือเป็นการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของชุมชน คือ เชิญชวนให้คนไทยหันมาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศเพิ่มขึ้น โดยกรมฯ มุ่งเน้นการส่งเสริมเป็นคลัสเตอร์การท่องเที่ยว ให้เกิดการหมุนเวียนเครือข่ายและกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน โดยเสนอจุดท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ไม่ไกลจาก กทม. เช่นตัวอย่างของ นายมงคลศิลป์ ลีนะกนิษฐ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ซึ่งให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวครอบคลุมทั้งอำเภอ มีการสร้างสรรค์กิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยวรวมถึงการพัฒนาสินค้าการเกษตรเพื่อเป็นของฝากแก่นักท่องเที่ยว ปัจจุบันมีสมาชิก 28 คน กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่โดดเด่น เป็นอัตลักษณ์ของอำเภอวังน้ำเขียว ได้แก่ การปลูกพืช เช่น พุทรานมสด หม่อน องุ่น ทุเรียน ลำไย อโวกาโด ข้าวโพด ผักสลัด และไม้ดอกไม้ประดับ, การเลี้ยงสัตว์ เช่น ฟาร์มเป็ดกากีแคมเบล และการอนุรักษ์ควายไทย, การเกษตรแบบผสมผสาน, ฟาร์มสเตย์ (ที่พักนักท่องเที่ยว) และผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรต่าง ๆ รวมถึงสินค้าของชุมชน การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในนโยบาย ปี 2564 ที่กรมส่งเสริมการเกษตรมุ่งขับเคลื่อนการดำเนินงานในมิติของการ “ก้าวสู่เกษตรวิถีใหม่” 


 

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เจ้าคุณดังวัดอรุณถูกจยย.พุ่งชน ขณะบิณฑบาตบาดเจ็บถูกนำส่งรพ.


เมื่อเวลา 06.15น. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระสุนทรกิจโกศล ( เสวย ชนสโภ จันทรัตน์ ป.ธ.6) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ ถูกรถจักรยานยนต์ที่ขับมาอย่างเร็ว พุ่งชนขณะกำลังข้ามถนนระหว่างการบิณฑบาต ส่งผลให้พระสุนทรกิจโกศลล้มลงศรีษะฟาดพื้นได้รับบาดเจ็บ ส่วนบาตรกระเดนไปไกลกว่า 2 เมตร ขณะนี้ถูกนำตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลธนบุรี กรุงเทพฯ

"ทักษิณ"โอ่ร่างกายแข็งแรงมาก หลังติดโควิดไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน



เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว "Thaksin Shinawatra" ระบุว่ารัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรดส์ มีนโยบายฉีดวัคซีน ให้ประชาชนและผู้อาศัยทุกคน สำหรับผมเอง ได้รับการยกเว้น เพราะผมเองป่วยด้วยโรค COVID19 ตั้งแต่ สิงหาคม ปีที่แล้ว เมื่อรักษาหายแล้ว ผมยังดูแลร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ กินอาหารถูกสุขลักษณะ พักผ่อนให้เพียงพอ และต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลังจากหายป่วย จนมีภูมิคุ้มกันในระดับสูงจนไม่ต้องวัคซีน          

ดังนั้น ผมขอให้คนไทยทุกคนดูแลสุขภาพตนเองให้ดีเช่นกัน ที่สำคัญปฎิบัติตนเองตามข้อแนะนำของแพทย์ สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือสม่ำเสมอ รักษาระยะห่าง Social distancing โดยเฉพาะในยามที่ยังไม่ได้รับวัคซีน นอกจากนี้ ต้องกินอาหารถูกสุขลักษณะ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ให้แข็งแรงสมบูรณ์ ป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคบาดโควิดนี้ด้วยกัน

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

"ยิ่งลักษณ์"โชว์ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มแล้วที่ดูไบ หวังว่าคนไทยจะได้ฉีดเร็วๆนี้



วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กว่า วันนี้ที่ดูไบดิฉันได้มีโอกาสฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ค่ะ รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้จัดสรรวัคซีนจาก 2 บริษัทให้ประชาชนทั้งหมดและผู้อยู่อาศัยที่นี่ทุกคน โดยรัฐบาลมีนโยบายให้จัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ของจีนซึ่งมีประสิทธิผล 86% ให้แก่ประชาชนทั่วไป และวัคซีนไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค (Pfizer/BioNTech) ของสหรัฐ-เยอรมนีซึ่งมีประสิทธิผล 95% พร้อมกันนี้ทางรัฐบาลยังคงเปิดโอกาสให้มีการใช้วัคซีนสปุตนิค (Sputnik) จากรัสเซียในกรณีฉุกเฉินและกำลังเริ่มทดลองใช้วัคซีนแอสตร้าซิเนก้า (AstraZeneca Plc) ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ซึ่งผลิตจากอินเดียอีกด้วย          

รัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ถือเป็นประเทศที่จัดสรรวัคซีนให้ประชากรและผู้อยู่อาศัยในอัตราสูงสุดเมื่อเทียบกับอัตราการฉีดวัคซีนของประเทศอื่นทั่วโลกเนื่องจากรัฐถือหลักนโยบายที่ให้ความสำคัญอย่างสมดุลต่อการควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศอย่างเท่าเทียมกัน          

นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว ก็ยังคงต้องให้หมั่นล้างมือ ใส่หน้ากาก เหมือนเดิม และมีการเพิ่มการเว้นระยะห่างก็ให้เว้นมากขึ้นจากเดิม 2 เมตรเป็น 3 เมตร ทำให้เมืองดูไบยังสามารถเดินหน้าประกอบธุรกิจการค้า รองรับนักท่องเที่ยวได้ จึงทำให้ดิฉันอดคิดถึงพี่น้องประชาชนคนไทยไม่ได้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้มีโอกาสฉีดวัคซีนในเร็วๆ นี้เพื่อสามารถเปิดประเทศให้เกิดธุรกิจการค้าได้โดยเร็วนะคะ

พระชี้แนะเรื่องกล้วยๆไม่กล้วย หากชีวิตหวังพึ่งพาแต่คนอื่น


วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564   พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้โพสต์ข้อความเผ่นเฟซบุ๊ก "Hansa Dhammahaso"ความว่า เรื่องกล้วยๆ  แต่อาจจะไม่กล้วยอย่างที่คิด หากชีวิตหวังพึ่งพาแต่คนอื่น 

โยมอุบาสกท่านหนึ่งตั้งใจทำบุญจึงเข้าร้านสะดวกซื้อแล้วซื้อกล้วยมาถวาย จึงถามราคาต่อลูกที่แยกใส่ถุงขาย เสียงที่ตอบกลับมา "ลูกเล็ก 9 บาท ลูกใหญ่ 13 บาท ครับ"  

ด้านหนึ่งของเบื้องลึกในใจ ได้แต่ชื่นชมยินดีกับเจ้าของสวนกล้วยหอมที่ขายกล้วยได้ตลอดปี และบริษัทแห่งนี้ที่มีช่องทางให้จัดจำหน่ายผ่านแบรนด์ของตัวเอง แต่อีกด้านหนึ่งกลับมาหวนคำนึงรำพึงในใจว่า "ต้นทุนในการดำรงชีพที่ต้องทำงานแลกกับผลไม้สักลูกเพื่อบำรุงร่างกายหรือดับความหิวนั้น มีราคาไม่น้อยเลย" 

ชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัยกล้วยของคนอื่น จึงไม่กล้วยอย่างที่หลายคนคิด จะทำอย่างไรได้ เพราะเราไม่ได้ปลูกกล้วยแต่อยากจะกินกล้วย ไม่ว่าจะถูกหรือแพงเราก็ต้องใช้เงินซื้อหาอยู่ร่ำไป 

ถ้าจะให้กล้วยกลายเป็นเรื่องกล้วยๆ ไม่ว่าจะรวยหรือจนก็สามารถกินกล้วยได้ เราต้องมีสวนกล้วยเป็นของตัวเอง กล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่าย ประเทศไทยไปที่ไหนก็มีแต่กล้วย เกิดมาก็ได้กินกล้วย เพราะแม่เคี้ยวกล้วยกับข้าวใส่ใบตองอุ่นป้อนลูก โตมาก็กินข้าวกับกล้วย ในขณะเดียวกัน กล้วยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้ต้นไม้อื่นๆ ได้ด้วย 

ชีวิตที่เกิดมาแล้วหวังจะพึ่งพากล้วยคนอื่น จึงเป็นชีวิตไม่กล้วยอย่างที่หวัง แต่ชีวิตจะกล้วยไปทันทีถ้าเพียรพยายามพึ่งพาตนเองโดยการปลูกไว้ข้างบ้าน หลังบ้าน หรือที่ไหนสักแห่ง อยากกินกล้วยแบบไหน เช่น หอมทอง น้ำหว้า เล็บมือนาง ก็ปลูกตามฉันชอบ 

ชีวิตแห่งการพึ่งพาตนเอง นำมาซึ่งความภาคภูมิใจ เกิดปีติสุข ปลูกกล้วย พรวนดิน ใส่ปุ๋ย รดน้ำ เห็นเขาเติบโตอย่างมีพัฒนาการทุกวัน นั่นคือรางวัลแห่งน้ำมือของตนเอง เพราะความสุขเราไม่ได้กินกล้วยเพื่อดับหิวอย่างเดียว หากแต่กำลังเติมพลังแห่งปีติสุขในขณะปอกกล้วย น้ำกล้วยเข้าปาก เคี้ยวและกลื่นกิน 

คำถามคือ ชีวิตนี้มีอะไรบ้างที่ยังหลงเหลือให้เราได้พึ่งพาอาศัยศักยภาพของตนเองผ่านการลงมือทำด้วยตนเอง หากยังพอมีโอกาสมีช่องทาง ก็น่าที่จะกลับมาหวนคิดแล้วลงมือทำ โดยเริ่มจากเรื่องเล็กๆ รอบบ้าน รอบตัว บนพื้นที่ของเรา เล็กแต่ชอบ เล็กแต่ใช่ เล็กแต่ยิ่งใหญ่และมีพลัง 

อนุโมทนาขอบคุณโยมเปิ้ล ปรางค์กู่ พอกน้อย ที่ถวายกล้วยมาปลูก ณ โคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

พบพระสร้าง"ตู้เย็น-เซเว่น"ให้ชุมชน ผ่านโคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล

 


วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564   พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้โพสต์ข้อความเผ่นเฟซบุ๊ก "Hansa Dhammahaso"ความว่า สร้าง #ถังออกซิเจน  #ตู้เย็น #เซเว่น ให้แก่ชุมชน ผ่านโคกหนองนา สันติศึกษาโมเดล #2

คณาจารย์ นิสิตสันติศึกษา และชุมชนชาวท่าคอยนาง อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ ประกอบด้วยชาวบ้าน วัด และโรงเรียน ได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาโคกหนองนา สันติศึกษาโมเดล โครงการ 2 เพื่อใช้เป็นศูนย์เรียนรู้และพัฒนาทักษะของชุมชนเกี่ยวกับเกษตรผสมผสานอย่างยั่งยืน

หลักสูตรสันติศึกษา มจร ตั้งใจดึงชุมชนเข้ามาร่วมพัฒนา แล้วมอบคืนให้เป็นสวนเกษตรผสมผสานตามรูปแบบโคกหนองนาและธนาคารน้ำ สวนแห่งนี้จะกลายเป็นถังอ๊อกซิเจน สวนสาธารณะสำหรับการออกกำลังกาย แหล่งสร้างความมั่นคงทางอาหาร และพักผ่อนหย่อนใจประจำชุมชน และผู้คนที่สัญจรผ่านไปมา ได้พักผ่อน ศึกษา เรียนรู้และนำไปต่อยอดต่อไป

การพัฒนาโครงการนี้ จึงเป็นการลงทุนทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ให้แก่ชุมชนและสังคม การสร้างระบบชลประทานขนาดเล็กให้แก่ชุมชน การรักษาดินให้เกิดความชุ่มชื้นเพื่อปลูกป่าให้เป็นปอดแก่ชุมชน รวมถึงการปลูกพืชสมุนไพรพื้นบ้านให้ชุมชนได้นำมาใช้งานในครัวเรือนยามจำเป็น

“วัน”สุดเวทนาเห็นลงทะเบียนเราชนะไม่มีสมาร์ทโฟนเหมือนโปรยทาน

 


วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564  นายวัน อยู่บำรุง  ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลมีโครงการเราชนะ และเปิดให้กลุ่มไม่มีสมาร์ทโฟน สามารถไปลงทะเบียน “เราชนะ” สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น ไม่สามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต ไม่มีสมาร์ทโฟน ทำให้ไม่สามารถใช้งานแอแอพฯ “เป๋าตัง” ได้ หรือผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเดินทางไปลงทะเบียนเอง พบว่าการลงทะเบียนวันนี้สร้างความวุ่นวายและเป็นภาระให้ประชาชน เพราะประชาชนจำนวนมากต่างเดินทางมาจากบ้านที่มีระยะไกลมาหลาย10 กิโลเพื่อมาลงทะเบียน 

ภาพที่เกิดขึ้นสะท้อนความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการไม่มีเงินไม่มีรายได้ ที่ต้องได้รับการเยียวยาทันทีแบบต้องได้วันนี้ เดี๋ยวนี้หรือไม่ ทั้งนี้รัฐเปิดจุดบริการพิเศษเพียง 871 จุด ทั่วประเทศเพียงพอหรือไม่ อีดทั้งเช็คได้ในเว็บไซต์ของธนาคารกรุงไทย และที่ว่าการอำเภอ ศาลาประชาคม แต่สำหรับคนไม่มี smart phone เข้าเวปไซต์ไม่ได้อยู่ดี

นายวัน กล่าวด้วยว่า เมื่อรัฐบาลต้อวงการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ต้องจริงใจตั้งแต่ต้นไม่ควรสร้างเงื่อนไขให้ยุ่งยาก ทำไมไม่ลดขั้นตอน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่เข้าใจง่าย จนท.ของธนาคารจัดเจ้าหน้าที่ส่วนนี้พอหรือไม่ อันที่จริงรัฐบาลสามารถจัดเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นมาช่วยเหลือได้ การแจกบัตรคิว เพื่อให้ประชาชนมารอคิวโดยไม่มีการจัดระเบียบในช่วงโควิด อยากให้รัฐเข้มงวดให้มากเหมือนกับที่เอาผิดกับผู้ชุมนุมโดย พรบ.โควิด

“โครงการเราชนะแต่ไม่มีสมาร์ทโฟน กับ กลุ่มที่สมัครแล้วแต่มายืนยันตัวตนที่ธนาคารสาขา แต่จะทยอยแจกบัตรคิว เพราะต้องประเมินเวลาดำเนินการด้วย ไม่ได้แจกไปหมดแล้วให้รอ แล้วทำให้ไม่ทัน คนเฒ่าคนแก่บางคนบัตรประชาชนใกล้หมดอายุเจ้าหน้าที่ธนาคารไม่ทำให้แถมไล่กลับบ้าน เป็นการทำร้ายจิตใจประชาชนโดยตรง เมื่อโครงการนี้คนที่มีบัตรประชาชนอยู่แล้วทำไมไม่จัดให้ไปยืนยันตัวตนที่อบต.ที่สำนักเขตหรือที่ว่าการอำเภอ เพื่อเปิดโอกาสให้กับทุกคนได้เข้าถึงสิทธิ์ เมื่อจะช่วยเหลือต้องจริงใจการช่วยเหลือไม่ใช่การแจกทาน ดังนั้นประชาชนทุกคนต้องเข้าถึงสิทธิที่รัฐบาลจัดให้ ไม่ใช่ออกมาตรการแจกแต่มีเงื่อนไขจนสร้างความเดือดร้อนและไม่ทั่วถึงแบบนี้”นายวันกล่าว

วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์

  วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...